วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิ้งก่าคาเมเลี่ยน





กิ้งก่าคาเมเลี่ยน
อยู่ในวงศ์กิ้งก่าคาเมเลี่ยน (อังกฤษ: Chameleon, ชื่อวิทยาศาสตร์: Chamaeleonidae) เป็นวงศ์ของกิ้งก่าที่ใช้ชื่อวงศ์ว่า Chamaeleonidae ที่มีรยางค์ขาและมีลักษณะจำเพาะคือ ลำตัวแบนข้างมาก หางมีกล้ามเนื้อเจริญและใช้ยึดพันกิ่งไม้ได้ บนหัวและด้านหลังของคอมีสันเจริญขึ้นมาปกคลุม นิ้วเท้าแยกจากกันเป็นสองกลุ่ม คือ 2 นิ้วกับ 3 นิ้ว และอยู่ตรงกันข้ามกัน โดยนิ้วเท้าของขาหน้าเป็นกลุ่มของนิ้วที่ 1, 2 และ 3 และกลุ่มของนิ้วที่ 4 และ 5 ส่วนนิ้วเท้าของขาหลังเป็นกลุ่มของนิ้วที่ 1 และ 2 และกลุ่มของนิ้วที่ 3, 4 และ 5 ซึ่งเป็นการปรับปรุงเพื่ออาศัยบนต้นไม้โดยใช้ยึดติดกับกิ่งไม้

นอกจากนี้แล้วยังสามารถยืดลิ้นออกจากปากได้ยาวมาก เนื่องจากกระดูกการปรับปรุงโครงสร้างของกระดูกฮัยออยด์ ตามีลักษณะโปนขึ้นมาทางด้านบนของหัวและแต่ละข้างเคลื่อนไหวเป็นอิสระจากกัน สามารถใช้ดวงตาเพียงข้างเดียวคำนวณระยะทางได้ถูกต้องแม่นยำ ซึ่งต่างจากสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นอื่นที่ต้องใช้ตาทั้งสองข้างถึงจะคำนวณระยะทางได้ เปลือกตามีแผ่นหนังปกคลุม เกล็ดปกคลุมลำตัวมีขนาดเล็กและเรียงตัวต่อเนื่องกัน ไม่มีกระดูกในชั้นหนัง กระดูกหัวไหล่ไม่มีกระดูกอินเตอร์คลาวิเคิลและไม่มีกระดูกไหปลาร้า บางชนิดมีหางสั้นและบางชนิดมีหางยาว พื้นผิวด้านบนของลิ้นมีตุ่ม ฟันที่ขากรรไกรเกาะติดกับพื้นผิวกระดูกโดยตรง กระดูกพเทอรีกอยด์ไม่มีฟัน อีกทั้งยังถือว่าเป็นกิ้งก่าที่สามารถเปลี่ยนสีได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

มีความแตกต่างกันของขนาดลำตัวมาก โดยสกุลที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ Brookesia และRhampholeon มีความยาวของลำตัว 2.5-5.5 เซนติเมตร และสกุลChamaeleo มีขนาดลำตัวใหญ่ที่สุดโดยมีความยาวของลำตัว 7-63 เซนติเมตร ทุกสกุลทุกชนิดมีสีสันลำตัวสดใสสวยงาม ยกเส้นสกุล Brookesia ที่มีสีลำตัวคล้ำ อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าและส่วนมากอาศัยและหากินบนต้นไม้ แต่ในสกุล Brookesia มีหางสั้นจะอาศัยบนพื้นดิน ออกาหกินในเวลากลางวันและกินแมลงเป็นอาหารหลัก แต่ก็สามารถกินนกได้ โดยพบเป็นซากในกระเพาะของชนิดที่มีขนาดใหญ่ คือ Trioceros melleri และChamaeleo oustaleti เป็นต้น ขยายพันธุ์โดนการวางไข่ แต่สกุล Bradypodion และบางชนิดในสกุล Chamaeleo ตกลูกเป็นตัว จำนวนไข่และจำนวนลูกสัมพันธ์กับขนาดตัว

