วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แรงตึงผิว (Surface tension)

แรงตึงผิว (Surface tension) คือคุณสมบัติของพื้นผิวของของเหลว เป็นสิ่งทำให้เกิดบางส่วนของพื้นผิวของเหลวถูกดึงดูด (ยึดเข้าไว้ด้วยกัน) สู่พื้นผิวอื่น เช่น พื้นผิวของเหลวส่วนอื่น (การรวมตัวของหยดน้ำหรือหยดปรอทที่แกะกันเป็นลูกกลม)

แรงตึงผิวถูกทำให้เกิดขึ้นด้วยการดึงดูด (การดึงดูดของโมเลกุลกับโมเลกุลที่เหมือนกัน) เมื่อโมเลกุลบนพื้นผิวของของเหลวไม่ได้ล้อมรอบไปด้วยโมเลกุลที่เหมือนกันในทุกๆด้านแล้ว โมเลกุลจะมีแรงดึงดูดกับโมเลกุลใกล้เคียงบนพื้นผิวมากขึ้น

แรงตึงผิวมีมิติของแรงต่อความยาวหนึ่งหน่วย หรือของพลังงานต่อพื้นที่หนึ่งหน่วย ซึ่งทั้งสองมีค่าเท่ากัน แต่พลังงานต่อพื้นที่หนึ่งหน่วยอยู่ในพจน์พลังงานพื้นผิว ซึ่งเป็นพจน์ทั่วไปในนัยที่ใช้กับของแข็งไม่ค่อยใช้ในของเหลว


แมลงตัวเล็กขายาวๆ ตัวนี้เรียกว่า จิงโจ้น้ำ และเป็นแมลงที่เดินบนผิวน้ำได้ การที่จิงโจ้น้ำเดินบนผิวน้ำได้นั้นเนื่องจากบนผิวน้ำ จะมีแรงที่เกิดจากแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลหรือที่เรียกว่า แรงระหว่างโมเลกุล(intermolecular forces) แรงดังกล่าวนี้ทำให้โมเลกุลที่อยู่ภายในถูกโมเลกุลที่อยู่รอบๆ ดึงดูดในทุกทิศทาง ไม่มีแรงดึงไปทางใดทางหนึ่งโดยเฉพาะ แต่โมเลกุลที่อยู่บริเวณผิวหน้าของของเหลวจะถูกดึงดูดจากโมเลกุลที่อยู่ด้านข้างและด้านล่างเท่านั้น ไม่มีแรงดึงดูดขึ้นด้านบน ที่ผิวของของเหลวจึงมีแต่แรงดึงเข้าภายใน เรียกว่า แรงตึงผิว แรงดึงนี้จะพยายามดึงโมเลกุลที่ผิวหน้าของของเหลวด้วยแรงที่มากที่สุด ทำให้ผิวหน้าของของเหลวเกิดการหดตัวลง เพื่อลดพื้นที่ผิวให้เหลือน้อยแรงที่ดึงโมเลกุลที่ผิวหน้าของของเหลวเข้าภายในนี้ทำให้เกิดแรงตึงผิวขึ้น น้ำหรือของเหลวจึงสามารถพยุงวัตถุบางชนิดให้อยู่บนผิวหน้าได้ จิงโจน้ำจึงเดินบนผิวน้ำได้

แต่ไม่ใช่เพราะแรงตึงผิวของน้ำอย่างเดียว จิงโจ้น้ำยังมีลักษณะพิเศษคือ มีขายาว และที่ปลายขามีต่อมน้ำมัน รวมทั้งขนเล็กๆ จำนวนมากที่ปลายขาคู่กลางช่วยพยุงลำตัว

กิจกรรมทดลอง มหัศจรรย์น้ำยาล้างจาน

อุปกรณ์
1. จานรองถ้วยกาแฟ
2. นมสด
3. สีผสมอาหาร 4 สี
4. น้ำยาล้างจาน

วิธีทดลอง
1. เทนมลงไปในจานรองถ้วยกาแฟ
2. หยดสีผสมอาหารแต่ละสี 1-2 หยดลงในนม บริเวณขอบจาน
3. หยดน้ำยาล้างจาน 2-3 หยด บริเวณกลางจาน
4. ลองสังเกตการเคลื่อนที่ของสีแต่ละสี

น้ำนมอยู่นิ่งๆ ในจานเพราะมีแรงตึงผิว เมื่อเราเติมน้ำยาล้างจานลงไป จะทำให้แรงตึงผิวของน้ำนมลดลง แรงตึงผิวของน้ำนมบริเวณขอบจานที่มีมากกว่าตรงกลางทำให้น้ำนมไหลไปที่ขอบจานและพาสีผสมอาหารไปด้วย สีต่างๆ ก็เลยเกิดการเคลื่อนที่ จนกว่าน้ำยาล้างจานจะละลายไปจนหมดนั่นเอง



สถานะของสาร

สถานะของสาร

สารโดยทั่วไปในธรรมชาติ มี 3 สถานะ ดังนี้
1. ของแข็ง อนุภาคจะอยู่ชิดกัน อนุภาคไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ทำให้แรงยึดเหนี่ยวอนุภาคสูงกว่าในสถานะอื่นของสารชนิดเดียวกัน มีรูปร่างและปริมาตรที่คงที่แน่นอน ไม่ขึ้นกับภาชนะที่บรรจุ ตัวอย่างของสารที่มีสถานะเป็นของแข็ง เช่น เหล็ก อะลูมิเนียม ทองแดง เงิน เป็นต้น
2. ของเหลว อนุภาคอยู่ห่างกันเล็กน้อย ทำให้อนุภาคสามารถเคลื่อนที่ได้ รูปร่างไม่แน่นอน เปลี่ยนตามภาชนะที่บรรจุ แต่ปริมาตรไม่ขึ้นกับภาชนะ ตัวอย่างของสารที่มีสถานะเป็นของเหลว เช่น น้ำ แอลกอฮอล์ โบรมีน เป็นต้น
3. แก๊ส อนุภาคจะอยู่ห่างกัน แรงยึดเหนี่ยวมีค่าน้อย ทำให้เคลื่อนที่ได้มาก มีปริมาตรและรูปร่างตามภาชนะที่บรรจุ ตัวอย่างของสารที่มีสถานะเป็นแก๊ส เช่น แก๊สออกซิเจน แก๊สไฮโดรเจน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สไนโตรเจน เป็นต้น





รูปแสดงอนุภาคของสารใน สถานะของแข็ง ของเหลว และแก๊สตามลำดับ

การเปลี่ยนสถานะของสาร
การเปลี่ยนสถานะของระบบ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. คายความร้อน เป็นการถ่ายเทพลังงานจากระบบสู่สิ่งแวดล้อม ทำให้สิ่งแวดล้อมมีอุณหภูมิสูงขึ้น
2. ดูดความร้อน เป็นการถ่ายเทพลังงานจากสิ่งแวดล้อมสู่ระบบ ทำให้สิ่งแวดล้อมมีอุณหภูมิลดลง

ข้อสังเกต
ระบบ (system) คือ สิ่งที่เราต้องการศึกษา
สิ่งแวดล้อม (surrounding) คือ สิ่งที่นอกเหนือจากระบบ

ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลง เช่น การทดลองเติมโซดาไฟในน้ำ โดยมีบีกเกอร์เป็นภาชนะ จับบีกเกอร์แล้วรู้สึกร้อน
ระบบ คือ น้ำและโซดาไฟ
สิ่งแวดล้อม คือ บีกเกอร์
เป็นการเปลี่ยนแปลงชนิดคายความร้อน เนื่องจากบีกเกอร์ (สิ่งแวดล้อม) อุณหภูมิสูงขึ้น
# จับภาชนะแล้วรู้สึกร้อน แสดงว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบคายความร้อน
# จับภาชนะแล้วรู้สึกเย็น แสดงว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบดูดความร้อน

การเปลี่ยนแปลงสถานะของสารจะมีพลังงานเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนี้


# การหลอมเหลว (melting) สารเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว โดยต้องให้ความร้อน ทำให้อนุภาคเอาชนะแรงยึดเหนี่ยวได้ ณ อุณหภูมิที่เรียกว่า จุดหลอมเหลว (melting point) เป็นค่าคงที่ของสารหนึ่งๆ เท่านั้น
# การกลายเป็นไอ (evaporation) สารเปลี่ยนสถานะจากของเหลวไปเป็นแก๊ส เมื่ออนุภาคของของเหลวมีพลังงานมาก จนทำให้อนุภาคแยกออกจากกัน เรียกอุณหภูมิที่ทำให้อนุภาคชนะแรงยึดเหนี่ยวของของเหลวได้ว่า จุดเดือด (boiling point)
# การแข็งตัว (freezing) สารเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง หรือแก๊สเป็นของแข็ง โดยจะมีการคายพลังงานออกมา ทำให้อนุภาคมีพลังงานในการสั่นน้อย อนุภาคจึงเรียงตัวแบบชิดกันมากขึ้น
# การควบแน่น (condensation) สารเปลี่ยนสถานะจากแก๊สเป็นของเหลว เช่น กระบวนการเกิดฝน (ไอน้ำ ระบบความเย็น จะกลั่นตัวเป็น น้ำ)
# การระเหิด (sublimation) สารเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นแก๊ส เช่น การระเหิดของลูกเหม็น

การเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำ


# ความร้อนแฝง (latent heat) เป็นพลังงานความร้อนที่ใช้เพื่อเปลี่ยนสถานะ (ดูดพลังงาน) โดยอุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลง มี 2 ประเภท คือ
1. ความร้อนแฝงของการหลอมเหลว (latent heat of fusion) เป็นพลังงานความร้อนที่ดูดเข้าไป เพื่อเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว โดยอุณหภูมิคงที่
2. ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ (latent heat of vaporization) เป็นพลังงานความร้อนที่ดูดเข้าไปเพื่อเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นแก๊ส

สารที่เราพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันนั้นมีทั้งสารที่อยู่ในสถานะของแข็ง ของเหลว และแก๊ส โดยสารสามารถเปลี่ยนจากสถานะหนึ่งไปเป็นอีกสถานะหนึ่งได้ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงพลังงานประเภทดูดหรือคายพลังงาน และสามารถทำให้สารเปลี่ยนกลับมาอยู่ในสถานะเดิมได้อีกด้วย เช่น น้ำแข็งเมื่อได้รับความร้อนจะหลอมเหลวกลายเป็นน้ำ และเมื่อน้ำได้รับความร้อนสูงๆ จนถึงจุดเดือดจะกลายเป็นไอน้ำ ซึ่งไอน้ำนี้สามารถควบแน่นกลับมาเป็นน้ำได้ และเมื่อน้ำได้รับความเย็นจนถึงจุดเยือกแข็งจะกลับมาอยู่ในรูปของน้ำแข็ง เป็นต้น
การเปลี่ยนสถานะของสารจากของแข็งไปเป็นของเหลว และจากของเหลวไปเป็นแก๊ส จะต้องให้ความร้อนแก่สาร เพื่อให้แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของสารลดลง ทำให้อนุภาคของสารเกิดการจับตัวกันน้อยลง และเกิดช่องว่างระหว่างอนุภาคมากขึ้น


รูปแสดงการเปลี่ยนสถานะของสารโดยการดูดความร้อน

การเปลี่ยนสถานะของสารจากแก๊สกลับมาเป็นของเหลว และจากของเหลวกลับมาเป็นของแข็ง จะต้องลดอุณหภูมิของสาร เพื่อให้แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของสารเพิ่มขึ้น ทำให้อนุภาคของสารเกิดการจับตัวกันมากขึ้น และเกิดช่องว่างระหว่างอนุภาคน้อยลง


รูปแสดงการเปลี่ยนสถานะของสารโดยการคายความร้อน

เราสามารถใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนสถานะของสารได้ดังนี้

1. การเปลี่ยนสถานะของสารจากของแข็งเป็นของเหลว เช่น การหล่อเทียน การหล่อพระพุทธรูป การหล่อเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ โดยนำสารที่จะหล่อมาหลอมเหลวแล้วใส่ในแม่พิมพ์ เป็นต้น
2. การเปลี่ยนสถานะของสารจากของแข็งเป็นแก๊ส เช่น การระเหิดของลูกเหม็น เป็นต้น
3. การเปลี่ยนสถานะของสารจากแก๊สไปเป็นของเหลว เช่น การทำฝนเทียมโดยใช้สารเคมีเพื่อทำให้เกิดการควบแน่นของไอน้ำในอากาศกลายเป็นฝน ในกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ต้องอาศัยหลักการควบแน่นของสาร เป็นต้น
4. การเปลี่ยนสถานะของสารจากของเหลวไปเป็นแก๊ส เช่น การทำน้ำให้เดือดเพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำ การผลิตกระแสไฟฟ้าจากแรงดันไอของน้ำเดือด เป็นต้น
5. การเปลี่ยนสถานะของสารจากของเหลวไปเป็นของแข็ง เช่น การทำน้ำแข็ง การทำไอศกรีม เป็นต้น

แม่เหล็ก (Magnetic)

แม่เหล็ก (Magnetic)



แม่เหล็ก คือ สารที่สามารถดูดเหล็กหรือเหนี่ยวนำให้เหล็กหรือสารแม่เหล็กเป็นแม่เหล็กได้ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

1. แม่เหล็กถาวร (Permanent Magnetic) คือแม่เหล็กที่มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กตลอดไป เช่น แม่เหล็กที่ใช้ในลำโพง เป็นต้น ซึ่งได้มาจากการนำเอาลวดทองแดงอาบน้ำยาพันรอบแท่งเหล็กกล้าแล้วปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าไปในขดลวด ทำให้เกิดสนานแม่เหล็กไปดูดเหล็กผลักโมเลกุลภายในแท่งเหล็กกล้า ให้มีการเรียงตัวของโมเลกุลอย่างเป็นระเบียบตลอดไป เหล็กกล้าดังกล่าวก็จะคงสภาพเป็นแม่เหล็กถาวรต่อไป

2. แม่เหล็กไฟฟ้า หรือ แม่เหล็กชั่วคราว (Electro Magnetic) เป็นแม่เหล็กที่เกิดขึ้นในลักษณะเดียวกันกับแม่เหล็กถาวร แต่เหล็กที่นำมาใช้เป็นเพียงเหล็กอ่อนธรรมดา เมื่อมีการป้อนกระแส ไฟฟ้าผ่านเข้าไปในขดลวดที่พันอยู่รอบแท่งเหล็กอ่อนนั้น แท่งเหล็กอ่อนก็จะมีสภาพเป็นแม่เหล็กไปทันที แต่เมื่อหยุดจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าไป อำนาจแม่เหล็กก็จะหมดไปด้วย เช่น อุปกรณ์จำพวกรีเลย์ (Relay) โซนินอยด์ (Solenoid) กระดิ่งไฟฟ้า เป็นต้น

คุณสมบัติของแม่เหล็ก



1. ถ้าแขวนแท่งแม่เหล็กให้เคลื่อนที่อย่างอิสระ เมื่อหยุดนิ่ง แล้วจะชี้ตามแนวทิศเหนือ ทิศใต้ ขั้วที่ชี้ไปทางทิศเหนือ เรียกว่า ขั้วเหนือ(N) ขั้วที่ชี้ไปทางทิศใต้ เรียกว่า ขั้วใต้(S)
2. ขั้วแม่เหล็กทั้งขั้วเหนือและขั้วใต้จะดูดสารแม่เหล็กเสมอ
3. ขั้วเหมือนกันเข้าใกล้กันจะเกิดแรงผลักกัน และขั้วต่างกันเมื่อเข้าใกล้กันจะเกิดแรงดูด
4. อำนาจแรงดึงดูดจะมีมากที่สุดที่บริเวณขั้วทั้งสองแม่เหล็ก
5. เส้นแรงแม่เหล็กมีทิศทางออกจากขั้วเหนือไปยังขั้วใต้

เส้นแรงแม่เหล็ก


เมื่อนำกระดาษแข็งวางบนแท่งแม่เหล็ก โรยเศษผงเหล็กละเอียดบนกระดาษแล้วค่อยๆ เคาะด้วยนิ้วเบาๆ ผงเหล็กจะเรียงตัวตามเส้น แรงแม่เหล็กจากขั้ว N ไปขั้ว S อย่างสวยงาม ดังรูปด้านบน โดยในที่ที่มีเส้นแรงแม่เหล็ก เราเรียกว่ามี สนามแม่เหล็ก

แม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnets)

แม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnets)



แม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnets) หมายถึง อำนาจแม่เหล็กที่เกิดจากการที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านในวัตถุตัวนำหมายความว่าถ้าปล่อยให้ กระแสไฟฟ้าไหลในวัตถุตัวนำจะทำให้เกิด สนามแม่เหล็กรอบ ๆ ตัวนำนั้น

เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเส้นลวดตัวนำ จะเกิดเส้นแรงแม่เหล็กขึ้นรอบๆ เส้นลวดตัวนำนั้น แต่อำนาจแม่เหล็กที่เกิดขึ้นมีเพียงจำนวนเล็กน้อย ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ การจะเพิ่มความเข้มของสนามแม่เหล็ก ทำได้โดยการนำเส้นลวดตัวนำมาพันเป็นขดลวด เส้นแรงแม่เหล็กที่เกิดในแต่ละส่วนของเส้นลวดตัวนำจะเสริมอำนาจกัน ทำให้มีความเข็มของสนามแม่เหล็กเพิ่มขึ้น

ความเข้มของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า จะขึ้นอยู่กับส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้
1. จำนวนรอบของการพันเส้นลวดตัวนำ การพันจำนวนรอบของเส้นลวดตัวนำมากเกิดสนามแม่เหล็กมาก ในทางกลับกันถ้าพันจำนวนรอบน้อยการเกิดสนามแม่เหล็กก็น้อยตามไปด้วย
2. ปริมาณการไหลของกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นลวดตัวนำ กระไฟฟ้าไหลผ่านมากสนา ม แม่เหล็กเกิดขึ้นมาก และถ้ากระแสไฟฟ้าไหลผ่านน้อยสนามแม่เหล็กเกิดน้อย
3. ชนิดของวัสดุที่ใช้ทำแกนของแท่งแม่เหล็กไฟฟ้า วัสดุต่างชนิดกันจะให้ความเข็มของสนามแม่เหล็กต่างกัน เช่น แกนอากาศจะให้ความเข็มของสนามแม่เหล็กน้อยกว่าแกนที่ทำจากสารเฟอโรแมกเนติก (Ferromagnetic) หรือสารที่สามารถเกิดอำนาจแม่เหล็กได้ เช่น เหล็ก เฟอร์ไรท์ เป็นต้น สารเหล่านี้จะช่วยเสริมอำนาจแม่เหล็กในขดลวดทำให้มีความเข็มของสนามแม่เหล็กมากขึ้น
4. ขนาดของแกนแท่งแม่เหล็กไฟฟ้า แกนที่มีขนาดใหญ่จะให้สนามแม่เหล็กมาก ส่วนแกนที่มีขนาดเล็กจะให้สนามแม่เหล็กน้อย

ประโยชน์ของแม่เหล็กไฟฟ้า (Applications of electromagnets)
แม่เหล็กไฟฟ้ามีประโยชน์มากมาย ใช้หลักการที่แม่เหล็กดูดแผ่นโลหะเมื่อว่างวงจรปิดซึ่งเป็นการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล เช่นพลังงานเสียง

1. ออดไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดเสียงจากกระแสตรง แผ่นโลหะจะถูกดูดโดยแม่เหล็กไฟฟ้า ทำให้จุดสัมผัสแยกออก มีผลให้กระแสที่เข้ามายังแม่เหล็กไฟฟ้าหยุดไหล ดังนั้นแผ่นโลหะจึงดีดกลับ เกิดขึ้นเช่นนี้เรื่อยๆ มีผลให้แผ่นโลหะสั่นเกิดเสียงออตขึ้น ในกระดิ่งไฟฟ้ามีค้อนติดกับแผ่นโลหะใกล้กับกระดิ่งเมื่อแผ่นโลหะสั่นค้อนก็จะเคาะกระดิ่ง

2. ปั้นจั่น เป็นการประยุกต์ใช้หลักการของแม่เหล็กไฟฟ้าไปใช้เป็นเครื่องมือสำหรับยกของจำพวกโลหะ ใช้สำหรับดูดเศษเหล็กจากเศษโลหะอื่นๆ เมื่อต้องการใช้ก็เปิดสวิทช์ ทำให้เหล็กที่เป็นแกนของขดลวดเป็นแม่เหล็กดูดเศษเหล็กได้ และเมื่อใช้เสร็จก็ปิดสวิทช์ แกนเหล็กก็จะไม่เป็นแม่เหล็ก ปล่อยเศษเหล็กให้หลุดลงมา

3. หูฟัง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เปลี่ยนสัญญานไฟฟ้าเป็นคลื่นเสียง ใช้แม่เหล็กถาวรดูดแผ่นไดอะแฟรม ความแรงของแรงดึงดูดเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงกระแสไฟฟ้าในขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้า แผ่นไดอะแฟรมจะสั่นทำให้เกิดเสียง



4. รถไฟความเร็วสูง เป็นรถไฟที่มีแม่เหล็กไฟฟ้าติดอยู่ข้างใต้ซึ่งเคลื่อนที่ ไปบนรางที่มีแม่เหล็กไฟฟ้า แม่เหล็กผลักซึ่งกันและกันทำให้รถไฟลอยเหนือราง เป็นการลดแรงเสียดทานระหว่างรถไฟและราง ทำให้เคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น



กลุ่มดาวปลาคู่ (PISCES) ราศีมีน

กลุ่มดาวปลาคู่ (PISCES) ราศีมีน


กลุ่มดาวปลาคู่ เป็นกลุ่มดาวที่อยู่ทางเหนือของเส้นศูนย์สูตรฟ้า ปลาตัวหนึ่งอยู่ถัดจากสี่เหลี่ยมของกลุ่มดาวม้ามีปีกไปทางใต้ อีกตัวหนึ่งอยู่ถัดไปทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยดาวฤกษ์แสงริบหรี่อย่างน้อย 15 ดวง ดวงที่ 1 ถึง 6 เป็นปลาตัวแรก และ ดวงที่ 14 ถึง 15 เป็นปลาตัวที่ 2 ดวงอาทิตย์จะผ่านกลุ่มดาวนี้ระหว่างวันที่ 13 มีนาคม ถึง 19 เมษายน ดวงอาทิตย์จะอยู่บนเส้นศูนย์สูตรฟ้าในวันที่ 21 มีนาคม ซึ่งอยู่ในกลุ่มดาวปลาคู่ วันนี้จะเป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงจุดตะวันออกพอดี และ ตกตรงจุดตะวันตกพอดี เรียกว่า วันอิควินอกซ์ ( EQUINOX ) ซึ่งกลางวันจะยาวนานเท่ากับกลางคืน กลุ่มดาวปลาคู่จะปรากฏอยู่บนฟ้านานราว 9 ชั่วโมง

กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (AQUARIUS) ราศีกุมภ์

กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (AQUARIUS) ราศีกุมภ์


กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ เป็นกลุ่มดาวจักรราศีที่อยู่ทางซีกฟ้าด้านใต้ อยู่ถัดจากกลุ่มดาวมกรไปทางทิศตะวันออก ประกอบไปด้วยดาวฤกษ์แสงริบหรี่อย่างน้อย 13 ดวงมองเห็นได้ไม่ชัดเจนนัก ดวงอาทิตย์จะผ่านกลุ่มดาวนี้ระหว่างวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ถึง 13 มีนาคมปรากฏอยู่บนท้องฟ้านานประมาณ 10 ชั่วโมง

กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ เป็นกลุ่มดาวอันดับที่สิบเอ็ดของกลุ่มดาวจักรราศีเป็นกลุ่มดาวที่ค่อนข้างหายาก เนื่องจากไม่มีดาวฤกษ์ดวงใด ในกลุ่มที่มีความสว่างปรากฏสว่างกว่า 2.9 เลย คนโบราณเห็นเป็นรูปคนแบกหม้อน้ำกำลังเทน้ำลงในแม่น้ำ Fluvius Aquarii ซึ่งหมายถึง The River of Aquarius ซึ่งสายน้ำจะไหล ผ่านกลุ่มดาวปลาทางใต้ (Piscis Austrinus) ที่มีดาวฤกษ์สุกสว่างคือ ดาวโฟมาลออท (Fomalhaut) ขึ้นไปสูงสุดกลางท้องฟ้าประมาณเที่ยงคืนของปลายเดือนสิงหาคม ต้นเดือนกันยายน มีดาวที่สำคัญ ดังนี้ Sadalmelik เป็นดาวฤกษ์สีเหลือง มีความสว่างประมาณ 2.96 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 756 ปีแสง อยู่ในตำแหน่งไหล่ขวาของคนแบกหม้อน้ำ ชื่อดาว มาจากภาษาอารบิก หมายถึง ดาวโชคดีของกษัตริย์ (the Lucky Stats of the King) Sadalsuud เป็นดาวฤกษ์สีเหลือง มีความสว่างประมาณ 2.91 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 612 ปีแสง อยู่ในตำแหน่งไหล่ซ้าย ของคนแบกหม้อน้ำ ชื่อดาว มาจากภาษาอารบิก หมายถึง โชคดีที่สุดของความโชคดี (the Luckiest of the Lucky) NGC7293 - The Helix Nebula เป็นเนบิวลาดวงดาว (Planetary Nebula) ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ของเราที่สุดมีความสว่างประมาณ 6 มองเห็นได้ด้วยกล้องสองตาโดยจะมีขนาดราวเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงจันทร์ ห่างจากโลกประมาณ 300 ปีแสง

นิทานดาว ชาวบาบิโลเนียนโบราณ ประมาณ 2000 ปีก่อนคริสตศักราช มองเห็นเป็นรูปหม้อน้ำ ที่มีน้ำล้นออกมา และแทนด้วยสัญลักษณ์ ของคนแบกหม้อน้ำ (Aquarius) ซึ่งในเดือนที่ 11 ของชาวบาบิโลเนียน (หรือระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์) จะเป็นช่วงที่ฝนตกหนักในรอบปี ส่วนชาวอียิปต์โบราณ เห็นเป็นรูปเทพเจ้า Hapi ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งแม่น้ำไนล์ ซึ่งเป็นผู้ให้น้ำ เพื่อการดำรงชีวิตของมนุษย์โลก

กลุ่มดาวมกร หรือ แพะทะเล (CAPRICORNUS) ราศีมกร

กลุ่มดาวมกร หรือ แพะทะเล (CAPRICORNUS) ราศีมกร


กลุ่มดาวมกร หรือ กลุ่มดาวแพะทะเล เป็นกลุ่มดาวจักรราศีที่อยู่ถัดจากกลุ่มดาวคนยิงธนูไปทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยดาวฤกษ์เรียงตัวอย่างน้อย 9 ดวง เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านโค้ง มองเห็นได้ไม่ชัดเจน ดวงอาทิตย์จะโคจรผ่านกลุ่มดาวมกรระหว่างวันที่ 21 มกราคม ถึง 16 กุมภาพันธ์ กลุ่มดาวมกรจะอยู่เหนือขอบฟ้า ตั้งแต่ขึ้นถึงลับขอบฟ้านานประมาณ 10 ชั่วโมง

กลุ่มดาวคนยิงธนู (SAGITTARIUS) ราศีธนู

กลุ่มดาวคนยิงธนู (SAGITTARIUS) ราศีธนู


กลุ่มดาวคนยิงธนู อยู่ถัดจากกลุ่มดาวแมงป่องไปทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยดาวฤกษ์เรียงกันอย่างน้อย 8 ดวง คล้ายกับกาต้มน้ำ ไม่มีดาวดวงใดเด่นมากนัก ดวงอาทิตย์จะโคจรผ่านกลุ่มดาวคนยิงธนูระหว่างวันที่ 19 ธันวาคม ถึง 21 มกราคม ซึ่งกลุ่มดาวคนยิงธนูเป็นกลุ่มดาวที่อยู่ใจกลางทางช้างเผือก

กลุ่มดาวคนยิงธนู เป็นกลุ่มดาวอันดับที่เก้าของกลุ่มดาวจักรราศีโดยกลุ่มดาวคนยิงธนูจะเป็นรูปสัตว์ในเทพนิยาย เป็นครึ่งม้าครึ่งคน เหมือนกลุ่มดาวม้าครึ่งคน (Centaurus) เพียงแต่คนยิงธนูเป็นนายพรานจึงมักจะสับสนกันบ่อย กลุ่มดาวคนยิงธนูจะหันปลายธนู ไปทางกลุ่มดาวแมงป่อง (Scorpius) แต่กลุ่มดาวที่ค่อนข้างสุกสว่างจริงๆ ของกลุ่มดาวนี้ เรามักจะเห็นเป็นรูปกาต้มน้ำหันไปทางกลุ่มดาวแมงป่องมากกว่าโดยจะขึ้นไปสูงสุดกลางท้องฟ้าประมาณเที่ยงคืนของต้นเดือนกรกฎาคม มีดาวที่สำคัญ ดังนี้ Rakbat เป็นดาวฤกษ์สีน้ำเงิน-ขาว มีความสว่างไม่มากนักเพียงประมาณ 4.1 เท่านั้น ชื่อดาว หมายถึง หัวเข่า (The Knee) Arkab Prior Arkab Posterior เป็นดาวฤกษ์สีน้ำเงิน-ขาว มีความสว่างไม่มากนักเช่นกันเพียงประมาณ 4.3 และ 4.5 เท่านั้น Alnasl เป็นดาวฤกษ์สีเหลืองมีความสว่างประมาณ 2.99 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 96 ปีแสง ดาวดวงนี้ มีอีกชื่อหนึ่งว่า Nash หมายถึง หัวลูกศรธนู Kaus Australis เป็นดาวฤกษ์สีน้ำเงิน-ขาว มีความสว่างประมาณ 1.85 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 145 ปีแสง ชื่อดาว หมายถึง ด้านใต้ของคันธนู (The Southern Bow) เนื่องจากตำแหน่งของดาว อยู่ในตำแหน่งด้านล่างของคันธนูนั่นเอง Kaus Meridionalis มีความสว่างประมาณ 2.70 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 306 ปีแสง ชื่อดาว หมายถึง กลางของคันธนู (The Middle Bow) เนื่องจากตำแหน่งของดาวอยู่ในตำแหน่งกลางคันธนู Kaus Borealis มีความสว่างประมาณ 2.81 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 77 ปีแสง ชื่อดาว หมายถึง ด้านเหนือของคันธนู (The Northern Bow) เนื่องจากตำแหน่งของดาว อยู่ในตำแหน่งด้านบนของคันธนู Nunki เป็นดาวฤกษ์สีน้ำเงิน-ขาว มีความสว่างประมาณ 2.02 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 224 ปีแสง อยู่ในตำแหน่งมือขวาของคนยิงธนูที่กำลังง้างธนู ชื่อดาวดวงนี้ ตั้งแต่สมัยบาบิโลเนียน หมายถึง ดาวที่ขึ้นมาก่อนในทะเล (the Star Preclaiming the Sea) เนื่องจากกลุ่มดาวที่จะปรากฏตามมาล้วนเป็นกลุ่มดาวที่อยู่กับในทะเลทั้งสิ้น ได้แก่ กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (Aquarius) กลุ่มดาวแพะทะเล หรือมกร (Capricornus) กลุ่มดาวปลาโลมา (Delphius) กลุ่มดาวปลาวาฬ (Cetus) กลุ่มดาวปลาคู่ (Pisces) กลุ่มดาวปลาทางใต้ (Piscis Austrinus) Ascella มีความสว่างปรากฏ 2.60 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 89 ปีแสง ชื่อดาว มาจากภาษาละติน หมายถึง ไหล่ (Armpit) Albaldah เป็นฤกษ์ในระบบดาวคู่ 3 ดวง มีความสว่างประมาณ 2.89 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 440 ปีแสง M8 - The Lagoon Nebula ลากูนเนบิวลา เป็นเนบิวลาสว่าง มีความสว่างประมาณ 5.8 มองเห็นได้ด้วยกล้องสองตา M22 - Globular Cluster เป็นกระจุกดาวทรงกลม มีความสว่างประมาณ 5.1 มองเห็นได้ด้วยกล้องสองตาM24 - Open Cluster เป็นกระจุกดาวเปิด มีความสว่างประมาณ 4.5 พอมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า M25 - Open Cluster เป็นกระจุกดาวเปิด มีความสว่างประมาณ 4.6 พอมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

กลุ่มดาวแมงป่อง (SCOPIUS) ราศีพิจิก

กลุ่มดาวแมงป่อง (SCOPIUS) ราศีพิจิก


กลุ่มดาวแมงป่อง ปรากฏอยู่ทางตะวันตกของกลุ่มดาวคนยิงธนู เป็นกลุ่มดาวทางซีกฟ้าด้านใต้ ซึ่งดวงอาทิตย์จะโคจรผ่านระหว่างวันที่ 23 ถึง 30 พฤศจิกายน กลุ่มดาวแมงป่องประกอบด้วยดาวฤกษ์อย่างน้อย 15 ดวง โดยดวงที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดเป็นดาวฤกษ์สีแดง ชื่อ แอนทาเรส ( ANTARES ) แปลว่า คู่แข่งของดาวอังคาร เป็นดาวแปรแสงแฝดคู่ขนาดยักษ์ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 700 เท่าของดวงอาทิตย์ คนไทยเรียกดาวดวงนี้ว่า ดาวปาริชาต

กลุ่มดาวแมงป่อง เป็นกลุ่มดาวที่มีดาวฤกษ์เรียงตัวปรากฏเป็นรูปแมงป่องอย่างชัดเจนมาก ปรากฏอยู่ทางทิศตะวันตกของกลุ่มดาวคนยิงธนู ทางซีกฟ้าด้านใต้และเป็นกลุ่มดาวแนวกาแล็กซี่ทางช้างเผือก ( The Milky Way ) พาดผ่าน ดวงอาทิตย์จะผ่านกลุ่มดาวแมงป่องระหว่างวันที่ 23 ถึง 30 พฤศจิกายน กลุ่มดาวแมงป่องประกอบไปด้วยดาวฤกษ์อย่างน้อย 15 ดวง โดย 3 ดวงแรกเป็นหัว ถัดไปอีก 4 ดวงเป็นลำตัว และที่เหลือเป็นส่วนหาง กลุ่มดาวแมงป่องนี้จะอยู่บนท้องฟ้านานถึงคืนละ 8 ชั่วโมง ดาวที่สำคัญในกลุ่มดาวแมงป่อง มีดังนี้ Antares ดาวแอนทาเรส เป็นดาวฤกษ์ยักษ์สีแดง ( Supergiant ) มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ ประมาณ 700 เท่า เป็นดาวคู่ มีความสว่าง 0.9 ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่สว่างเป็นอันดับ 15 ของท้องฟ้าตอนกลางคืน อยู่ห่างจากโลกประมาณ 604 ปีแสง ชื่อดาวหมายถึง คู่แข่งของดาวอังคาร ( the Rival to Ares ) เนื่องจากมีสีแดงคล้ายดาวอังคารนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า Cor Scorpii ซึ่งหมายถึง หัวใจแมงป่อง ( the Heart of Scorpion ) ส่วนคนไทยเรียกชื่อดาวดวงนี้ว่า ดาวปาริชาต Acrab or Graffias เป็นดาวในระบบดาวคู่ที่อยู่ใกล้กันมาก มีความสว่าง 2.62 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 530 ปีแสง Dschubba เป็นดาวในระบบดาวคู่ที่อยู่ใกล้กันมาก มีความสว่าง 2.32 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 522 ปีแสง ชื่อดาวหมายถึง หน้าผากของแมงป่อง ( the Forehead of the Scorpion ) Shaula เป็นดาวแปรแสง มีความสว่าง 1.59-1.65 คาบประมาณ 0.21 วันอยู่ห่างจากโลกประมาณ 359 ปีแสง ชื่อดาวหมายถึง หางเหล็กไนของแมงป่อง ( Sting ) Sargas มีความสว่าง 1.87 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 272 ปีแสง Lesath มีความสว่าง 2.69 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 518 ปีแสง นอกจากนี้ในกลุ่มดาวแมงป่องยังมีกระจุกดาวและเนบิวลาที่สำคัญ ดังนี้ M6เป็นกระจุกดาวเปิดมีความสว่างประมาณ 4.2 พอมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า M7เป็นกระจุกดาวเปิดมีความสว่างประมาณ 3.3 ซึ่งสว่างกว่า M6 พอมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า IC4606 The Red Nebulaเป็นเนบิวลาสีแดง ( The reddish Nebula )อยู่รอบๆดาวปาริชาตมองเห็นได้ด้วยกล้องดูดาวห่างจากโลกประมาณ 7,000 ปี IC4604 The Bluish Purple Nebulaเป็นเนบิวลาสีม่วง อยู่รอบๆดาวโรห์ซึ่งจริงๆแล้วอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงูแต่อยู่ใกล้ IC4606 ซึ่งเหนือขึ้นไปเพียงเล็กน้อยประมาณ 3 องศาจากดาวปาริชาตเท่านั้น มองเห็นได้ด้วยกล้องดูดาว

นิทานดาว แมงป่องเป็นสัตว์ที่จีอา (Gaea) เทพเจ้าแห่งโลก ส่งให้ไปทำร้ายนายพราน Orion ทำให้นายพรานต้องหนีแมงป่อง ( สาเหตุมาจากการที่นายพรานโอ้อวดกับเทพีแห่งการล่าสัตว์หรือดวงจันทร์ว่าผู้ใดล่าสัตว์เก่งกว่ากัน จนภายหลังในขณะที่นายพรานกำลังหนีแมงป่องอยู่ก็ถูกเทพีแห่งการล่าสัตว์ยิงธนูใส่จนถึงแก่ความตาย โดยที่เทพีแห่งการล่าสัตว์ไม่ได้ตั้งใจที่จะฆ่านายพราน ) แม้ว่าจะกลายเป็นกลุ่มดาวบนท้องฟ้าไปแล้วนายพรานก็ยังคงหนีแมงป่องอยู่ โดยกลุ่มดาวแมงป่องจะขึ้นในขณะที่กลุ่มดาวนายพรานกำลังตกลับขอบฟ้าอยู่ทิศตรงข้ามกันตลอดกาล

กลุ่มดาวคันชั่ง( LIBRA )ราศีตุล

กลุ่มดาวคันชั่ง( LIBRA )ราศีตุล


กลุ่มดาวคันชั่ง เป็นกลุ่มดาวที่เป็นสิ่งของกลุ่มดาวเดียวในกลุ่มดาวจักรราศี เป็นกลุ่มดาวซีกฟ้าด้านทิศใต้ อยู่ถัดจากหัวแมงป่องไปทางทิศตะวันตก ประกอบด้วยดาวฤกษ์แสงริบหรี่อย่างน้อย 6 ดวง เรียงกันคล้ายว่าวปักเป้า ดวงอาทิตย์จะผ่านกลุ่มดาวคันชั่ง ระหว่างวันที่ 1 ถึง 21 พฤศจิกายน มองเห็นได้ไม่ชัดเจนบนท้องฟ้า ต้องใช้กลุ่มดาวแมงป่อง หรือ กลุ่มดาวรวงข้าวช่วยในการค้นหา ซึ่งสามารถเห็นกลุ่มดาวคันชั่งได้ตลอดคืนในเดือนพฤษภาคม

