วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

เพชร (Diamond)

เพชร (Diamond)



การจำแนก
ประเภท : แร่ธรรมชาติ
สูตรเคมี : C

คุณสมบัติ
มวลโมเลกุล : 12.01
สี : โดยทั่วไปสีเหลือง น้ำตาล หรือ เทา ไปจนถึงไม่มีสี น้อยครั้งที่จะเป็นสีฟ้า เขียว ดำ ขาวขุ่น ชมพู ม่วง ส้ม และแดง
รูปแบบผลึก : ทรงแปดหน้า
โครงสร้างผลึก : สี่เหลี่ยมจัตุรัส-สามมิติ (เหลี่ยมลูกบาศก์)
แนวแตกเรียบ : 111 (สมบรูณ์แบบใน 4 ทิศทาง)
รอยแตก : แตกแบบฝาหอย
ค่าความแข็ง : 10
ความวาว : มีความวาว
ความวาวจากการขัดเงา : มีความวาว
ดรรชนีหักเห : 2.418 (ที่ 500 nm)
คุณสมบัติทางแสง : ไอโซทรอปิก
ค่าแสงหักเหสองแนว : ไม่มี
การกระจายแสง : 0.044
การเปลี่ยนสี : ไม่มี
สีผงละเอียด : ไม่มีสี
ความถ่วงจำเพาะ : 3.52 ± 0.01
ความหนาแน่น : 3.5–3.53
จุดหลอมเหลว : ขึ้นกับความดันบรรยากาศ
ความโปร่ง : โปร่งแสง กึ่งโปร่งแสง ถึง เป็นฝ้าทึบ

เพชร เป็นอัญมณีรูปแบบหนึ่งของคาร์บอน จัดเรียงตัวเป็นทรงแปดหน้า เป็นแร่ที่แข็งที่สุดตามสเกลของโมส์ (Moh's scale) มีค่าความแข็งเท่ากับ 10

เพชรมีหลายสี สีที่นิยมที่สุดคือสีขาวบริสุทธิ์ สีที่หายากคือสีแดง ฟ้า เขียว ส้ม ชมพู เรียก "แฟนซีไดมอนด์" มีราคาสูงมาก การเจียระไนเป็น 52 เหลี่ยมนับว่าสวยที่สุด เพชรเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ ความแข็งแกร่ง แหล่งของเพชรมีอยู่ทั่วโลก ส่วนมากพบที่บราซิลและแอฟริกาใต้

ศัพท์มูลวิทยา
คำว่า เพชร ในภาษาไทย มาจาก वज्र (วชฺร) ในภาษาสันสกฤต หมายถึง สายฟ้า หรืออัญมณีชนิดนี้ก็ได้ ส่วนในภาษาอังกฤษ "diamond" มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกโบราณ αδάμας (adámas) ซึ่งมีความหมายว่า "สมบูรณ์" "เปลี่ยนแปลงไม่ได้" "แข็งแกร่ง" "กล้าหาญ" มาจาก ἀ- (a-) มีความหมายว่า "ไม่-" + δαμάω (damáō), "เอาชนะ" "ขี้ขลาด" ภายหลังได้แผลงเป็น adamant, diamaunt, diamant และ diamond ในที่สุด

ประวัติ
เพชรมีการกล่าวถึงและทำเหมืองเพชรครั้งแรกในประเทศอินเดีย โดยเฉพาะชั้นหินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพาเป็นเวลาหลายศตวรรษตามแม่น้ำเพนเนอร์ กฤษณะ และ โคธาวารี เพชรเป็นที่รู้จักในประเทศอินเดียมาไม่น้อยกว่า 3,000 ปีแต่ไม่เกิน 6,000 ปี

อัญมณีเพชรกลายเป็นสิ่งมีค่าเมื่อมีการนำไปใช้เป็นรูปเคารพทางศาสนาในอาณาจักรอินเดียโบราณ นอกจากนี้ ยังมีการใช้งานเพชรเป็นเครื่องมือแกะสลักตั้งแต่สมัยต้นประวัติศาสตร์ของมนุษย์อีกด้วยความนิยมของเพชรได้เพิ่มขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เนื่องจากอุปทานที่เพิ่มขึ้น เทคนิคการตัดและขัดเกลาที่ดีขึ้น การเติบโตของเศรษฐกิจโลก และการปฏิรูปและความสำเร็จของการโฆษณาเผยแพร่

ในปี ค.ศ. 1772 อ็องตวน ลาวัวซีเยได้ใช้แว่นขยายรวมรังสีดวงอาทิตย์ไปบนเพชรในบรรยากาศที่มีแต่ออกซิเจน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์จากการเผาไหม้มีเพียงแต่คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นการพิสูจน์ว่าเพชรเป็นองค์ประกอบของคาร์บอน ต่อมาในปี ค.ศ. 1797 สมิทสัน เท็นแนนต์ (Smithson Tennant) ได้ทำซ้ำและเพิ่มเติมการทดลองนี้ โดยแสดงให้เห็นว่าการเผาไหม้เพชรและกราไฟท์จะปลดปล่อยก๊าซที่มีองค์ประกอบเดียวกัน สมิทสันได้สร้างสมดุลสมการเคมีของสารเหล่านี้ขึ้นมา

การใช้งานเพชรส่วนมากในปัจจุบันเป็นการใช้ในเชิงอัญมณีซึ่งใช้ทำเครื่องประดับ การใช้งานในลักษณะนี้สามารถนับย้อนไปได้ถึงในสมัยโบราณ การกระจายของแสงขาวในสเปกตรัมสีเป็นลักษณะพื้นฐานทางด้านอัญมณีวิทยาของอัญมณีเพชร ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้เชี่ยวชาญในด้านอัญมณีวิทยาได้พัฒนาวิธีแบ่งระดับของเพชรและอัญมณีชนิดอื่นบนพื้นฐานของลักษณะที่สำคัญในเชิงมูลค่าของอัญมณี 4 ลักษณะหรือที่รู้จักกันในชื่อ 4 ซี ถูกใช้เป็นพื้นฐานการบ่งชี้ของเพชร ประกอบด้วย กะรัต (carat) การตัด (cut) สี (color) และ ความสะอาด (clarity) เพชรไม่มีตำหนิที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรู้จักกันในชื่อ พารากอน
เพชรเป็นผลึกโปร่งใสของอะตอมคาร์บอนที่จับยึดกับแบบรูปพีระมิด (sp3) ตกผลึกกลายเป็นโครงข่ายเพชรที่เป็นการแปรผันของโครงสร้างลูกบาศก์แบบเฟซเซ็นเตอร์ (face centered cubic)

คุณสมบัติทางกายภาพ
 หลักสากล 4Cs

การจำแนกระดับต่างๆของเพชรให้ดูถึงความบริสุทธิ์ที่เพชรมี ในหลักสากล สามารถแบ่งออกเป็น 4Cs ใหญ่ๆ ด้วยกันคือ Clarity (ความบริสุทธิ์) , Carat (น้ำหนักเพชรเทียบเป็นกะรัต) , Color (สีของเพชร) และสุดท้าย Cut (รูปแบบและทรงการเจียระไน)

ระดับความบริสุทธิ์ (Clarity)
การจำแนกความบริสุทธิ์ของเพชร สามารถจำแนกได้ตามหลักสากล ดังนี้

1.Flawless (FL) - เป็นเพชรชั้นยอดน้ำงามที่สุด ไม่มีตำหนิหรือมลทินใดๆในทั้งเนื้อเพชรและผิวของเพชร เมื่อมองภายใต้กล้องขยาย 10 เท่า (10X)

2.Internally Flawless (IF) - เป็นเพชรชั้นยอดที่ไม่มีตำหนิภายในเนื้อเพชรเลย เมื่อมองภายใต้กล้องขยาย 10 เท่า (10X)