กิ้งก่าคาเมเลี่ยนมีทั้งหมดด้วยกันประมาณ 140 ชนิด แพร่กระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา บนเกาะมาดากัสการ์ และบางพื้นที่ในอินเดีย และภาคพื้นอาหรับ รวมทั้งยุโรปตอนใต้ คือ สเปน และโปรตุเกส โดยเป็นกิ้งก่าที่นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง

การจับเหยื่อ

กิ้งก่าคาเมเลี่ยนจัดได้ว่าเป็นกิ้งก่าที่มีความโดดเด่นมากในหลายอย่างที่แตกต่างจากกิ้งก่าในวงศ์อื่น ประการหนึ่งก็คือ การใช้ลิ้นยาวในการจับเหยื่อ คือ แมลง กินเป็นอาหาร โดยมีความยาวของลิ้นมากกว่าความยาวลำตัวถึง 2 เท่า ที่ปลายลิ้นจะมีก้อนเนื้อและมีสารเหนียวเคลือบอยู่ ตัวลิ้นมีกล้ามเนื้อวงแหวนขนาดใหญ่ และมีกล้ามเนื้อตามความยาวของลิ้น กล้ามเนื้อวงแหวนถูกล้อมรอบด้วยก้านกระดูกอ่อนที่เจริญจากกระดูกฮัยโอแบรนเคียม ส่วนกล้ามเนื้อฮัยโอกลอสซัสอยู่ทางด้านท้ายของลิ้น กระดูกอ่อนเอนโทกลอสซัสเป็นแผ่นกระดูกกว้างสม่ำเสมอแต่ส่วนทางด้านหน้าเรียวแคบ กลไกของการยืดลิ้น คือ ลดขากรรไกรล่างต่ำลงและยกกระดูกฮัยออยด์ขึ้นพร้อมกันกับยืดลิ้นไปข้างหน้า ในจังหวะเริ่มต้นค่อนข้างช้าต่อจากนั้นลิ้นได้ยืดออกจากปากอย่างรวดเร็วซึ่งเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้ออย่างฉับพลัน ลิ้นที่ยืดได้ยาวเนื่องจากกล้ามเนื้อวงแหวน กล่าวคือ เมื่อกล้ามเนื้อหดตัวทำให้ตัวลิ้นหดแคบลงแต่ยาวขึ้นและยาวเลยส่วนปลายของกระดูกอ่อนแอโทกลอสซัส ลิ้นที่ยืดออกจากปากมีอัตราความเร็ว 5.8 cm.sec-1 เมื่อลิ้นสัมผัสกับตัวเหยื่อ ถ้าตัวเยนื่อมีขนาดเล็กจะติดอยู่ที่ส่วนปลายของลิ้น แต่ถ้าเหยื่อมีขนาดใหญ่ ก็จะติดกับเนื้อเยื่อบนลิ้น

ที่มา
วิกิพีเดีย

อีคิดนา (Echidna)...สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่ออกลูกเป็นไข่

นั่นน่ะสิ ตัวอะไรหนอที่ออกลูกเป็นไข่ แต่กลับเป็นสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เฉลย....
อีคิดนา (Echidna) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อของ ตัวกินมดหนาม (Spiky Anteater) เป็นสัตว์ประจำท้องถิ่นของออสเตรเลีย พบในนิวกินีและออสเตรเลีย นอกจากตุ่นปากเป็ดแล้วมีเพียงอีคิดนาเท่านั้น ที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับโมโนทรีมาตา (Monotremata) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ จึงเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียงสองชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่

ลักษณะทั่วไป
อีคิดนามีรูปร่างคล้ายเม่นตัวเล็กๆ มีขนหยาบและขนหนาม (spine) ปกคลุมตลอดตัว เมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวประมาณสามสิบเซนติเมตร จมูกเรียวยาว ขาสั้นแข็งแรง อุ้งเล็บใหญ่ ขุดดินได้ดี อีคิดนามีปากเล็ก ไม่มีฟัน หาอาหารโดยการฉีกท่อนไม้ผุ ขุดจอมปลวก ใช้ลิ้นเหนียว ๆ กวาดปลวก มด และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กชนิดอื่น ๆ แล้วบดเหยื่อกับเพดานปากก่อนกลืน