กลุ่มดาวหญิงสาวพรหมจารี (VIRGO)ราศีกันย์

กลุ่มดาวหญิงสาวพรหมจารี (VIRGO)ราศีกันย์


กลุ่มดาวหญิงสาวพรหมจารี เป็นกลุ่มดาวจักรราศีที่ดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่ผ่านระหว่างวันที่ 17 กันยายน ถึง วันที่ 1 พฤศจิกายน ถือว่าเป็นกลุ่มดาวจักรราศีที่ดวงอาทิตย์ใช้เวลาเคลื่อนที่ผ่านนานที่สุด คือ 46 วัน รองลงมาคือ กลุ่มดาววัว 39 วัน ประกอบด้วยดาวฤกษ์เรียงต่อกันอย่างน้อย 11 ดวง มีกลุ่มดาวที่สว่างมากอยู่ 6 ดวงเรียงกันเป็นรูปตัววาย ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุด คือ ดาวสไปก้า ( SPICA ) เป็นดาวฤกษ์สีขาวเหลือง มีหมายถึง รวงข้าวสาลีที่หญิงสาวถือไว้ในมีซ้าย มีความสว่าง 0.97 และอยู่ใต้เส้นสุริยะวิถีเล็กน้อย เมื่อถึงวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ดวงจันทร์จะตรงกับดาวสไปก้าพอดี จึงเรียกว่า จิตรฤกษ์

กลุ่มดาวหญิงสาว หรือกลุ่มดาวหญิงสาวพรหมจารี เป็นกลุ่มดาวอันดับที่หกของกลุ่มดาวจักรราศี มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองรองจากกลุ่มดาวงูไฮดรา (Hydra) กลุ่มดาวหญิงสาว อยู่ทางซีกฟ้าใต้ มีลำตัวทอดยาวขนานไปตามแนวสุริยวิถี (อยู่ด้านเหนือของสุริยะวิถี) มีดาวฤกษ์สุกสว่าง คือ ดาวรวงข้าว เป็นดาวฤกษ์ที่เห็นได้เด่นชัดและหาได้ง่าย โดยกลุ่มดาวหญิงสาว จะขึ้นไปสูงสุดกลางท้องฟ้า ประมาณเที่ยงคืนของเดือนเมษายน มีดาวที่สำคัญ ดังนี้ Spica ดาวรวงข้าว หรือดาวสไปกา เป็นดาวแปรแสง มีความสว่างระหว่าง 0.97-1.04 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 262 ปีแสง ดาวรวงข้าว อยู่ในตำแหน่งก้านของรวงข้าว ที่หญิงสาวถือไว้ด้วยมือซ้าย คำว่า Spica มาจากภาษาอารบิก หมายถึง ไม่สามารถสู้ได้ (Defenceless or unarmed one) เนื่องจากไม่มีดาวฤกษ์ที่สว่างใดใกล้เคียงบริเวณนั้นและถ้ามองไปตามแนวสุริยวิถีจะพบว่า ดาวรวงข้าวจะอยู่ประมาณกึ่งกลางระหว่าง ดาวหัวใจสิงห์ และดาวปาริชาตโดยห่างไปประมาณ 50 องศา Zavijava ดาวซานิซจาวา เป็นดาวฤกษ์สีเหลืองมีความสว่างประมาณ 3.8 ปัจจุบันจุด Autumnal Equnix ก็อยู่ใกล้กับดาวดวงนี้มากที่สุด Porrima ดาวพอร์ริมา เป็นดาวคู่ มีความสว่างรวมประมาณ 2.76 สามารถเห็นทั้งคู่ได้ด้วยกล้องดูดาวหรือกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กทั้งคู่มีความสว่างประมาณ 3.5 ทั้งสองดวง โคจรรอบซึ่งกันและกัน ใช้เวลาประมาณ 169 ปีต่อรอบอยู่ห่างจากโลกประมาณ 39 ปีแสง ชื่อดาว พอร์ริมา เป็นชื่อเทพธิดาแห่งการทำนาย ในสมัยโรมัน (the Roman Goddess of Prophecy) ดาวดวงนี้ มีอีกชื่อหนึ่งว่า Carmenta Auva เป็นดาวฤกษ์ยักษ์สีแดง มีความสว่างประมาณ 3.38 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 202 ปีแสง มีอีกชื่อหนึ่งว่า Minalava Vindemiatrix ดาววินดามิอาทริกซ์ มีความสว่างประมาณ 2.83 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 102 ปีแสง อยู่ในตำแหน่งแขนขวาของหญิงสาว ชื่อดาวมาจากภาษาละติน หมายถึง ผู้เก็บเกี่ยวต้นองุ่น (The femaie grape-gatherer) ซึ่งในอดีต ดาวดวงนี้เป็นสัญญาณบอกถึง การเข้าสู่ฤดูการทำไวน์นั่นเอง The Virgo Cluster of Galaxies กระจุกกาแล็กซีในกลุ่มดาวหญิงสาวเป็นกระจุกดาวที่มีกาแล็กซีจำนวนมาก ในกลุ่มดาวหญิงสาว อยู่ในบริเวณศีรษะของหญิงสาว ระหว่างกลุ่มดาวผมของเบเรนิซ (Coma Berenices) และกลุ่มดาวนกกา (Corvus) ห่างจากโลกโดยเฉลี่ยประมาณ 65 ปีแสง มีความสว่างระหว่างช่วง 8.6-11.9 ได้แก่ M49, M58, M59, M60, M61, M84, M86, M87, M89, M90, M104 เป็นต้น M87 - The Virgo A Galaxy มีชื่อว่า The Virgo A Galaxy มีความสว่างประมาณ 8.6 เป็นกาแล็กซีแบบทรงกลม (The Elliptical Galaxy) ประเภท E0 ที่สว่างที่สุด ในกลุ่มดาวหญิงสาว อยู่ระหว่างแนวต่อระหว่าง กลุ่มดาวหญิงสาว และกลุ่มดาวผมของเบเรนิซ (Coma Berenices) และจะมีกาแล็กซี และกระจุกดาวทรงกลมมากมาย รอบๆบริเวณนี้ M104 - The Sombrero Galaxy เป็นกาแล็กซีที่มีความสว่าง อยู่ในอันดับต้นๆ ของกลุ่มดาวหญิงสาวเป็นกาแล็กซีแบบมีแขน (Spiral Galaxy) ประเภท Sa ถ้ากล้องโทรทรรศน์ มีกำลังขยายพอ จะเห็นเป็นแถบดำ คาดอยู่กลางกาแล็กซีนี้ อยู่ระหว่างแนวต่อระหว่าง กลุ่มดาวหญิงสาว และกลุ่มดาวนกกา (Corvus)

นิทานดาว เทพธิดาแอสเตรีย เป็นลูกสาวของจูปิเตอร์และเทมิส เธอลงมาจากสวรรค์ พร้อมน้องสาวชื่อว่า พูดิซิเตรีย ทั้งคู่ไร้เดียงสา ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ เทพธิดาแอสเตรีย เป็นเทพธิดาแห่งความยุติธรรม เธอปรารถนาให้โลกร่มเย็น ไม่เบียดเบียนกันและกัน แต่มนุษย์กลับรบราฆ่าฟันกัน ขโมยข้าวของ กดขี่ข่มเหง เธอทนไม่ได้จึงหนีเข้าไปอยู่ในป่า จนในที่สุด ต้องหนีกลับสวรรค์ โดยจะปรากฏให้เห็นเฉพาะ คนที่รักและใฝ่หาสันติภาพ กับความยุติธรรมเท่านั้น และเพื่อเป็นเครื่องเตือนสติ เธอจึงบดรวงข้าว แล้วหว่านเมล็ดข้าว ไปรอบฟ้า กลายเป็นทางช้างเผือกที่สวยงาม ร่มเย็น และสันติสุข

กลุ่มดาวสิงโต (LEO) ราศีสิงห์

กลุ่มดาวสิงโต (LEO) ราศีสิงห์


กลุ่มดาวสิงโต ประกอบด้วยดาวฤกษ์อย่างน้อย 9 ดวง ดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาวราศีสิงห์ระหว่างวันที่ 11 สิงหาคม ถึง 17 กันยายน เป็นกลุ่มดาวที่สังเกตได้ง่ายบนฟ้า เพราะมีดาวฤกษ์ดวงใหญ่สีน้ำเงินขาวสว่างที่สุดในกลุ่มดาวนี้ 1 ดวง อยู่ตรงบริเวณหน้าอกของสิงโต เรียกว่า ดาวเรกิวลุส ( REGULUS ) หรือ ดาวหัวใจสิงห์ มีความสว่างถึง 1.35 และ ตรงปลายหางของสิงโตจะมีดาวฤกษ์สว่างสีขาวอีก 1 ดวง เรียกว่า ดาวหางสิงห์ ( DENEBOLA ) มีความสว่าง 2.14 ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 นั้น ดวงจันทร์จะปรากฏเต็มดวงบริเวณหัวของสิงโต ที่เรียกว่า มาฆฤกษ์

กลุ่มดาวสิงโต เป็นกลุ่มดาวอันดับที่ห้าของกลุ่มดาวจักรราศี เป็นกลุ่มดาวที่อยู่ในแนวสุริยวิถีที่สังเกต และจดจำได้ง่ายโดยรูปสิงโตของกลุ่มดาวสิงโต จะหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ดาวในส่วนหัวของสิงโตจะเรียงกันเป็นรูปเครื่องหมายคำถามกลับด้าน (Reversed Question Mark) โดยมีดาวฤกษ์สุกสว่างคือ ดาวเรกูลัส ซึ่งจะอยู่ตรงตำแหน่งหัวใจของสิงโต จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า ดาวหัวใจสิงห์ มีดาวที่สำคัญดังนี้ Regulus or Cor Leonic ดาวหัวใจสิงห์ (ดาวเรกูลัส) เป็นดาวฤกษ์สีน้ำเงิน-ขาวที่อยู่บนแนวสุริยวิถี มีความสว่างประมาณ 1.35 เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างเป็นอันดับ 21 ของท้องฟ้าตอนกลางคืน อยู่ห่างจากโลกประมาณ 77 ปีแสง ชื่อดาว Regulus หมายถึง หัวใจสิงห์ เป็นดาวหนึ่งในสี่ของดาวราชาทั้งสี่ (The Four Royal Stars) ซึ่งประกอบด้วย ดาวหัวใจสิงห์ ดาวตาวัว ดาวปาริชาต และดาวโฟมาออท ซึ่งแต่ละดวงจะแบ่งเส้นรอบวงท้องฟ้าออกเป็น 4 ส่วน โดยอยู่ห่างพอๆกันประมาณครึ่งท้องฟ้า (90 องศา) ทำให้เรามองเห็นดาวราชาอย่างน้อย 1 คู่เสมอ นอกจากนี้ดาวหัวใจสิงห์เป็นดาวคู่โดยโคจรรอบดาวฤกษ์อีกดวงซึ่งกันและกันพอมองเห็นได้ด้วยกล้องสองตา Denebola ดาวเดเนบโบลา มีความสว่างประมาณ 2.14 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 36 ปีแสง ชื่อดาว หมายถึง หางสิงโต (The lion's tail) ซึ่งอยู่ในตำแหน่งหางสิงโตพอดีโดยดาว Denebola เป็นดาวคู่เช่นกันแต่ไม่สามารถเห็นดาวคู่ได้ด้วยกล้องดูดาวขนาดเล็ก Algieba ดาวอัลจีบา เป็นดาวคู่ มีความสว่างประมาณ 2.2 และ 3.47 สามารถเห็นดาวคู่ได้ด้วยกล้องดูดาวขนาดเล็กอยู่ห่างจากโลกประมาณ 126 ปีแสงโคจรรอบซึ่งกันและกันโดยใช้เวลาประมาณ 620 ปีต่อรอบ ชื่อดาวหมายถึง หน้าผาก (The Forehead) แต่จริงๆแล้วอยู่ในตำแหน่งคอของสิงโต นอกจากนี้เราสามารถเห็นฝนดาวตกสิงโต (Leonid Meteor Shower) ได้ตรงตำแหน่งประมาณ 2 องศาไปทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของดาวดวงนี้โดยจะเห็นมากสุดทุก 33 ปีโดยครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ.2542 (ค.ศ.1999) Adhafera ดาวแอดฮาเฟอรา เป็นดาวคู่เช่นกันอยู่ห่างจากโลกประมาณ 260 ปีแสงโดยที่อีกดวงมีความสว่างประมาณ 6 พอมองเห็นดาวคู่ได้ด้วยกล้องสองตา M95 M96 M105 - The Galaxy M95 และ M96 เป็นกาแลกซีแบบกังหัน (Spiral Galaxy) ส่วน M105 เป็นกาแลกซีแบบทรงกลม (Elliptical Galaxy) กล้องสองตา อยู่ห่างจากดาวหัวใจสิงห์ ไปทางตะวันออก ประมาณ 9 องศาอยู่ห่างจากโลกประมาณ 30 ล้านปีแสง จากกาแลกซีทางช้างเผือกมีความสว่างประมาณ 9.7, 9.2 และ 9.3 ตามลำดับ

นิทานดาว สิงโต เป็นราชาหรือเจ้าแห่งสัตว์ป่าของโลก ออกล่าเหยื่อรบกวนชาวบ้าน จึงถูกฆ่าโดยเฮอร์คิวลิส (Hercules) แต่เนื่องจากสิงโตตัวนี้ มีหนังหนาและเหนียว ฟันแทงไม่เข้า จึงถูกเฮอร์คิวลิสฆ่า โดยล็อคคอด้วยมือเปล่า (Headlock) จากนั้นเฮอร์คิวลิสก็ถลกหนัง โดยใช้เล็บของสิงโตเอง จากนั้น ก็เอาหนังมาทำเครื่องแต่งกาย และเกราะ ทำให้เฮอร์คิวลิสดูน่าเกรงขาม จากนั้น Selene เทพธิดาแห่งดวงจันทร์ ได้นำสิงโตขึ้นไปอยู่บนท้องฟ้า เป็นหนึ่งในกลุ่มดาวจักราศี โดยที่สิงโตจะวิ่งหนีเฮอร์คิวลิสตลอดเวลา โดยสิงโตอยู่สูงสุดบนท้องฟ้า ในขณะที่เฮอร์คิวลิสกำลังขึ้น และตกในขณะที่เฮอร์คิวลิส อยู่สูงสุดบนท้องฟ้าเสมอ

กลุ่มดาวปู (CANCER) ราศีกรกฎ

กลุ่มดาวปู (CANCER) ราศีกรกฎ


กลุ่มดาวปู เป็นกลุ่มดาวที่ถัดมาจากกลุ่มดาวคนคู่ทางทิศตะวันออก ดวงอาทิตย์จะผ่านกลุ่มดาวปูระหว่างวันที่ 21 กรกฎาคม ถึง 11 สิงหาคม กลุ่มดาวปูประกอบไปด้วยดาวฤกษ์แสงริบหรี่อย่างน้อย 5 ดวงทำให้มองเห็นได้ยาก แต่ในต้นเดือนกุมภาพันธ์จะเห็นได้ตลอดคืน ในกลุ่มดาวปูนี้จะมีฝ้าขาวๆอยู่ เรียกว่า กระจุกดาวรวงผึ้ง ( PRAESEPE ) หรือ ที่คนไทยเรียกว่า กระจุกดาวปุยฝ้าย ซึ่งเป็นกระจุกดาวเปิดประกอบไปด้วยดาวฤกษ์จำนวนมาก และสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

กลุ่มดาวปู เป็นกลุ่มดาวที่มีความสว่างน้อยที่สุดในกลุ่มดาวจักรราศี ซึ่งไม่มีดาวดวงใดในกลุ่มดาวเลย ที่มีความสว่างน้อยกว่า 4.0 กลุ่มดาวปู อยู่ระหว่างกลุ่มดาวคนคู่ (Gemmini) และกลุ่มดาวสิงโต (Leo) โดยกลุ่มดาวปูจะขึ้นไปสูงสุดกลางท้องฟ้าประมาณเที่ยงคืนของปลายเดือนมกราคมและต้นเดือนกุมภาพันธ์ มีกลุ่มดาวที่สำคัญ ดังนี้ Acubens เป็นดาวฤกษ์สีน้ำเงินขาว มีความสว่างประมาณ 4.3 ชื่อดาว หมายถึง ก้ามปู (The Claw) Altarf มีความสว่างประมาณ 3.52 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 290 ปีแสง ชื่อดาว หมายถึง ปลายขาปู Asellus Borealis เป็นดาวฤกษ์สีเหลืองมีความสว่างประมาณ 4.7 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 230 ปีแสง หมายถึง ลา (The Assess) Asellus Austrailis เป็นดาวฤกษ์สีเหลือง มีความสว่างประมาณ 4.2 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 220 ปีแสง M44 - The Beehive Cluster or Praesepe Open Cluster กระจุกดาวรวงผึ้ง เป็นกระจุกดาวเปิดที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยจะมองเห็นเป็นฝ้า มีขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 เท่าของดวงจันทร์ (ประมาณ 80 ลิปดา) ประกอบด้วยดาวฤกษ์เกือบ 100 ดวง มีความสว่างปรากฏประมาณ 3.1 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 520 ปีแสง ชื่อกระจุกดาว หมายถึง รางหญ้า (The Manger)

นิทานดาว ปูถูกจูโน (Juno) ส่งให้ไปทำร้ายเฮอร์คิวลิส (Hercules) ที่กำลังต่อสู้กับงูไฮดรา (Hydra) แต่ไม่สำเร็จ ในที่สุดจูโนจึงนำไปไว้บนท้องฟ้า กลายเป็นกลุ่มดาวปู

กลุ่มดาวคนคู่ (GEMINI)ราศีเมถุน

กลุ่มดาวคนคู่ (GEMINI)ราศีเมถุน


กลุ่มดาวคนคู่ เป็นกลุ่มดาวที่อยู่ถัดจากกลุ่มดาววัวไปทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยดาวฤกษ์อย่างน้อย 8 ดวงเรียงกันเป็นรูปคนคู่ หรือ ฝาแฝด มีชื่อว่า คาสเตอร์ ( CASTER ) เป็นดาวฤกษ์แฝดหกซึ่งเป็นดาวดวงที่ 5 ในกลุ่มดาวคนคู่ และ พอลลักซ์ ( POLLUX ) ซึ่งเป็นดาวดวงที่ 4 ในกลุ่มดาวคนคู่ ดวงอาทิตย์จะผ่านเข้าสู่กลุ่มดาวคนคู่ระหว่างวันที่ 21 มิถุนายน ถึง 21 กรกฎาคม เป็นกลุ่มดาวที่เห็นชัดตลอดคืนในฤดูหนาว โดยเฉพาะเดือนมกราคมจะเห็นอยู่ตลอดทั้งคืน