3.Very Very Slightly Included (VVS1 / VVS2) - เป็นระดับของเพชรที่มีมลทินในเนื้อเพชรให้เห็นได้น้อยมากๆ ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า จะต้องใช้กล้องกำลังขยาย 10 เท่า ส่องจึงเห็น และจะต้องใช้เวลาในการค้นหาค่อนข้างนาน แล้วแต่ความชำนาญของผู้ตรวจสอบ จำแนกออกเป็นระดับ 1 และ 2 ตามลำดับ หากตำหนิน้อยมากจะใช้ VVS1 หากตำหนิที่สามารถเห็นได้ชัดมากขึ้นจะใช้ VVS2

4.Very Slightly Included (VS1 / VS2) - เป็นระดับของเพชรที่มีมลทินในเนื้อเพชรในระดับที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า จะต้องใช้กล้องกำลังขยาย 10 เท่า ส่องจึงเห็น และจะต้องใช้เวลาในการค้นหาสักพัก แต่จะใช้เวลาน้อยกว่าเพชรความสะอาดระดับ VVS ตำหนิและมลทินสามารถเห็นได้ชัดเจนมากกว่าระดับ VVS และอาจมีสีต่างๆในเนื้อของมลทินที่สามารถมองเห็นได้

5.Slightly Included (SI1 / SI2) - เป็นระดับของมลทินที่สามารถมองเห็นได้ทันทีภายใต้กล้องกำลังขยาย 10 เท่าและบางกรณีสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่จะมีขนาดที่เล็กอาจจะต้องสังเกต หรือใช้กระดาษขาวทาบและมองกับแสงไฟจึงเห็นชัดขึ้น ในระดับสายตาของผู้ยังไม่ชำนาญการ จะต้องใช้เวลานานในการสังเกต

6.Imperfect (I1 / I2 / I3) - เป็นระดับมลทินที่สามารถสังเกตด้วยตาเปล่าได้อย่างชัดเจน ซึ่งอาจจะมีเยอะมาก จนทำให้สังเกตได้เยอะ

กะรัต (Carat)

น้ำหนักซึ่งเป็นมาตรฐานในการวัดน้ำหนักของอัญมณี ซึ่งเทียบกับมาตราเมตริกได้ 0.2 กรัม ทั้งนี้ มาตรน้ำหนักกะรัตนี้ พ้องเสียงกับคำว่า กะรัต (Karat) ที่ใช้วัดระดับความบริสุทธิ์ของทองคำ ซึ่งทองคำมีค่าความบริสุทธิ์ 99.99% มีค่าเท่ากับ 24 กะรัต (Karat)

ที่มาของคำว่ากะรัต มาจากเมล็ดของผล การัต ซึ่งเมล็ดของผลชนิดนี้จะมีน้ำหนักเท่ากันทุกเมล็ด ซึ่งในสมัยโบราณนิยมใช้กันมาก เพราะไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจนในการวัด จึงนำเอาเมล็ดจากผลการัต มาเป็นหน่วยในการวัดน้ำหนักของอัญมณี

สี (Color)

การจำแนกเฉดสีของเพชร สามารถเรียงจาก D ไปจนถึง Z ซึ่งหากแทนด้วยอักษร D จะหมายถึง มีความขาวใส มากที่สุด ซึ่งบางครั้งคนไทยจะเรียกว่า "น้ำ" เพชรน้ำยิ่งสูงก็จะยิ่งขาวและไม่มีสีเหลืองเจือปน เพชรระดับไร้สี (Colorless) ได้แก่ เพชรน้ำ 100, 99, 98 หรือ เพชรสี D,E,F ส่วนเพชระดับเกือบไร้สี (Near Colorless) ได้แก่เพชรน้ำ 97, 96, 95, 94 หรือ G,H,I,J ดูตัวอย่างการเทียบสีเพชร ส่วนเฉดสีอื่นๆ จะไล่ไปเรื่อยๆเช่น สีนวลอ่อน อาจจะแทนด้วยอักษร G สีเหลืองแชมเปญ จะไล่ลงไปเป็น L เหลืองเข้ม จะใช้แทนด้วย P จนกระทั่งไปถึงตัวอักษร Z ที่จะเป็นสีเหลืองสด และถูกแยกออกเป็นเฉดสีเพชรแฟนซี

การจำแนกสีของเพชร จะแยกเฉพาะโทนสี ขาว และเหลืองเท่านั้น หากแยกออกไปจากนี้จะเป็นรูปแบบเพชรแฟนซี ซึ่งจะมีสีสันสดใสและแปลกตาออกไป

เหตุที่แยกโทนสีเฉพาะสีเหลืองเพราะว่า คาร์บอนในตัวของเพชร เมื่อได้รับความร้อนหรือสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบอื่นๆ จะทำให้เพชรมีสีแตกต่างออกไป เช่นเพชรสีเหลืองมีธาตุในโตรเจนเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย สีน้ำเงิน อาจมีไทเทเนียมและเหล็กเจือปน หรือสีแดงอาจจะเป็นโครเมียมเจือปน ส่วนเพชรชมพูนั้นเกิดจากโครงสร้างของตัวเพชรเอง ส่วนสีเขียวนั้นเป็นเพชรที่ได้รับรังสี ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ทำให้เกิดเป็นเพชรแฟนซี ที่มีสีสันแตกต่างออกไป และราคาแพงมากกว่าสีขาว เนื่องจากหายาก แต่อย่างไรก็ตาม เพชรสีขาวใสสะอาด เป็นที่นิยมมากกว่าเพชรแฟนซี แต่ในปัจจุบันได้มีผู้ผลิต หลายราย นำเพชรสีขาวมาปรับปรุงคุณภาพเพื่อให้เกิดเป็นเพชรสีแฟนซี ต่างๆ ขึ้น เช่น ทำการอบ การเผา หรือการฉายรังสี ทำให้เกิดสีต่างๆ เช่น สีเขียว สีเหลือง และสีฟ้า เป็นต้น

ที่มา
วิกีพีเดีย
คอรันดัม (Corundum)



การจำแนก
ประเภท : สารประกอบอะลูมิเนียมออกไซด์
สูตรเคมี : Al2O3

คุณสมบัติ
สี : ใส ขาว เขียว เหลือง ชมพู แดง ฟ้า สีขาว โปร่งใส ถึง โปร่งแสง วาวแบบแก้ว ถึง วาวแบบเพชร
รูปแบบผลึก : รูปผลึกแบบหกเหลี่ยม
โครงสร้างผลึก : ไตรโกนาล
ค่าความแข็ง : 9
การเปลี่ยนสี : ไม่มี
สีผงละเอียด : ขาว
ความถ่วงจำเพาะ : 3.95-4.1
จุดหลอมเหลว : 2044 °C
สภาพละลายได้ : ไม่สามารถละลายได้

คอรันดัม (อังกฤษ: Corundum) ( Al2O3) เป็นแร่รัตนชาติ ประเภทอะลูมิเนียมออกไซด์ ซึ่งประกอบขึ้นด้วย ธาตุอะลูมิเนียม และออกซิเจน

คุณสมบัติ
- มีค่าความแข็งที่ 9 ตามสเกลของโมส์ (Moh's scale)
- มีค่าความถ่วงจำเพาะที่ 3.95-4.1
- มีลักษณะเป็นระบบเฮกซะโกนอล รูปผลึกหกเหลี่ยม
- สี มีหลายสีเช่น ใส ขาว เขียว เหลือง ชมพู แดง ฟ้า สีขาว โปร่งใส ถึง โปร่งแสง วาวแบบแก้ว ถึง วาวแบบเพชร
- ถ้าเป็นสีฟ้าหรือน้ำเงินเรียกว่าไพลิน
- ถ้าเป็นสีแดงจะเรียกว่าทับทิม
- ถ้าเป็นสีเหลืองเรียกว่าบุษราคัม
- ถ้าเป็นสีเขียวเรียกว่าเขียวส่อง
- ถ้าเป็นสีชมพูอมส้มเรียกว่าพัดพารัดชา
- ถ้าสีไม่สดจะเป็นขี้พลอย หรือเรียกว่ากากกะรุน

