เว็บบล๊อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองกับการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาเป็นหลัก แต่อาจจะรวมทั้งรักเรียนทุกระดับชั้นที่ต้องการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่ใช้ประกอบการทำรายงานและเพิ่มเติมความรู้นอกเหนือจากห้องเรียน
วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553
การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ
การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ
เป็นวิธีการสกัดสารออกจากของผสมโดยใช้ไอน้ำเป็นตัวทำละลาย วิธีนี้ใช้สำหรับแยกสารที่ละเหยง่าย ไม่ละลายน้ำ และไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำออกจากสารที่ระเหยยาก
การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำนอกจากใช้สกัดสารระเหยง่ายออกจากสารระเหยยากแล้วยังสามารถใช้แยกสารที่มีจุดเดือดสูงและสลายตัวที่จุดเดือดของมันได้อีก เพราะการกลั่นโดยวิธีนี้ความดันไอเป็นความดันไอของไอน้ำบวกความดันไอของของเหลวที่ต้องการแยก จึงทำให้ความดันไอเท่ากับความดันของบรรยากาศก่อนที่อุณหภูมิจะถึงจุดเดือดของของเหลวที่ต้องการแยกของผสมจึงกลั่นออกมาที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเดือดของของเหลวที่ต้องการแยก
เช่น สาร A มีจุดเดือด 150 C เมื่อสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำจะได้สาร A กลายเป็นไอออกมา ณ อุณหภูมิ 95 C ที่ความดัน 760 มิลลิเมตรของปรอท อธิบายได้ว่า ที่ 95 C ถ้าความดันไอของสาร A เท่ากับ 120 มิลลิเมตรของปรอท และไอน้ำเท่ากับ 640 มิลลิเมตรของปรอท เมื่อความดันไอของสาร A รวมกับไอน้ำจะเท่ากับ 760 มิลลิเมตรของปรอท หรือเท่ากับความดันบรรยากาศ จึงทำให้สาร A และน้ำกลายเป็นไอออกมาได้ที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเดือดของสาร A
ตัวอย่างการแยกสารโดยการกลั่นด้วยไอน้ำได้แก่การแยกน้ำมันหอมระเหยออกจากส่วนต่างๆของพืชเช่นการแยกน้ำมันยูคาลิปตัสออกจากใบยูคาลิปตัสการแยกน้ำมันมะกรูดออกจากผิวมะกรูดการแยกน้ำมันอบเชยจากเปลือกต้นอบเชยเป็นต้นในการกลั่นไอน้ำจะไปทำให้น้ำมันหอมระเหยกลายเป็นไอแยกออกมาพร้อมกับไอน้ำเมื่อทำให้ไอของของผสมควบแน่นโดยผ่านเครื่องควบแน่นก็จะได้น้ำและน้ำมันหอมระเหยปนกันแต่แยกชั้นกันอยู่ทำให้สามารถแยกเอาน้ำมันหอมระเหยออกจากน้ำได้ง่าย
ตัวอย่าง
การกลั่นน้ำมันดิบ (refining)
เนื่องจากน้ำมันดิบประกอบด้วยสารประกอบไฮโดรคาร์บอนหลายพันชนิด ดังนั้นจึงไม่สามารถแยกสารที่มีอยู่ออกเป็น สารเดี่ยวๆได้ อีกทั้งสารเหลวนี้มีจุดเดือดใกล้ เคียงกันมากวิธีการแยกองค์ ประกอบน้ำมันดิบจะทําได้โดยการกลั่นลําดับสวนและเก็บสารตามชวงอุณหภูมิ ซึ่งก่อนที่จะกลั่นจะต้องนําน้ำมันดิบมาแยกเอาน้ำและสารประกอบกํามะถันออกซิเจน ไนโตรเจนและโลหะหนักอื่นๆ ออกไปก่อนที่จะนําไปเผาที่อุณหภูมิ 320 - 385 C ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่น ได้แก่
- ก๊าซ (C1 - C4) ซึ่งเป็ นของผสมระหว่างก๊าซมีเทน อีเทน โพรเพนและบิวเทน เป็นต้นประโยชน์ : มีเทนใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้า อีเทน โพรเพนและบิวเทน ใช่ในอุตสาหกรรม
- ปิโตรเคมี และโพรเพนและบิวเทนใช่ ทําก๊าซหุงต้ม (LPG)
- แนฟทาเบา (C5 - C7) ประโยชน์ : ใช้ทําตัวทําละลาย - แนฟทาหนัก (C6 - C12) หรือ เรียกว่าน้ำ
- มันเบนซินประโยชน์ : ใช้ทําเชื้อเพลิงรถยนต์
- น้ำมันก๊าด (C10 - C14) ประโยชน ์ : ใช้ทําเชื้อเพลิงสําหรับตะเกียงและเครื่องยนต์
- น้ำมันดีเซล (C14 - C19) ประโยชน์ : ใช่ ทําเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ดีเซล ได้แก่ รถบรรทุก , เรือ
- น้ำมันหล่อลื่น (C19 - C35) ประโยชน์: ใช่ทําน้ำมันหล่ อลื่นเครื่องยนตเครื่องจักรกล
- ไขน้ำมันเตาและยางมะตอย (C > C35)
ที่มา
http://www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem11/sub07.html
