วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

พลาสติก 7 ประเภท

บางครั้งเรื่องง่ายๆ ที่เรามองข้ามผ่านก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาตามมาได้ เช่น พลาสติกที่เราคุ้ยเคยตั้งแต่เกิด จะมีสักกี่คนที่คิดว่า มันอาจจะก่ออันตรายให้เรา ตั้งแต่ น้ำท่วม สารเคมีมีพิษ เป็นต้น เพื่อทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง ชัดเจนเรามารู้จักพลาสติกให้ชัดอีกทีครับ



สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกแห่งอเมริกา (The Society of the Plastics Industry, Inc.)ได้กำหนดสัญลักษณ์มาตรฐานของพลาสติกยอดนิยมกลุ่มต่างๆ ไว้ดังนี้

หากพลาสติกใดสามารถนำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ได้ (Recycle) ก็ให้ใส่รหัสอันประกอบด้วยลูกศร 3 ตัว วนเป็นรูป 3 เหลี่ยมรอบๆ ตัวเลขตัวหนึ่ง ซึ่งบอกชนิดของพลาสติกนั้น มีรายละเอียดดังนี้



เลข 1 พลาสติกนั้นมีชื่อว่า โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylne Terephthalate) เรียกโดยย่อว่า เพ็ต (PET หรือ PETE) เป็นพลาสติกใส แข็ง ทนแรงกระแทกดี ไม่เปราะแตกง่าย และกันแก๊สซึมผ่านดี จึงนิยมใช้ทำขวดน้ำดื่ม ขวดน้ำอัดลม และขวดน้ำมันพืช พลาสติกชนิดนี้นำกลับมาใช้ใหม่เป็นเส้นใยโพลิเอสเตอร์สำหรับเสื้อกันหนาว พรม และใยสังเคราะห์สำหรับยัดหมอน
PET or PETE (polyethylene terephthalate)
พลาสติกประเภทแรกคือ polyethylene terephthalate ชื่ออาจไม่คุ้นหู แต่ถ้าบอกว่ามันคือ "ขวดเพต" แทบทุกคนคงร้องอ๋อ



ภาพจาก http://www.thedailygreen.com/green-homes/latest/recycling-symbols-plastics-460321

ในประเทศไทยพลาสติกชนิดนี้นิยมนำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับเครื่องดื่ม ไม่ว่าจะเป็นน้ำเปล่า น้ำอัดลม ชาเขียว ฯลฯ (ในบางประเทศพบว่านำมาใช้ผลิตขวดเบียร์ด้วย แต่ในบ้านเรานิยมใช้ขวดแก้วมากกว่า) สาเหตุที่นิยมใช้เป็นขวดเครื่องดื่มแบบครั้งเดียวทิ้งคือต้นทุนไม่แพง น้ำหนักเบา และนำกลับมาใช้ใหม่ได้ง่าย

นอกจากขวดเครื่องดื่มแล้วยังนำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำมันพืช น้ำยาบ้วนปากด้วยค่ะ

หากต้องการตรวจดูว่าขวดนั้นผลิตจากพลาสติกชนิดนี้หรือไม่ สังเกตได้จากสัญลักษณ์ข้างล่างนี้ที่ก้นขวดค่ะ



เมื่อกลายเป็นขยะแล้ว พลาสติกประเภทนี้สามารถนำไปทำประโยชน์ได้หลากหลายค่ะ เช่น

■polar fleece (ใยสังเคราะห์ประเภทหนึ่ง)
■ถุงหิ้ว
■พรม
■ชิ้นส่วนหูหิ้ว



เลข 2 พลาสติกนั้นมีชื่อว่า โพลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene) เรียกโดยย่อว่า เอชดีพีอี (HDPE) เป็นพลาสติกความหนาแน่นสูง ค่อนข้างแข็งแต่ยืดได้มาก เหนียวไม่แตกง่าย ขึ้นรูปง่าย มักมีสีสันสวยงาม และทนสารเคมี จึงนิยมใช้ทำขวดแชมพูสระผม กระป๋องแป้งเด็ก ภาชนะบรรจุน้ำยารีดผ้า รวมทั้งขวดบรรจุนม ซึ่งจักช่วยยืดอายุของนมให้ยาวนานขึ้น เพราะป้องกันความชื้นซึมผ่านได้เป็นเลิศ พลาสติกชนิดนี้นำกลับมา ใช้ใหม่เพื่อทำขวดใส่น้ำยาซักผ้า แท่งไม้เทียมสำหรับรั้ว ศาลา หรือม้านั่งในสวน
HDPE (high density polyethylene)
HDPE เป็นพี่น้องตระกูลเดียวกับ PETE ค่ะ สังเกตได้จากคำว่ามี polyethylene เหมือนกัน มักใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์สินค้าจำพวกนม สารซักฟอก (แบบขวดนะคะ ไม่ใช่แบบถุงหรือกล่อง) น้ำยาทำความสะอาด ยาสระผม น้ำมันเครื่อง