กลุ่มดาวคนคู่ เป็นกลุ่มดาวอันดับที่สามของกลุ่มดาวจักรราศี เนื่องจากเป็นกลุ่มดาวที่อยู่ในแนวสุริยวิถี อยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ของกลุ่มดาวนายพราน (Orion) โดยมีดาวฤกษ์สุกสว่างที่สังเกตง่าย และอยู่ใกล้กัน 2 ดวง คือ ดาวคาสเตอร์ (Caster) และ ดาวพอลลักซ์ (Pollux) อยู่บนทางช้างเผือก (The Milky Way) ส่วนคนไทยเห็นกลุ่มดาวคนคู่ เรียงกันเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า คล้ายโลงศพ จึงเรียกชื่อกลุ่มดาวนี้ว่า กลุ่มดาวโลงศพ และเห็นดาวสามดวงที่อยู่ตรงด้านข้างโลงเหมือน นกกาที่มาเกาะโลงอยู่ แล้วเรียกกลุ่มดาวดังกล่าวว่า กลุ่มดาวกา เราสามารถเห็นกลุ่มดาวคนคู่ ขึ้นไปสูงสุดกลางท้องฟ้า ราวเที่ยงคืนของเดือนมกราคม ประกอบด้วยกลุ่มดาวที่สำคัญดังนี้ Caster ดาวคาสเตอร์ เป็นดาวฤกษ์ในระบบดาวคู่ (Double Star) ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดย 2 ดวงแรก (ชื่อ Caster A และ Caster B) มีความสว่างเท่ากับ 1.94 และ 2.92 ตามลำดับ โดยโคจรรอบกันและกันประมาณ 510 ปีต่อรอบ อยู่ห่างจากโลกประมาณ 52 ปีแสง ดาวคาสเตอร์ เป็นศีรษะของหนึ่งในสองคนของคนคู่ Pollux เป็นดาวฤกษ์สีเหลือง มีความสว่างเท่ากับ 1.14 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 34 ปีแสง ชาวอารบิก เรียกดาวพอลลักซ์ อีกชื่อหนึ่งว่า Rasalgeuse หมายถึง ศีรษะของคนคู่ Alhena เป็นดาวฤกษ์สีเหลือง มีความสว่างประมาณ 1.93 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 105 ปีแสง M35 เป็นกระจุกดาวเปิด (Open Cluster) ในกลุ่มดาวคนคู่ มองเห็นค่อนข้างยากด้วยตาเปล่า อยู่เหนือดาวเอตาประมาณ 2 องศา ประกอบด้วยดาวฤกษ์สว่างประมาณ 200 ดวงขึ้นไป มีความสว่างประมาณ 5.1 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 2200 ปีแสง

กลุ่มดาววัว (TAURUS) ราศีพฤษภ

กลุ่มดาววัว(TAURUS)ราศีพฤษภ


กลุ่มดาววัว เป็นกลุ่มดาวที่สังเกตเห็นได้ง่าย มีดาวฤกษ์เรียงกันเป็นรูปตัววีอย่างน้อย 9 ดวง เป็นกลุ่มดาวทางฟ้าซีกเหนือ โดยจะปรากฏขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางทิศเหนือ คนไทยโบราณเรียกกลุ่มดาววัวนี้ว่า ดาวไม้ค้ำเกวียน หรือ ดาวธง ดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาววัวระหว่างวันที่ 14 พฤษภาคม ถึง 21 มิถุนายน ในกลุ่มดาววัวจะมีดาวฤกษ์สีส้มแดงสว่างที่สุดอยู่หนึ่งดวงเป็นตาขวาของวัว ชื่อว่า ดาวอัลดิบะแรน ( ALDEBARAN ) หรือ ดาวโรหิณี ( ความสว่าง 0.85 ) มีความหมายว่า ผู้ติดตาม เพราะดาวดวงนี้อยู่ตามหลังกลุ่มดาวลูกไก่ ห่างไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 15 องศา จะเป็นกระจุกดาวเปิด ที่มีชื่อว่า กระจุกดาวลูกไก่ ( PLEIADES ) หรือ ดาวเจ็ดสาวพี่น้องตามนิทานของกรีก ซึ่งประกอบด้วยดาวฤกษ์นับร้อยดวง แต่สามารถเห็นชัดได้ด้วยตาเปล่าเป็นดาวสว่างมาก 6 ดวงและสว่างน้อย 1 ดวง ซึ่งดาวที่สว่างที่สุดในกระจุกดาวนี้เป็นดาวฤกษ์สว่างสีขาว ชื่อว่า ดาวอัลซีโยน ( ALCYONE )

ในกลุ่มดาววัว ประกอบด้วยดาวและกระจุกดาวฤกษ์ที่สำคัญดังนี้ Aldebaran ดาวอัลเดบารอน หรือชื่อไทยว่า ดาวตาวัว เป็นดาวฤกษ์แปรแสงสีแดงส้ม มีความสว่างระหว่าง 0.75-0.95 เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างเป็นอันดับ 5 ของท้องฟ้าตอนกลางคืน อยู่ห่างจากโลกประมาณ 65 ปีแสง ชื่อดาว Aldebaran หมายถึง ผู้ติดตาม เนื่องจากมันขึ้น-ตกตามกระจุกดาวลูกไก่นั่นเอง นอกจากนี้ ดาวตาวัว ยังเป็นดาวหนึ่งในสี่ของดาวราชาทั้งสี่ (The Four Royal Stars) ซึ่งประกอบด้วย ดาวหัวใจสิงห์ ดาวตาวัว ดาวปาริชาต และดาวโฟมาออท ซึ่งแต่ละดวงจะแบ่งเส้นรอบวงท้องฟ้าออกเป็น 4 ส่วน โดยอยู่ห่างพอๆกันประมาณครึ่งท้องฟ้า (90 องศา) ทำให้เรามองเห็นดาวราชาอย่างน้อย 1 คู่เสมอElnath ดาวเอลแนต มีความสว่าง 1.65 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 131 ปีแสง ชื่อดาว หมายถึง ส่วนปลายของอาวุธ (The butting one) ซึ่งอยู่ในตำแหน่งปลายเขาของวัวด้านเหนือ เดิมเคยเป็นดาว ร่วมกับกลุ่มดาวสารถี แต่ปัจจุบัน ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มดาววัวTaurus ดาวเซต้าวัว เป็นดาวคู่ 2 ดวง มีความสว่าง 3.0 และ 5.0 โคจรซึ่งกันและกัน อยู่ห่างจากโลกประมาณ 417 ปีแสง ชื่อดาว อยู่ในตำแหน่งปลายเขาของวัวด้านใต้ M1 - The Crab Nebula เนบิวลารูปปู - มองเห็นได้ด้วยกล้องสองตา อยู่ด้านบนของปลายเขาด้านใต้ ปัจจุบัน เป็นซากของ Supernova ที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1597 (ค.ศ.1054) ซึ่งมองเห็นได้ชัดเจนนานหลายปี ที่ชื่อเนบิวลารูปปูเนื่องจาก มีรูปร่างคล้ายปูนั่นเอง M45 - Pleiadesกระจุกดาวลูกไก่เป็นกระจุกดาวที่มีชื่อเสียง และอยู่ใกล้โลกมากที่สุด ห่างจากโลกประมาณ 212 ปีแสง มีความสว่างประมาณ 2.87 ดาวที่สว่างที่สุดในกลุ่มกระจุกดาว คือ ดาวอัลซีโอเน (Alcyone) กระจุกดาวลูกไก่ อยู่ในตำแหน่งของโหนกวัว สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า 6-8 ดวง ส่วนชื่อ พลิอะดีส (Pleiades) เป็นภาษาละติน หมายถึง ลูกสาวทั้งเจ็ด (The seven sisters) ของ Titan Atlas และ PleioneThe Hyadesกระจุกดาวไฮแอดส์ (หรือสามเหลี่ยมหน้าวัว) เป็นกระจุกดาวเปิดที่เห็นได้ชัดเจนด้วยตาเปล่า เรียงกันเป็นรูปหน้าวัว (ตัว V) ไม่รวมดาวตาวัว ส่วนคนไทยจะเห็นเป็นรูปธง จึงเรียกว่า "กลุ่มดาวธง" ห่างจากโลกประมาณ 140 ปีแสง มีความสว่างประมาณ 0.5 ชื่อกระจุกดาว "ไฮแอดส์" (Hyades) หมายถึง Rainy ones เนื่องจาก จะเริ่มมองเห็นกลุ่มดาววัว ในช่วงสิ้นเดือนพฤษภาคม โดยมาพร้อมกับฝน หรือพายุนั่นเอง

กลุ่มดาวแกะ ( ARIES ) ราศี เมษ

กลุ่มดาวแกะ ( ARIES )ราศี เมษ


กลุ่มดาวแกะ เป็นกลุ่มดาวทางซีกฟ้าด้านเหนือ อยู่ถัดจากกลุ่มดาวปลาไปทางทิศตะวันออก ดวงอาทิตย์จะผ่านกลุ่มดาวแกะระหว่างวันที่ 19 เมษายน ถึง 14 พฤษภาคม กลุ่มดาวแกะประกอบด้วยดาวฤกษ์ 4 ดวงเป็นอย่างน้อย โดย 3 ดวงแรกเป็นส่วนของหัวแกะ ( Hamal เป็นดาวฤกษ์สีเหลือง มีความสว่าง 2.00 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 66 ปีแสง ชื่อดาวหมายถึง Lamp , Sheraton มีความสว่าง 2.64 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 60 ปีแสง ชื่อดาว หมายถึง Mark หรือ Sign เนื่องจาก จุด March Equinox หรือ 0 Aries อยู่ใกล้กับดาวดวงนี้มากที่สุด ในช่วง 300-400 ปีก่อนคริสต์ศักราช , Aries มีความสว่าง 4.0 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 148 ปีแสง ) และอีก 1 ดวงเป็นสะโพกของแกะ กลุ่มดาวแกะจะขึ้นทางจุดทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือเล็กน้อยประมาณ 22.5 องศา และจะปรากฏบนท้องฟ้านานวันละ 12 ชั่วโมงกลุ่มดาวแกะ เมื่อครั้งสมัยกรีกโบราณ ( 1000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ) เคยเป็นกลุ่มดาวที่ แนวการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ ตัดกับแนวเส้นศูนย์สูตรฟ้าพอดี ในฤดูใบไม้ผลิ ( ราววันที่ 21 มีนาคมของทุกปี ) เราเรียกจุดนี้ว่า The March Equinox หรือ 0 Aries หรือปัจจุบันเรียกว่า The Vernal Equinox ในปัจจุบัน จุดดังกล่าวได้ขยับไปอยู่ในกลุ่มดาวปลาคู่ ( Pisces )

กลุ่มดาวแกะ ( ARIES ) เป็นสัญลักษณ์ของขนแกะทองคำ ( The Legend of the Golden Fleece ) เมื่อครั้งกษัตริย์ Athamus แห่ง Boetia ได้อภิเษกสมรสใหม่กับมเหสี Ino ทำให้ Ino พยายามกำจัด Phrixus ซึ่งเป็นโอรสของมเหสีคนเดิม จึงวางแผนแอบเก็บเมล็ดข้าวโพดไว้ ทำให้พืชผลไม่เพียงพอ ประชาชนอดอยาก กษัตริย์จึงต้องส่งฑูตไปขอความช่วยเหลือ ซึ่ง Ino ได้วางแผนไว้ก่อนแล้ว ว่าให้ขอโอรสหนุ่มเป็นเครื่องบูชายัณห์ ทำให้ผู้ส่งสารของพระเจ้า ชื่อ Hermes ( The Messenger of the God หรือ ดาวพุธ ) ส่งแกะวิเศษ ที่มีขนเป็นทองคำ ลงมาช่วย Phrixus ให้พ้นจากการถูกบูชายัณห์ แกะที่มาช่วยเหลือ ได้พา Phrixus ไปถึงเมือง Colchis ที่ริมฝั่งทะเลดำ จากนั้น Phrixus ได้นำแกะมาถวายบูชายัณห์ ให้กับ พระเจ้า Zeus ( ดาวพฤหัส ) และนำขนแกะทองคำ ให้กับกษัตริย์ Aeetes แห่ง Colchis โดยกษัตริย์ Aeetes ได้เก็บไว้ในพุ่มไม้ที่ปกป้องโดยมังกร ผู้ซึ่งไม่เคยหลับ แต่ก็ถูกขโมยโดย กัปตันเจสัน (Jason) และลูกเรืออาร์โก ( Argo Navis ) ในที่สุด

กลุ่มดาวจักรราศี

กลุ่มดาวจักรราศี


กลุ่มดาวจักรราศี หมายถึง กลุ่มดาวฤกษ์จำนวน 12 กลุ่ม ที่อยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์ออกไป ซึ่งเมื่อมองจากโลกจะเห็นกลุ่มดาวเหล่านี้ ปรากฏแตกต่างกันไปตามช่วงระยะเวลาของเดือน ซึ่งมนุษย์ในสมัยโบราณก็จินตนาการรูปร่างของกลุ่มดาวเป็นสิ่งต่างๆ และมีการค้นพบ รูปของกลุ่มดาวจักรราศีวาดอยู่บนโลงศพของมัมมี่ของชาวอียิปต์โบราณด้วย

ต่อมามนุษย์ได้แบ่งกลุ่มดาวฤกษ์ที่อยู่ตามแนวทางเดินของดวงอาทิตย์ ที่เรียกว่า เส้นสุริยะวิถี ออกเป็น 12 กลุ่ม จริงๆแล้ว กลุ่มดาวดังกล่าวไม่ได้อยู่บนแนวสุริยวิถีพอดี แต่จะอยู่ในช่วงแถบกว้างประมาณ 18 อาศา ผ่านแนวสุริยวิถี โดยมี 12 กลุ่มดาว แต่ละกลุ่มดาวห่างกัน ประมาณ 30 องศา เมื่อประมาณ 1000 ปีก่อนคริสตศักราช

กลุ่มดาวกลุ่มแรก ที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ผ่าน จุดที่สุริยะวิถี เคลื่อนที่ตัดกับเส้นศูนย์สูตรฟ้าพอดี ในเริ่มต้นของฤดูร้อน คือ กลุ่มดาวแกะ (Aries) กลุ่มดาวแกะจึงถูกเรียกในสมัยนั้นว่า March Equinox หรือ 0 Aries กลุ่มดาวถัดมา คือ กลุ่มดาววัว, กลุ่มดาวคนคู่, กลุ่มดาวปู, กลุ่มดาวสิงห์, กลุ่มดาวผู้หญิงสาว, กลุ่มดาวคันชั่ง, กลุ่มดาวแมงป่อง, กลุ่มดาวคนยิงธนู, กลุ่มดาวมกร, กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ และกลุ่มดาวปลาคู่ รวมเป็น 12 กลุ่มดาวจักรราศี

ต่อมา เมื่อประมาณ ค.ศ. 0 จุด Equinox ดังกล่าวได้ขยับ มาอยู่ในกลุ่มดาวปลาคู่ (Pisces) เข้าสู่ยุคที่เรียกว่า the Age of Pisces หรือยุค the New Great Age นั่นเอง และคาดว่า ประมาณปี ค.ศ. 2600 จุดดังกล่าวจะขยับ เข้าสู่กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (Aquarius) เริ่มต้นยุคที่เรียกว่า the Age of Aquariusโดยทุกๆประมาณ 2100 ปี จุด Equinox จะขยับไปทางทิศตะวันตกทีละ 1 จักรราศีนั่นเองเนื่องจากโลกโคจรไปรอบๆดวงอาทิตย์ โดยที่แกนโลกเอียงทำมุมประมาณ 23.5 องศา กับ แนวตั้งฉากกับแนวการเคลื่อนที่ของโลก รอบดวงอาทิตย์ แกนดังกล่าวไม่ได้เอียงคงที่ แต่จะส่ายเช่นเดียวกับแกนของลูกข่าง ที่ส่ายในขณะที่หมุน และเคลื่อนที่ไปรอบๆ เพียงแต่ขนาดของวงโคจร ที่โลกเคลื่อนที่ มีขนาดใหญ่กว่ามาก ทำให้คาบเวลาในการส่าย ใช้เวลานานถึง 26,000 ปี ซึ่งปัจจุบัน แกนขั้วฟ้าเหนือ ชี้ไปใกล้กับดาวเหนือ (Polaris) และจะชี้ไปใกล้ดาวเหนือมากที่สุด ประมาณปี ค.ศ.2100 และในอีกประมาณ 13,000 ปีจากปัจจุบัน แกนขั้วฟ้าเหนือ จะชี้ไปใกล้ดาววีกา (Vega) ในกลุ่มดาวพิณ (Lyra) แทน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ ทำให้จุด Vernal Equinox ค่อยๆขยับ ไปทางทิศตะวันตกช้าๆ ปีละประมาณ 50 ฟิลิปดา (50/3600 องศา) นั่นเอง ในอดีตกาล ดาวขั้วฟ้าเหนือของชาวอียิปต์โบราณ ประมาณ 4800 ปีมาแล้ว คือ ดาวทูบาน (Thuban) ในกลุ่มดาวมังกร (Draco) ซึ่งเป็นดาวดวงที่ 3 นับจากหางรูปมังกร ซึ่งทำให้ปิระมิดของชาวอียิปต์ มีช่องจากภายใน ชี้ไปดาวทูบานนั่นเอง

จักรราศี : กำเนิดจักรราศี



จักรวาล

ถ้าเราแหงนหน้าขึ้นมองดูบนท้องฟ้า จะเห็นว่ามีลักษณะคล้ายรูปครึ่งวงกลมครอบตัวเราอยู่ ท้องฟ้าที่เรามองเห็นอยู่นี้ เรียกว่า ท้องฟ้าเบื้องบน ใต้เราลงไปยังมีท้องฟ้าอีกครึ่งหนึ่งที่เรามองไม่เห็น เรียกว่า ท้องฟ้าเบื้องล่าง ทั้งสองประกบกันเป็นลูกทรงกลมที่ใหญ่มหึมา มีปริมณฑลกว้างใหญ่ไพศาลโดยไม่มีที่สิ้นสุด เรียกว่า จักรวาล และตัวเราสมมุติว่า อยู่ที่จุดศูนย์กลางของลูกทรงกลมนี้ตลอดเวลา เมื่อทรรศนะในท้องฟ้ามีความกว้างไกลโดยไม่มีที่สิ้นสุด ทางดาราศาสตร์ จึงได้แบ่งท้องฟ้าออกเป็นส่วนๆ เรียกส่วนหนึ่งๆ นั้นว่า เอกภพ

เอกภพ หมายถึง การรวมเอากลุ่มดาวฤกษ์ต่างๆ เข้าเป็นดาราจักร แต่ละดาราจักรต่างก็มีดาวฤกษ์รวมกันอยู่มากกว่าแสนล้านดวง นอกจากจำนวนดาวฤกษ์ดังกล่าวแล้ว มวลสารและเทหวัตถุอื่นๆทุกชนิด ที่อยู่ในดาราจักรของดาวฤกษ์เหล่านี้ นับเป็นวัตถุในเอกภพเดียวกันทั้งสิ้น เฉพาะในเอกภพของเรานี้ ดวงอาทิตย์เป็นเพียงดาวฤกษ์ดวงเล็กๆดวงหนึ่ง ในจำนวนดาวฤกษ์กว่าแสนล้านดวง จำนวนเอกภพเชื่อกันว่าไม่มีที่สิ้นสุด และอยู่เรียงรายสลับซับซ้อนกันไป จนไม่สามารถที่จะบอกความแน่นอนอะไรได้ ทั้งๆที่โลกเราได้พัฒนาก้าวไกลในทางวิทยาศาสตร์ จนถึงยุควิทยาศาสตร์แห่งพลังงานเหนือธรรมชาติแล้วก็ตาม