การกลั่นลำดับส่วน(fractional distillation)
การกลั่นลำดับส่วน(fractional distillation)
การกลั่นลำดับส่วนเป็นวิธีการแยกของเหลวที่สามารถระเหยได้ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป มีหลักการเช่นเดียวกันกับการกลั่นแบบธรรมดา คือเพื่อต้องการแยกองค์ประกอบในสารละลายให้ออกจากกัน แต่ก็จะมีส่วนที่แตกต่างจากการกลั่นแบบธรรมดา คือ การกลั่นแบบกลั่นลำดับส่วนเหมาะสำหรับใช้กลั่นของเหลวที่เป็นองค์ประกอบของสารละลายที่จุดเดือดต่างกันน้อยๆ ในขั้นตอนของกระบวนการกลั่นลำดับส่วน จะเป็นการนำไอของแต่ละส่วนไปควบแน่น แล้วนำไปกลั่นซ้ำและควบแน่นไอเรื่อย ๆ ซึ่งเทียบได้กับเป็นการการกลั่นแบบธรรมดาหลาย ๆ ครั้งนั่นเอง ความแตกต่างของการกลั่นลำดับส่วนกับการกลั่นแบบธรรมดา จะอยู่ที่คอลัมน์ โดยคอลัมน์ของการกลั่นลำดับส่วนจะมีลักษณะเป็นชั้นซับซ้อน เป็นชั้นๆ ในขณะที่คอลัมน์แบบธรรมดาจะเป็นคอลัมน์ธรรมดา ไม่มีความซับซ้อนของคอลัมน์
ในการกลั่นแบบลำดับส่วน จะต้องมีการเพิ่มอุณหภูมิอย่างช้า ๆ ดังนั้น จำเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์ที่ให้ความร้อน (heater) และสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ เพราะของผสมที่กลั่นแบบลำดับส่วนมักจะมีจุดเดือดที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งตรงกันข้ามกับการกลั่นแบบธรรมดา ความร้อนที่ให้ไม่จำเป็นต้องควบคุมเหมือนการกลั่นลำดับส่วน แต่ก็ไม่ควรให้ความร้อนที่สูงเกินไป เพราะความร้อนที่สูงเกินไป อาจจะไปทำลายสารที่เราต้องการกลั่นเพราะฉะนั้น ประสิทธิภาพในการกลั่นลำดับส่วนจึงดีกว่าการกลั่นแบบธรรมดา
ที่มา
http://www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem11/sub07.html
การกลั่นแบบธรรมดาหรือการกลั่นอย่างง่าย(simple distillation)
การกลั่นแบบธรรมดาหรือการกลั่นอย่างง่าย(simple distillation)
เป็นวิธีการที่ใช้กลั่นแยกสารที่ระเหยง่ายซึ่งปนอยู่กับสารที่ระเหยยาก การกลั่นธรรมดานี้จะ ใช้แยกสารออกเป็นสารบริสุทธิ์เพียงครั้งเดียวได้สารที่มีจุดเดือดต่างกันตั้งแต่ 80 องศาเซลเซียส ขึ้นไป
เครื่องมือที่ใช้สำหรับการกลั่นอย่างง่าย ประกอบด้วย
ฟลาสกลั่น เทอร์โมมิเตอร์ เครื่องควบแน่น และภาชนะรองรับสารที่กลั่นได้
การกลั่นอย่างง่ายมีเทคนิคการทำเป็นขั้น ๆ ดังนี้
1. เทของเหลวที่จะกลั่นลงในฟลาสกลั่น โดยใช้กรวยกรอง
2. เติมชิ้นกันเดือดพลุ่ง เพื่อให้การเดือดเป็นไปอย่างสม่ำเสมอและไม่รุนแรง
3. เสียบเทอร์โมมิเตอร์
4. เปิดน้ำให้ผ่านเข้าไปในคอนเดนเซอร์เพื่อให้คอนเดนเซอร์เย็นโดยให้น้ำเข้าทางที่ต่ำแล้วไหลออกทางที่สูง
5. ให้ความร้อนแก่พลาสกลั่นจนกระทั่งของเหลวเริ่มเดือด ให้ความร้อนไปเรื่อย ๆ จน กระทั่งอัตราการกลั่นคงที่ คือได้สารที่กลั่นประมาณ 2-3 หยด ต่อวินาที ให้สารที่กลั่นได้นี้ไหลลงในภาชนะรองรับ
6. การกลั่นต้องดำเนินต่อไปจนกระทั่งเหลือสารอยู่ในฟลาสกลั่นเพียงเล็กน้อยอย่ากลั่นให้แห้ง
การกลั่นสามารถนำมาใช้ทดสอบความบริสุทธิ์ของของเหลวได้ ซึ่งของเหลวที่บริสุทธิ์
จะมีลักษณะดังนี้
1. ส่วนประกอบของสารที่กลั่นได้ จะมีลักษณะเหมือนกับส่วนประกอบของของเหลว
2. ส่วนประกอบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง
3. อุณหภูมิของจุดเดือดในขณะกลั่นจะคงที่ตลอดเวลา
4. การกลั่นจะทำให้เราทราบจุดเดือดของของเหลวบริสุทธิ์ได้
การกลั่นนอกจากจะนำมาใช้ตรวจสอบความบริสุทธิ์ของของเหลวแล้ว ยังสามารถใช้กลั่น สารละลายได้อีกด้วย การกลั่นสารละลายเป็นกระบวนการแยกของแข็งที่ไม่ระเหยออกจากตัวทำละลายหรือของเหลวที่ระเหยง่าย โดยของแข็งที่ไม่ระเหยหรือตัวละลายจะอยู่ในฟลาสกลั่น ส่วนของเหลวที่ระเหยง่ายจะถูกกลั่นออกมา เมื่อการกลั่นดำเนินไปจนกระทั่งอุณหภูมิของการกลั่นคงที่แสดงว่าสารที่เหลือนั้นเป็นสารบริสุทธิ์
อนึ่งในขณะกลั่นจะสังเกตเห็นว่าอุณหภูมิของสารละลายจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะสารละลายเข้มข้นขึ้น เนื่องจากตัวทำละลายระเหยออกไปและได้ของแข็งที่บริสุทธิ์ในที่สุด