ภาพจาก http://www.thedailygreen.com/green-homes/latest/recycling-symbols-plastics-460321

แต่ก็ไม่เสมอไปนะคะที่ผลิตภัณฑ์ที่กล่าวมาจะใช้ HDPE จากการสำรวจในห้องน้ำพบว่ายาสระผมที่ใช้อยู่เป็นขวดแบบ PETE ค่ะ

ลองสำรวจขวดสบู่เหลว ยาสระผม ครีมนวดผม ฯลฯ ในบ้านของคุณดูนะคะ หากว่าพบสัญลักษณ์ข้างล่างนี้ที่ก้นขวด แสดงว่าเป็นพลาสติก HDPE ที่เรากำลังคุยกันอยู่ค่ะ



เมื่อกลายเป็นขยะแล้ว ขวดพวกนี้สามารถนำกลับมาแปรสภาพให้เกิดประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น

■ขวดน้ำยาซักแห้ง
■ขวดน้ำมัน (น้ำมันเชื้อเพลิงนะคะ ไม่ใช่น้ำมันพืช)
■ปากกา
■กระเบื้องปูพื้น
■โต๊ะ ม้านั่ง
■ท่อระบายน้ำ
■วัสดุทำรั้ว



เลข 3 พลาสติกนั้นมีชื่อว่า โพลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride) เรียกโดยย่อว่า พีวีซี (PVC)
มี 2 ลักษณะ หาก แข็ง จะนิยมใช้ทำท่อ เช่น ท่อน้ำประปา ทำเลียนแบบไม้ เป็นประตู หน้าต่าง และวงกบ แต่หาก นิ่ม มักจะใช้ทำฉนวนหุ้มสายไฟฟ้า สายยางใส แผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร ม่านในห้องอาบน้ำ แผ่นกระเบื้องยาง แผ่นพลาสติกปูโต๊ะ และขวดใส่แชมพูสระผม พลาสติกนี้นำกลับมาใช้ใหม่เพื่อผลิตท่อน้ำประปาสำหรับการเกษตร กรวยจราจร รวมทั้งม้านั่งพลาสติก
V (Vinyl) หรือ PVC (Polyvinyl chloride)

พลาสติกประเภทที่เราจะคุยกันวันนี้คือ "Polyvinyl chloride" อาจฟังดูไม่คุ้นหู แต่ถ้าบอกว่า "PVC" ล่ะคะ พอจะคุ้นๆขึ้นมาหรือยัง

PVC นอกจากทำท่อน้ำ (ที่เราเรียกกันว่า "ท่อพีวีซี") เพราะคุณสมบัติที่เหนียว ทนทานแล้ว ยังนำมาทำขวดยาสระผม ขวดน้ำยาทำความสะอาดกระจก ชิ้นส่วนอุปกรณ์การแพทย์ ปลอกสายเคเบิลชนิดต่างๆ ได้อีกด้วย



พลาสติกประเภทนี้ไม่ค่อยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสักเท่าไหร่ เนื่องจากมีส่วนประกอบของคลอรีน ทำให้มีโอกาสที่โรงงานผู้ผลิตจะปล่อยสารพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ยังมีคำเตือนไม่ให้รับประทานอาหารที่ใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกประเภทนี้ เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายกับมนุษย์ได้ แถมยังห้ามไม่ให้เผาหรือถูกความร้อนอีกด้วย เพราะจะทำให้เกิดไอพิษ