ประวัติ
มาจากภาษาสันสกฤต (Kuruvinda) หมายถึง Ruby หรือทับทิม

การกำเนิด
พบในหินหลายชนิด ในประเทศไทยพบในหินภูเขาไฟชนิดหินบะซอลท์ ต่างประเทศพบในหินแปร หินเปกมาไทต์ หินอัคนีชนิดหินไซอีไนต์ และหินเนฟีลีนไซอีไนต์

แหล่งที่พบ
 ในประเทศไทย พบได้ทั่วไปในจังหวัด จันทบุรี ตราด แพร่ เพชรบูรณ์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี กาญจนบุรี และลพบุรี
 ในต่างประเทศ สามารถพบในประเทศ พม่า กัมพูชา ศรีลังกา ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา
ที่มา
วิกีพีเดีย

บุษราคัม (Yellow sapphire)

บุษราคัม (Yellow sapphire)



 เป็นอัญมณีประเภทคอรันดัมที่มีสีเหลือง พบได้ในธรรมชาติเป็นแร่เดียวกับทับทิม ไพลิน เขียวส่อง พัดพารัดช่า และพวก Fancy sapphire แต่ส่วนใหญ่ที่ขายในท้องตลาดจะได้จากการเผาพลอยคอรันดัมที่มีสีเหลืองจาง มีตำหนิสีอื่นปนบ้าง(เหลือง,เขียว,นำเงินมาปนกัน) และสีเขียว(เขียวส่อง) ทำให้มีสีสวยงาม เข้มขึ้นขายได้ราคาสูง พลอยบุษราคัมสีจะมีตั้งแต่เหลืองอ่อนเรียกบุษย์น้ำเพชร, สีอมเขียวเรียกว่าบุษย์น้ำแตง, สีเหลืองทองเรียกบุษย์น้ำทอง, สีคล้ายเหล้าเรียกบุษย์น้ำแม่โขง, สีเหลืองเข้มมากเรียกบุษย์น้ำขมิ้นเน่า, สีเหลืองออกส้มเรียกว่าบุษย์น้ำจำปา , บุษย์น้ำแม่โขงและน้ำทองเป็นที่นิยมจะมีราคาแพง โดยน้ำโขงจะแพงกว่า ลักษณะที่ดีควรเลือกพลอยที่เจียรไนได้สัดส่วน ก้นไม่บางจนเกินไป ใสไม่มีตำหนิที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า พลอยจึงจะมีประกายงดงาม แหล่งบุษราคัมที่สำคัญคือ จันทบุรี ศรีลังกา ทวีปแอฟริกา ออสเตรเลียและอื่นๆ

บุษราคัม   
บุษราคัม Yellow Sapphire เป็นแร่ตระกูลคอรันดัม เช่นเดียวกับทับทิม ไพลิน มีค่าความแข็งเป็นเลิศ คือแข็ง 9 ในโมห์สเกล ธาตุให้สีคือธาตุเหล็กสีเหลืองบุษราคัม เป็นสีของอัญมณีที่เข้ากันได้ดีกับผิวของคนไทย และอีกหลาย ๆ เชื้อชาติในแถบเอเชียและกลุ่มประเทศในตะวันออกกลางเพราะสีของพลอยจะไม่โดดเด่นจนตัดกับผิวอย่างชัดเจนแต่เป็นความกลมกลืนและทำให้มือ ลำคอ หรือใบหน้าผิวพรรณดูดีสว่างไสวขึ้น

บุษราคัมเป็นหนึ่งในอัญมณีนพเก้าที่มีความเป็นสิริมงคลอย่างยิ่งต่อผู้ได้ครอบครอง เมื่อได้ประดับประดาด้วย “บุษราคัม” อีกทั้งสีเหลืองยังให้ความรู้สึกสงบร่มเย็นแก่อารมณ์และจิตใจ บุษราคัมจึงเป็นพลอยที่นิยมตลอดมาอย่างไม่เสื่อมถอย แม้ว่าพลอยบุษราคัมในปัจจุบันจะหาที่สวยคุณภาพดีได้ยากมานานแล้วก็ตาม

บุษราคัมจากแหล่งต่าง ๆ

*ซีลอนหรือศรีลังกา ถือเป็นแหล่งสำคัญที่ให้พลอยคุณภาพดีเยี่ยม เนื้อผลึกมีความใส ก้อนผลึกมีความลึก เมื่อมาเจียระไนแล้วจะส่องประกายแวววาวคล้ายกับเพชร ส่วนมากจะพบก้อนผลึกที่สีไม่สม่ำเสมอ หากเม็ดใดมีสีเสมอจะมีราคาสูงมาก

*บางกะจะ จันทบุรี ให้พลอยที่มีสีเหลืองแกมเขียว หากเม็ดใดให้สีเหลืองสดใสจะมีราคาสูง หาได้ยากยิ่ง เนื้อพลอยจากแหล่งบางกะจะนี้มีเนื้อแกร่งกว่าจากแหล่งใดๆ ทั้งหมด
*ออสเตรเลีย ให้พลอยที่มีลักษณะคล้ายกับของบางกะจะ มักพบเป็นสีเหลืองแกมเขียว หรือเหลืองแกมน้ำเงิน มีแถบสีชัดเจน

*มาดากัสการ์ ให้พลอยที่มีเนื้อสดใส สะอาด แต่ระยะนี้มักพบพลอยสีเหลืองที่มาจากแหล่งนี้ถูกเผาด้วยกรรมวิธีใหม่ อาจในสารเคมีบางตัวลงไปขณะที่เผา โดยกรรมวิธีการเผานี้ในตลาดต่างประเทศยังไม่สรุปผลยอมรับว่าเป็นการเผาที่ คล้ายคลึงกับธรรมชาติ 

ถ้าขณะนี้ท่านกำลังเตรียมควักกระเป๋าจ่ายเงินซื้อบุษราคัมสักเม็ด ลองดูหลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อบุษราคัมกันก่อนวิธีเลือกบุษราคัมน้ำงาม

1.บุษราคัม มีสีเหลืองอ่อน-เข้มหลายระดับ ตั้งแต่ บุษน้ำแตงคือบุษสีอ่อน บางครั้งแกมเขียวเล็กน้อย  บุษน้ำทองคือบุษสีทองสดใสเหมือนดั่งทองคำ บุษแม่โขงคือบุษที่มีสีทองแกมน้ำตาล เมื่ออยู่กลางแดดสีจะเหมือนเหล้าแม่โขงดีกรีแรงของไทย  ไปจนถึงบุษสีเหลืองอมแดง จะเลือกสีแบบใดขึ้นอยู่กับความชอบส่วนตัว ที่นิยมมากที่สุดเห็นจะเป็นสีเหลืองทองสดใส และบุษแม่โขง

2.บุษราคัมที่ดีต้องไม่มีตำหนิในเนื้อพลอยที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า เพราะโดยธรรมชาติพลอยชนิดนี้มักจะมีความใสสะอาดเป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว

3.เนื้อพลอยบุษราคัมที่ดีควรสวยใส ไม่ซึมหรือดูเหมือนมีฝ้าละอองเล็กๆ กระจายอยู่ภายใน มองดูมีความมันวาวและแลดูแกร่ง ซึ่งจะสะท้อนกับแสงไฟได้ดีมาก

4.นานๆ ครั้งก็จะมี “บุษราคัมสตาร์” ให้เห็นบ้างเช่นกัน ส่วนใหญ่เนื้อพลอยจะค่อนข้างทึบ มีสีเหลืองอมน้ำตาลหรืออมทอง และมีเส้นสตาร์ 6 ขา อยู่บนหน้าพลอย นับเป็นของหายากและเหมาะที่จะสะสมไว้ทำชุด “นพเก้า” มากที่สุด เพื่อจะได้เข้าชุดกับไพลินสตาร์ ทับทิมสตาร์ ซึ่งต่างก็หาของสวยๆได้ค่อนข้างยากเช่นกัน

