วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ปี 2556 มี "ดาวหาง" มาให้ชมจุใจ 2 ดวงเลย

ปี 2556 มี "ดาวหาง" มาให้ชมจุใจ 2 ดวงเลย



ภาพคาดการณ์ความสว่างของดาวหางไอซอนเมื่อมองจากฟ้าที่อังกฤษ ในวันที่ 29 พ.ย.56 หลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า (universetoday)


ปี'56 "ดาวหาง" มาให้ชม 2 ดวง

สมาคมดาราศาสตร์ฯ เผยปี '56 มีดาวหางที่อาจสว่างจนมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า 2 ดวง คือ "ดาวหางแพนสตาร์ส" ที่ค้นพบเมื่อปี '54 โดยคาดว่าจะได้เห็น 30 นาที หลังอาทิตย์ตก ช่วงกลาง มี.ค. และ "ดาวหางไอซอน" ที่ค้นพบเมื่อปี '55 ซึ่งคาดว่าจะได้เห็นช่วงปลาย พ.ย.56 ไปถึงต้นปี '57

สมาคมดาราศาสตร์ไทยเผยว่าในปี 2556 นี้คนไทยมีโอกาสได้ชมดาวหางที่คาดว่าจะสว่างจนมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า 2 ดวง ได้แก่ ดาวหางแพนสตารร์ส (Panstarrs) หรือ C/2011 ซึ่งค้นพบเมื่อ มิ.ย.54 และขณะนี้กำลังเข้าใกล้ดวงอาทิตย์และเริ่มปรากฏหางจากความร้อนของดวงอาทิตย์แล้ว ดาวหางไอซอน (Ison) หรือ C/2012 S1 ซึ่งเพิ่งค้นพบเมื่อเดือน ก.ย.55

ทั้งนี้ นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวหางแพนสตารร์สจากภาพถ่ายเมื่อเดือน มิ.ย.54 ขณะที่ดาวหางอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 7.9 หน่วยดาราศาสตร์ (ระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ เรียกว่า 1 หน่วยดาราศาสตร์) จะเข้าใกล้โลกที่สุดในวันที่ 5 มี.ค.56 ซึ่งระนาบโคจรของดาวห่าง 84 องศา หรือเกือบตั้งฉากกับระนนาบวงโคจรของโลก และจะผ่านจุดที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ 10 มี.ค.56

คาดว่าจะเริ่มสังเกตดาวหางแพนสตารร์ส ด้วยตาเปล่าได้ในช่วงปลาย ม.ค.56 หรือต้น ก.พ.56 แต่สังเกตได้ดีในซีกโลกใต้ ส่วนในประเทศไทยยังไม่สามารถเห็นได้เพราะดาวหางขึ้นและตกเกือบพร้อมดวงอาทิตย์ ข้อมูลจากสมาคมดาราศาสตร์ฯ ระบุว่า ช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับประเทศน่าจะเป็นช่วง 9-17 มี.ค.56 เนื่องจากเป็นช่วงที่ดาวหางสว่างที่สุด และตกลับขอบฟ้าช้าที่สุด

“อย่างไรก็ดี ดาวหางจะปรากฏเฉพาะช่วงเวลาที่ยังมีแสงยามเย็น ท้องฟ้าไม่มืดสนิท และปรากฏอยู่ในกลุ่มดาวปลา ซึ่งเราอาจสังเกตเห็นหางที่ทอดยาวขึ้นเหนือขอบฟ้า จากแนวโน้มคาดว่าวันที่ 8-12 มี.ค.56 ความสว่างหรือโชติมาตรของดาวหางจะอยู่ในช่วง +1 ถึง -1 ซึ่งนับว่าสว่างมาก แต่การสังเกตจะทำได้หลังดวงอาทิตย์ตกไปแล้ว 30 นาที โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันตก” ข้อมูลจากสมาคมดาราศาสตร์ระบุ

ส่วนดาวหางไอซอนนั้นเพิ่งถูกค้นพบเมื่อเดือน ก.ย.55 ที่ผ่านมา ขณะดาวหางอยู่ห่าวจากดวงอาทิตย์ 6.3 หน่วยดาราศาสตร์ และจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดราว 28-29 พ.ย.56 ที่ระยะห่าง 0.012 หน่วยดาราศาสตร์ หรือ 1.9 ล้านกิโลเมตรและห่างจากผิวดวงอาทิตย์เพียง 1.2 ล้านกิโลเมตร โดยคาดว่าความสว่างของดาวหางจะอยู่ในช่วงโชติมาตร -10 ถึง -16 หรือสว่างใกล้เคียงและมากกว่าดวงจันทร์ (ค่าโชติมาตรยิ่งติดลบยิ่งสว่าง)

หากความสว่างเป็นไปตามคาดหมาย ทางสมาคมดาราศาสตร์ฯ ระบุว่าผู้สังเกตในประเทศไทยจะได้เห็นดาวหางไอซอนด้วยตาเปล่าบนท้องฟ้ากลางคืนช่วงต้นเดือน พ.ย.56 - เดือน ม.ค.57 แต่ยกเว้นช่วงปลาย พ.ย.-ต้น ธ.ค.55 เพราะดาวหางจะขึ้นและตกไปพร้อมดวงอาทิตย์ โดยดาวหางไอซอนจะเข้าใกล้โลกที่สุดราว 26-27 ธ.ค.56 ที่ระยะ 0.4 หน่วยดาราศาสตร์ หรือ 64 ล้านกิโลเมตร