ตัวอย่างการกลั่นอย่างง่ายที่ทำได้เองในครัวเรือน
หรืออีกคลิป
ที่มา
ข้อมูล http://www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem11/sub07.html
การแพร่และการออสโมซิส
การแพร่ (diffusion) ของโมเลกุลของสารเป็นการเคลื่อนที่ของโมเลกุลจากจุดที่มีความเข้มข้นสูงกว่า ไปยังจุดที่มีความเข้มข้นต่ำกว่า การเคลื่อนที่นี้เป็นไปในลักษณะทุกทิศทุกทาง โดยไม่มีทิศทางที่แน่นอนผลจากการเคลื่อนที่อันนี้จะทำให้ความเข้มข้นของโมเลกุลของสารในภาชนะที่มีเนื้อที่จำกัดนั้น มีความเข้มข้นเท่ากันหมดตัวอย่างของการแพร่ที่พบได้เสมอ คือ
ก. การแพร่ของเกลือในน้ำ
ข. การแพร่อขงน้ำหอมในอากาศ
นอกจาก 2 ตัวอย่างทียกมาให้ดูแล้วยังมีตัวอย่างอีกมากมายที่เราพบได้ในชีวิตประจำวัน เช่น การฉีดดีดีทีฆ่าแมลง การเติมน้ำตาลลงในถ้วยกาแฟ การหยดหรือแต่น้ำหอมตามเสื้อผ้า กลิ่นลูกเหม็นกันแมลง ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ เป็นต้น
ในปีค.ศ. 1828 (พ.ศ. 2371) รอเบิร์ต บราวน์ ได้สังเกตปรากฏการณ์อย่างหนึ่ง โดยพบว่า เมื่อเกสรดอกไม้ตกลงในน้ำ เกสรนั้นจะมีการเคลื่อนที่อย่างไม่มีทิศทางแน่นอนต่อมาจึงเรียกการเคลื่อนที่อย่างไม่มีทิศทางแน่นอนหรือ ไร้ทิศทางนี้ ว่า การเคลื่อนที่แบบบราวเนียน (Brownian movement) และแอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) ได้ให้เหตุผลว่า การเคลื่อนที่ของเกสรดอกไม้ที่เรียกว่า การเคลื่อนที่แบบบราวเนียนนั้นเกิดจากโมเลกุลของน้ำเคลื่อนที่เข้าชนเกสรดอกไม้อยู่ตลอดเวลา ทำให้เกสรดอกไม้เคลื่อนที่ได้
ปัจจัยที่มีผลต่อการแพร่
ความเร็วของการแพร่จะมากหรือน้อย เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับ
1.อุณหภูมิ ในขณะที่อุณหภูมิสูง โมเลกุลของสารมีพลังงานจลน์มากขึ้น ทำให้โมเลกุลเหล่านี้เคลื่อนที่ได้เร็วกว่า เมื่ออุณหภูมิต่ำ การแพร่จึงเกิดขึ้นได้เร็ว
2.ความแตกต่างของความเข้มข้น ถ้าหากมีความเข้มข้นของสาร 2 บริเวณ แตกต่าง แตกต่างกันมากจะทำให้การแพร่เกิดขึ้นได้เร็วขึ้นด้วย เนื่องจากบริเวณที่มีความเข้มข้นมากโมเลกุลมีโอกาสชนและกระแทกกันมากทำให้โมเลกุลกระจายออกไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นน้อยกว่าได้เร็วกว่า เมื่อความเข้มข้นใกล้เคียงกัน
3.ขนาดของโมเลกุลสาร สารที่มีขนาดโมเลกุลเล็กจะเกิดการแพร่ได้เร็วกว่าสารโมเลกุลใหญ่ เนื่องจากสารโมเลกุลเล็กสามารถแทรกไประหว่างโมเลกุลของสารตัวกลางได้ดีกว่าสารโมเลกุลใหญ่ สารโมเลกุลเล็กจึงแพร่ได้ดี
4.ความเข้มข้นและชนิดของสารตัวกลาง สารตัวกลางที่มีความเข้มข้นมากจะมีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของตัวกลางของตัวกลาง ทำให้โมเลกุลของสารเคลื่อนที่ไปได้ยาก แต่ถ้าหากสารตัวกลางมีความเข้มข้นน้อยโมเลกุลของสารก็จะเคลื่อนที่ได้ดีทำให้การแพร่เกิดขึ้นเร็วด้วยสารต่าง ๆ สามารถผ่านเข้าออกเยื่อเซลล์ได้ในอัตราเร็วที่แตกต่างกัน น้ำเป็นสารที่ผ่านเยื่อเซลล์ได้ดีที่สุดรองลงมาเป็น ก๊าซที่ละลายน้ำ สารอินทรีย์ สารประจุลบ และสารประจุบวก ซึ่งมีอัตราเร็วในการผ่านเยื่อเซลล์ได้น้อยที่สุด
ตัวอย่างการแพร่ของน้ำหมึก
ออสโมซิส
เป็นการแพร่ของเหลวผ่านเยื่อบาง ๆ ซึ่งตามปกติจะหมายถึง การแพร่ของน้ำผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) เนื่องจากเยื่อหุ้มเซลล์มีคุณสมบัติในการยอมให้สารบางชนิดเท่านั้นผ่านได้ การแพร่ของน้ำจะแพร่จากบริเวณที่เจือจางกว่า (มีน้ำมาก) ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้าสู่บริเวณที่มีความเข้มข้นกว่า (มีน้ำน้อย) ตามปกติการแพร่ของน้ำนี้จะเกิดทั้งสองทิศทาง คือ ทั้งบริเวณเจือจาง และบริเวณเข้มข้น แต่เนื่องจากน้ำบริเวณเจือจางแพร่เข้าสู่บริเวณเข้มข้นมากกว่า จึงมักกล่าวกันสั้น ๆว่า ออสโมซิสเป็นการแพร่ของน้ำจากบริเวณที่มีน้ำมาเข้าไปสู่ในบริเวณที่มีน้ำน้อยกว่าโดยผ่านเยื่อหุ้มเซลล์