5.ขนาดของพลอยและระดับสีเหลืองสวยที่เหมาะกับสีผิว ถ้ามีผิวสีขาวผ่องนวลก็สามารถใส่บุษราคัมได้ทุกเฉดสี ถ้าท่านมีผิวสีเข้มออกทางดำแดง สีเหลืองบุษราคัมที่เหมาะน่าจะมีสีเหลืองเข้ม เช่น สีแม่โขง 

ในอดีตที่ผ่านมา บุษราคัมจันทบุรี (เนื้อก้อนพลอยค่อนข้างบาง) มักจะได้รับการเจียระไนให้เป็นรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งเป็นที่นิยมมาก ต่อมาการเจียระไนรูปทรงอื่น ๆ ก็ได้รับความนิยมเช่นกัน เพราะมีการนำเข้าพลอยบุษจากแหล่งต่างๆ มากขึ้น และพลอยต่างประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่ก้อนพลอยจะหนา ทำให้เจียระไนแล้วมีเนื้อก้นพลอยค่อนข้างหนาลึก จึงประกายไฟระยิบระยับสวยงาม แต่เปรียบเทียบความแน่นความแกร่งของเนื้อพลอยแล้วถือว่าพลอยจันทบุรีเป็น อันดับหนึ่ง ส่วนสีพลอยนั้น บุษราคัมจากศรีลังกาจะมีความสดใสมากกว่าเป็นส่วนใหญ่
ที่มา
www.aiyaragems.com/content.aspx?id=62

ควอตซ์ (Quartz)

ควอตซ์ (Quartz)



การจำแนก
ประเภท : แร่ซิลิกา
สูตรเคมี : SiO2

คุณสมบัติ
สี : มีทั้งโปร่งใส จนถึงทึบแสง มีมากมายแทบจะทุกสี
โครงสร้างผลึก : รอมโบฮีดรัล
ค่าความแข็ง : 7
ความถ่วงจำเพาะ : 2.65

ควอตซ์ (อังกฤษ: Quartz) (SiO2) หรือมีชื่อว่า "แร่เขี้ยวหนุมาน" เป็นแร่ที่พบมากที่สุดในโลก

คุณสมบัติ
- สี มีทั้งโปร่งใส จนถึงทึบแสง มีมากมายแทบจะทุกสี
- ควอตซ์มีค่าความแข็งที่ 7 ตามสเกลของโมส์ (Moh's scale)
 นอกจากนี้ ควอตซ์ยังมีคุณสมบัติพิเศษคือมี Pieroelectric คือไฟฟ้าที่เกิดจากการกดดันทางกลไกที่มีต่อผลึก

ซึ่งทำให้เกิดมีประจุไฟฟ้าขึ้นในควอตซ์ (เช่นเดียวกับทัวร์มาลีน) ด้วยคุณสมบัตินี้จึงนำมาใช้ควบคุมความถี่คลื่นวิทยุ ควบคุมความเที่ยงตรงของนาฬิกากันน้ำ ที่เราเรียกกันว่า นาฬิกาควอตซ์ และด้วยความโปร่งใสต่อแสงอัลตราไวโอเลต ทำให้ควอตซ์เหมาะที่จะนำมาทำเป็นเลนส์ของกล้องจุลทรรศน์อีกด้วย

รูปแบบผลึก
ด้วยลักษณะของผลึก ทำให้ควอตซ์ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
- แบบผลึกเดี่ยว Single Quartz หรือ Crystalline Quartz เป็นผลึกที่มีการเรียงตัวกันอย่างมีระเบียบ มีชื่อเรียกต่างกันไปตามสีที่พบ สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต นาฬิกา, เลนส์ และอุปกรณ์ควบคุมความถี่ของคลื่นวิทยุ ที่รู้จักและนิยมในท้องตลาดก็คือ ควอตซ์สีเหลือง ที่เรียกว่า ซิทรีน (Citrine) และสีม่วงที่เรียกว่า แอเมทิสต์ (Amethyst)
- แบบ Microcrystalline ประกอบด้วยกลุ่มผลึกเล็กๆ ไม่สามารถมองเห็นรูปผลึกได้ด้วยตาเปล่า เช่น หินตาเสือ (Tiger's eye) ที่คนไทยเรียกว่า คดไม้สัก เป็นต้น
- แบบ Cryptocrystalline Quartz หรือที่เรียกว่า คาลเซโดนี Chalcedony เป็นควอตซ์ที่มีผลึกเล็กๆ ละเอียดรวมตัวกันเป็นจำนวนมาก ต่างจากแบบ Microcrystalline คือเป็นผลึกเล็กๆ มารวมกัน ไม่ใช่กลุ่มผลึก มีลักษณะเล็กกว่ากลุ่มผลึกนั่นเอง เช่น เจสเปอร์, เลือดพระลักษณ์ (Bloodstone) และอาเกท เป็นต้น.

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับควอตซ์
เนื่องจากฝุ่นละอองที่มีอยู่ในอากาศก็มีแร่ควอตซ์ปะปนอยู่เช่นกัน ดังนี้หากใช้ผ้าทำความสะอาดเช็ดถูอัญมณีที่มีความแข็งน้อยกว่า 7 เช่น ไข่มุก งาช้าง อำพัน ซอยไซต์ ไดออปไซด์ หรือเพอริโดต์ เป็นต้น จะทำให้อัญมณีที่มีค่าความแข็งน้อยกว่าควอตซ์จะเป็นรอยขีดข่วนได้ ดังนี้จึงเป็นที่นิยมเชื่อถือกันว่า แร่ที่มีค่าความแข็งมากกว่า 7 จึงเหมาะสมกับการนำมาทำเป็นอัญมณี ยกเว้นที่แข็งน้อยกว่าแต่มีคุณสมบัติที่จะนำมาเป็นอัญมณีได้ ก็คือ มีความสวยงามที่โดดเด่น และเป็นที่นิยมตามแฟชั่น

ที่มา
วิกีพีเดีย

เฟลด์สปาร์ ( feldspar)

เฟลด์สปาร์ ( feldspar)




การจำแนก
ประเภท : แร่
สูตรเคมี : KAlSi3O8 - NaAlSi3O8 - CaAl2Si2O8

คุณสมบัติ
สี : ชมพู ขาว เทา น้ำตาล
โครงสร้างผลึก : โมโนคลินิก หรือ ไตรคลินิก
แนวแตกเรียบ : 2 หรือ 3
ค่าความแข็ง : 6.0
ความวาว : เงาเหมือนแก้ว

แร่เฟลด์สปาร์ (อังกฤษ: feldspar) หรือ แร่ฟันม้า เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในเนื้อเซรามิกส์ (15.35 %) และในน้ำยาเคลือบผิว (Glaze30-50%) เฟลด์สปาร์เป็นแร่ที่มีปริมาณธาตุอัลคาไลด์สูง ทำให้หลอมตัวที่อุณหภูมิต่ำจึงทำหน้าที่เป็น Flux ทำให้เกิดเนื้อแก้วยึดเหนี่ยวเนื้อ ทำให้เกิดความแกร่งและความโปร่งใสของชิ้นงาน นอกจากนี้ ยังหาได้ง่ายในธรรมชาติ มีธาตุเหล็กต่ำ จึงเป็นที่นิยมใช้

แร่เฟลด์สปาร์ที่เกิดในธรรมชาติมีอยู่ 3 ชนิด คือ
 1.โปแตซเซียม เฟลด์สปาร์ KAl Si3O8 (Potash Feldspar-Orthoclase-Microline)
 2.โซเดียม เฟลด์สปาร์ Na AlSi3O8 (Sodium Feldspar - Albite)
 3.แคลเซียม เฟลด์สปาร์ Ca Al2 Si2O8 (Calcium Feldspar - Anorthite)