อีคิดนาเป็นสัตว์ที่สันโดษมาก มักหากินไปตามลำพัง ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์มันจะตามกลิ่นไปหาคู่ อีคิดนาผสมพันธุ์ในช่วงกลางฤดูหนาว หรือประมาณเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม เพราะมีขาสั้นอีคิดนาจึงเดินช้าและงุ่มง่าม แต่ว่ายน้ำเก่งจนน่าแปลกใจ

พฤติกรรมทั่วไป
อีคิดนาตาไว จมูกไว แม้รูปลักษณ์ภายนอกจะดูน่าเกรงขามแต่อีคิดนาเป็นสัตว์ขี้อายและขี้กลัว ที่ข้อเท้าหลังของอีคิดนาตัวผู้มีเดือยยื่นออกมาคล้ายของตุ่นปากเป็ด ในขณะที่ตุ่นปากเป็ดสามารถใช้เดือยแทงและปล่อยพิษใส่ศัตรูได้ อีคิดนากลับไม่มีคุณสมบัติดังกล่าว เมื่อต้องเผชิญหน้ากับผู้บุกรุกมันจะหลบมากกว่าสู้ อาจจะซ่อนตัวในพุ่มไม้ หรือแทรกตัวเข้าไปในโพรงขอนไม้ ซอกหิน หรือมุดลงในดิน หากไม่มีทางเลือกอื่นมันก็จะม้วนตัวกลมให้หนามยื่นออกไปรอบตัว

มีศัตรูไม่กี่ชนิดที่สามารถทำร้ายอีคิดนาได้ เช่น สุนัข หมาป่าดิงโก แมว หมู ศัตรูเหล่านี้ต้องเคยผ่านประสบการณ์กับอีคิดนามาก่อน จึงรู้ว่าเมื่ออีคิดนาวัยผู้ใหญ่ม้วนตัวจะมีจุดอ่อนที่ท้อง เพราะมันไม่สามารถม้วนจนกลมเป็นลูกบอลได้เหมือนอีคิดนาวัยอ่อน และเชื่อกันว่าสัตว์เลื้อยคลานบางชนิดกินลูกอีคิดนา อีคิดนาวางไข่ครั้งละหนึ่งฟองเท่านั้น หลังผสมพันธุ์ยี่สิบสองวันอีคิดนาตัวเมียจะวางไข่เปลือกนิ่มออกมาหนึ่งฟอง แล้วใส่ไว้ในถุงหน้าท้องคล้ายของจิงโจ้ ซึ่งร่างกายสร้างขึ้นมาในระยะผสมพันธุ์ ฟักไข่ไว้ในถุงสิบวัน ลูกอีคิดนาจึงออกจากไข่ ลูกอ่อนของอีคิดนาเรียกว่า พักเกิ้ล (puggle) มีขนาดไม่เกินสองเซนติเมตร

เนื่องจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับโมโนทรีมาตาไม่มีหัวนม มีเพียงฐานนมสองข้าง พักเกิ้ลจึงดูดนมจากท่อเล็กๆที่ฐานนมแม่ และอาศัยอยู่ในถุงหน้าท้องแม่สี่สิบห้าถึงห้าสิบห้าวัน ซึ่งเป็นช่วงที่ขนหนามเริ่มขึ้นแล้ว แม่อีคิดนาจะขุดโพรงอนุบาลไว้ใส่ลูก และกลับมาให้นมทุกห้าวัน ลูกอีคิดนาหย่านมตอนอายุประมาณเจ็ดเดือน อีคิดนาเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนและปรับตัวเก่ง ในเขตภูเขาช่วงหน้าหนาวมันจะจำศีลอย่างกบ ในเขตทะเลทรายตอนกลางวันมันจะหลบร้อนอยู่ในอุโมงค์หรือหลืบหิน ออกหากินเฉพาะตอนกลางคืน ในเขตอากาศอบอุ่นส่วนใหญ่จะออกมาตอนพลบค่ำ แต่หากอากาศหนาวขึ้นมันก็จะออกมาหากินได้ทั้งวัน