ทางช้างเผือก
เป็นสัญญลักษณ์ที่สำคัญของเอกภพของเรา ในขณะเดือนมืดไม่เห็นแสงจันทร์ ถ้าท้องฟ้าโปร่ง จะเห็นวงแสงสีขาวเป็นรูปโค้งใหญ่คาดอยู่บนท้องฟ้า วงแสงมหึมาบนท้องฟ้าเรียกว่า ทางช้างเผือก เป็นแถบของแสงสว่างคาดอยู่บนท้องฟ้า เป็นวงกลมจากทางทิศเหนือไปทางทิศใต้ มีความกว้างและความสว่างของแสงไม่เท่ากันตลอด แสงต่างๆเกิดจากดาวที่มีแสงน้อย แต่มีจำนวนมากมายหลายพันล้านดวง แถบนี้มีความกว้างคิดเป็นระยะเชิงมุมตั้งแต่ 5 องศา ถึง 50 องศา โดยเฉลี่ยประมาณ 20 องศา

เส้นผ่าศูนย์กลางของทางช้างเผือก ถือว่าเป็นเส้นศูนย์สูตรของเอกภพ ซึ่งทำมุมกับเส้นศูนย์สูตรโลกประมาณ 62 องศา และขั้วเหนือขั้วใต้ของเอกภพ ก็จะมีการเอียงไปทางเหนือและไปทางใต้ จากเส้นศูนย์สูตรประมาณ 28 องศา บริเวณที่มองเห็นทางช้างเผือกได้ชัดเจนที่สุด คือ บริเวณราศีธนู จากการศึกษาเรื่องทางช้างเผือกนี้ ช่วยให้เราได้รู้จักโครงสร้างของเอกภพดียิ่งขึ้น

สุริยจักรวาล
ดวงอาทิตย์ของเราเป็นดาวฤกษ์ดวงเล็กๆดวงหนึ่งในเอกภพ สุริยจักรวาล หมายถึง อาณาเขตโดยเฉพาะของดวงอาทิตย์ ซึ่งในดาราจักรน้อยๆนี้ มีดวงอาทิตย์เป็นประธานอยู่ท่ามกลาง มีดาวเคราะห์ต่างๆรวมทั้งดาวบริวารของดาวเคราะห์นั้นๆ ดาวหาง รวมถึงวัตถุอื่นๆ ตั้งแต่ขนาดใหญ่จนถึงขนาดเล็ก ซึ่งต่างก็โคจรอยู่รอบๆดวงอาทิตย์ อาณาเขตของสุริยจักรวาลของเรายังไม่ทราบแน่ชัดในขณะนี้

โลก
ในบรรดาดาวเคราะห์ต่างๆในสุริยจักรวาล เราถือว่า โลกเป็นดาวเคราะห์ที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นที่ให้กำเนิดแก่มนุษย์ มนุษย์ได้อาศัยอยู่เป็นเวลานานมาแล้ว และคงจะอยู่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน โลกที่เราอาศัยอยู่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8,000 ไมล์ เมื่อนำเอาไปเปรียบเทียบกับดวงอาทิตย์แล้ว โลกเรามีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ 108 เท่า เพราะฉะนั้น จำนวน 108 จึงมีความหมายที่สำคัญในหลายทรรศนะในวิชาโหราศาสตร์ โลกหมุนรอบตัวเองจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก รอบแกนซึ่งต่อระหว่างขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ การหมุนรอบตัวเองของโลกในลักษณะนี้ ทำให้เรามองเห็นท้องฟ้า รวมทั้งดวงอาทิตย์ ตลอดจนดวงดาวต่างๆ ค่อยๆเคลี่ยนที่จากทางทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตกอยู่ตลอดเวลา ทำให้ดูเสมือนหนึ่งว่า ท้องฟ้าหมุนรอบโลก ถ้าเราอยู่ ณ เส้นศูนย์สูตรโลกซึ่งมีความยาวประมาณ 25,000 ไมล์ ในการที่โลกหมุนรอบตัวเอง ณ จุดที่เราอยู่บนพื้นโลกจะมีอัตราความเร็วประมาณ 1,040 ไมล์ต่อ 1 ช.ม. การที่โลกหมุนรอบตัวเองครบ 1 รอบ เราใช้กำหนดเป็นมาตรฐานของ 1 วัน มาตั้งแต่สมัยโบราณ ตามหลักฐานทางดาราศาสตร์พบว่า การหมุนรอบตัวเองของโลกจะไม่สม่ำเสมอเท่ากันตลอด ยิ่งนานวันเข้า โลกจะหมุนรอบตัวเองช้าลงทุกที ยังผลให้เวลาในวันหนึ่งๆ เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากการแกว่งส่ายของโลก และเกิดจากการเสียดสีของน้ำในมหาสมุทรกับพื้นผิวโลก

การที่โลกหมุนรอบตัวเอง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ในเวลาเดียวกัน เป็นผลให้เรามองเห็นดวงอาทิตย์โคจรเคลี่ยนที่ไปปรากฎอยู่ตามกลุ่มดาวฤกษ์ต่างๆ โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นรูปวงรี ซึ่งมีความบูดเบี้ยวน้อยมาก ระยะทางเฉลี่ยระหว่างจุดศูนย์กลางของโลกกับดวงอาทิตย์ ประมาณ 92 ล้าน 9 แสนไมล์ หน่วยดาราศาสตร์ Astronomical unit
เนื่องจากโลกโคจรเป็นรูปวงรี ในประมาณต้นเดือน ม.ค.ของทุกปี ราววันที่ 3 ม.ค. โลกจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด ณ จุดนี้เรียกว่า perihelion โลกจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์น้อยกว่าระยะทางเฉลี่ยประมาณ 1 ล้าน 5 แสนไมล์ ดังนั้นโลกจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 91 ล้าน 4 แสนไมล์ ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในปฎิทินดาราศาสตร์ระบบนิรายนะ จะอยู่ที่ราศีธนูประมาณ 19 องศา ดวงอาทิตย์จะโคจรบ่ายเบนไปทางทิศใต้ประมาณ 22 องศา 50 ลิบดา จากเส้นศูนย์สูตรฟ้า ในวันนี้ ดวงอาทิตย์จะโคจรเร็วที่สุดในอัตรา 61 ลิบดา 9 ฟิลิบดา ต่อ 1 วัน คิดตามเวลามาตรฐานที่กทม. ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลาประมาณ 6.45 น. ตกเวลาประมาณ 17.59 น. เวลากลางวันน้อยกว่ากลางคืนประมาณ 46 นาฑี

ในประมาณต้นเดือน ก.ค.ของทุกปี ราววันที่ 5 ก.ค. โลกจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งที่ไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุด ณ จุดนี้เรียกว่า aphelion โลกจะอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากกว่าระยะทางเฉลี่ยประมาณ 1 ล้าน 5 แสนไมล์ ดังนั้นโลกจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ ประมาณ 94 ล้าน 4 แสนไมล์ ตำแหน่งของดวงอาทิตย์จะอยู่ที่ราศีมิถุน ประมาณ 19 องศา (จะเห็นได้ว่า จุดที่โลกใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด กับจุดที่โลกไกลดวงอาทิตย์มากที่สุดนั้น จะอยู่ตรงข้ามกันพอดี) ดวงอาทิตย์จะโคจรบ่ายเบนไปทางทิศเหนือประมาณ 22 องศา 50 ลิบดา ในวันนี้ดวงอาทิตย์จะโคจรช้าที่สุดในอัตรา 57 ลิบดา 11 ฟิลิบดา ซึ่งช้ากว่าวันที่โลกโคจรใกล้ดวงอาทิตย์ประมาณ 3 ลิบดา 58 ฟิลิบดา คิดตามเวลามาตรฐานที่กรุงเทพ ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลาประมาณ 5.59 น. ตกเวลาประมาณ 18.45 น. เวลากลางวันมากกว่ากลางคืนประมาณ 46 นาฑี

ปีนักษัตร
การโคจรของโลกครบหนึ่งรอบพอดี เรียกว่า หนึ่งปีนักษัตร การสังเกตหนึ่งปีนักษัตรครบหนึ่งรอบพอดี เราต้องสมมุติดาวฤกษ์ดวงใดดวงหนึ่งขึ้นเป็นจุดมาตรฐาน ถ้าเราเห็นดวงอาทิตย์โคจรผ่านจุดนี้ 2 ครั้งติดต่อกันเมื่อใด นับเป็นเวลา 1 ปีนักษัตรเมื่อนั้น การนับปีทางวิธีนี้ เป็นปีที่แท้จริงทางดาราศาสตร์ ซึ่งมีเวลาคงที่ โดยคิดตามเวลาพระอาทิตย์เฉลี่ย คือ ปีนักษัตร = 365.25636042 วัน หรือ = 365 วัน 6 ช.ม. 9 นาฑี 9.5 วินาฑี ในปัจจุบันนี้ทางดาราศาสตร์ได้พบว่า เวลาของปีนักษัตรจะค่อยๆเพิ่มขึ้นในอัตรา 0.01 วินาฑีทุกๆปี โลกมีอัตราความเร็วในการโคจรรอบดวงอาทิตย์คิดเฉลี่ยประมาณ 18.5 ไมล์ต่อ 1 วินาฑี หรือประมาณ 66,600 ไมล์ต่อชั่วโมง ถ้าโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์มีอัตราเพิ่มขึ้นถึง 26 ไมล์ต่อ 1 วินาฑี หรือ 93,600 ไมล์ต่อชั่วโมง โลกจะโคจรหลุดออกไปจากบริเวณที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ และโลกก็จะมีระบบโคจรเช่นเดียวกันกับดาวหางต่างๆ

โลกหมุนรอบตัวเองและหมุนรอบดวงอาทิตย์ในเวลาเดียวกัน การโคจรของโลกแบบนี้ ทำให้แกนของโลกหมุนแกว่งส่ายไปเป็นรูปกรวยกลมรอบแนวดิ่ง ไปในทิศทางที่ตรงข้ามกับที่โลกหมุน แกนของโลกเอียงทำมุมประมาณ 23.5 องศา กับแนวดิ่งที่ตั้งฉากกับระนาบของการโคจรของโลก ปรากฏการณ์อันนี้ทำให้แกนของโลกเคลื่อนที่เป็นกรวยกลม โดยจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับโลกหมุน จะครบรอบหรือครบคาบพอดี กินเวลาประมาณ 25,791 ปี

สุริยวิถี Ecliptic
การที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งเรามองเห็นเสมือนหนึ่งว่า ดวงอาทิตย์โคจรรอบโลก เราจะเห็นว่า ดวงอาทิตย์โคจรไปตามวิถีทางของมันตายตัวเป็นประจำทุกๆปี ทางโคจรของจุดศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ที่เห็นในท้องฟ้านี้ เรียกว่า รวิมรรค เป็นวงกลมรีสมมุติที่ใหญ่โตมาก เป็นวงรีที่เหมือนกับวงโคจรของโลกทุกประการ แต่ได้ขยายใหญ่ออกไปไม่มีที่สิ้นสุด เพระฉะนั้น รวิมรรค หรือ สุริยวิถี จึงใหญ่กว่าวงโคจรของโลกมากมายหลายแสนหลายล้านเท่า เป็นวงโคจรที่นักดาราศาสตร์ได้สมมุติขึ้น เพื่อคำนวนพิกัด และอัตราความเร็วของการโคจรของดาวเคราะห์ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ รวมถึงจุดคราสพระอาทิตย์ และจุดคราสพระจันทร์ นักดาราศาสตร์สมมุติเอาว่า ดวงดาวต่างๆโคจรอยู่บนเส้นระนาบสุริยวิถีด้วยกันทั้งสิ้น

เราสมมุติว่า สุริยวิถีเป็นที่สิ้นสุดของอาณาเขตฟ้า เส้นต่างๆที่กำหนดขึ้นบนผิวโลกทุกๆเส้น ต่างก็ขยายไปอยู่ในอาณาเขตอันเดียวกันกับเส้นสุริยวิถีทั้งหมด ดังนั้นเส้นศูนย์สูตรโลกก็กลายเป็นเส้นศูนย์สูตรฟ้า เส้นรุ้งและเส้นแวงของโลกก็ไปเป็นเส้นรุ้งเส้นแวงฟ้า จุดขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ ก็เป็นจุดขั้วเหนือและขั้วใต้ของฟ้าตามลำดับ
ท้องฟ้าที่กำหนดขึ้นนี้ จะเต็มไปด้วยเส้นต่างๆ เช่นเดียวกันกับบนผิวโลกทุกอย่าง และมีอาณาเขตไม่มีที่สิ้นสุด วัตถุทุกชนิดที่เรามองเห็นบนฟ้าต่างก็ปรากฎอยู่บนระนาบรูปทรงกลมใหญ่ที่เราสมมุติขึ้นทั้งสิ้น เราถือเอาว่า จุดศูนย์กลางของท้องฟ้าอยู่ ณ จุดของผู้ที่ดูท้องฟ้านั่นเอง เส้นขนานต่างๆ ไม่ว่าจะมีระยะห่างกันสักเท่าใด จะมีทิศทางตรงไปยังจุดเดียวกันบนรูปทรงกลมสมมุตินี้ ดังนั้นเราจะมองเห็นดาวทุกๆดวง ต่างก็มีตำแหน่งเป็นภาพลวงตา อยู่บนระนาบพื้นผิวทรงกลมใหญ่วงนี้ทั้งหมด ตำแหน่งของดวงดาวต่างๆ จึงไม่ใช่ตำแหน่งที่แท้จริง เป็นแต่เพียงทิศทางของดวงดาวเท่านั้นเอง ด้วยประการเช่นนี้ เราจึงมีการกำหนดระยะของดวงดาวต่างๆเป็นจำนวนองศา ไม่ใช่วัดเป็นจำนวนไมล์ และเราเรียกระยะมุมของดาวต่างๆเป็นระยะเชิงมุม จากกฎเกณฑ์อันนี้เอง เราจึงวัดเส้นผ่าศูนย์กลางของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ได้เท่าๆกัน คือ ประมาณครึ่งองศาเท่านั้น โดยทำนองเดียวกัน ระยะที่เรามองเห็นระหว่างดาว 2 ดวง ก็คือ มุมระหว่างแนวทิศทางของดาวทั้ง 2 ดวงนั่นเอง ซึ่งวัดเป็นองศาบนเส้นวงกลมสมมุตินี้

วิษุวัต equinox
เส้นสุริยวิถี(Ecliptic)และเส้นศูนย์สูตรฟ้า(Celestial Equator)จะตัดกัน 2 จุด และจุดทั้งสองนี้จะอยู่ตรงข้ามกันพอดี ถ้าโลกโคจรมาถึงจุดนี้ จากการมองเห็นด้วยตาเปล่า เราจะเห็นดวงอาทิตย์โคจรมาถึงจุดนี้ จะมีปรากฎการณ์พิเศษบนพื้นโลก คือ ในวันนี้ ถ้าเราอยู่ที่เส้นศูนย์สูตรโลก เวลากลางวันจะเท่ากับเวลากลางคืนพอดี จุดตัดทั้งสองนี้ เรียกว่า จุด วิษุวัต หรือ Equinox

จุดวิษุวัตซึ่งดวงอาทิตย์โคจรผ่านแล้ว ดวงอาทิตย์จะปัดไปทางทิศเหนือของเส้นศูนย์สูตรฟ้า เรียกว่า อุตรวิษุวัต vernal equinox เมื่อดวงอาทิตย์โคจรมาถึงจุดนี้ ดวงอาทิตย์จะอยู่ที่เส้นศูนย์ฟ้าพอดี คือ ไม่ไม่ปัดไปทางไหนอีก ถ้าเราอยู่ที่เส้นศูนย์สูตรโลก ในเวลาเที่ยงวันในวันนี้ ดวงอาทิตย์จะอยู่ตรงกับศรีษะของเราพอดี ในวันนี้ดวงอาทิตย์มี กรันติ declination = 0 องศา ต่อจากวันนี้ไป ดวงอาทิตย์จะค่อยๆปัดไปทางทิศเหนือของเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้าวันละเล็กวันละน้อย

ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในวันนี้ จะตรงกับประมาณวันที่ 21 มี.ค.ของทุกๆปี ตามปฏิทินดาราศาสตร์ในระบบนิรายนะ ดวงอาทิตย์จะอยู่ที่ราศีมีนประมาณ 6 องศา 37 ลิบดา กรันติของดวงอาทิตย์ = 0 องศา ในวันนี้ดวงอาทิตย์จะโคจรวันละ 59 ลิบดา 35 ฟิลิบดา คิดตามเวลาที่กทม. ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 06.22 น. ดวงอาทิตย์ตกเวลา 18.29 น. ในวันนี้ที่กทม. เวลาในภาคกลางวันจะมากกว่าเวลาในภาคกลางคืนประมาณ 7 นาฑี ที่เป็นเช่นนี้เพราะเหตุว่า ที่ตั้งของกรุงเทพฯอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรประมาณ 13 องศา 46 ลิบดา ประมาณวันที่ 12 มี.ค.ของทุกปี สำหรับในวันนี้ดวงอาทิตย์ขึ้นที่กทม.เวลา 06.28 น. และตกเวลา 18.28 น. เวลาในภาคกลางวันจะเท่ากับภาคกลางคืนพอดี

จุดวิษุวัตเมื่อดวงอาทิตย์โคจรผ่านแล้ว ดวงอาทิตย์จะปัดไปทางทิศใต้ของเส้นศูนย์สูตรฟ้า เรียกว่า ทักษิณวิษุวัต autumnal equinox เมื่อดวงอาทิตย์โคจรมาถึงจุดนี้ ดวงอาทิตย์จะอยู่ที่เส้นศูนย์สูตรฟ้าพอดี คือ ไม่ปัดไปทางไหนอีก ถ้าเราอยู่ที่เส้นศูนย์สูตรโลก ในเวลาเที่ยงวันของวันนี้ ดวงอาทิตย์จะอยู่บนศรีษะของเราพอดี ในวันนี้ดวงอาทิตย์มี declination = 0 องศา ต่อจากวันนี้ไป ดวงอาทิตย์จะค่อยๆปัดไปทางทิศใต้ของเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้าวันละเล็กวันละน้อย

ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในวันนี้ จะตรงกับประมาณวันที่ 23 ก.ย.ของทุกปี ตามปฏิทินดาราศาสตร์ในระบบนิรายนะ ดวงอาทิตย์จะอยู่ในราศีกันย์ประมาณ 6 องศา 37 ลิบดา กรันติของดวงอาทิตย์ = 0 องศา ในวันนี้ดวงอาทิตย์จะโคจรวันละประมาณ 58 ลิบดา 44 ฟิลิบดา คิดตามเวลามาตรฐานที่กทม. ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 06.17 น. ดวงอาทิตย์ตกเวลา 18.14 น. จะเห็นได้ว่าในวันนี้ที่กทม. เวลาในภาคกลางวันมากกว่าเวลาในภาคกลางคืนประมาณ 7 นาฑี ประมาณวันที่ 1 ต.ค.ของทุกปี ที่กทม. ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 06.08 นาฑี ตกเวลา 08.08 นาฑี เวลาในภาคกลางวันจะเท่ากับภาคกลางคืนพอดี

เส้นสุริยวิถีและเส้นศูนย์สูตรฟ้า มีระนาบต่างกัน โดยทำมุมเอียงประมาณ 23.5 องศา จุดบนเส้นสุริยวิถีที่อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรฟ้ามีอยู่ 2 จุด เรียกว่า มหากรันติ solstice จุด 2 จุดนี้ จะอยู่ตรงข้ามกันพอดี และต่างก็อยู่ห่างจากจุดวิษุวัต 90 องศาพอดี ถ้าดวงอาทิตย์โคจรมาถึงจุดทั้งสองนี้ เราจะเห็นดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรฟ้ามากที่สุด