นายปณัฐพงศ์ จันทรวัฒนาวณิช เจ้าหน้าที่สมาคมดาราศาสตร์ไทย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ว่า ตำแหน่งของดาวหางไอซอนบนฟ้านั้นอยู่ในตำแหน่งที่เห็นง่ายกว่าดาวหางแพนสตารร์ส เพราะอยู่กลางฟ้า และยังมีความสว่างกว่ามาก แต่ความสว่างก็อาจคลาดเคลื่อนได้ โดยเมื่อดาวหางเฉียดใกล้ดวงอาทิตย์อาจสลายไปจนไม่อาจเห็นได้

“สำหรับดาวหางแพนสตารร์สอยู่ในตำแหน่งที่ดูได้ทั้งโลก ซึ่งตอนนี้เริ่มเข้ามาใกล้และเริ่มปรากฏหางแล้ว นักดาราศาสตร์มีข้อมูลเกี่ยวกับดาวหางดวงนี้มากกว่า ส่วนดาวหางไอซอนจะเห็นได้ดีในประเทศซีกโลกเหนือ ตอนนี้ยังไม่เข้ามาใกล้ ยังเป็นก้อนน้ำแข็งอยู่ และไม่ปรากฏหางที่เกิดจากความร้อนของดวงอาทิตย์” ปณัฐพงศ์กล่าว

เจ้าหน้าที่สมาคมดาราศาสตร์ฯ ให้ข้อมูลอีกว่า ปกติดาวหางจะเข้ามาในระบบสุริยะปีละหลาย 10 ดวง แต่ในปี 56 นี้พิเศษที่มีดาวหางสว่างถึง 2 ดวงที่จะได้เห็นในเมืองไทย ซึ่งปกติจะใช้เวลา 5-10 ปีจึงจะได้เห็นดาวหางสว่างๆ จึงน่าติดตาม เพราะทั้งสว่างและเห็นได้ในเมืองไทย ซึ่งตอนนี้นักดาราศาสตร์รู้แค่ว่าจะโคจรอย่างไร แต่ไม่มีใครรู้ว่าเมื่อโดนความร้อนของดวงอาทิตย์แล้วจะปริแตกหรือไม่




ภาพดาวหางแพนสตาร์ส ซึ่งถ่ายจากเปอร์โตริโก เมื่อ 4 ก.ย.55 (Efrain Morales/Jaicoa Observatory)




ภาพดาวไอซอน เมื่อ 22 ก.ย.55 จากหอดูดาว RAS สหรัฐฯ (E. Guido, G. Sostero, N. Howes)





ที่มา
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9550000155247

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

อันตรายของแรงดันน้ำ

ท่องโลกกว้าง (อัศจรรย์ใต้ทะเล - มหันภัยแรงดันน้ำ) 5 ตุลาคม 2555


อัศจรรย์ใต้ทะเล - มหันภัยแรงดันน้ำ 5Oct12 by LadyBimbette


ท่องโลกกว้าง (อัศจรรย์ใต้ทะเล - มหันภัยแรงดันน้ำ) 5 ตุลาคม 2555

ท่องโลกกว้าง (ยาพิษในชีวิตประจำวัน)

ท่องโลกกว้าง (ยาพิษในชีวิตประจำวัน) 18 ตุลาคม 2555



ยาพิษในชีวิตประจำวัน (1) 18Oct12 by LadyBimbette

ท่องโลกกว้าง (ยาพิษในชีวิตประจำวัน (2) 19 ตุลาคม 2555


ยาพิษในชีวิตประจำวัน (2) 19Oct12 by LadyBimbette

ท่องโลกกว้าง (ท่องจักรวาล - หลักฐานใหม่บนดาวอังคาร) 29 ตุลาคม 2555

ท่องโลกกว้าง (ท่องจักรวาล - หลักฐานใหม่บนดาวอังคาร) 29 ตุลาคม 2555


ท่องจักรวาล - หลักฐานใหม่บนดาวอังคาร 29Oct12 by LadyBimbette

ท่องโลกกว้าง (ท่องจักรวาล - หลักฐานใหม่บนดาวอังคาร) 29 ตุลาคม 2555

ท่องโลกกว้าง (นครแห่งมด) 12 พฤศจิกายน 2555

ท่องโลกกว้าง (นครแห่งมด) 12 พฤศจิกายน 2555


นครแห่งมด 12Nov12 by LadyBimbette

ท่องโลกกว้าง (นครแห่งมด) 12 พฤศจิกายน 2555

ท่องโลกกว้าง (วิถีชีวิตในโลกกัมมันตรังสี) 20 พฤศจิกายน 2555

ท่องโลกกว้าง (วิถีชีวิตในโลกกัมมันตรังสี) 20 พฤศจิกายน 2555


วิถีชีวิตในโลกกัมมันตรังสี 20Nov12 by LadyBimbette


ท่องโลกกว้าง (วิถีชีวิตในโลกกัมมันตรังสี) 20 พฤศจิกายน 2555

ท่องโลกกว้าง (แมลงปอ นักล่ากลางเวหา) 19 พฤศจิกายน 2555

ท่องโลกกว้าง (แมลงปอ นักล่ากลางเวหา) 19 พฤศจิกายน 2555



แมลงปอ นักล่ากลางเวหา 19Nov12 by LadyBimbette

ท่องโลกกว้าง (แมลงปอ นักล่ากลางเวหา) 19 พฤศจิกายน 2555