การจำแนกประเภท
อีคิดนาแยกเป็น 2 สกุล คือ Zaglossus กับ Tachyglossus
- สกุล Zaglossus เป็นอีคิดนาจมูกยาว มีจมูกยาวคล้ายตัวกินมด แบ่งออกเป็น 4 สปีชีส์ สูญพันธุ์ไปแล้ว 2 สปีชีส์
1.สปีชีส์ Zaglossus attenboroughi เป็นอีคิดนาจมูกยาวที่เรียกว่า Cyclops Long-beaked Echidna เพิ่งค้นพบได้ไม่นาน ในบางพื้นที่ของนิวกินี ซึ่งสูงกว่าเขตที่อีคิดนาจมูกยาวสปีชีส์ Zaglossus bruijnii อาศัยอยู่
 2.สปีชีส์ Zaglossus bruijnii เป็นอีคิดนาจมูกยาวที่เรียกว่า Long-beaked Echidna อาศัยอยู่ในป่าแถบที่ราบสูง หรือภูเขาสูงในนิวกินี อาหารคือหนอนและแมลงที่ขุดคุ้ยได้จากกองใบไม้ที่ทับถมกันอยู่ในป่า
 3.สปีชีส์ Zaglossus hacketti สูญพันธุ์แล้ว ศึกษาจากฟอสซิล
 4.สปีชีส์ Zaglossus robustus สูญพันธุ์แล้ว ศึกษาจากฟอสซิล

- สกุล Tachyglossus เป็นอีคิดนาจมูกสั้น ที่เรียกว่า Short-beaked Echidna  มีเพียงสปีชี่ส์เดียว คือ Tachyglossus aculeatus พบในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของนิวกินี และทั่วทวีปออสเตรเลีย ตั้งแต่เขตภูเขาที่มีหิมะปกคลุมไปจนถึงเขตทะเลทราย อีคิดนาจมูกสั้นตัวเล็กกว่าอีคิดนาจมูกยาว แต่มีขน (hair) ยาวกว่า โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่อยู่ในแทสเมเนียจะมีขนยาวมากจนมองแทบไม่เห็นขนหนาม (spine)

สถานภาพ
 แม้จะไม่สามารถบอกได้ว่าอีคิดนาจมูกสั้นมีจำนวนประมาณเท่าไร แต่เชื่อกันว่ามันอยู่ในสถานภาพที่ไม่มั่นคงนัก ลักษณะและพฤติกรรมของอีคิดนาจะแตกต่างกันออกไปตามถิ่นอาศัย การแยกกันอยู่อย่างกระจัดกระจายทำให้ถูกโจมตีจากสัตว์อื่นได้ง่าย พื้นที่อาศัยลดน้อยลงก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบต่อจำนวนอีคิดนา อีคิดนาจมูกยาวอยู่ในรายชื่อสัตว์ใกล้สูญพันธุ์แล้ว และอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วงมาก เพราะชาวนิวกินีล่ามันเป็นอาหารด้วย
ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1

โคอาลา (Koala) เป็นหมีจริงหรือเปล่า

โคอาลา (Koala)

โคอาลา (Koala) เป็นสัตว์ในกลุ่มสัตว์จำพวกจิงโจ้ (ไม่ใช่หมี) ตัวเมียจะมีกระเป๋าหน้าท้อง สำหรับให้ลูกอ่อนอาศัยอยู่ จากการที่มันมีลักษณะรูปร่าง หน้าตาคล้ายสัตว์ในตระกูลหมี ทำให้คนส่วนมากเรียกมันว่า หมีโคอาลา (Koala bear)