จุดบนเส้นสุริยวิถีที่ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรฟ้าไปทางทิศเหนือมากที่สุด เรียกว่า อุตรายัน summer solstice ณ จุดนี้จะมีปรากฎการณ์พิเศษเกิดขึ้นบนพื้นโลก คือ เวลาในภาคกลางวันจะมากกว่าเวลาในภาคกลางคืนมากที่สุด (เป็นวันที่มีเวลากลางวันนานที่สุด และเวลากลางคืนน้อยที่สุด) จะตรงกับประมาณวันที่ 22 มิ.ย. ของทุกๆปี ดวงอาทิตย์โคจรผ่านจุดอุตรายัน ฤดูกาลในเมืองไทยเราจะเริ่มเข้าฤดูฝน

จุดบนเส้นสุริยวิถีที่ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรฟ้าไปทางทิศใต้มากที่สุด เรียกว่า ทักษิณายัน winter solstice ณ จุดนี้จะมีปรากฎการณ์เกิดขึ้น คือ เวลาในภาคกลางคืนจะมากกว่าในภาคกลางวันมากที่สุด (เป็นวันที่มีเวลากลางคืนนานที่สุด มีเวลากลางวันน้อยที่สุด) จะตรงกับประมาณวันที่ 22 ธ.ค. ของทุกๆปี ดวงอาทิตย์โคจรผ่านจุดทักษิณายัน เป็นวันเริ่มต้นฤดูหนาว ฤดูนี้ดวงอาทิตย์จะอยู่ต่ำกว่าขอบฟ้า และขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตกทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เรียกว่า "ตะวันอ้อมข้าว"

จักรราศี Zodiac
การหมุนรอบตัวเองของโลกทำให้เกิดกลางวันและกลางคืน การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆ นักปราชญ์ในสมัยโบราณ ได้กำหนดให้การโคจรของดวงอาทิตย์บนระนาบเส้นสุริยวิถี ซึ่งโคจรผ่านกลุ่มดาวฤกษ์ต่างๆ ออกเป็น 12 กลุ่ม โดยใช้การโคจรของดวงอาทิตย์ในรอบ 1 ปี เป็นเกณฑ์ในการคำนวน โดยกำหนดว่า ดวงอาทิตย์โคจร 1 ปี 365 วัน ผ่านกลุ่มดาวฤกษ์ 12 กลุ่ม แต่ละกลุ่มใช้เวลาโคจรประมาณ 1 เดือน และกำหนด 1 กลุ่มดาวฤกษ์ เรียกว่า 1 ราศี รวมทั้งหมดเป็น 12 เดือน 12 ราศี เรียกว่า จักรราศี แต่ละราศีมีอาณาเขต 30 องศา



ที่มา
http://www.horasaadrevision.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=13085

ซากดึกดำบรรพ์ หรือ บรรพชีวิน หรือ ฟอสซิล

ซากดึกดำบรรพ์ หรือ บรรพชีวิน หรือ ฟอสซิล (อังกฤษ: fossil)


คำว่า ฟอสซิล มีความหมายเดิมว่า เป็นของแปลกที่ขุดขึ้นมาได้จากพื้นดิน แต่ในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในความหมายของซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่ถูกแปรสภาพด้วยกระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์และถูกเก็บรักษาไว้ในชั้นหิน โดยอาจประกอบไปด้วยซากเหลือของสัตว์ พืช หรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตอื่นใดๆที่ได้รับการจัดแบ่งจำแนกไว้ทางชีววิทยา และรวมถึงร่องรอยต่างๆของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ

การเกิดซากดึกดำบรรพ์
ซากดึกดำบรรพ์มีหลายชนิด อาจเป็นสิ่งที่มีความคงทนยากต่อการทำลาย เช่น ฟัน กระดูก หรือ เปลือก แต่ในบางสภาวะ อาจมีการเก็บรักษาซากสัตว์ทั้งตัวให้คงอยู่ได้ เช่น ช้างแมมมอท ที่ไซบีเรีย

การเปลี่ยนแปลงจากซากสิ่งมีชีวิตมาเป็นซากดึกดำบรรพ์นั้น เกิดได้ในหลายลักษณะ โดยที่เมื่อสิ่งมีชีวิตตายลง ส่วนต่างๆของสิ่งมีชีวิตจะค่อยๆถูกเปลี่ยน ช่องว่าง โพรง หรือรู ต่างๆในโครงสร้างอาจมีแร่เข้าไปตกผลึกทำให้แข็งขึ้น เรียกขบวนการนี้ว่าการกลายเป็นหิน (petrification) หรือ เนื้อเยื้อ ผนังเซลล์ และส่วนแข็งอื่นๆ ถูกแทนที่ด้วยแร่ โดยขบวนการแทนที่ (replacement)

เปลือกหอยหรือสิ่งมีชีวิตที่จมอยู่ตามชั้นตะกอน เมื่อถูกละลายไปกับน้ำบาดาล จะเกิดเป็นรอยประทับอยู่บนชั้นตะกอน ซึ่งเรียกลักษณะนี้ว่า รอยพิมพ์ (mold) หากว่าช่องว่างนี้มีแร่เข้าไปตกผลึก จะได้ซากดึกดำบรรพ์ ในลักษณะที่เรียกว่ารูปหล่อ (cast)

การเพิ่มคาร์บอน (carbonization) มักเป็นการเก็บรักษาซากดึกดำบรรพ์จำพวกใบไม้หรือสัตว์เล็กๆ ในลักษณะที่มีตะกอนเนื้อละเอียดมาปิดทับซากสิ่งมีชีวิต เมื่อเวลาผ่านไป ความดันที่เพิ่มขึ้น ทำให้ส่วนประกอบที่เป็นของเหลวและก๊าซถูกขับออกไป เหลือไว้แต่แผ่นฟิล์มบางๆของคาร์บอน หากว่าฟิล์มบางๆนี้หลุดหายไป ร่องรอยที่ยังหลงเหลืออยู่ในชั้นตะกอนเนื้อละเอียดจะเรียกว่า impression

สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีลักษณะบอบบาง เช่นพวกแมลง การเก็บรักษาให้กลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ โดยปกติทำได้ยาก วิธีการที่เหมาะสม สำหรับสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ ก็คือการเก็บไว้ในยางไม้ ซึ่งยางไม้นี้จะป้องกันสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จากการทำลายโดยธรรมชาติ

นอกจากที่กล่าวมาทั้งหมดแล้ว ซากดึกดำบรรพ์ยังอาจเป็นร่องรอย ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต เช่น ร่องรอยของสิ่งมีชีวิต รอยคืบคลาน รอยตีน ที่อยู่ในชั้นตะกอนและกลายเป็นหินในระยะเวลาต่อมา หรืออาจเป็นช่อง รู โพรง (burrows) ในชั้นตะกอน ในเนื้อไม้ หรือในหินที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต และมีแร่ไปตกผลึกในช่องเหล่านี้ มูลสัตว์หรือเศษอาหารที่อยู่ในกระเพาะ (coprolites) เป็นซากดึกดำบรรพ์ ที่มีประโยชน์ในการบอกถึงนิสัยการกินของสัตว์นั้นๆ หรืออาจเป็นก้อนหินที่สัตว์กินเข้าไป (gastroliths) เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร

ประเภทของซากดึกดำบรรพ์
ซากดึกดำบรรพ์สามารถจำแนกออกเป็นประเภทต่างๆได้หลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้หลักเกณฑ์อะไรเป็นบรรทัดฐาน การพยายามจำแนกตามหลักอนุกรมวิธานตามแบบชีววิทยา อาจพบกับข้อจำกัด เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วซากดึกดำบรรพ์มักเป็นส่วนซากเหลือจากการผุพังสลายตัว ส่วนใหญ่เป็นส่วนที่แข็ง มีความทนทานต่อการผุพังสลายตัวสูงกว่าส่วนที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อนนุ่ม เช่น กระดูก ฟัน กระดอง เปลือก และสารเซลลูโลสของพืชบางส่วน อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สอดคล้องกับประเภทนักวิจัยซากดึกดำบรรพ์ (นักบรรพชีวินวิทยา) ในปัจจุบัน ในที่นี้จะจำแนกซากดึกดำบรรพ์ออกเป็น 3 ประเภท คือ

1.ซากดึกดำบรรพ์สัตว์
- ซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลัง
- ซากดึกดำบรรพ์สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

2.ซากดึกดำบรรพ์พืช
- ซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหิน
- ซากดึกดำบรรพ์ใบไม้
- ซากดึกดำบรรพ์ดอก
- ซากดึกดำบรรพ์ทางเรณูวิทยา
- ซากดึกดำบรรพ์ผลไม้
- ซากดึกดำบรรพ์เมล็ด

3.ซากดึกดำบรรพ์ร่องรอย

ความสำคัญของซากดึกดำบรรพ์
เมื่อศึกษาจำนวนซากดึกดำบรรพ์ที่พบได้ พบว่ามีปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เคยมีชีวิตอยู่ในโลก ซากสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ถูกทำลายไปตามธรรมชาติ ดังนั้นการเก็บรักษาซากสิ่งมีชีวิตจนกระทั่งกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีสภาวะที่พิเศษ ซึ่งได้แก่ การตกลงตัวและถูกเก็บรักษาไว้อย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นการป้องกันการถูกทำลายจากธรรมชาติ และ การที่ต้องมีส่วนที่แข็งของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นส่วนที่ถูกเก็บรักษาได้ง่ายกว่าส่วนที่นิ่ม

ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในหิน มีความสำคัญอย่างมาก มันแสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ใช้เป็นตัวกำหนดอายุของหิน และนำมาใช้เป็นหลักฐานในการหาความสัมพันธ์ของชั้นหินในบริเวณต่างๆ สิ่งที่นักธรณีวิทยาสนใจเป็นพิเศษ เกี่ยวกับการนำซากดึกดำบรรพ์ มาเป็นตัวกำหนดอายุของหิน คือ ซากดึกดำบรรพ์ดรรชนี (index fossils) ซึ่งเป็นซากของสิ่งมีชีวิตที่เคยมีชีวิตอยู่ในโลก มีการแพร่กระจายอยู่ทั่วไป แต่มีชีวิตอยู่ในช่วงสั้นๆ ซึ่งการที่พบซากดึกดำบรรพ์ดรรชนีในชั้นหินต่างบริเวณกัน นักธรณีวิทยาสามารถกำหนดได้ว่าหินที่พบซากดึกดำบรรพ์ดรรชนีเหล่านั้นมีอายุในช่วงเดียวกัน แต่อย่างไรก็ดี ในชั้นหินต่างๆ อาจพบซากดึกดำบรรพ์ดรรชนีได้ยาก ดังนั้นอาจจำเป็นต้องใช้กลุ่มของซากดึกดำบรรพ์ ในการหาความสัมพันธ์ของชั้นหินในบริเวณต่างๆ ซึ่งจะมีความแม่นยำกว่าการใช้ซากดึกดำบรรพ์เพียงชนิดเดียว

นอกจากประโยชน์ที่ใช้ในการหาความสัมพันธ์ของชั้นหินแล้ว ซากดึกดำบรรพ์ยังถูกนำมาใช้ในการบอกถึงสภาพแวดล้อมของการสะสมตัวของตะกอนด้วย ถึงแม้ว่าสภาพแวดล้อมการสะสมตัวอาจได้จากการศึกษารายละเอียดจากชั้นหิน แต่ซากดึกดำบรรพ์อาจให้รายละเอียดที่มากกว่า

อายุซากดึกดำบรรพ์ อายุหิน

การบอกอายุของซากดึกดำบรรพ์หรืออายุหิน สามารถบอกได้ 2 แบบคือ

อายุเปรียบเทียบ(Relative Age) คืออายุทางธรณีวิทยาของซากดึกดำบรรพ์ หิน ลักษณะทางธรณีวิทยาหรือเหตุการณ์ทางธรณีวิทยา เมื่อเปรียบเทียบกับซากดึกดำบรรพ์ หิน ลักษณะทางธรณีวิทยา หรือเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาอื่นๆ แทนที่จะบ่งบอกเป็นจำนวนปี ดังนั้นการบอกอายุของหินแบบนี้จึงบอกได้แต่เพียงว่าอายุแก่กว่าหรืออ่อนกว่าหิน หรือซากดึกดำบรรพ์ อีกชุดหนึ่งเท่านั้น โดยอาศัยตำแหน่งการวางตัวของหินตะกอนเป็นตัวบ่งบอก( Index fossil) เป็นส่วนใหญ่ เพราะชั้นหินตะกอนแต่ละขั้นจะต้องใช้ระยะเวลาช่วงหนึ่งที่จะเกิดการทับถม เมื่อสามารถเรียงลำดับของหินตะกอนแต่ละชุดตามลำดับก็จะสามารถหาเวลาเปรียบเทียบได้ และจะต้องใช้หลักวิชาการทางธรณีวิทยา( Stratigraphy )ประกอบด้วย

การศึกษาเวลาเปรียบเทียบโดยอาศัยหลักความจริง มี อยู่ 3 ข้อคือ

1. กฎการวางตัวซ้อนกันของชั้นหินตะกอน(Law of superposition) ถ้าหินตะกอนชุดหนึ่งไม่ถูกพลิกกลับโดยปรากฏการณ์ทางธรรมชาติแล้ว ส่วนบนสุดของหินชุดนี้จะอายุอ่อนหรือน้อยที่สุด และส่วนล่างสุดจะมีอายุแก่หรือมากกว่าเสมอ

2. กฎของความสัมพันธ์ในการตัดผ่านชั้นหิน(Law of cross-cutting relationship ) หินที่ตัดผ่านเข้ามาในหินข้างเคียงจะมีอายุน้อยกว่าหินที่ถูกตัดเข้ามา

3. การเปรียบเทียบของหินตะกอน(correlation of sedimentary rock) ศึกษาเปรียบเทียบหินตะกอนในบริเวณที่ต่างกันโดยอาศัย

ก. ใช้ลักษณะทางกายภาพโดยอาศัยคีย์เบด(key bed) ซึ่งเป็นชั้นหินที่มีลักษณะเด่นเฉพาะตัวของมันเอง และถ้าพบที่ไหนจะต้องสามารถบ่งบอกจดจำได้อย่างถูกต้องถึงว่าชั้นหินที่วางตัวอยู่ข้างบนและข้างล่างของคีย์เบดจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปในแต่ละบริเวณด้วย

ข. เปรียบเทียบโดยใช้ซากดึกดำบรรพ์(correlation by fossil) มีหลักเกณฑ์คือ ในชั้นหินใดๆ ถ้ามีซากดึกดำบรรพ์ที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันเกิดอยู่ในตัวของมันแล้ว ชั้นหินนั้น ๆย่อมมีอายุหรือช่วงระยะเวลาที่เกิด ใกล้เคียงกับซากดึกดำบรรพ์ที่สามารถใช้เปรียบเทียบได้ดี เป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ แต่เกิดอยู่กระจัดกระจายเป็นบริเวณกว้างขวางมากที่สุด ฟอสซิลเหล่านี้เรียกว่า ไกด์ฟอสซิลหรือ อินเด็กฟอสซิล(guide or index fossil)

อายุสัมบูรณ์( Absolute age ) หมายถึงอายุซากดึกดำบรรพ์ของหิน ลักษณะหรือเหตุการณ์ทางธรณีวิทยา(โดยมากวัดเป็นปี เช่น พันปี ล้านปี) โดยทั่วไปหมายถึงอายุที่คำนวณหาได้จากไอโซโทปของธาตุกัมมันตรังสี ขึ้นอยู่กับวิธีการและช่วงเวลาครึ่งชีวิต(Half life period)ของธาตุนั้น ๆ เช่น C-14 มีครึ่งชีวิตเท่ากับ 5,730 ปี จะใช้กับหินหรือ fossil โบราณคดี ที่มีอายุไม่เกิน 50,000 ปี ส่วน U-238 หรือ K-40 จะใช้หินที่มีอายุมาก ๆ ซึ่งมีวิธีการที่สลับซับซ้อน ใช้ทุนสูง และแร่ที่มีปริมาณรังสีมีปริมาณน้อยมาก วิธีการนี้เรียกว่า การตรวจหาอายุจากสารกัมมันตภาพรังสี(radiometric age dating) การใช้ธาตุกัมมันตรังสีเพื่อหาอายุหิน หรือ ฟอสซิล นั้น ใช้หลักการสำคัญคือการเปรียบเทียบอัตราส่วนของธาตุกัมมันตรังสีที่เหลืออยู่( End product) ที่เกิดขึ้นกับไอโซโทปของธาตุกัมมันตรังสีตั้งต้น(Parent isotope)แล้วคำนวณโดยใช้เวลาครึ่งชีวิตมาช่วยด้วยก็จะได้อายุของชั้นหิน หรือ ซากดึกดำบรรพ์ นั้น ๆ เช่น

- วิธีการ Uranium 238 - Lead 206 วิธีการ Uranium 235 - Lead 207

- วิธีการ Potassium 40 - Argon 206 วิธีการ Rubidium 87- Strontium 87

- วิธีการ Carbon 14 - Nitrogen 14

การหาอายุโดยใช้ธาตุกัมมันตรังสีมีประโยชน์ 2 ประการคือ

1. ช่วยในการกำหนดอายุที่แน่นอนหลังจากการใช้ fossil และ Stratigrapy แล้ว

2. ช่วยบอกอายุหรือเรื่องราวของยุคสมัย พรีแคมเบียน

ที่มา
http://th.wikipedia.org



วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สัตว์และประเภทของสัตว์



สัตว์และประเภทของสัตว์

สัตว์
เป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดของสิ่งมีชีวิต จัดอยู่ใน อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) เป็นสิ่งมีชีวิตพวกที่นิวเคลียสมีผนังห่อหุ้ม ประกอบด้วย หลายเซลล์มีการแบ่งหน้าที่ของแต่ละเซลล์เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่างแบบถาวร ไม่มีคลอโรฟิลล์ สร้างอาหารเองไม่ได้ ดำรงชีวิตได้หลายลักษณะทั้งบนบกในน้ำ และบางชนิดเป็นปรสิต อาณาจักรนี้ได้แก่สัตว์ทุกชนิด ตั้งแต่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจนถึงสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ พยาธิใบไม้ กบ ลิง กระต่าย ดาวทะเล แมงดาทะเล พลานาเรีย หอยสองฝา แมลงสาบ ในทางชีววิทยา มนุษย์ ถูกจัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์

ประเภทของสัตว์
สัตว์ในโลกนี้มีมากมายหลายชนิด นักวิทยาศาสตร์ได้จัดแบ่งสัตว์เป็นกลุ่ม โดยถือรูกร่างลักษณะที่เหมือนกัน หรือต่างกันเป็นสำคัญ อริสโตเติล นักวิทยาศาสตร์ชาวกรีก ใช้กระดูกสันหลังเป็นเกณฑ์ในการแบ่งสัตว์ได้เป็น 2 พวก คือ

- สัตว์มีกระดูกสันหลัง
- สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

สัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrata)
เป็นไฟลัมย่อยของสัตว์มีแกนสันหลัง (chordates) สิ่งมีชีวิตประเภทนี้มีกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังเริ่มมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาประมาณ 505 ล้านปี ในยุคแคมเบรียนกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่วงยุคแคมเบรียน โครงกระดูกของไขสันหลัง ถูกเรียกว่ากระดูกสันหลัง Vertebrata เป็นไฟลัมย่อยที่ใหญ่ที่สุดใน Chordates รวมทั้งยังมีสัตว์ที่คนรู้จักมากที่สุดอีกด้วย (ยกเว้นแมลง) ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (รวมทั้งมนุษย์)เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะของไฟลัมย่อยนี้คือระบบของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เช่นเดียวกับระบบประสาทส่วนกลางที่ถูกวางในกระดูกสันหลังเป็นส่วน ๆ สัตว์มีกระดูกสันหลัง คือกระดูกสันหลังจะอยู่เป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์ กระดูกสันหลังจะต่อกันเป็นข้อๆ ยืดหยุ่น เคลื่อนไหวได้มีหน้าที่ช่วยพยุงร่างกายให้เป็นรูปร่างทรวดทรงอยู่ได้และยังช่วยป้องกันเส้นประสาทอีกด้วย สัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง นักวิทยาศาสตร์ยังแบ่งออกเป็น 5 พวกคือ