ฟังดูน่ากลัวนะคะ นี่จึงเป็นเหตุที่กล่าวในตอนต้นว่าผู้ต้องสงสัยของกรณี "ไหลตาย" คือท่อพีวีซีไงคะ ดังนั้นถ้าเจอสัญลักษณ์ข้างล่างนี้ที่บรรจุภัณฑ์ของอาหาร ขอแนะนำว่าไม่ควรซื้อมารับประทานอย่างยิ่งค่ะ



อย่างไรก็ดี พลาสติกประเภทนี้สามารถกลับมาผลิตเป็นชิ้นส่วนสำหรับทำพื้น เสื่อ สายเคเบิล (แต่ยังหาข้อมูลไม่เจอว่ากระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่จะก่อให้เกิดสารพิษหรือเปล่านะคะ)



เลข 4 พลาสติกนั้นมีชื่อว่า โพลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (Low Density Polyethylene) เรียกโดยย่อว่า แอลดีพีอี (LDPE) เป็นพลาสติกความหนาแน่นต่ำ นิ่ม เหนียว ยืดตัวได้มาก ใส ทนทาน แต่ทนร้อนไม่ใคร่ไหว จึงนิยมใช้ทำแผ่นฟิล์ม ถุงพลาสติก (เช่น ถุงเย็นบรรจุอาหาร) ฟิล์มสำหรับห่ออาหาร ห่อของ หลอดโฟมล้างหน้า และหลอดครีมนวดผม พลาสติกนี้นำกลับใช้ใหม่เพื่อผลิตเป็นถุงดำใส่ขยะหรือถังขยะ
V (Vinyl) หรือ PVC (Polyvinyl chloride)

พลาสติกประเภทที่เราจะคุยกันวันนี้คือ "Polyvinyl chloride" อาจฟังดูไม่คุ้นหู แต่ถ้าบอกว่า "PVC" ล่ะคะ พอจะคุ้นๆขึ้นมาหรือยัง

PVC นอกจากทำท่อน้ำ (ที่เราเรียกกันว่า "ท่อพีวีซี") เพราะคุณสมบัติที่เหนียว ทนทานแล้ว ยังนำมาทำขวดยาสระผม ขวดน้ำยาทำความสะอาดกระจก ชิ้นส่วนอุปกรณ์การแพทย์ ปลอกสายเคเบิลชนิดต่างๆ ได้อีกด้วย



พลาสติกประเภทนี้ไม่ค่อยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสักเท่าไหร่ เนื่องจากมีส่วนประกอบของคลอรีน ทำให้มีโอกาสที่โรงงานผู้ผลิตจะปล่อยสารพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ยังมีคำเตือนไม่ให้รับประทานอาหารที่ใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกประเภทนี้ เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายกับมนุษย์ได้ แถมยังห้ามไม่ให้เผาหรือถูกความร้อนอีกด้วย เพราะจะทำให้เกิดไอพิษ

ฟังดูน่ากลัวนะคะ นี่จึงเป็นเหตุที่กล่าวในตอนต้นว่าผู้ต้องสงสัยของกรณี "ไหลตาย" คือท่อพีวีซีไงคะ ดังนั้นถ้าเจอสัญลักษณ์ข้างล่างนี้ที่บรรจุภัณฑ์ของอาหาร ขอแนะนำว่าไม่ควรซื้อมารับประทานอย่างยิ่งค่ะ



อย่างไรก็ดี พลาสติกประเภทนี้สามารถกลับมาผลิตเป็นชิ้นส่วนสำหรับทำพื้น เสื่อ สายเคเบิล (แต่ยังหาข้อมูลไม่เจอว่ากระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่จะก่อให้เกิดสารพิษหรือเปล่านะคะ)



เลข 5 พลาสติกนั้นมีชื่อว่า โพลิโพรพิลีน (Polypropylene) เรียกโดยย่อจะฟังคล้ายชื่อแหล่งท่องเที่ยวอันลือชื่อของบ้านเรา คือ พีพี (PP) เป็นพลาสติกความหนาแน่นค่อนข้างต่ำ ทนความร้อนดี คงรูปดี เหนียว ทนแรงกระแทกได้ดี ทนต่อสารเคมีและน้ำมัน ใสพอสมควร จึงนิยมใช้ทำถุงร้อน ขวดน้ำ ถ้วยบะหมี่หรือโจ๊กกึ่งสำเร็จรูป กล่องบรรจุอาหาร และกระบอกสำหรับใส่น้ำแช่เย็น เป็นต้น พลาสติกนี้นำกลับมาใช้ใหม่ได้โดยผลิตเป็นกล่องแบตเตอรี่รถยนต์ กันชนรถยนต์ และกรวยสำหรับเติมน้ำมัน