ประวัติ

ใน พ.ศ. 2341 มีบันทึกครั้งแรกสุดที่พบโคอาล่า ข้อมูลรายละเอียดของโคอาลาเริ่มถูกตีพิมพ์ในซิดนีย์กาเซ็ตต์ (Sydney Gazette) ค.ศ. 1816 นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส Blainwill ตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ให้ ชื่อว่า Phascolarctos ซึ่งมาจากภาษากรีก โดยเกิดจากคำ 2 คำ รวมกัน คือคำว่า กระเป๋าหน้าท้องของจิงโจ้ และคำว่า หมี (leather pouch และ bear) ต่อมานักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมัน Goldfuss ได้ตั้งชื่อที่เฉพาะเจาะจงลงไปเป็น cinereus ซึ่งหมายถึง สีขี้เถ้า

ขนาดและน้ำหนัก

โคอาลาที่อยู่ทางตอนใต้จะมีขนาดใหญ่กว่าที่อื่น โดยตัวผู้สูงประมาณ 30.8 นิ้ว หรือ 78 ซ.ม. ในขณะที่ตัวเมียสูงประมาณ 28 นิ้ว หรือ 72 ซ.ม. โคอาลาที่อยู่ทางตอนใต้ ตัวผู้มีน้ำหนักเฉลี่ย 26 ปอนด์ หรือ 11.8 กิโลกรัม ในขณะน้ำหนักเฉลี่ยของตัวเมียอยู่ที่ 17.4 ปอนด์ หรือ 7.9 กิโลกรัม โคอาลาที่อยู่ทางตอนเหนือ ตัวผู้มีน้ำหนักเฉลี่ย 14.3 ปอนด์ หรือ 6.5 กิโลกรัม ในขณะน้ำหนักเฉลี่ยของตัวเมียอยู่ที่ 11.2 ปอนด์ หรือ 5.1 กิโลกรัม โคอาลาแรกเกิดมีน้ำหนักเพียง 0.5 กิโลกรัม เท่านั้น ลักษณะขน โคอาลาที่อยู่ทางตอนใต้มีขนที่หนาเหมือนขนแกะ บริเวณหลังจะมีขนที่หนาและยาวกว่าบริเวณท้อง โคอาลาที่อยู่ทางตอนเหนือมีขนที่สั้นกว่า โคอาลามีขนหนาที่สุดเมื่อเทียบกับสัตว์อื่นๆในตระกูลจิงโจ้ ขนมีสีเทา ถึง น้ำตาลปนเหลือง และมีสีขาวบริเวณคาง หน้าอก และด้านหน้าของแขน-ขา ขนบริเวณหูมีลักษณะเป็นปุย และมีขนสีขาวที่ยาวกว่าบริเวณอื่น

ลักษณะขน

โคอาลาที่อยู่ทางตอนใต้มีขนที่หนาเหมือนขนแกะ บริเวณหลังจะมีขนที่หนาและยาวกว่าบริเวณท้อง โคอาลาที่อยู่ทางตอนเหนือมีขนที่สั้นกว่า โคอาลามีขนหนาที่สุดเมื่อเทียบกับสัตว์อื่นๆในตระกูลจิงโจ้ ขนมีสีเทา ถึง น้ำตาลปนเหลือง และมีสีขาวบริเวณคาง หน้าอก และด้านหน้าของแขน-ขา ขนบริเวณหูมีลักษณะเป็นปุย และมีขนสีขาวที่ยาวกว่าบริเวณอื่น

ถิ่นที่อยู่อาศัย
โคอาลาอาศัยอยู่ในป่าที่มีต้นยูคาลิปตัส ปัจจุบันจะพบโคอาลาได้ที่ รัฐควีนส์แลนด์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ รัฐวิกตอเรีย และ รัฐเซาท์ออสเตรเลีย