แรงดันออสโมติกเกิดจากการแพร่ของน้ำจากบริเวณที่มีน้ำมาก (เจือจาง) เข้าสู่บริเวณที่มีน้ำน้อย (เข้มข้น) แรงดันของน้ำนี้จะดันให้ของเหลวขึ้นไปในหลอดได้ ในขณะที่ยังไม่สมดุลของเหลวก็จะขึ้นไปบนหลอดได้เรื่อย ๆ และเมื่อเกิดการสมดุลระดับของของเหลวในหลอดจะคงที่ แรงดันออสโมติกของสารละลายแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน น้ำบริสุทธิ์เป็นของเหลวที่มีแรงดันออสโมติกต่ำสุด
จากวิดีโอจะเห็นโมเลกุลของน้ำทางด้านซ้ายมือซึ่งมีจำนวนมากกว่า แพร่ผ่านมาทางซ้ายมือซึ่งมีจำนวนโมเลกุลของน้ำน้อยกว่า
ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นการทดลองให้เห็นว่าน้ำในบีกเกอร์(อยู่นอกกระดาษเซลโลเฟน)จะแพร่ผ่าน(ออสโมซิส)เข้าไปในถุงกระดาษเซลโลเฟนทำให้ระดับของเหลวในหลอดแก้วสูงขึ้น
วงจรชีวิตแมลงปอ
เป็นตัวอย่างของสัตว์ที่มีการเจริญเติบโตแบบไม่สมบูรณ์(hemimetabolous or incomplete metamorphosis)
ในแมลงกลุ่มนี้ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่ มีตารวมและรูปร่างคล้ายกับตัวเต็มวัยแต่จะยังไม่มีปีกรวมทั้งต่อม ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ภายนอกบางชนิดที่ไม่มีปีก จะไม่มีการถอดรูปเหมือนเช่นที่พบในแมลง
กลุ่มแรก ส่วนทีมี ปีกจะมีการพัฒนาของปีกเกิดขึ้นภายนอก (exoterygote) ตัวอ่อนจะมีการลอกคราบ หลายครั้ง ต่อมาจะเริ่ม ปรากฏตุ่มปีก (wing pads) ขึ้นที่บริเวณด้านหลังของอกปล้องที่สองและสามปล้องละ 1 คู่ หลังจากมีการ ลอกคราบอีกหลายครั้ง ตุ่มปีกเหล่านั้นจะค่อยๆเจริญกลายเป็นปีกที่สมบูรณ์เมื่อแมลงเปลี่ยนไปเป็นตัวเต็มวัย
ทั้งแมลงตัวอ่อนและตัวเต็มวัยอาจอยู่ในสภาวะแวดล้อมและมีพฤติกรรม การกินอาหารที่เหมือน หรือแตกต่างกันก็ได้
แมลงตัวอ่อนที่อาศัยอยู่บนบกเรียกว่า nymph แมลงตัวอ่อนที่อาศัยอยู่ในน้ำเรียกว่า niad ซึ่งมีเหงือก และรยางค์อีกหลายอย่างเพื่อช่วยในการดำรงชีวิตอยู่ในน้ำ (resting or pupal stage) สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
1) กลุ่มแมลงที่มีระยะตัวอ่อนอยู่ในน้ำ มีอยู่เพียง 3 อันดับ คือ Odonata, Ephemeroptera, และ Plecoptera
2) กลุ่มแมลงที่มีระยะตัวอ่อนอยู่บนบก พบรวมทั้งสิ้น 14 อันดับ คือ Phasmada, Isoptera, Blattaria, Grylloblattaria, Othoptera, Mantodae, Dermaptera, Embiidina, Phthiraptera, Zoraptera, Psocoptera, Hemiptera, Homoptera, และ Thysanoptera ซึ่งแต่เดิมการถอดรูปของแมลงในกลุ่มนี้เคยเรียกว่า การถอดรูปแบบทีละน้อย (paurometabolous or gradual metamorphosis) ต่อมาการจำแนกในยุคปัจจุบัน ได้จัดให้แมลงในกลุ่มนี้มีการถอดรูปเป็นแบบ hemimetabolous เช่นเดียวกับแมลงในกลุ่มแรกที่ ตัวอ่อนอยู่ในน้ำ
วงจรชีวิต
1.วงจรชีวิตของแมลงปอเริ่มจาก ตัวเมียวางไข่ในน้ำหรือใกล้ๆแหล่งน้ำ แมลงปอบางสปีชี่จำเพาะจงจงวางไข่ในแหล่งน้ำนิ่งจำพวก บึง สระ บางชนิดก็้วางไข่ในที่น้ำไหล
2.ไข่ของแมลงปอเกือบทุกสายพันธ์จะฟักภายในเวลา 5-10วัน ในช่วงระยะที่สองของวงชีวิตนี้ ตัวอ่อนของแมลงปอเรียกได้ว่ากินแบบยัดทะนาน อาหารของมันคือ ลูกน้ำ ปลาตัวเล็กๆ ลูกอ๊อด และกุ้งตัวเล็กๆ(พวก crustaceans น่าจะมีสัตว์ชนิดอื่นไม่เจาะ จงว่าเป็นกุ้ง ส่วนนี้ไม่แน่ใจค่ะแค่สันนิษฐานเอาเอง)
3.ตัวอ่อนไต่ขึ้นมาหาที่มั่นเหนือผิวน้ำเพื่อทำการแปลงโฉมผิวบริเวณด้านหลังค่อยๆแตกออก... ผึ่งปีก
ตอนนี้ถ้านั่งมองก็จะเห็นแมลงปอละอ่อนสัสันไม่ค่อยจะมี เมื่อมันโตเต็มวัยพร้อมที่จะผสมพันธุ์เมื่อไหร่สีจะเปลี่ยนไปตามสปีชี่ของมัน Life span ของแมลงปออยู่ระหว่าง 2-3 เดือนหรืออาจยาวนานถึง 7 ปี
เวลาที่นานที่สุดของวงจรคือ ตอนที่เป็นตัวอ่อนในน้ำ เวลาที่เฉิดฉายเป็นเพชฆาตปีกสีรุ้งกินเวลาไม่กี่สัปดาห์เท่านั้นเอง
วัฏจักรชีวิตของผีเสื้อ