Number 5 Plastics
PP (polypropylene)
Found in: Some yogurt containers, syrup bottles, ketchup bottles, caps, straws, medicine bottles
Recycling: Number 5 plastics can be recycled through some curbside programs.
Recycled into: Signal lights, battery cables, brooms, brushes, auto battery cases, ice scrapers, landscape borders, bicycle racks, rakes, bins, pallets, trays

Polypropylene has a high melting point, and so is often chosen for containers that must accept hot liquid. It is gradually becoming more accepted by recyclers.



Read more: http://www.thedailygreen.com/green-homes/latest/recycling-symbols-plastics-460321#ixzz0yEbFjLjL



เลข 6 พลาสติกนั้นมีชื่อว่า โพลิสไตรีน (Polystyrene) เรียกโดยย่อว่า พีเอส (PS)
มีหลายลักษณะ หากเป็นพลาสติก ใส จะเปราะและแตกง่าย แต่ราคาถูก จึงมักใช้ทำช้อน ถ้วยไอติม และตลับเทป แต่หากเป็น โฟม มักจะเป็นกล่อง หรือตัวกันกระแทกป้องกันสิ่งของมีค่าไม่ให้แตกหักเสียหาย อนึ่ง ดังที่ทราบกันดีว่า โฟมมีน้ำหนักเบามากนั้น ท่านอธิบายว่า เป็นเพราะเนื้อโฟมมีพลาสติกพีเอสนี้เพียงแค่ 2 ถึง 5 ส่วนใน 100 ส่วนเท่านั้น ที่เหลือเป็นฟองอากาศ พลาสติกนี้นำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยผลิตเป็นไม้แขวนเสื้อ กล่องวิดีโอ ไม้บรรทัด


Number 6 Plastics
PS (polystyrene)
Found in: Disposable plates and cups, meat trays, egg cartons, carry-out containers, aspirin bottles, compact disc cases
Recycling: Number 6 plastics can be recycled through some curbside programs.
Recycled into: Insulation, light switch plates, egg cartons, vents, rulers, foam packing, carry-out containers

Polystyrene can be made into rigid or foam products -- in the latter case it is popularly known as the trademark Styrofoam. Evidence suggests polystyrene can leach potential toxins into foods. The material was long on environmentalists' hit lists for dispersing widely across the landscape, and for being notoriously difficult to recycle. Most places still don't accept it, though it is gradually gaining traction.



Read more: http://www.thedailygreen.com/green-homes/latest/recycling-symbols-plastics-460321#ixzz0yEbIf7FB



เลข 7 พลาสติกนั้นมิได้มีการระบุชื่อจำเพาะ
พลาสติกนี้มิใช่พลาสติกชนิดใดชนิดหนึ่งใน 6 ชนิดยอดนิยมที่กล่าวมาแล้ว แต่เป็นพลาสติกที่นำมาหลอมใหม่ได้ เช่น โพลิคาร์บอเนต (polycarbonate, PC) หรือโพลิเมทิลเมธาไครเลต (PMMA)



Number 7 Plastics
Miscellaneous
Found in: Three- and five-gallon water bottles, 'bullet-proof' materials, sunglasses, DVDs, iPod and computer cases, signs and displays, certain food containers, nylon
Recycling: Number 7 plastics have traditionally not been recycled, though some curbside programs now take them.
Recycled into: Plastic lumber, custom-made products

A wide variety of plastic resins that don't fit into the previous categories are lumped into number 7. A few are even made from plants (polyactide) and are compostable. Polycarbonate is number 7, and is the hard plastic that has parents worried these days, after studies have shown it can leach potential hormone disruptors.



Read more: http://www.thedailygreen.com/green-homes/latest/recycling-symbols-plastics-460321#ixzz0yEbMA6mN


ที่มาข้อมูลและรูป
http://www.thedailygreen.com
http://community.thaiware.com/index.php/topic/282172-cceoaaoeuoaoeaean-iaueoeacn/
http://gotoknow.org/blog/gotowiki/189037