วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

ทีมวิจัยนาซาประกาศ พบเพิ่ม 11 ระบบสุริยะ

ทีมวิจัยนาซาประกาศ พบเพิ่ม 11 ระบบสุริยะ



ทีมวิจัยกล้องสำรวจเคปเลอร์รายงานว่า ค้นพบระบบสุริยะอื่นเพิ่มอีก 11 ระบบ รวมดาวเคราะห์ทั้งหมด 26 ดวง

การค้นพบครั้งนี้ส่งผลให้จำนวนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะของเราเพิ่มขึ้นเป็น 729 ดวง โดย 60 ดวงจากทั้งหมดเป็นการค้นพบโดยทีมนักวิจัยเคปเลอร์ ที่ส่งกล้องเคปเลอร์ขึ้นสู่อวกาศในเดือนมีนาคมปี 2552 เพื่อตรวจหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะของเรา ผ่านการตรวจการเปลี่ยนแปลงของแสงของดาวฤกษ์กว่า 150,000 ดวง ในกลุ่มดาวหงส์และกลุ่มดาวพิณ

นักวิทยาศาสตร์ทีมเคปเลอร์รายงานว่า ขณะนี้มีดาวเคราะห์ถึง 2,300 ดวงที่กำลังรอการยืนยันสถานะเพิ่มเติมอยู่

อย่างไรก็ตาม ระบบสุริยะอื่นที่ถูกค้นพบทั้งหมด ไม่มีระบบใดที่มีความคล้ายคลึงกับระบบสุริยะของเราสักระบบเดียว แม้ระบบสุริยะเคปเลอร์-33 จะมีจำนวนดาวเคราะห์ใกล้เคียงกับเรา แต่ดวงอาทิตย์มีอายุมากกว่า และมีขนาดใหญ่กว่าของเรา และดาวบริวารทั้ง 5 ดวงก็โคจรใกล้กับดวงอาทิตย์มากกว่าดาวพุธเสียอีก

ดาวเคราะห์ทั้ง 5 ดวงมีขนาดตั้งแต่ 1.5 เท่าของโลก ไปจนถึง 5 เท่าของโลก และนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นดาวเคราะห์ที่ประกอบไปด้วยพื้นแผ่นดินเหมือนโลก หรือประกอบไปด้วยกลุ่มก๊าซแบบดาวพฤหัสบดี

ก่อนหน้านี้กล้องเคปเลอร์ตรวจพบดาวฤกษ์ที่มีดาวเคราะห์โคจรรอบทั้งหมด 6 ดวง และระบบสุริยะอื่นที่มีดาวเคราะห์ 5 ดวงอีก 1 ระบบ รวมถึงระบบสุริยะอื่นอีก 9 ระบบที่มีดาวบริวารระบบละ 2-3 ดวง รวมจำนวนดาวเคราะห์ที่มีการค้นพบครั้งทั้งหมด 26 ดวงด้วยกัน

นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ แจ็ก ลิสเซอร์ กล่าวว่า การค้นพบครั้งนี้ทำให้เกิดคำถามใหม่ เช่น เริ่มมีคำถามเกี่ยวกับระบบสุริยะอื่น มากกว่าวิเคราะห์แค่ดาวเคราะห์ อาทิ ระบบสุริยะอื่นมีความคล้ายคลึงกันในแง่ของขนาดหรือไม่ มีความห่างของวงโคจรเท่าใด และต่างจากระบบสุริยะเราในแง่ใดบ้าง.