ศัตรู

ศัตรูที่สำคัญคือ มนุษย์ ซึ่งล่าเอาขนของมัน

อาหาร

โคอาล่ากินใบยูคาลิปตัสเป็นอาหาร ฟันและระบบย่อยอาหารถูกพัฒนามาให้สามารถกินและย่อยใบยูคาลิปตัสได้ ใบยูคาลิปตัวมีสารอาหารน้อยมาก และยังมีสารที่มีพิษต่อสัตว์ แต่ระบบย่อยอาหารของโคอาลามีการปรับตัว ทำให้สามารถทำลายพิษนั้นได้ โคอาลามีอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการย่อยไฟเบอร์ (ส่วนประกอบหลักของใบยูคาลิปตัส) ยาวมากถึง 200 ซ.ม. ที่บริเวณอวัยวะนี้ จะมีแบคทีเรียที่ช่วยในการย่อยไฟเบอร์ให้กลายเป็นสารอาหารที่ดูดซึมได้ อย่างไรก็ตาม โคอาลามีการดูดซึมสารที่ได้จากการย่อยไฟเบอร์ไปใช้เพียงแค่ 25 % ของที่มันกินไปเท่านั้น ส่วนน้ำในใบยูคาลิปตัสส่วนใหญ่ถูกดูดซึม ทำให้โคอาลาไม่ค่อยหาน้ำกินจากแหล่งน้ำ ส่วนใหญ่โคอาลากินใบยูคาลิปตัวประมาณวันละ 2000 ถึง 5000 กรัม โดยปกติมันจะนอนถึง 16-24 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อรักษาพลังงานไว้

การสืบพันธุ์

ฤดูการสืบพันธุ์ของโคอาลาอยู่ในช่วงกันยายน ถึง มีนาคม ตัวเมียเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 3 ถึง 4 ปี และมักมีลูกปีละตัว แต่ทั้งนี้อาจมีลูกปีเว้นปี หรือ ปีเว้น 2 ปี ก็ได้ ขึ้นกับอายุของตัวเมียและสภาพแวดล้อม อายุขัยเฉลี่ยของโคอาลาตัวเมียประมาณ 12 ปี ทำให้มีลูกได้อย่างมาก 5 -6 ตัว ตลอดอายุขัยของมัน มันใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 34-36 วัน ลูกโคอาลาที่เกิดใหม่ มีความยาวเพียง 2 ซ.ม. และมีน้ำหนักไม่ถึง 1 กรัม ผิวหนังสีชมพู ไม่มีขน ยังไม่ลืมตา และยังไม่มีหู ลูกโคอาลาจะอาศัยอยู่ในกระเป๋าหน้าท้องของแม่ และกินนมแม่อยู่นาน 7-8 เดือน หลังจากอายุได้ 6-7 สัปดาห์ ลูกโคอาลามีความยาวของหัวประมาณ 26 ม.ม. และเมื่อเริ่มสัปดาห์ที่ 13 จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 50 กรัม และมีความยาวของหัวเพิ่มขึ้นเป็น 50 ม.ม. เมื่ออายุได้ 22 สัปดาห์ ตาของลูกโคอาลาจะเริ่มเปิด และมันจะเริ่มโผล่หัวออกมาจากกระเป๋าหน้าท้องของแม่ พออายุได้ 24 สัปดาห์ จะมีขนเต็มตัว และฟันซีกแรกเริ่มงอก สัปดาห์ที่ 30 ลูกโคอาล่าจะมีน้ำหนักประมาณ 0.5 ก.ก. และมีขนาดของหัวยาว 70 ม.ม. ตอนนี้มันเริ่มใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ข้างนอกกระเป๋าหน้าท้องของแม่ สัปดาห์ที่ 36 ลูกโคอาลามีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 1 ก.ก. และไม่เข้าไปอยู่ในกระเป๋าหน้าท้องแม่อีกแล้ว ส่วนมากมันมักจะเกาะอยู่ที่หลังของแม่ แต่ในช่วงอากาศหนาว หรืออากาศชื้น มันก็จะกลับเข้าไปอยู่ในกระเป๋าหน้าท้องของแม่อีก สัปดาห์ที่ 37 ลูกโคอาลาเริ่มออกห่างจากแม่เพื่อเดินเที่ยวเล่น แต่ยังอยู่ในระยะใกล้ๆ สัปดาห์ที่ 44 ลูกโคอาลากล้าเดินออกมาไกลมากขึ้น แต่ยังไปเกินระยะทาง 1 เมตร ที่ห่างจากแม่ สัปดาห์ที่ 48 ลูกโคอาลายิ่งมีความอยากผจญภัย หรืออยากรู้อยากเห็นยิ่งขึ้น และไม่ส่งเสียงร้องอีกแล้วเมื่อแม่ของมันเดินห่างออกไป มันจะอยู่กับแม่ของมันถึงอายุประมาณ 1 ปี ซึ่งช่วงนี้มันจะมีน้ำหนัก 2 ก.ก. กว่าเล็กน้อย