ชีวิตของผีเสื้อเริ่มจาก ไข่ แล้วไข่จะฟักออกเป็นตัวหนอน ซึ่งเรามักเรียกกันว่า ตัวแก้ว ต่อมาตัวแก้วจะหยุดกินอาหาร และไม่เคลื่อนไหว กลายสภาพเป็น ดักแด้ และในไม่ช้าดักแด้จะกลายสภาพเป็น ผีเสื้อ สีสวยเที่ยวบินว่อนอยู่ตามดงดอกไม้ ซึ่งเป็น ตัวเต็มวัย ชีวิตของผีเสื้อจึงแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ
อย่างไรก็ดี เราไม่อาจบอกได้ว่า ชีวิตของผีเสื้อในแต่ละระยะคงอยู่เป็นเวลานานเท่าไร ก่อนที่มันจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นอีกระยะหนึ่ง
ทั้งนี้เพราะระยะเวลาในแต่ละระยะของผีเสื้อแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป ไม่แน่นอน และยังขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ และสภาพภูมิอากาศในแต่ละท้องที่อีกด้วย แม้กระนั้น เคยมีนักวิชาการบันทึกไว้ว่า ผีเสื้อในเขตร้อนของโลกนั้น จะคงอยู่ในระยะของ ไข่ ราวแค่ 3 วันเท่านั้น ระยะ ตัวแก้ว เป็นเวลาถึง 8 วัน และระยะ ดักแด้ เป็นเวลาราว 7 วัน ดังนั้น กว่าผีเสื้อจะได้มีชีวิตบินร่อนไปร่อนมา เพื่อหาน้ำหวานจากดอกไม้ มันต้องใช้เวลารวมแล้วไม่ต่ำกว่า 18 วัน นับจากเริ่มเป็นไข่
ส่วนในเขตอบอุ่นนั้น ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มเป็นไข่ จนกระทั่งกลายเป็นผีเสื้อ เป็นเวลาราว 8 สัปดาห์ สำหรับผีเสื้อชนิดที่เจริญเติบโตเร็ว แต่สำหรับผีเสื้อชนิดที่เจริญเติบโตช้า ระยะเวลาของวรจรชีวิตจะนานกว่านี้ และมีผีเสื้อหลายชนิดทีเดียวที่มีวงจรชีวิตเท่ากับระยะเวลาหนึ่งปีเต็ม ด้วยเหตุนี้ อย่างน้อยระยะใดระยะหนึ่งของมันจะต้องอยู่ในสภาวะ " จำศีล" ในฤดูหนาว ที่เรียกกันว่า hibernation สำหรับในประเทศเขตร้อนนั้น ผีเสื้อบางชนิด บางทีบางระยะหนึ่งของมันอาจต้อง " จำศีล" ในฤดูร้อน ที่เรียกกันว่า aestivation ด้วย
ถึงแม้ว่า ผีเสื้อคู่หนึ่งๆ สามารถผลิตไข่หรือให้กำเนิดลูกหลานได้ถึง 3,000,000 ตัวในฤดูหนึ่งของปีก็ตาม แต่โอกาสที่จะมีชีวิตเหลือรอดออกมาเป็นผีเสื้อแสนสวยมีน้อยมากทีเดียว เฉลี่ยแล้ว ผีเสื้อคุ่หนึ่งๆ ให้กำเนิดลูกหลานที่เหลือรอดออกมาเป็นผีเสื้อได้ราว 2-3 ตัวเท่านั้น
ทั้งนี้เพราะผีเสื้อมีศัตรูมากนั่นเอง คอยทำลายทุกระยะ ตั้งแต่ยังเป็นไข่ จนกลายมาเป็นตัวแก้ว ดักแด้ หรือ แม้แต่ผีเสื้อที่โตเต็มวัยแล้ว และยังมีศัตรูคอยล่ากิน และมีมนุษย์คอยล่าเพื่อเก็บสะสมอีกด้วย นอกจากนี้ มันยังได้รับภัยจากโรคระบาด และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจนมันไม่สามารถมีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นนั้นต่อไปได้
เมื่อผีเสื้อตัวเมียมีท้องแก่ มันจะบินไปหาต้นพืชซึ่งตัวแก้วของมันจะใช้เป็นอาหารได้ ตามปกติ ผีเสื้อแต่ละกลุ่ม แต่ละวงศ์ จะวางไข่ไว้บนต้นพืชคนละชนิดกัน เมื่อมันเลือกต้นพืชที่มันต้องการได้แล้ว มันจะเริ่มวางไข่ไว้ตามส่วนต่างๆ ของต้นพืชนั้น
ผีเสื้อบางชนิดชอบวางไข่ไว้ตามก้านดอกไม้ แต่บางชนิดวางไข่ไว้บนยอดอ่อนของพืช ชนิดที่วางไข่ไว้บนกลีบดอกไม้ก็มี มีบางชนิดวางไข่ไว้ตามซอกเปลือกไม้ตรงโคนต้นไม้ใหญ่ ซึ่งมีพืชที่จะเป็นอาหารของตัวแก้วขึ้นอยู่ใกล้ๆ หลังจากตัวแก้วฟักออกจากไข่แล้ว จึงจะไต่มายังพืชอาหารของมัน
ตามปกติผีเสื้อมักวางไข่ฟองเดียวโดดๆ หรือ เป็นกลุ่มเล็กๆ มีน้อยชนิดที่วางไข่ไว้เป็นกลุ่มใหญ่ กลุ่มไข่นี้จะแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของผีเสื้อ บางชนิดจะวางไข่ติดกันเป็นเส้นห้อยลงมา คล้ายกับลูกปัทม์ที่นำมาร้อยต่อกัน มีน้อยชนิดที่วางไข่เรี่ยราดไว้ตามพื้นดิน
ไข่ของผีเสื้อแต่ละชนิดมีขนาด รูปร่าง สีสัน และลวดลายแตกต่างกันออกไป โดยปกติ ไข่ของผีเสื้อจะเล็กมาก ผีเสื้อชนิดที่มีไข่โตที่สุดนั้น ไข่ของมันจะมีขนาดพอๆ กับหัวเข็มหมุดหัวโตเท่านั้นเอง ด้วยเหตุนี้ การตรวจสอบไข่ของผีเสื้อ จึงจำเป็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ ( microscope) เท่านั้น