ที่มา
http://hilight.kapook.com/view/52424

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

ฮือฮา! ภาพแมงกะพรุนยักษ์ สายพันธุ์ดึกดำบรรพ์




ฮือฮา! ภาพแมงกะพรุนยักษ์ สายพันธุ์ดึกดำบรรพ์

เป็นที่ฮือฮาในโลกไซเบอร์เป็นอย่างยิ่ง หลังจากที่มีการโพสต์ภาพของแมงกะพรุนยักษ์ ลงในเฟซบุ๊ก DiVentures เมื่อวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา ซึ่งแน่นอนว่าภาพดังกล่าวก็สร้างความขนลุกขนพองให้กับผู้ที่เห็นอย่างไม่ต้องสงสัย โดยในขณะนี้มีการแชร์ภาพดังกล่าวเป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้ในเฟซบุ๊กดังกล่าว มีการบรรยายถึงแมงกะพรุนดังกล่าวว่า เป็น แมงกระพรุนยักษ์ สายพันธุ์ Lion Mane Jellyfish ซึ่งเป็นแมงกระพรุนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก อีกทั้ง ยังเป็นหนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งสายพันธุ์นี้มีอายุเก่าแก่ถึง 650 ล้านปี ตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์เลยทีเดียว โดยแมงกระพรุนยักษ์นี้มีขนาดใหญ่สุดอยู่ที่ 6 เมตร และมีหนวดพิษยาวถึง 50 เมตร ล่าเหยื่อโดยการใช้หนวดทิ่มแทงเหยื่อที่ว่ายน้ำผ่านไปมา แล้วลากเข้าปากอย่างเอร็ดอร่อย

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการยืนยันอย่างชัดเจนว่า แมงกะพรุนชนิดนี้ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา ก็มีข่าวแมงกะพรุนยักษ์โนมูระที่ญี่ปุ่น โดยแมงกะพรุนโนมูระ (Nomura's Jellyfish) จะท่องอยู่ในทะเลของญี่ปุ่น เกาหลี และประเทศจีน ด้วยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางกว่า 2 เมตร น้ำหนักกว่า 200 กิโลกรัม แมงกะพรุนโนมูระ จึงเป็นอีกหนึ่งในสายพันธุ์แมงกะพรุนตัวใหญ่ที่สุดในโลก เช่นเดียวกับแมงกะพรุน Lion Mane Jellyfish

โดยขณะนี้แมงกะพรุนโนมูระ กำลังสร้างปัญหาแก่ชาวประมง เนื่องจากการเพิ่มจำนวนอย่างมาก ทั้งนี้ เนื่องจาก พวกมันเพิ่มจำนวนมากขึ้นกว่า ปกติถึงร้อยเท่า โดยเข้าไปติดในอวน ของชาวประมง ทำให้ปลาเศรษฐกิจและอวนเกิดความเสียหาย อีกทั้งพวกมันยังมีพิษ ทำให้ชาวประมงได้รับบาดเจ็บ และที่สำคัญแมงกะพรุนโนมูระมีความสามารถในการดำรงเผ่าพันธุ์สูงมาก เมื่อพวกมันถูกจับ หรือทำร้าย พวกมันจะปล่อยน้ำเชื้อ และไข่ออกมาทิ้งนับพันล้านเซล และเมื่อสภาวะที่เหมาะสม แมงกะพรุนเล็ก ๆ นับล้าน ๆ ก็จะกำเนิดขึ้น

สำหรับสาเหตุของการขยายพันธุ์มีการคาดการณ์ ว่า เนื่องจากมีการจับสัตว์น้ำเป็นจำนวนมาก ทำให้สัตว์ที่เป็นผู้ล่า ของแมงกะพรุนยักษ์ในช่วงตัวอ่อนลดลง จึงส่งผลให้ มงกะพรุนยักษ์มีอัตราการรอดชีวิตสู่วัยเจริญพันธุ์สูงขึ้น และผลจากการสร้างเขื่อน Three Gorges Dam ( เป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ) ทำให้เกิดมีสารฟอสฟอรัส และไนโตรเจน ในน้ำสูงขึ้น ซึ่งเป็นสภาวะที่เหมาะสมในการดำรงชีวิตของแมงกะพรุนยักษ์

ที่มา
http://hilight.kapook.com/view/66871