1. สัตว์พวกปลา

ปลา
เป็นสัตว์พวกหนึ่งที่อาศัยอยู่ในน้ำตลอดชีวิต มีทั้งปลาน้ำจืด และปลาน้ำเค็ม หายใจด้วยเหงือก สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ส่วนใหญ่ปฏิสนธิภายนอก ออกลูกเป็นไข่โดยออกไข่ครั้งละมากๆ ไข่มีขนาดเล็ก และมีเมือกบางๆหุ้ม มีครีบใช้ในการเคลื่อนไหว ลักษณะภายนอกของปลา ประกอบด้วย ปาก ใช้กินอาหาร ตา ใช้ในการมองเห็น หู ใช้รับฟังเสียง และการทรงตัว จมูก ใช้ดมกลิ่น เหงือก ใช้หายใจ ครีบและหาง ใช้ในการเคลื่อนที่และพยุงตัว กระดูกสันหลังและซี่โครง (ก้าง)
เป็นโครงสร้างของร่างกาย

ปลา เป็นสัตว์เลือดเย็น สามารถปรับอุณหภูมิของร่างกายตามอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม มีกระดูกสันหลังต่อกันเป็นข้อๆ ภายในร่างกาย รูปร่างของปลาแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน บางชนิดมีลำตัวยาว เช่น ปลาไหลบางชนิดลำตัวทรงกระบอง เช่น ปลาช่อน บางชนิดมีลำตัวแบน เช่น ปลากระเบน ส่วนปลาปักเป้ามีลำตัวค่อนข้างกลม และมีหนามแหลมยื่นออกตาผิวหนังเพื่อป้องกันตัว ม้าน้ำมีรูปร่างแปลกกว่าปลาอื่นๆ มีหางม้วนงอสำหรับจับยึดกิ่งไม้หรือปะการังใต้น้ำได้ด้วย กระดูกของปลา เราเรียกว่า ก้าง บางชนิดมีเมือกที่ทำให้ลื่นสามารถเคลื่อนที่ได้สะดวก



2. สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ

สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก จะมีผิวหนังเรียบไม่มีเกล็ด และเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา เพราะมีต่อมสร้างน้ำเมือกคอยขับน้ำเมือกออกมาถ้าผิวหนังแห้งบางพวกอาจต่อมพิษอยู่ตามผิวหนังที่ขรุขระสัตว์พวกนี้ตอนเป็นตัวอ่อนจะมีหางและมีรูปร่างคล้ายปลา อาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เรียกว่า " ลูกอ๊อด ต่อมาจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง โดยเหงือกค่อยๆ หายไป และปอดใช้หายใจแทนเหงือก ขาเริ่มงอก หางหดสั้นลงจนมีรูปร่างเหมือนตัวเต็มวัย แต่มีขนาดเล็ก ขึ้นมาอาศัยบนบก และเจริญเติบโต นอกจากหายใจด้วยปอดแล้ว ยังสามารถแลกเปลี่ยนก๊าชผ่านทางผิวหนังที่บางและชุ่มชื้นได้อีกทางหนึ่งด้วย ทำให้สามารถอยู่ในน้ำได้เป็นเวลานาน ในฤดูหนาวและฤดูร้อน สัตว์พวกนี้จะหลบความแห้งแล้งและขาดแคลน อาหารไปอยู่ที่ชุ่มชื้น โดยขุดรูหรือฝังตัวอยู่ใต้ดิน เรียกว่า " การจำศีล " ในช่วงนี้จะไม่กินอาหาร โดยจะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้าๆ เพื่อรอฤดูฝนจะออกมากินอาหารตามปกติ เหงือก ปอด ผิวหนัง ใช้หายใจ ปาก ใช้กินอาหาร ตา ใช้ในการมองเห็น หู ใช้รับฟังเสียง และการทรงตัว จมูก ใช้ดมกลิ่น เท้า ใช้เคลื่อนที่

สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกพวกนี้ เป็นสัตว์เลือดเย็นเหมือนกับปลา อาหารที่กินจะเป็นตัวหนอน และแมลง โดยใช้ลิ้นตวัดเข้าปาก ตอนเป็นตัวอ่อนจะอาศัยอยู่ในน้ำ เมื่อโตเต็มวัยจะขึ้นมาอาศัยอยู่บนบก แต่สามารถยังอยู่ในน้ำได้เป็นเวลานาน ได้แก่ กบ อึ่งอ่าง คางคก เขียด ปาด จงโคร่ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับคางคก





3. สัตว์เลื้อยคลาน

สัตว์เลื้อยคลาน เป็นสัตว์ที่สามารถดำรงชีวิตอยู่บนบกได้ ลักษณะภายนอกคือ ผิวหนังแห้ง ลำตัวมีเกล็ดหุ้ม สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ มีการปฏิสนธิภายในออกลูกเป็นไข่ วางไข่บนบก ไข่มีจำนวนไม่มากนัก ไข่มีขนาดใหญ่และมีเปลือกแข็งหรือเปลือกหุ้ม มีขา 4 ขา สัตว์เลื้อยคลานจะอาศัยบนบก แต่บางชนิดหากินในน้ำ ปอด ใช้หายใจ ปาก ใช้กินอาหาร ตา ใช้ในการมองเห็น หู ใช้รับฟังเสียง และการทรงตัว จมูก ใช้ดมกลิ่น เท้า ใช้เคลื่อนที่

สัตว์เลื้อยคลาน เป็นสัตว์เลือดเย็น อาศัยอยู่บนบกเป็นส่วนใหญ่ จะลงไปหาอาหารในน้ำ เวลาพักผ่อนจะขึ้นมาอยู่บนบกหรือริมน้ำ ยังพบว่าสัตว์พวกนี้ มีอุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับพวกปลาและสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก ได้แก่ จระเข้ เต่า ตะพาบ งู กิ้งก่า จิ้งจก

ลักษณะสำคัญ มีผิวหนังหนาและแห้ง มักมีเกล็ดแข็งปกคลุมร่างกาย หายใจด้วยปอด มีขา ปลายนิ้วมีเล็บช่วยจิกในการเคลื่อนที่และอาจมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะให้เหมาะสมกับการเคลื่อนที่ เช่น เปลี่ยนไปเป็นใบพายสำหรับว่ายน้ำ เช่น เต่าทะเล ในเต่าและตะพาบน้ำเกล็ดจะเชื่อมติดต่อกันเป็นแผ่นใหญ่เรียกว่า " กระดอง " บางชนิดไม่มีขาจึงเคลื่อนที่โดยการใช้วิธีการเลื้อย เช่น งู



4. สัตว์ปีก
สัตว์ปีก เป็นสัตว์ที่มีลักษณะแตกต่างจากสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่นๆ โดยมีลักษณะภายนอกคือ มีขาคู่หน้าพัฒนาเป็นปีก เพื่อใช้สำหรับบิน มีขา 2 ขา มีเกล็ดที่ขาและนิ้วเท้า มีปีก 2 ปีก มีขนเป็นแผงแบบขนนก ขนปกคลุมทั่วทั้งลำตัว สัตว์ปีกหายใจด้วยปอด สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ มีการปฏิสนธิภายใน โดยออกลูกเป็นไข่ วางไข่บนบก ไข่มีจำนวนไม่มากนัก ไข่มีเปลือกแข็งหุ้ม สัตว์ปีกไม่มีฟัน แต่จะมีจะงอยปากแข็งแรง มีรูปแบบแตกต่างกัน ปีก ใช้บิน ปาก ใช้กินอาหาร ตา ใช้ในการมองเห็น หู ใช้รับฟังเสียงและการทรงตัว จมูก ใช้ดมกลิ่น ขาและเท้า ใช้ในการทรงตัวและเคลื่อนที่

สัตว์ปีก เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีอุณหภูมิของร่างกายคงที่ไม่เปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม เป็นสัตว์ที่มีการวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานแต่เนื่องจากขาหน้าของสัตว์ปีกเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก เพื่อช่วยใน การบิน จึงเรียกสัตว์กลุ่มนี้ว่า สัตว์ปีก เราสามารถแบ่งสัตว์กลุ่มนี้ตามลักษณะการบินได้ 2 พวก คือ

- พวกบินได้
ส่วนใหญ่มีปีกเจริญดี สามารถใช้ในการบินไปมาในอากาศได้อย่างรวดเร็ว แต่มีบางพวกปรับโครงสร้างของร่างกาย ให้เหมาะสมกับสถานที่อยู่อาศัย จึงบินได้ต่ำ เช่น ไก่ เป็ด นกยูง นกขุนทอง
- พวกบินไม่ได้
ส่วนใหญ่จะมีปีกขนาดเล็กมาก จึงไม่สามารถบินได้ การเคลื่อนที่จะอาศัยขาเดิน และวิ่งอย่างรวดเร็ว เช่น นกกระจกเทศ นกอีมู นกเพนกวินพวกบินไม่ได้


ตุ่นปากเป็ด

5. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เป็นสัตว์ประเภทมีกระดูกสันหลัง ลักษณะภายนอกคือ ผิวหนังเรียบ มีขนเป็นเส้นแบบเส้นผมปกคลุมทั้งลำตัว มีแขนและขาไม่เกิน 2 คู่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ มีการปฏิสนธิภายในออกลูกเป็นตัว ตัวเมียมีต่อมสร้างน้ำนมสำหรับเลี้ยงลูกอ่อน จึงเรียกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

สัตว์พวกนี้ เป็นสัตว์เลือดอุ่น สามารถควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ได้ แม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อุณภูมิสูงหรือต่ำกว่าอุณหภูมิร่างกาย เป็นสัตว์ที่มีการวิวัฒนาการสูงสุด เราสามารถแบ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมตามลักษณะของการออกลูกและเลี้ยงลูกได้ 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มที่ออกลูกเป็นไข่
2. กลุ่มที่มีถุงหรือกระเป๋าบริเวณหน้าท้อง
3. กลุ่มที่มีรก

ลักษณะที่สำคัญ มีขนลักษณะเป็นเส้นสั้นๆ ปกคลุมลำตัว ตัวเมียมีต่อมผลิตน้ำนมสำหรับเลี้ยงตัวอ่อน หายใจด้วยปอด มีหัวใจ 4 ห้อง มีแขน ขา ไม่เกิน 2 คู่ ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นบางชนิดออกเป็นไข่ เช่น ตุ่นปากเป็ด และตัวกินมด บางชนิดยังอาศัยอยู่ในน้ำ เช่น ปลาวาฬปลาโลมา ปลาพะยูน บางชนิดบินได้ เช่น ค้างคาว ขน ใช้ปกคลุมร่างกาย ให้ความอบอุ่นและรับความรู้สึก ปาก ใช้กินอาหาร ตา ใช้ในการมองเห็น หู ใช้รับฟังเสียง และการทรงตัว จมูก ใช้ดมกลิ่น ขาและเท้า ใช้ในการทรงตัวและเคลื่อนที่

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
สัตว์พวกนี้มีจำนวนมากว่าสัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง แบ่งเป็น



1. พวกฟองน้ำ

พวกฟองน้ำมีลักษณะลำตัวเป็นโพรง มีรูพรุน ทำให้น้ำและอาหารสามารถไหลผ่านเข้าไปในโพรงลำตัว เพื่อดูดซึมก๊าซออกซิเจนและอาหาร แล้วปล่อยน้ำและกากอาหารออกทางช่องน้ำออก ฟองน้ำทุกชนิดอาศัยอยู่ในน้ำส่วนใหญ่จะอยู่ในทะเลมากกว่าน้ำจืด โดยจะเกาะติดกับหินใต้ท้องทะเล ไม่เคลื่อนที่ ดูมีลักษณะคล้ายพืช ไม่มีหัว ไม่มีปาก และไม่มีทางเดินอาหาร ฟองน้ำแต่ละชนิด มีสีและขนาดแตกต่างกัน

การสืบพันธุ์ โดยใช้วิธีการแตกหน่อ ฟองน้ำบางชนิดนำมาใช้ประโยชน์ในการถูตัวเวลาอาบน้ำ จึงเรียกว่า ฟองน้ำถูตัว



2. พวกแมงกะพรุน(พวกลำตัวมีโพรง)

พวกสัตว์ลำตัวมีโพรงหรือลำตัวกลวงสัตว์พวกนี้สัตว์พวกนี้จะมีช่องกลวงภายในลำตัวโดยมีลักษณะเป็นช่องเปิดปลายตันช่องนี้จะทำหน้าที่เป็นทั้งปากและทวารหนัก คือให้น้ำและอากาศเข้ามาภายในช่อง หลังจากแลกเปลี่ยนก๊าซและกินอาหารแล้วจะดันน้ำและของเสียผ่านทางช่องปิดนี้ ออกสู่ภายนอก

สัตว์พวกนี้ทุกชนิดอาศัยอยู่ในน้ำ บางชนิดอาศัยอยู่ในน้ำจืด เช่น ไฮดรา บริเวณหนวดของสัตว์ พวกนี้จะมีเข็มพิษไว้ฆ่าเหยื่อก่อนที่จะเหยื่อเข้าช่องปาก บางชนิดมีหนวดจำนวนมาก เช่น แมงกะพรุน และดอกไม้ทะเล บางพวกมีเปลือกแข็งหุ้มเป็นหินปูน เช่น ปะการัง บางพวกมีกิ่งก้านเหมือนต้นไม้ เช่น กัลปังหา เป็นต้น

การสืบพันธุ์ สัตว์กลุ่มนี้ บางชนิดจะสืบพันธุ์ แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อ เช่น ไฮดรา ปะการัง และกัลปังหา บางชนิดสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เช่น แมงกะพรุน



3. พวกที่มีลำตัวเป็นข้อปล้อง ไม่มีขา

พวกลำตัวเป็นปล้อง สัตว์พวกนี้จะมีลำตัวกลมยาวเหมือนพยาธิตัวกลม แต่จะมีลักษณะเป็นปล้องๆ เหมือนวงแหวนหลายๆ อันเรียงซ้อนกัน มีผิวหนังเปียกชื้นช่วยแลกเปลี่ยนแก๊สในการหายใจ ส่วนใหญ่ หากินอิสระ และอาศัยในทะเล เช่น แม่เพรียง บางชนิดอาศัยในน้ำจืด เช่น ตัวสงกรานต์ (ตัวร้อยขา) บางชนิดเป็น ปรสิต ดูดเลือดสัตว์อื่นเป็นอาหาร เช่น ปลิงน้ำจืด ปลิงบก(ทาก) บางชิดอาศัยอยู่ในดิน เช่น ไส้เดือนดิน

การสืบพันธุ์ สัตว์พวกนี้ มีทั้ง 2 เพศอยู่ในตัวเดียวกัน และแยกเพศคนละตัว จะอาศัยเพศในการสืบพันธุ์



4. พวกพยาธิและหนอนตัวกลมหรือตัวแบน

พวกหนอนตัวแบน สัตว์กลุ่มนี้มีรูปร่างคล้ายตัวหนอน แต่มีลักษณะลำตัวแบน บางชนิดมีปากและทวารหนักเป็นช่องเปิดเดียวกัน เช่น พลานาเรีย บางชนิดดูดกินเลือดสัตว์อื่นที่มันเข้าไปอาศัยอยู่เป็นอาหาร เช่น พยาธิใบไม้ และพยาธิตัวตืดจึงเรียกว่าพวกนี้ว่า ปรสิต



การสืบพันธุ์ ของสัตว์พวกนี้มีทั้งแบบอาศัยเพศ และแบบไม่อาศัยเพศ บางชนิดมีสองเพศในตัวเดียวกัน เช่น พยาธิบางชนิด ผสมพันธุ์กันเองในตัว แล้วปล่อยไข่ออกมา เช่น พยาธิตัวตืด บางชนิดใช้วิธีการงอกใหม่ ซึ่งจะแบ่งร่างกายเป็น 2 ส่วน แล้วเจริญกลายเป็นตัวใหม่ เช่น พลานาเรีย



5. พวกสัตว์ทะเลผิวขรุขระ

พวกมีผิวขรุขระเป็นหนามสัตว์พวกนี้ ตามผิวหนังจะมีลักษณะเป็นปุ่มปมขรุขระ บางชนิดเป็นหนาม บางชนิดมีเปลือกหุ้มลำตัวรูปทรงกลม หรือกลมแบน เช่น ปลาดาว หอยเม่น

การสืบพันธุ์ สัตว์พวกนี้มีการสืบพันธุ์ได้ทั้ง 2 แบบ คือ แบบอาศัยเพศ โดยการปฏิสนธิภายนอก ตัวเมียจะมีการผลิตไข่ครั้งละมาก เพื่อให้มีโอกาสอยู่รอดได้มาก ส่วนการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ จะใช้วิธีการงอกใหม่ ซึ่งจะพบในพวกปลาดาวทะเล




6. พวกหอยและหมึก
พวกหอยและหมึกทะเลสัตว์จำพวกนี้ จะมีลักษณะลำตัวอ่อนนิ่ม บางชนิดมีเปลือกแข็งซึ่งเป็นสารพวกหินปูนหุ้มลำตัว เช่น หอยต่างๆ ใช้กล้ามเนื้อท้องในการเคลื่อนที่ บางชนิดจะไม่มีเปลือกแข็งหุ้มลำตัว แต่มีเนื้อลำตัวเหนียวมาก เช่นปลาหมึกธรรมดา และปลาหมึกยักษ์ ใช้หนวดโบกพัดเพื่อว่ายน้ำเคลื่อนที่ไป ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือกบางชนิดอาศัย อยู่บนบก หายใจด้วยปอด เช่นหอยทาก



การสืบพันธุ์ แบบอาศัยเพศ มีเพศแยกกันคนละตัว ส่วนใหญ่มีการปฏิสนธิภายใน แต่บางชนิดมีการปฏิสนธิภายนอก โดยการปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ออกไปผสมกันในน้ำ



7. พวกสัตว์มีขาเป็นข้อเป็นปล้อง
พวกมีขาเป็นข้อสัตว์พวกนี้จะมีขาเป็นข้อๆ ต่อกัน ทุกชนิดมีเปลือกแข็งหุ้มลำตัวด้านนอกแบ่งเป็นปล้องๆ ซึ่งจะช่วยป้องกันอันตราย และทำให้ร่างกายคงรูปอยู่ได้ เมื่อร่างกายภายในเจริญเติบโตจะดันเปลือกให้แตกออก แล้วสร้างเปลือกใหม่ เราเรียกว่า ลอกคราบ ระหว่างลอกคราบ น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ขนาดจะคงที่ จะพบสัตว์พวกนี้ทั้งบนบก ในน้ำจืด และในน้ำเค็ม เนื่องจากสัตว์พวกนี้ไม่มีกระดูกสันหลัง และมีจำนวนมากนักวิทยาศาสตร์ ได้แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย ได้ดังนี้

1. พวกแมลง เป็นสัตว์ที่มีมากที่สุดกว่ากลุ่มอื่น ลำตัว แบ่งออกเป็นส่วนหัว อก และท้อง มีขา 3 คู่ ที่บริเวณอกส่วนใหญ่มีปีกช่วยในการบิน 1-2 คู่ แมลงจะเปลี่ยนแปลงรูปร่างการเจริญเติบโต โดยการลอกคราบ