จากภาพที่มองผ่านเลนส์ของกล้องจุลทรรศน์ เราจะเห็นว่า ไข่ของผีเสื้อบางชนิดมีลักษณะตั้งยาวสีขาวหรือสีเหลือง แต่ไข่ของผีเสื้อบางชนิดมีลักษณะกลม มีรอยบั้ง และมีสีเขียว แต่บางชนิดมีไข่กลมแบนสีขาวหรือสีออกเทา และมีรอยบุ๋ม หรือไม่ก็มีไข่แบนเกือบเป็นสีเหลี่ยมผืนผ้า ออกสีขาวหรือสีเหลือง ไข่ของผีเสื้อหางแฉกที่เรียกกันว่า ผีเสื้อหางติ่ง (Swallowtail) นั้น มีลักษณะกลมมาก เรียบ และโตกว่าไข่ของผีเสื้ออื่นๆ และมักมีสีเหลือง สีสันของไข่นี้มักเป็นสีที่กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เพื่อพรางตาศัตรู
เปลือกไข่ประกอบด้วยสารที่เรียกว่า ไคติน ( chitin) เช่นเดียวกับเปลือกลำตัวของผีเสื้อ และแมลงอื่นๆ โดยทั่วๆ ไป ไข่ผีเสื้อมักมีลักษณะโปร่งแสง เมื่อไข่สุก เราสามารถมองดูการเจริญเติบโตของตัวอ่อนภายในไข่ได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ ทางด้านบนหรือด้านข้างของไข่จะมีรูเล็กๆ เป็นรูอากาศอยู่ 1 รู เรียกว่า ไมโครพาย ( micropyle) ซึ่งตัวอ่อนจะหายใจเอาก๊าซออกซิเจนจากอากาศที่ผ่านเข้ามาทางรูนี้
ในเวลาที่ผีเสื้อตัวผู้ผสมพันธุ์กับผีเสื้อตัวเมียนั้น เชื้อตัวผู้จะเข้าไปผสมกับไข่ในท้องของตัวเมียได้ โดยผ่านเข้าไปทางรูนี้เช่นเดียวกัน ไมโครพายจึงเป็นส่วนที่สำคัญมากของไข่
ตามปกติ ของเหลวภายในไข่มักมีลักษณะใส แต่ต่อมา พอตัวอ่อนในไข่เริ่มเจริญเติบโตขึ้น ของเหลวในไข่จึงเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้นทุกที จนบางทีก็เป็นสีดำ ซึ่งแสดงว่า ตัวหนอนได้เจริญเติบโตเต็มที่ และพร้อมที่จะออกมาจากไข่แล้ว ตัวหนอนในไข่จะกัดกินไมโครพายทางด้านในให้ทะลุ แล้วก็คลานออกมา หลังจากนั้น มันจะกินเปลือกไข่ของมันจนหมดหรือเกือบหมด ก่อนที่จะกินพืชอาหารของมัน
ตัวหนอนจะต้องกินเปลือกไข่ของมันเสมอ เพราะมีไคตินที่ประกอบเป็นเปลือกไข่ ซึ่งเป็นสารที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายของมันมาก ถ้าหากตัวหนอนถูกกีดกันไม่ให้กินเปลือกไข่ มันอาจตายได้ แม้ว่าจะได้กินพืชอาหารก็ตาม ซึ่งนับว่าแปลกมากทีเดียว
ตัวแก้วหรือตัวหนอนของผีเสื้อ มีลำตัวยาว มีขาจริง 3 คู่ และมีขาเทียม ( prolegs) ที่ส่วนท้องอีกหลายคู่ ไช้สำหรับเดินทั้งสิ้น ซึ่งผิดกับหนอนของแมลงอื่นๆ เช่น หนอนแมลงวัน หรือ ลูกน้ำ ซึ่งไม่มีขาเลย ไม่ว่าจะเป็นขาจริงหรือขาเทียม เมื่อมันกลายเป็นผีเสื้อแล้ว ขาเทียมจะหดหายไป ส่วนขาจริงจะเจริญไปเป็นขาของผีเสื้อ ดังนั้น ส่วนของตัวแก้วที่มีขาจริง คือ ส่วนที่จะเจริญไปเป็นส่วนอก ( thorax) ของแมลงนั่นเอง
ส่วนหัวของตัวแก้วมีปากชนิดกัดกิน ( biting type) ใช้กัดกินใบพืชอาหารของมัน ทำนองเดียวกับปากของตั๊กแตน จิ้งหรีด หรือ แมลงสาบ ซึ่งผิดกับเมื่อตอนที่มันกลายเป็นผีเสื้อแล้ว ซึ่งปากจะเปลี่ยนไปเป็นปากชนิดดูดกิน (siphoning type)
ตัวแก้วส่วนมากไม่มีขนยาวรุงรัง ถ้าหากเราพบหนอนที่มีลักษณะลำตัวยาว มีขาจริง 3 คู่ มีขาเทียม และมีปากชนิดกัดกิน แต่มีขนยาวรุงรังแล้ว เราแน่ใจได้ทันทีเลยว่า เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืน ( Moth) ไม่ใช่หนอนของผีเสื้อ ( Butterfly) ปกติ หนอนของผีเสื้อกลางคืนนั้น ชาวบ้านมักเรียกกันว่า บุ้ง ไม่เรียกว่า ตัวแก้ว หนอนของผีเสื้อบางชนิดเท่านั้นที่มีขนสั้นๆ สีต่างๆ ที่ลำตัว
สีสันของตัวแก้วนี้ ตามปกติจะเข้ากับสภาพแวดล้อมที่มันอาศัยอยู่ได้เป็นอย่างดี จึงล้วนแต่เป็นสีพรางตาศัตรูทั้งสิ้น เพื่อให้รอดพ้นจากศัตรู โดยเฉพาะนก ตัวแก้วที่หากินอยู่ตามต้นหญ้าจะมีลำตัวผอมยาว หัวท้ายแหลม มีลายเขียวๆ เป็นทางยาว เข้ากับใบหญ้าได้ดี ตัวแก้วบางชนิดมีลำตัวรี แบน และเกาะแน่นอยู่ใต้ใบไม้ และสีสันยังเข้ากับใบไม้อีกด้วย ตัวแก้วที่หากินอยู่ตามต้นถั่วมีรูปร่างยาวรีและมีสีสันคล้ายฝักถั่ว บางชนิดดูคล้ายมูลนกที่ติดอยู่ตามใบไม้ ตัวแก้วที่มีสีสันเข้ากับสภาพแวดล้อมเช่นนี้ มักเป็นตัวแก้วที่นกชอบกิน