อายุขัย

ขึ้นกับปัจจัยรอบข้าง โดยเฉลี่ยมีอายุประมาณ 113-200 ปี เนื่องจากยีนส์

การติดต่อสื่อสาร

โคอาลาใช้เสียงในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งเสียงที่ใช้มีหลายลักษณะ โดยทั่วไปตัวผู้มักส่งเสียงร้องดังเพื่อประกาศหรือบอกบริเวณที่ตนอาศัยอยู่ ในขณะที่ตัวเมียจะไม่ค่อยส่งเสียงร้อง ตัวเมียจะส่งเสียงร้องดังเมื่อมีอาการกร้าวร้าว สำหรับโคอาลาตัวเมียที่มีลูกอ่อน จะใช้เสียงที่มีความอ่อนโยนกับลูกของตนเอง เมื่อเกิดความกลัวขึ้น โคอาล่าทั้งตัวผู้และตัวเมียจะใช้ส่งเสียงคล้ายเสียงเด็กร้องไห้ นอกจากนี้ โคอาลายังใช้กลิ่นของตนเองทำเครื่องหมายตามต้นไม้ที่ต่างๆ ในการติดต่อถึงกันอีกด้วย

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ปลาเสือโกลิอัท - มอนสเตอร์น้ำจากแอฟริกา

ปลาเสือโกลิอัท - มอนสเตอร์น้ำจากแอฟริกา



 ปลาไทเกอร์โกไลแอต (อังกฤษ: Goliath tigerfish, Giant tigerfish) หรือ เอ็มเบ็งกะ (Mbenga) ในภาษาลิงกาลา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hydrocynus goliath อยู่ในวงศ์ปลาเตเตร้าแอฟริกัน (Alestiidae) 

มีรูปร่างโดยรวมเหมือนปลาในสกุล Hydrocynus ทั่วไป แต่มีความแตกต่างคือ ปลาในวัยอ่อนจะไม่มีลายใด ๆ บนลำตัวทั้งสิ้น ลำตัวแลดูแบนข้างมาก ปลายหางล่างสีแดงจัด ครีบหางและครีบอื่น ๆ มีขนาดใหญ่ แฉกครีบของครีบหางมีความกว้างกว่าชนิดอื่น

ในปากมีฟันแหลมคมขนาดใหญ่เรียงอยู่ทั้งหมด 36 ซี่ เท่ากับปลาฉลามขาว ขากรรไกรใหญ่และยื่นยาว ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 6 ฟุต และมีน้ำหนักกว่า 100 ปอนด์ จัดเป็นปลาแอฟริกันไทเกอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และเป็นปลาในอันดับปลาคาราซินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย

 พบกระจายพันธุ์ในกระแสน้ำเชี่ยวของลุ่มแม่น้ำคองโก ในตอนกลางของทวีปแอฟริกา และแม่น้ำลูลาบา ทะเลสาบอูเพ็มบา และทะเลสาบแทนกันยีกา อาศัยหากินอยู่บริเวณกลางน้ำและผิวน้ำ และชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง แต่เมื่อล่าเหยื่อจะออกล่าเพียงลำพัง โดยมักจะจู่โจมเหยื่อที่มีแสงสะท้อนระยิบระยับหรือมีเสียงหรือมีแรงกระเพื่อมของน้ำ

โดยปลาแอฟริกันไทเกอร์ชนิดนี้เคยมีรายงานว่าทำร้ายมนุษย์จนถึงแก่ความตายมาแล้วด้วย เป็นปลาที่นิยมตกเป็นเกมกีฬาที่ท้าทาย เนื่องจากเป็นปลาที่ทรงพละกำลังและตกได้ยากมากชนิดหนึ่ง[4] และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย


ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย 
 ภาพประกอบจาก http://fwmail.teenee.com/etc/46741.html