2. พวกแมงมุม สัตว์กลุ่มนี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนบก มีขา 4 คู่ เช่นแมงมุม บึ้ง แมงป่อง

3. พวกตะขาบ สัตว์พวกนี้จะมีลำตัวเรียวยาว และแบนเล็กน้อยลำตัวแบ่งเป็นปล้องๆ แต่ละปล้องจะมีขา 1 คู่ เช่น ตะขาบ ซึ่งมีเขี้ยวพิษที่บริเวณ
ปากไว้ป้องกันตัว และฆ่าเหยื่อ

4. กิ้งกือ สัตว์พวกนี้มีลำตัวเป็นทรงกระบอก และ แบ่งเป็นปล้องๆ แต่ละปล้องมีขา 2 คู่ เช่น กิ้งกือ แม้จะมีขามากแต่เดินได้อย่างเชื่องช้าเมื่อมีสิ่งใดมากระทบจะม้วนลำตัวเป็นวงกลม

5. พวกกุ้งและปู สัตว์พวกนี้จะอาศัยอยู่ในน้ำเป็นส่วนใหญ่ จะพบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม เช่น ปู กุ้ง กั้ง และไรน้ำ

การสืบพันธุ์ มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ มีเพศแยกกันคนละตัว ส่วนใหญ่มีการปฏิสนธิภายใน มีการวางไข่

การแยกสารละลาย โดยการตกผลึก

การแยกสารละลาย โดยการตกผลึก

การตกผลึกเป็นวิธีที่ทำให้สารบริสุทธิ์ โดยอาศัยหลักการละลายได้ที่ต่างกัน โดยสารที่ต้องการแยกและไม่ต้องการแยกจะต้องละลายได้ในตัวทำละลายชนิดเดียวกัน แต่ต้องมีความสามารถในการละลายต่างกัน โดยสารที่ละลายได้น้อยกว่าจะตกผลึกออกมาก่อน

วิธีการตกผลึก

1. ใส่สารลงไปในตัวทำละลายทีละน้อย จนได้สารละลายอิ่มตัวที่อุณหภูมิสูง

2. กรองสารละลายขณะร้อนเพื่อกำจัดสิ่งเจือปนที่ไม่ละลายออกไป

3. ปล่อยให้สารละลายอิ่มตัวเย็นลงจะได้ของแข็งที่มีรูปทรงเรขาคณิตตกผลึกแยกออกมา ซึ่งเมื่อนำไปกรองแล้วทำให้แห้งก็จะได้ของแข็งบริสุทธิ์ตามต้องการ

หมายเหตุ :
ที่ต้องใช้สารละลายอิ่มตัวที่อุณหภูมิสูง เพราะสารส่วนมากเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นจะละลายได้มากขึ้น และเมื่อเราลดอุณหภูมิลง สารจะละลายได้น้อยลงทำให้ส่วนที่ละลายไม่ได้ตกลงมาเป็นผลึกแทน

วีดีโอสอนการทำผลึกน้ำตาล (ภาษาอังกฤษ)


ตัวอย่าง ผลึกในธรรมชาติ การค้นพบถ้ำผลึกขนาดใหญ่ ในเม็กซิโก ดูความอลังการสิครับ









กิจกรรมการทดลอง ไข่จม - ไข่ลอย

กิจกรรมการทดลอง ไข่จม - ไข่ลอย

กิจกรรมนี้ใช้ประกอบการเรียนเรื่อง ความหนาแน่นของของเหลวมีผลต่อการจมและการลอยของวัตถุ ซึ่งจะเชื่อมโยงไปถึงการเรียนเรื่องแรงลอยตัวหรือแรงพยุงตัวของของเหลว รวมทั้งการทำให้เห็นเรื่องการจมลอยของวัตถุแบบที่เป็นภาพที่ชัดเจนมาก

วัสดุอุปกรณ์
1. เกลือ
2. ไข่ไก่สด
3. บีกเกอร์ขนาด 500 cm3
4. น้ำประปา
5. ช้อนตักสาร
6. แท่งแก้วคนสาร


วิธีทดลอง
1.เทน้ำประปาใส่ลงในบีกเกอร์ประมาณครึ่งบีกเกอร์ นำไข่ไก่สดใส่ลงไปในน้ำ (วางเบาๆ) และสังเกตผลจากนั้นนำไข่ไก่ออก
2.ใส่เกลือลงไปในบีกเกอร์เดิมประมาณ 5 ช้อน ใช้แท่งแก้วคนจนเกลือละลายหมด นำไข่ไก่ใบเดิมใส่ลงไป และสังเกตผล

ผลการทดลอง
จะพบว่า เมื่อนำไข่ไก่สดใส่ลงในน้ำประปาธรรมดา น้ำหนักของไข่ไก่จะดึงไข่ไก่ให้จมลงสู่ก้นบีกเกอร์ เนื่องจากความหนาแน่นของไข่ไก่มากกว่าความหนาแน่นของน้ำ น้ำจึงไม่สามารถพยุงไข่ไก่ให้ลอยขึ้นได้ แต่เมื่อใส่เกลือลงในน้ำประปาจำนวน 5 ช้อน ไข่ไก่สดใบเดิมจะลอยสูงจากก้นบีกเกอร์ ประมาณ 8 cm จากระดับน้ำสูง 10 cm เนื่องจากน้ำเกลือมีความเข้มข้นมากกว่า หรืออีกนัยหนึ่งคือ มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำประปาธรรมดา ไข่ไก่มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำเกลือจึงสามารถลอยขึ้นได้

หากนำผลการทดลองและความรู้จากการทดลองนี้ มาใช้ในชีวิตประจำวัน เราอาจกล่าวได้ว่า การหัดว่ายน้ำในทะเล น่าจะสามารถพยุงตัวได้ดีกว่าว่ายน้ำในแม่น้ำ เนื่องจากน้ำทะเลมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำในแม่น้ำ

ที่มา :
http://www.ipst.ac.th/Activity_PrimarySci/science-p/main-sci-p.html

หรือจะคลิกดูการทดลองจากคลิปนี้ก็ได้เช่นกัน









วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ความกดอากาศ และการเกิดลม

ความกดอากาศ และการเกิดลม

ภาพที่ 1 บารอมิเตอร์ชนิดปรอท



แม้ว่าอากาศจะเป็นก๊าซ แต่อากาศก็มีน้ำหนักเช่นเดียวกับของแข็งและของเหลว เราเรียกน้ำหนักซึ่งกดทับกันลงมานี้ว่า “ความกดอากาศ” (Air pressure) ความกดอากาศจะมีความแตกต่างกับแรงที่เกิดจากน้ำหนักกดทับตรงที่ ความกดอากาศมีแรงดันออกทุกทิศทุกทาง เช่นเดียวกับแรงดันของอากาศในลูกโป่ง

อุปกรณ์วัดความกดอากาศ เรียกว่า “บารอมิเตอร์” (Barometer) หากเราบรรจุปรอทใส่หลอดแก้วปลายเปิด แล้วคว่ำลงตามภาพที่ 1 ปรอทจะไม่ไหลออกจากหลอดจนหมด แต่จะหยุดอยู่ที่ระดับสูงประมาณ 760 มิลลิเมตร เนื่องจากอากาศภายนอกกดดันพื้นที่หน้าตัดของอ่างปรอทไว้ ความกดอากาศมีหน่วยวัดเป็น “มิลลิเมตรปรอท” “นิ้วปรอท” และ “มิลลิบาร์” โดยความกดอากาศที่พื้นผิวโลกที่ระดับน้ำทะเลปานกลาง มีค่าเท่ากับ 760 มิลลิเมตรปรอท (29.92 นิ้วปรอท) หรือ 1013.25 มิลลิบาร์

ในปัจจุบันนักอุตุนิยมวิทยานิยมใช้ “มิลลิบาร์” เป็นหน่วยมาตรฐานในการวัดความกดอากาศ

1 มิลลิบาร์ = แรงกด 100 นิวตัน/พื้นที่ 1 ตารางเมตร
โดยที่ แรง 1 นิวตัน คือ แรงที่ใช้ในการเคลื่อนมวล 1 กิโลกรัม
ให้เกิดความเร่ง 1 (เมตร/วินาที)/วินาที

ปัยจัยที่มีอิทธิพลต่อความกดอากาศ

ยิ่งสูงขึ้นไป อากาศยิ่งบาง อุณหภูมิยิ่งต่ำ ความกดอากาศยิ่งลดน้อยตามไปด้วย เพราะฉะนั้น ความกดอากาศบนยอดเขา จึงมักจะน้อยกว่าความกดอากาศที่เชิงเขา

อากาศเย็นมีความหนาแน่นมากกว่าอากาศร้อน จึงมีความกดอากาศมากกว่า เรียกว่า “ความกดอากาศสูง” (High pressure) ในแผนที่อุตุนิยมจะใช้อักษร“H” สีน้ำเงิน เป็นสัญลักษณ์ (ดูภาพที่ 2)

อากาศร้อนมีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศเย็น จึงมีความกดอากาศน้อยกว่า เรียกว่า “ความกดอากาศต่ำ” (Low pressure) ในแผนที่อุตุนิยมจะใช้อักษร “L” สีแดง เป็นสัญลักษณ์

ภาพที่ 2 แผนที่แสดงเกรเดียนของความกดอากาศ และทิศทางลม

การเคลื่อนที่ของอากาศ

การพาความร้อน (Convection) ของบรรยากาศ ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของอากาศทั้งแนวตั้งและแนวราบ

แนวตั้ง อากาศร้อนยกตัวขึ้น อากาศเย็นจะเคลื่อนเข้ามาแทนที่ การเคลื่อนตัวของอากาศในแนวตั้ง ทำให้เกิดการเมฆ ฝน และความแห้งแล้ง

แนวราบ อากาศจะเคลื่อนตัวจากหย่อมความกดอากาศสูง (H) ไปยังหย่อมความกดอากาศต่ำ (L) ทำให้เกิดการกระจายและหมุนเวียนอากาศไปยังตำแหน่งต่างๆ บนผิวโลก เราเรียกอากาศซึ่งเคลื่อนตัวในแนวราบว่า “ลม” (Wind)

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อลม

แรงเกรเดียนของความกดอากาศ (Pressure-gradiant force)
พื้นผิวโลกแต่ละบริเวณได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน พื้นที่ดังกล่าวจึงมีอุณหภูมิและความดันอากาศแตกต่างกันไป บนแผนที่อุตุนิยมจะมีเส้นแสดงความกดอากาศเท่ากัน เรียกว่า “ไอโซบาร์” (Isobars) เส้นไอโซบาร์แต่ละเส้นจะมีค่าความกดอากาศแตกต่างเท่าๆ กัน เช่น แตกต่างกันทุกๆ 6 มิลลิบาร์เป็นต้น (ภาพที่ 2)

แรงเกรเดียนของความกดอากาศ = ความกดอากาศที่แตกต่าง / ระยะทางระหว่าง 2 ตำแหน่ง


ถ้าหากเส้นไอโซบาร์อยู่ใกล้ชิดกันแสดงว่า ความกดอากาศเหนือบริเวณนั้นมีความแตกต่างกันมาก หรือมีแรง
เกรเดียนมาก แสดงว่ามีลมพัดแรง แต่ถ้าเส้นไอโซบาร์อยู่ห่างกันแสดงว่า ความกดอากาศเหนือบริเวณนั้นมีความแตกต่างกันไม่มาก หรือมีแรงเกรเดียนน้อย แสดงว่ามีลมพัดอ่อน

ภาพที่ 3 แรงโคริออริส

แรงโคริออริส (Coriolis)

เป็นแรงเสมือนซึ่งเกิดจากการที่โลกหมุนหมุนรอบตัวเอง ในภาพที่ 3 บน แสดงให้เห็นว่า หากโลกไม่หมุนรอบตัวเอง การยิงจรวดจากขั้วโลกเหนือไปยังเป้าหมายบนตำแหน่งที่เส้นศูนย์สูตรตัดกับเส้นแวงที่ 90° จะได้วิถีของจรวดเป็นเส้นตรง โดยสมมุติให้จรวดใช้เวลาเดินทางจากจุดปล่อยไปยังเป้าหมายใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง

ในภาพที่ 3 ล่าง อธิบายถึงการเกิดแรงโคริออริส เนื่องจากโลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา 24 ชั่วโมง เมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งชั่วโมง นับตั้งแต่จรวดถูกปล่อยออกจากจุดปล่อยไปยังเป้าหมาย การหมุนของโลกทำให้วิถีของจรวดเป็นเส้นโค้ง และเคลื่อนไปตกบนเส้นแวงที่ 105° เนื่องจากหนึ่งชั่วโมงโลกหมุนไปได้ 15° (105° - 90° = 15°)

แรงโคริออริสไม่มีอิทธิพลต่อกระแสลมที่บริเวณเส้นศูนย์สูตร แต่จะมีอิทธิพลมากขึ้นในละติจูดที่สูงเข้าใกล้ขั้วโลก
แรงโคริออริสทำให้ลมในซีกโลกเหนือเบี่ยงเบนไปทางขวา และทำให้ลมในซีกโลกใต้เบี่ยงเบนไปทางซ้าย ภาพที่ 4 แสดงให้เห็นว่า ในบริเวณซีกโลกเหนือ แรงโคริออริสทำให้มวลอากาศรอบหย่อมความกดอากาศต่ำ (L) หรือ “ไซโคลน” (Cyclone) หมุนตัวทวนเข็มนาฬิกาเข้าสู่ศูนย์กลาง และมวลอากาศรอบหย่อมความกดอากาศสูง (H) “แอนติไซโคลน” (Anticyclone) หมุนตัวตามเข็มนาฬิกาออกจากศูนย์กลาง ในบริเวณซีกโลกใต้ “ไซโคลน” จะหมุนตัวตามเข็มนาฬิกา และ “แอนติไซโคลน” จะหมุนตัวทวนเข็มนาฬิกา ตรงกันข้ามกับซีกโลกเหนือ
แรงเสียดทาน (Friction) เป็นแรงที่เกิดจากความขรุขระของผิวโลก ทำให้เกิดความต้านทางการเคลื่อนที่ของอากาศ แรงเสียดทานมีอิทธิพลเฉพาะกับอากาศบริเวณใกล้พื้นผิว ซึ่งอยู่เหนือขึ้นไปเพียงไม่กี่กิโลเมตร แรงเสียดทานมีผลกระทบต่อความเร็วลม และก่อให้เกิดกระแสอากาศปั่นป่วน (Turbulence) ซึ่งมีปัจจัยควบคุม 3 ประการคือ

- ความร้อนที่ผิวดิน ถ้าอากาศเหนือพื้นผิวร้อนมาก ก็จะทำให้เกิดกระแสอากาศปั่นป่วนอย่างรุนแรง (ในลักษณะเดียวกับน้ำเดือดในภาชนะ)

- กระแสลม ถ้ากระแสลมแรง ก็จะทำให้เกิดกระแสอากาศปั่นป่วนอย่างรุนแรง

- ลักษณะภูมิประเทศ บริเวณภูเขาและหุบเขา จะมีกระแสอากาศปั่นป่วนกว่าบริเวณที่เป็นพื้นราบ

อุปกรณ์วัดลม

อุปกรณ์วัดทิศทางลม (Wind Vane) ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
- เครื่องวัดทิศทางลม มีรูปร่างคล้ายเหมือนลูกศร กระแสลมปะทะเข้ากับแผ่นหางเสือที่ปลายลูกศร ทำให้หัวลูกศรชี้เข้าหาทิศทางที่กระแสลมพัดมาตลอดเวลา
- แป้นบอกทิศทาง ทำหน้าที่เสมือนหน้าปัด มีอักษรบอกทิศหลักสี่ทิศ คือ ทิศเหนือ (N) ทิศตะวันออก (E) ทิศใต้ (S) และทิศตะวันตก (W) สำหรับแป้นบอกทิศทางชนิดละเอียด จะมีแบ่งหน้าปัดแบ่งทิศออกเป็น 360 องศา โดยมีจุดเริ่มต้นเป็นทิศเหนือ แล้วนับมุมตามเข็มนาฬิกาไปทางขวา ดังภาพที่ 5

ภาพที่ 5 หน้าปัดแสดงทิศทางลม

อุปกรณ์วัดความเร็วลม (Anemometer) มีรูปร่างเหมือนใบพัดเครื่องบิน หรือกรวยดักลม มีหลักการทำงานเหมือนเช่นเดียวกับเครื่องวัดความเร็วในรถยนต์ เมื่อกระแสลมพัดมาปะทะใบพัด (กรวยดักลม) จะทำให้แกนหมุนและส่งสัญญาณจำนวนรอบมาให้เครื่องคำนวณเป็นค่าความเร็วลมอีกทีหนึ่ง โดยมีหน่วยวัดเป็นเมตรต่อวินาที

ภาพที่ 6 เครื่องวัดความเร็วลม

ความชื้นของอากาศ

ความชื้นของอากาศ

ไอน้ำ เป็นส่วนประกอบของบรรยายที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ อย่างมากแม้ว่าจะมีอยู่เพียงเล็กน้อยก็ตาม ไอน้ำในอากาศเกิดจาก การระเหย ของน้ำจากแหล่งน้ำต่างๆบนพื้นโลก จากการคายน้ำของพืช และผลพลอยได้จากระเหยของน้ำคือ ทำให้อุณหภูมิของบรรยากาศลดลง

อากาศอิ่มตัวด้วยไอน้ำ คือ อากาศที่มีไอน้ำหรือความชื้นสูงสุด ณ อุณหภูมิหนึ่งไม่สามารถรับไอน้ำที่ระเหย ขึ้นมาอีก และถ้าไอน้ำเกินระดับอิ่มตัวนี้ ไอน้ำก็จะควบแน่นกลายเป็นหยดน้ำ
หมายเหตุ เมื่ออุณหภูมิของอากาศเปลี่ยนแปลงไปด้วย โดยเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น อากาศจะรับไอน้ำได้เพิ่มขึ้นหรือจะมีระดับความชื้นสูงสุดได้สูงขึ้น

ความชื้นสัมบูรณ์(Absoluye Humidity) หรือ ควาหนาแน่นของไอน้ำในอากาศ คือ มวลของไอน้ำที่มีอยู่จริงๆใน 1 หน่วยปริมาตรของอากาศ มีหน่วยเป็นกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ความชื้นสัมบูรณ์ = มวลของไอน้ำที่มีอยู่จริงๆ ในอากาศ/ปริมาตรของอากาศ

ความชื้นสัมพันธ์ ( Relative Humidity ) คือ อัตราส่วนระหว่างมวลของไอน้ำที่มีอยู้จริงในอากาศกับมวลของไอน้ำอิ่มตัวในอากาศที่อุณหภูมิและปริมาตรเดียวกัน ซึ่งนิยมคิดเป็นเปอร์เซนต์

ความชื้นสัมพันธ์ =(มวลของไอน้ำที่มีอยู่จริงๆในอากาศ x100%)/มวลของไอน้ำอิ่มตัวที่อุณหภูมิและปริมาตรเดียวกัน

ความชื้นในอากาศพอเหมาะ
ความชื้นสัมพันธ์ 60% เป็นความชื้นในอากาศพอเหมาะที่จะทำให้เรารู้สึกสบาย ถ้าความชื้นมากกว่านี้จะทำให้เรารู้สึกอึดอัด ตัวเหนียวเหนอะหนะ เพราะเหงื่อระเหยไม่ได้ดี แต่ถ้าความชื้นน้อยกว่านี้ อากาศจะแห้งมาก เหงื่อที่ตัวเราจะระเหยสู่อากาศได้มาก ทำให้เรารู้สึกเย็น จนบางครั้งทำให้ผิวหนังแห้งหรือแตก เป็นต้น