ตัวแก้วของผีเสื้อบางชนิดมีสีสวยสดแลเห็นเด่นชัด เช่น ตัวแก้วของผีเสื้อหนอนใบรัก ในสกุล Danaus มีลายสีเหลืองและสีดำเด่นชัดมาก จัดเป็นสีเตือนภัย ( warning colour) เพื่อให้นกแลเห็นได้ชัดๆ จะได้ไม่เผลอเข้ามากิน เพราะรสชาติของมันไม่เป็นที่โปรดปรานของนก ตัวแก้วที่มีสีสันเช่นนี้ นกจึงไม่ชอบกิน และไม่กล้าเข้ามาแตะต้อง ตัวแก้วของผีเสื้อหางติ่ง ( Swallowtail) มีสีเตือนภัยเช่นกัน แต่บางชนิด ตัวแก้วในระยะแรกๆ มีสีสันคล้ายคลึงกับสภาพแวดล้อม แต่พอเจริญเติบโตขึ้นจึงเปลี่ยนเป็นสีเตือนภัย หนอนบางชนิดมีขนซึ่งเมื่อถูกผิวหนังจะเกิดอาการผื่นคัน
การเปลี่ยนแปลงร่างกายจากตัวแก้วมาเป็นดักแด้ (pupa) นั้น เป็นสิ่งมหัศจรรย์มาก เพราะตัวแก้วหากินอยู่เสมอและกินจุ แต่ดักแด้อยู่นิ่งกับที่และไม่กินอะไรเลย การลอกคราบจากตัวแก้วในระยะสุดท้ายมาเป็นดักแด้นั้น คล้ายคลึงกันมาก กับการลอกคราบในแต่ละครั้งของตัวแก้ว เพียงแต่ว่าในระยะนี้ ผิวหนังใหม่ใต้ผิวหนังเก่าเป็นผิวหนังของดักแด้ และมีรูปร่างเป็นดักแด้ เมื่อตัวแก้วลอกคราบออกมาเป็นดักแด้ใหม่ๆ ผิวหนังของดักแด้ยังอ่อนนิ่มอยู่ แต่นานๆ ไป หลายชั่วโมง ผิวหนังของมันจึงแข็งขึ้น และมีรูปร่างและสีสันเป็นดักแด้มากขึ้น จนกลายเป็นดักแด้ที่สมบูรณ์
ถ้าเราสังเกตตั้งแต่เริ่มแรก เราจะเห็นว่า เมื่อถึงเวลาที่ตัวแก้วในระยะสุดท้ายจะลอกคราบเป็นดักแด้ มันจะเริ่มหยุดนิ่ง ใช้ส่วยท้ายสุดของลำตัว หรือ " หาง " เกาะติดกับวัตถุ เช่น กิ่งไม้ หรือใบไม้ด้วยเส้นใย ต่อจากนั้น ผิวหนังเก่าของมันจะเริ่มลอกออกจากท่อนหัวไปยังท่อนหาง พอลอกถึงปลายหาง มันจะดึงหางออกจากวัตถุ เพื่อให้คราบเก่าหลุดออกไป แล้วใช้หางทิ่มเกาะติดที่เดิมอย่างรวดเร็ว โดยมันไม่ตกจากกิ่งไม้หรือใบไม้ ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ดักแด้ของผีเสื้อนี้ ในทางกีฏวิทยาจัดเป็น obtected pupa คือเป็นดักแด้ที่มีขาและปีกติดเป็นเนื้อเดียวกับลำตัว และนิยมเรียกกันว่า chrysalis แต่การคงอยู่ในสภาพดักแด้ของผีเสื้อแต่ละชนิดนั้นจะแตกต่างกัน ซึ่งอาจจำแนกออกได้ 3 แบบ
แบบแรก ดักแด้ห้อยแขวนตัวอยู่กับกิ่งไม้ หรือ วัตถุใดๆ โดยใช้ส่วนที่เป็นตะขอของ " หาง" ซึ่งเรียกว่า cremaster เกาะติดกับเส้นใยที่ติดอยู่กับกิ่งไม้หรือวัตถุนั้นๆ เช่น ดักแด้ของผีเสื้อในวงศ์ Nymphalidae แบบแรกนี้เรียกกันว่า suspensi
แบบที่สอง ดักแด้ใช้ส่วนที่เป็นตะขอของ " หาง" เกาะติดกับเส้นใยที่ติดกับวัตถุเช่นกัน แต่ยังมีเส้นใยปั่นออกมาล้อมรอบส่วนอก และยึดติดกับวัตถุด้วย จึงยึดติดกับวัตถุทั้งที่ท่อนอกและที่ส่วน " หาง" เช่น ดักแด้ของผีเสื้อในวงศ์ Papilionidae วงศ์ Lycaenidae และวงศ์ Pieridae แบบนี้เรียกกันว่า succincti
แบบที่สาม ดักแด้จะวางหรือนอนอยู่บนพื้นดินหรือซ่อนอยู่ในที่มิดชิด เช่น ดักแด้ของผีเสื้อในวงศ์ Satyridae และวงศ์ Hesperiidae แบบนี้เรียกกันว่า involuti ดักแด้ของผีเสื้อนี้ต้องมีการเกาะยึดกับวัตถุอื่นอย่างเหนียวแน่น หรือ ซ่อนอยู่อย่างมิดชิด มีสีสันพรางตาศัตรูได้เป็นอย่างดี และทนต่อความผันแปรของสภาพดินฟ้าอากาศ และอุณหภูมิได้ดีด้วย มิเช่นนั้นอาจตายได้ ดักแด้ของผีเสื้อบางชนิดต้องอยู่ในสภาพนั้นตลอดฤดูหนาว
นอกจากนี้ แม้ว่ามันจะถูกฝังอยู่ใต้หิมะหรืออยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำถึง - 20 องศาซี หรือ -12 องศาเอฟ มันก็ยังทนอยู่ได้ ไม่ว่าจะเป็นดักแด้ของผีเสื้อในเขตอบอุ่นหรือเขตร้อน
ความแตกต่างระหว่างเพศของตัวแก้วนั้น ยากนักที่ใครจะบอกได้ แต่ความแตกต่างระหว่างเพศของดักแด้นั้น ผู้ที่มีความชำนาญอาจบอกได้ โดยใช้แว่นขยายที่ขยายได้หลายเท่าส่องดูที่ส่วนท้ายของลำตัวดักแด้ ตามปกติตรงปล้องที่ 5 ของตัวผู้ นับจากส่วนปีกลงไปจะมีปุ่มนูนๆ ยื่นออกมา แต่ของตัวเมียจะอยู่ที่ปล้องที่ 4 นับจากส่วนปีกลงไป