แหล่งแร่เฟลด์สปาร์
แร่เฟลด์สปาร์ พบอยู่ในหินอัคนีเกือบทุกชนิด และพบในหินชั้นและหินแปรด้วย แต่แหล่งแร่เฟลด์สปาร์ที่เป็นอุตสาหกรรมนั้น ได้มาจากสายแร่เพกมาไทต์ (Pegmatite) หรือสายคา ซึ่งจะมีแร่เฟลด์สปาร์เกิดร่วมกับควอตซ์ ไมกา การ์เนต ทัวร์มาลีน เป็นต้น สายแร่เปกมาไทต์ ที่ตัดเข้าไปในหินแกรนิต มักให้แร่เฟลด์สปาร์พวกโซเดียมและโปแตซเซียม ซึ่งปริมาณของทั้งสองตัวนี้ก็แตกต่างกันไม่แน่นอน บางแหล่งจะมีโปแตซเซียมเฟลด์สปาร์มาก บางแหล่งก็มีโซเดียมเฟลด์สปาร์มาก เฟลด์สปาร์ที่ซื้อขายกันในประเทศสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
 1.โปแตชเซียม เฟลด์สปาร์ มีปริมาณ K2O อยู่ไม่น้อยกว่า 8 %
 2.โซเดียม เฟลด์สปาร์ มีปริมาณ Na2O ไม่น้อยกว่า 7 %
 3.เฟลด์สปาร์ผสม มีปริมาณ K2O < 8 %, Na2O < 7 %

โดยทั่วๆไป โปแตชเซียมเฟลด์สปาร์ จะมีความต้องการในอุตสาหกรรมเซรามิกส์มากกว่า โซเดียมเฟลด์สปาร์ ทั้งนี้เพราะ โปแตชเซียมเฟลด์สปาร์เมื่อหลอมแล้วได้ความหนืดสูงกว่าและเปลี่ยนแปลงลดลงเล็กน้อย เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น จึงเป็นผลให้รูปทรงของชิ้นงานอยู่ตัวไม่บิดเบี้ยวในช่วงการเผา โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ลูกถ้วยไฟฟ้า จำเป็นต้องใช้โปแตชเซียมเฟลด์สปาร์เกรดสูง เพราะต้องการคุณสมบัติความเป็นฉนวนไฟฟ้า (โปแตชเซียมเฟลด์สปาร์ มีความนำไฟฟ้าต่ำ)

การทำเหมือง
การทำเหมืองแร่เฟลด์สปาร์ จากสายแร่เพกมาไทต์ ที่ จังหวัดตาก, ราชบุรี, กาญจนบุรี และนครศรีธรรมราช การทำเหมืองมักจะเป็นเหมืองเปิด โดยการระเบิดย่อยให้ได้ขนาดเล็กลงด้วยค้อน แล้วใช้วิธีคัดด้วยมือ เพื่อแยกเฟลด์สปาร์ออกจากแร่ควอตซ์, ไมกา และสารเหล็กออกไซด์ วิธีการทำเหมืองแบบนี้ ต้นทุนจะต่ำแต่การสูญเสียแร่ค่อนข้างสูงสำหรับการทำเหมืองแร่โซเดียมเซียเฟลด์สปาร์

วิธีการทำเหมืองดังกล่าวนับว่าใช้ได้ เพราะโซเดียมเซียมเฟลด์สปาร์โดยทั่วไปมักเกิดเป็นก้อนใหญ่ที่ค่อนข้างบริสุทธิ์ ไม่มีแร่อื่นปนมากนักสำหรับการทำเหมืองแร่โปแตชเซียมเฟลด์สปาร์ น่าจะใช้วิธี การลอยแร่ ควบคู่กันไปด้วย เพื่อเก็บแร่ให้หมด โดยแยกเฟลด์สปาร์ออกจากแร่อื่น ทำให้คุณภาพสูงขึ้น และคุ้มทุน เพราะราคาสูง ปัจจุบันมีการลอยแร่โปแตชเซียมเฟลด์สปาร์ ที่ เหมืองตะโกปิดทอง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี และที่จังหวัดตาก

-Bone Ash เป็น Flux ที่สำคัญสำหรับ Bone Chinaได้จากการนำกระดูกวัวควายมาทำ Calcining แล้วบด ถ้าขบวนการ Calcining ถูกต้องจะได้พวกอินทรียวัตถุที่แขวนลอยอยู่เพียงเล็กน้อย ซึ่งจะเพิ่มคุณสมบัติของการใช้งาน องค์ประกอบหลักคือ แคลเซียมฟอสเฟต3CaO.P2O5

-Fluorite - (CaF2) เป็นFluxที่ใช้กับ Enamels,แก้วและน้ำยาเคลือบผิวแร่ฟลูออไรด์มีมากในประเทศไทย

วัสดุอื่นๆ ที่ใช้แทนเฟลด์สปาร์ หิน Nepheline Syenite เป็นหินอัคนีที่ประกอบด้วยแร่ Albite 50 %,Microcline 25 %,Nepheline (Na2Al2Si2O8) 25 % มีอลูมินาและโซดามากกว่าเฟลด์สปาร์ พบที่รัฐ Ontario ประเทศคานาดาโดยหินนี้จะถูกบดและแยกเอาแร่ที่มีเหล็กออกด้วยเครื่องแยกแร่แม่เหล็ก ประเทศเรายังไม่พบหินชนิดนี้

หิน Graphic Granite เป็นหินอัคนีบาดาลที่มีแร่เฟลด์สปาร์ 75 % และควอร์ต 25 % Intergrowth อาจใช้แทนเฟลด์สปาร์ ได้ถ้ามีปริมาณมาก ประเทศเรายัง พบไม่มาก

Cornish Stone เป็นหินที่ใช้เป็น Flux ในประเทศอังกฤษ คือหินเปกมาไทต์ที่ผุเล็กน้อย ประกอบด้วยแร่ Albite,Orthoclase,แร่เกาลิน และ Fluorides เล็กน้อย ได้มีการทำเหมือง และบางเกรดมีการแยก Fluorides ออกมาด้วย

หิน Leucocratic Granite คือ หินแกรนิตสีขาว เนื่องจากมีแร่สีดำน้อยประกอบด้วยแร่ควอร์ต 20 % โซเดียมเฟลด์สปาร์ 50 % โปแตชเฟลด์สปาร์ 30 %ใช้แทนเฟลด์สปาร์ ได้ พบที่ต.นบพิตำ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ผลิต Leucocratic Granite ปีละประมาณ 150,000 ตันส่งไปขายประเทศไต้หวัน และ มาเลย์เซีย

ที่มา
วิกีพีเดีย

อะพาไทต์ (Apatite)

อะพาไทต์ (Apatite)


การจำแนก
ประเภท : แร่ฟอสเฟต
สูตรเคมี : Ca5 (PO4) 3 (F,Cl,OH)

คุณสมบัติ
สี : เหลือง น้ำเงิน ม่วง ชมพู และน้ำตาล
รูปแบบผลึก : รูปผลึกหกเหลี่ยม
ค่าความแข็ง : 5

อะพาไทต์ (อังกฤษ: Apatite) (Ca5 (PO4) 3 (F,Cl,OH)) เป็นแร่ที่อยู่ในกลุ่มฟอสเฟต มีค่าความแข็งที่ 5 ตามสเกลของโมส์ (Moh's scale)

ลักษณะ
- มีลักษณะเป็นรูปผลึกหกเหลี่ยม
- ส่วนมากที่พบจะมีสีเขียว แต่ก็สามารถพบได้ในสีเหลือง น้ำเงิน ม่วง ชมพู และน้ำตาล

ประวัติ
Apatite มาจากภาษากรีก Apate ซึ่งหมายถึง “Deceit” คือ ลวงตา ทั้งนี้ เพราะแร่นี้มีลักษณะเหมือนแร่รัตนชาติหลายชนิด จึงทำให้เกิดความเข้าใจผิดบ่อยๆ ซึ่งดูเหมือนหลอกลวงนั่นเอง

ประโยชน์
- โดยทั่วไปถูกนำไปใช้ในการทำปุ๋ย
- ในสหรัฐอเมริกา ได้ใช้ในใส่ปุ๋ยยาสูบ ซึ่งทำให้รสชาติของบุหรี่อเมริกันมีความแตกต่างไปจากบุหรี่ของประเทศอื่นๆ
- ใช้ในการทำเครื่องประดับ

แหล่งที่พบ
-ในประเทศไทย พบได้ทั่วไปในแหล่งแร่ดีบุก
-ในต่างประเทศ  สามารถพบในประเทศแคนาดา สาธารณรัฐเช็ก นอร์เวย์ บราซิล เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส พม่า เยอรมัน มาดากัสการ์ เม็กซิโก เยอรมัน ศรีลังกา สหรัฐอเมริกา สเปน อินเดีย และแอฟริกาใต้
ที่มา
วิกีพีเดีย

ฟลูออไรต์ (Fluorite)

ฟลูออไรต์ (Fluorite)



ฟลูออไรต์ (Fluorite) หรือฟลูออสปาร์ (Fluorspar)

ชื่อแร่
ตั้งชื่อจากส่วนประกอบที่สำคัญซึ่งประกอบด้วยธาตุฟูออรีน (fluorine) รากฐานดั้งเดิมมาจากภาษาละติน “Fluere” หมายถึง การไหล (To Flow) เพราะเหตุที่แร่ ชนิดนี้หลอมละลายได้ง่ายกว่าแร่อื่นบางตัว แร่ฟลูออไรต์บางชนิดหรือบางแหล่งเรืองแสงได้ (Fluorescence) คำว่า Fluorite จึงแปรเปลี่ยนมาจากคำว่า Fluorescence นั่นเอง

คุณสมบัติทางฟิสิกส์
รูปผลึกระบบไอโซเมทริก รูปผลึกมักจะพบเกิดในลักษณะรูปลูกเต๋า หรือเกิดเป็นลูกเต๋าสองลูกฝังซ้อนกันเป็นผลึกแฝด (Twinning) หรืออาจเกิดในลักษณะเนื้อแน่นหรือแบบมวลเมล็ด เกาะอัดกันแน่นซึ่งมีทั้งแบบที่เกิดเป็นชั้น ๆ เหมือนขนมชั้น อาจจะเป็นชั้นที่มีเนื้อฟลูออไรต์ล้วน ๆ แต่ต่างสีกัน หรือชั้นของฟลูออไรต์สลับกันเอง หรือกับควอรตซ์เนื้อเนียนละเอียดก็ได้ หรือมีเนื้อเหมือนน้ำตาลทราย หรือมองดู คล้ายหินทราย โดยทั่วไป อาจมีเนื้อเนียนละเอียดยิบซึ่งมองดูคล้ายควอรตซ์หรืออาจเกิดในลักษณะเป็นลูก ๆ เหมือนพวงองุ่น (Bortyoidal)

 ฟลูออไรต์ มีแนวแตกเรียบที่สมบูรณ์ 4 ทาง ซึ่งเมื่อแตกออกมาแล้ว จะมีลักษณะเหมือน รูปปิรามิดประกบกัน 2 ด้าน อาจทำให้หลงผิดคิดว่าเป็นรูปผลึกที่แท้จริงได้ แข็ง 4 ค่า ถ.พ. แปรเปลี่ยนได้ตั้งแต่ 3.01-3.26 บางครั้งอาจจะสูงได้ถึง 3.6 เนื่องจากมีธาตุอิตเทรียม Yttrium และซีเรียม Cerium รวมอยู่ด้วย โดยปกติ ส่วนใหญ่มักจะมีควอรตซ์ปะปน วาวคล้ายแก้ว สีผงละเอียดของแร่สีขาว โปร่งใสถึงกึ่งโปร่งแสง มีหลายสี เช่น สีขาว เขียวอ่อน เขียวมรกต เหลืองอมน้ำตาล น้ำเงินอมเขียว น้ำเงินคล้ำค่อนข้างดำ และสีม่วง พวกที่มีเนื้อสมานแน่นมักจะมีแถบสีสลับกันให้เห็นเป็นชั้น ๆ

คุณสมบัติทางเคมี
สูตรเคมี CaF2 (Calcium Fluoride) จัดอยู่ในกลุ่มแร่ เฮไลด์ (The Halides Class) มี Ca 51.3% F 48.7% บางตัวอย่างอาจมีธาตุหายากรวมอยู่ด้วย โดยเฉพาะธาตุ Yttrium และ Cerium ซึ่งเกิดเข้าแทนที่ธาตุแคลเซียม

ลักษณะเด่นและวิธีตรวจ
หากพบเกิดเป็นผลึกจะมีลักษณะเหมือนลูกเต๋า หรืออาจเกิด เป็นแบบ ผลึกแฝด มีแนวแตกเรียบ 4 แนวไม่ตั้งฉากกัน ทำให้เห็นเป็นรูปปิรามิดสองอันประกบกัน เอามีดขีดดูจะเป็นรอย หรือนำฟลูออไรต์ ไปขีดแก้วดูจะขีดไม่เข้า ผิดกับควอรตซ์ซึ่งขีดกระจกเข้า หากในเนื้อฟลูออไรต์ มีควอรตซ์ฝังประกระจายก็ทำให้ยุ่งยาก ต่อการตรวจความแข็งและทำให้เข้าใจผิดได้ โดยปกติหยดกรดเกลือลงไปจะไม่ฟู่ ซึ่งเป็นข้อแตกต่าง กับหินปูน หรือแคลไซต์ แต่ในบางครั้ง ฟลูออไรต์ก็อาจเกิดรวมอยู่กับหินปูน จึงฟู่กับกรดได้ใส่กรดกำมะถันเข้มข้น และร้อน จะสลายตัวให้ควันของกรดเกลือ (อันตรายมาก) วิธีตรวจอีกอย่างหนึ่ง คือ นำสารละลาย Sodium Alizarin Sulphonate (Co. C6 H4.Co.C6H (OH)2 SO3 N) ซึ่งมีสีเหลืองผสมกับสารละลาย Zirconium Nitrate ในกรดเกลือจะทำให้สารละลายผสมมีสีม่วงแดง ถ้าเอาสารละลายนี้ไปบนฟลูออไรต์ ทิ้งไว้สักครู่ สารละลายที่ใส่ลงไป จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แสดงว่าตัวอย่างนั้นเป็นฟลูออไรต์

การเกิด
แร่ฟลูออไรต์พบเกิดได้หลายแบบ เช่น แบบสายแร่ ในรูปของแร่จำนวนน้อยในสายแร่ที่เกิดจากน้ำร้อน(Hydrothermal veins) โดยเฉพาะมักเกิดอยู่ร่วมกับแร่ตะกั่วชนิด galena สังกะสี (sphalerite) แบบกรรมวิธีของก๊าซ (Pneumatolytic deposits) แทนที่ในหินท้องที่ เช่น หินปูน หินดินดาน และหินทราย เป็นต้น แบบที่เกิดเป็นเพื่อนแร่ในสายหิน เพกมาไทต์ (Pegmatite) ใน ไกรเซน (Greisens) หรือเป็นแร่ประกอบหินในหินอัคนี หรือหินแปรเช่นหินอ่อน calcite   marcasite amethyst pyrite apatite barite และแร่ในตระกูล sulfides อื่นๆ

แหล่ง
ในประเทศไทย นับว่าเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญของโลกแห่งหนึ่ง ได้พบในบริเวณ จังหวัด เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน ลำปาง เชียงราย แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ อุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และกระบี่ เคยมี ประทานบัตร และแหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ที่อำเภอปาย อำเภอแม่ลาน้อยและอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอคลองท่อมจังหวัดกระบี่ อำเภอบ้านโฮ่ง และอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี และที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
 ต่างประเทศ พบในประเทศเยอรมนีตะวันตก ฝรั่งเศส อังกฤษ สเปน อิตาลี แคนาดา เม็กซิโก (Mexico ซึ่งเป็นแหล่งผลิตฟลูออไรต์รายใหญ่ที่สุดของโลก) สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา ชิลี สหภาพ-แอฟริกาใต้ ตูนิเซีย เกาหลีใต้ มองโกเลีย และญี่ปุ่น ผลผลิตแร่ฟลูออไรต์หลักๆของโลกสามารถศึกษาได้ที่ USGS

ประโยชน์
 ใช้เป็น Flux ในการถลุงเหล็กเพื่อช่วยให้สิ่งเจือปนในเหล็ก เช่น กำมะถัน ฟอสฟอรัส หลอมตัวเข้าไปรวมในตะกรันและช่วยให้ตะกรันไหลได้ง่ายด้วย ใช้ในการทำ Opalescent glass ทำกรดไฮโดรฟลูออริก (HF) ใช้ในอุตสาหกรรมทำอะลูมิเนียม ทำอุปกรณ์ทางกล้องจุลทรรศน์ ใช้ผสมทำวัสดุเคลือบเหล็กและเหล็กกล้า ใช้ผสมก๊าซพวก Freon นับว่าเป็นก๊าซที่สำคัญ ใช้ในเครื่องทำความเย็นแบบต่าง ๆ ซึ่งไม่มีพิษเมื่อเกิดการรั่วขึ้นมา และอุตสาหกรรมผลิตแก้วชนิดต่าง ๆ ฯลฯ ในปัจจุบัน แร่ฟลูออไรต์ส่วนใหญ่มักจะนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเหล็กกล้ามากที่สุด รองลงมาก็เป็นอุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรม ผลิตอะลูมิเนียม และอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา

นอกจากนี้ยังนิยมนำมาผลิตเป็นรัตนชาตราคาคาไม่แพง นำมาแกะสลักพระหรือรูปอื่นๆ เชื่อกันว่าพระแก้วมรกตแกะสลักขึ้นมาจากแร่ชนิดนี้

ราคา
ราคา ประกาศของแร่ฟูออไรต์ ปี พ.ศ. 2546  (2003) ตันละ 4,065 บาท คิดค่าภาคหลวง 7 % หรือตันละ 284 บาท ราคาแร่ฟูออไรต์ที่ตลาดสหรัฐอเมริกา เกรดโลหะ ราคา CIF  ตันละ 85 $US เกรดเคมี  (Acid grade) ประมาณตันละ 165-170 US$ 

ที่มา
cphairat.tripod.com/Fluorite.htm

แคลไซต์ (Calcite)

แคลไซต์ (Calcite)



การจำแนก
ประเภท : แร่คาร์บอเนต
สูตรเคมี : CaCO3

คุณสมบัติ
สี : ไร้สี ขาว เทา เหลือง เขียว
โครงสร้างผลึก : เฮกซาโกนัล
ค่าความแข็ง : 3
ความวาว : คล้ายแก้ว
ดรรชนีหักเห : nω = 1.640 - 1.660 nε = 1.486
สีผงละเอียด : สีขาว
ความถ่วงจำเพาะ : 2.72

แคลไซต์ (อังกฤษ: Calcite) เป็นแร่คาร์บอเนตและเป็นแร่ที่เสถียรที่สุดในกลุ่มแร่ที่มีสูตรโครงสร้างเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ส่วนแร่อื่นที่มีสูตรโครงสร้างเดียวกัน ได้แก่ อราโกไนท์ (Aragonite) และ วาเทอร์ไรต์ (Vaterite) โดยอราโกไนท์จะเปลี่ยนไปเป็นแคลไซต์ที่อุณหภูมิ 470 องศาเซลเซียส ส่วนวาเทอร์ไรต์นั้นไม่เสถียร

คุณสมบัติ

มีรูปผลึก ระบบเฮกซาโกนัล พบเกิดเป็นรูปผลึกได้มากกว่า 300 แบบและเป็นผลึกที่ซับซ้อนมาก ที่พบบ่อยคือรูปผลึกที่เป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หรือมีลักษณะเป็นแท่งหัวแหลมๆ ยาวๆ คล้ายฟันสุนัขเรียกว่าแร่ฟันหมาหรือหินเขี้ยวหมา

มีค่าความแข็งที่ 3 ตามสเกลของโมส์ (Moh’s scale) มีความถ่วงจำเพาะ 2.72 มีความวาวคล้ายแก้ว หรือด้านคล้ายดิน โปร่งใสถึงโปร่งแสง ปกติมีสีขาวหรือไม่มีสีแต่หากมีมลทินปนจะทำให้มีสีอื่นเช่น สีเทา สีแดง สีเขียว สีเหลือง สีน้ำเงิน สีน้ำตาล หรือสีดำ รอยแยกแนวเรียบเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ลักษณะเป็นแท่งปลายแหลม ยาวๆ คล้ายฟันสุนัขความวาวคล้ายแก้ว

มีผงละเอียดสีขาวหรือสีเทา มีสูตรเคมี CaCO3 มี CaO 56.0 % และ CO2 44.0 % บางชนิดอาจมีแมงกานีส สังกะสี หรือเหล็กเข้าไปแทนที่ธาตุแคลเซียม หากมีการแทนที่อย่างสมบูรณ์ด้วยธาตุแมงกานีส จะได้เป็นโรโดโครไซต์

แคลไซต์จะทำปฏิกิริยากับกรดเกลือ คือหยดกรดเกลือแล้วเกิดเป็นฟองฟู่ (acid test.) แต่แร่ตระกูลคาร์บอเนตชนิดอื่น เช่น โดโลไมต์ (dolomite) และ ซิเดอไรด์ (siderite) จะไม่ทำปฏิกิริยาเป็นฟองฟู่เหมือนแคลไซต์

นอกจากนี้แคลไซต์ยังมีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถทำให้เกิดการหักเหสองแนว(double refraction)

การกำเนิด
พบได้ทั่วไปในหินชั้นและหินแปร โดยเฉพาะบริเวณที่มีหินปูน ในตัวหินปูนเองอาจมีสายแร่แคลไซต์ ตัดผ่านหรือตกผลึกใหม่เนื่องจากความร้อนหรือความดันกลายเป็นหินอ่อน นอกจากนี้ยังพบแคลไซต์ในโพรงของหินภูเขาไฟ เช่น หินบะซอลต์ และพบเป็นเพื่อนแร่อยู่ในแร่ชนิดอื่นเช่นในแร่ ฟลูออไรต์ (fluorite), ควอตซ์ (quartz), แบไรต์ (barite), สฟาเลอไรท์ (sphalerite), กาลีนา (galena), เซเลสไทท์ (celestite), ซัลเฟอร์ (sulfur), ทอง (gold), ทองแดง (copper), มรกต (emerald), อะพาไทท์ (apatite), ไบโอไทท์ (biotite), ซีโอไลท์ (zeolites), แร่ตระกูลซัลไฟด์ (sulfides), คาร์บอเนต (carbonates) , บอเรต (borates) และ แร่โลหะพื้นฐานชนิดต่างๆ ที่เกิดจากน้ำร้อนใต้ผิวโลก (hydrothermal)

แหล่งแคลไซต์
ประเทศไทย พบทั่วไปในจังหวัดที่มีหินปูน ตั้งแต่เชียงรายจนถึงจังหวัดยะลา พบมากจังหวัด ลพบุรี สระบุรีจันทบุรี กาญจนบุรี ชุพร สุราษฎร์ธานี นครสวรรค์ และเพชรบุรี ต่างประเทศพบมากที่ประเทศอังกฤษ จีน เม็กซิโก สหรัฐอเมริกา อิตาลี สเปน

ประโยชน์
ใช้ทำปูนซีเมนต์และปูนขาว นำมาบดผสมทำอาหารสัตว์ ผสมทำเครื่องเคลือบดินเผา หากมีสีและเนื้อสวยงามนำมาขัดทำหินประดับผลึกแร่แคลไซต์ ใช้เป็นวัตถุดิบผลิตแสงเลเซอร์

ที่มา
วีกีพีเดีย

ยิปซัม ( Gypsum)

ยิปซัม ( Gypsum)
 

การจำแนก
ประเภท : แร่อโลหะ
สูตรเคมี : CaSO4·2H2O

คุณสมบัติ
สี : สีเทา ขาวหรือสีชมพูแดง
โครงสร้างผลึก : ระบบโมโนคลินิก
ค่าความแข็ง : 1.5-2
ดรรชนีหักเห : nα = 1.519 - 1.521 nβ = 1.522 - 1.523 nγ = 1.529 - 1.530
สีผงละเอียด : สีขาว
ความถ่วงจำเพาะ : 2.31 - 2.33

ยิปซัม (อังกฤษ: Gypsum) (CaSO4·2H2O) CaSO4.H2O) หรือเรียกว่าเกลือจืด เป็นแร่อโลหะที่มีความเปราะมากมีสีขาว ไม่มีสีหรือสีเทา มักมีสีเหลือง แดง หรือน้ำตาล เป้นมลทินปนอยู่ มีความวาวคล้ายแก้ว มุก หรือไหม ความแข็ง 2 ความถ่วงจำเพาะ 2.7 เนื้อแร่โปร่งใสจนกระทั่งโปร่งแสง อาจเรียกชื่อต่างกันออกไปตามลักษณะของเนื้อแร่ คือ ชนิดซาตินสปาร์ (satinspar) เป็นแร่ยิปซัมลักษณะที่เป็นเนื้อเสี้ยน มีความวาวคล้ายไหม ชนิดอะลาบาสเทอร์ (alabaster) มีเนื้อเป็นมวลเม็ดอัดกันแน่น และชนิดซีลีไนต์ (selenite) ใสไม่มีสี เนื้อแร่เป็นแผ่นบางโปร่งใส เกิดจากแร่ที่ตกตะกอนในแอ่งที่มีการระเหยของน้ำสูงมากและต่อเนื่อง ทำให้น้ำส่วนที่เหลือมีความเข้มข้นสูงขึ้น ถึงจุดที่แร่กลุ่มที่เรียกว่า “อีแวพอไรต์ (evaporites) ” จะสามารถตกตะกอนออกมาตามลำดับความสามารถในการละลาย (solubility) ซึ่งโดยทั่วไปเริ่มจากพวกคาร์บอเนต (carbonates) ซัลเฟต (sulphates) และเฮไลด์ (halides) การกำเนิด แร่ยิปซัมของไทยมีเนื้อเป็นเกล็ดเล็กๆ สมานแน่น เรียกว่า “อะลาบาสเตอร์ (alabaster) ” ซึ่งมิได้เกิดจากการตกตะกอนทับถมกันในสภาพการณ์ปฐมภูมิจากการระเหยของน้ำ แต่เกิดจากการเติมน้ำ (rehydration) ให้กับช่วงบนสุดของมวลแอนไฮไดรต์ จนเกิดการเปลี่ยนแปลง ชนิดแร่ ยิปซัมในประเทศไทยมีประวัติที่ค่อนข้างซับซ้อน และการศึกษาธรณีวิทยาแหล่งแร่พบว่า เคยผ่านการเปลี่ยนแปลงชนิดแร่ไปมา ระหว่างยิปซัมกับแอนไฮไดรต์ (CaSO4) หลายครั้ง (Utha-aroon and Ratanajarurak, 1996) ก่อนจะมีสภาพเช่นในปัจจุบัน

คุณสมบัติ
- มีค่าความแข็งที่ 2 ตามสเกลของโมส์ (Moh's scale)
- มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ แคลเซียม และน้ำ
- มีสีเทาขาวหรือสีชมพูแดง
- ลักษณะที่พบโดยทั่วไป เป็นแบบเนื้อแน่น และมีรูปผลึกเฉพาะ

ประโยชน์ของแร่ยิปซัม

ประโยชน์ของแร่ยิปซัม สามารถนำมาทำปูนปลาสเตอร์ ปูนซีเมนต์ (portland cement) แผ่นยิปซัมอัด (gypsum board) หรือแผ่นยิปซัมบอร์ด ปุ๋ย แป้งนวล ชอล์ก กระดาษ ดินสอ สี ยาง ส่วนแร่ชนิดซาตินสปาร์ และอะลาบาสเตอร์ อาจนำมาใช้ในการแกะสลักหรือขัดทำเป็นเครื่องประดับได้อีกด้วย

แหล่งที่พบ
ต่างประเทศ

สามารถพบได้ในประเทศอิหร่าน เยอรมัน อังกฤษ อิตาลี ไอร์แลนด์ แคนาดา สหรัฐอเมริกา และภูฏาน

ในประเทศ
- บริเวณเขตติดต่อของอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ กับอำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ซึ่งมีเหมืองเปิดทำการอยู่รวม 9 เหมือง
- บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเหมืองเปิดทำการ 12 เหมือง
- บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช มีเหมืองเปิดทำการ 9 เหมือง นอกจากแหล่งที่มีการทำเหมืองอยู่แล้ว

ยังมีแหล่งแร่ยิปซัมที่กรมทรัพยากรธรณีเพิ่งค้นพบใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2538 ในพื้นที่อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ซึ่งการสำรวจในปีต่อๆมา ทำให้สามารถกำหนดขอบเขตแร่ที่ชัดเจนขึ้นได้อีกระดับหนึ่ง แหล่งแร่นี้ มีลักษณะทางธรณีวิทยาและองค์ประกอบทางเคมีคล้ายคลึงกับแหล่งที่มีการทำเหมืองอยู่แล้ว นับเป็นแหล่งที่มีศักยภาพแร่สูงอีกแห่งหนึ่ง

ที่มา
วีกิพีเดีย

ทัลก์ (Talc)

ทัลก์ (Talc)



การจำแนก
ประเภท : แร่ไฮเดรต แมกนิเซียมซิลิเกต
สูตรเคมี : Mg3Si4O10(OH)2

คุณสมบัติ
สี : ขาว เทา เขียว ฟ้า
รูปแบบผลึก : รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนและรูปหกเหลี่ยม
โครงสร้างผลึก : ระบบโมโนคลินิก
ค่าความแข็ง : 1

ดรรชนีหักเห 
nα = 1.538 - 1.550
nβ = 1.589 - 1.594
nγ = 1.589 - 1.600
ค่าแสงหักเหสองแนว : δ = 0.051
สีผงละเอียด : สีขาว
ความถ่วงจำเพาะ : 2.5-2.8

ทัลก์ (อังกฤษ: Talc) (Mg3Si4O10(OH)2) หรือแร่หินสบู่ เป็นแร่ไฮเดรต แมกนิเซียมซิลิเกต

คุณสมบัติ
มีลักษณะผลึกเป็นแผ่นหนา มีรูปผลึกเป็นระบบโมโนคลินิก รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนและหกเหลี่ยม
แร่ทัลก์ เป็นแร่ที่มีความแข็ง 1 ตามสเกลของโมส์ ซึ่งอ่อนมากจนสามารถใช้เล็บขูดเป็นรอยได้

ประโยชน์
ป่นเป็นผงเพื่อใช้ทำสี เครื่องปั้นดินเผา ยาฆ่าแมลง วัสดุมุงหลังคา วัสดุทนไฟ ใช้บุผนังแบบหล่อ ใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษ ยาง พลาสติกและสิ่งทอ ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เช่นใช้ทำแป้งฝุ่นทาหน้า ฝุ่นโรยตัว ฯลฯ

แหล่งที่พบในประเทศไทย
พบได้ในจังหวัดอุตรดิตถ์ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ และจันทบุรี
ที่มา : วีกีพีเดีย