เมื่อตัวแก้วลอกคราบกลายเป็นดักแด้นั้น มีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพภายในร่างกายของดักแด้เป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพื่อให้มันลอกคราบมาเป็นผีเสื้อที่สมบูรณ์ แต่ระบบย่อยอาหาร ระบบประสาท และอวัยวะสำคัญอื่นๆ เปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ถึงแม้ตัวแก้วนั้น ไม่มีความแตกต่างทางเพศ แต่ในระยะสุดท้ายก่อนที่จะกลายเป็นดักแด้ อวัยวะที่บ่งบอกเพศจะเริ่มปรากฏให้เห็น และจะเจริญดีมากในดักแด้ อวัยวะส่วนอื่นๆ ของผีเสื้อจะเจริญมาจากกลุ่มเซลเล็กๆ ที่เรียกกันว่า imaginal buds เซลเหล่านี้จะเริ่มแบ่งตัวและจะมารวมกันเป็นกลุ่มเซลเล็กๆ ดังกล่าว และค่อยเปลี่ยนไปเป็นลักษณะของผีเสื้อทีละน้อยๆ
รูปร่างของดักแด้นั้น ธรรมชาติสร้างมาเพื่อให้รับกับการเจริญขึ้นของส่วนปีก ( wingcases) ขา ปากแบบดูดกิน หนวด และตา ซึ่งดักแด้ที่เจริญมากแล้ว เราจะแลเห็นอวัยวะเหล่านี้ภายในดักแด้ได้ชัดขึ้น ต่อมาจะเริ่มปรากฏขนบนหัว อก ท้อง ขา และปีก ต่อจากนั้น จะเริ่มปรากฏเกล็ดเล็กๆ บนปีก แต่ยังไม่มีสีสันใดๆ ในระยะสุดท้าย ส่วนปีกของมันจะมีรงควัตถุ ( pigment) มาแทรกซึมจนทั่ว ทำให้เกล็ดบนปีกมีสีสันขึ้น ปีกของมันจะมีสีสันและลวดลายแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของผีเสื้อ ในระยะสุดท้ายนี้ ผิวหนังของดักแด้จะโปร่งแสง ทำให้แลเห็นอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะลวดลายและสีสันบนปีกได้ชัดเจนมากขึ้น
ในระยะนี้ ตัวผีเสื้อได้เกิดขึ้นอยู่ภายในดักแด้แล้ว รอเวลาที่จะออกมาจากคราบดักแด้เท่านั้น ตัวผีเสื้อภายในดักแด้จะแห้งขึ้นเล็กน้อย แล้วปลอกดักแด้จะเริ่มปริออกตรงส่วนอก เปิดเป็นช่องให้ผีเสื้อคลานออกมาเกาะอยู่ที่ข้างนอกปลอกดักแด้ หรือที่กิ่งไม้ใกล้ๆ มันจะต้องเกาะอยู่ตรงที่เหมาะๆ เพื่อกางปีกออก และผึ่งปีกของมันให้แห้งเต็มที่ มันจึงจะกลายเป็นผีเสื้อที่สมบูรณ์
เมื่อผีเสื้อลอกคราบออกมาจากดักแด้นั้น ในระยะแรก มันจะปล่อยของเหลวสีชมพูจางๆ ที่เรียกว่า meconium ออกมา meconium นี้เป็นสิ่งขับถ่ายที่สะสมอยู่ในระยะที่มันเป็นดักแด้ เพราะดักแด้นั้นไม่มีปากสำหรับกินอาหาร และไม่มีช่องสำหรับขับถ่าย สิ่งขับถ่ายจึงต้องสะสมเอาไว้ก่อน และมาปล่อยออกในระยะที่มันเป็นผีเสื้อแล้ว
ผีเสื้อที่ลอกคราบออกมาใหม่ๆ ปีกยังเล็กอยู่และค่อนข้างยับยู่ยี่ มันจะต้องไต่ไปเกาะกิ่งไม้หรือวัตถุใดๆ ที่ไม่มีอะไรมาเกะกะ เพื่อมันจะได้แผ่ปีกได้เต็มที่ ถ้าหากมีอะไรมาเกะกะ ปีกของมันอาจฉีกขาดได้ มันจะเกาะนิ่งๆ ไม่เคลื่อนไหว ปล่อยให้อากาศเข้าไปทางปากแบบดูด และรูหายใจ ( spiracles) อากาศจะเข้าไปสะสมอยู่ภายในลำตัวบริเวณอกและท้อง
โดยการหดตัวของกล้ามเนื้อ จะผลักดันให้โลหิตเข้าไปหล่อเลี้ยงภายในปีกเล็กๆ ที่ยับยู่ยี่ของมัน แล้วปีกของมันจะค่อยๆ ขยายใหญ่ขึ้นทุกที และบางมากขึ้นจนกระทั่งโตได้ขนาดเต็มที่ และมีความบางเต็มที่ ผิดกับเมื่อตอนมันลอกคราบออกมาใหม่ๆ ซึ่งมีปีกเล็กและยังหนาอยู่
อย่างไรก็ดี ผีเสื้อในระยะนี้ยังไม่พร้อมที่จะบินไปไหนมาไหน มันยังต้องเกาะอยู่นิ่งๆ โดยแผ่ปีกออกเล็กน้อย อีกราว 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปีกของมันแห้งเต็มที่ มันจึงจะบินไปไหนมาไหนได้ สำหรับการขยายปีกของมันนั้น ใช้เวลาเพียง 20 นาทีเท่านั้น ปีกของมันก็กางออกเต็มที่แล้ว
ข้อมูลจาก
www.savebutterfly.com
วัฏจักรชีวิตของกบ
การเจริญเติบโตของกบ เมื่อไข่กบมีการปฏิสนธิแล้ว จะฟักออกจากไข่เป็นลูกอ๊อดแล้วเจริญเติบโตเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็นกบ ขั้นตอนการเจริญเติบโตของกบ คือ
1.ไข่กบ มีลักษณะเป็นเม็ดกลม มีสีน้ำตาลปนเขียว เกาะกันเป็นแพลอยปริ่มน้ำ กลุ่มละประมาณ 50 - 150 ฟอง ถ้ามีอุณหภูมิพอเหมาะ ไข่กบที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้วจะฟักเป็นตัวภายใน 3 วัน
2. ลูกอ๊อด มีลักษณะคล้ายลูกปลา หัวโต หางยาว และหายใจด้วยเหงือก
3. กบ อาศัยอยู่บนบก หายใจด้วยปอด มีขา 2 คู่ คือ ขาหน้า 1 คู่ ขาหลัง 1 คู่ เมื่อขาของกบงอกจนครบแล้ว หางก็จะหดหายไป
กบที่พบในประเทศไทยนั้นมีถึง 34 ชนิด และในต่างประเทศอีกหลายชนิด ซึ่งรวมแล้วไม่น้อยกว่า 100 ชนิด กบบางชนิดมีขนาดที่ใหญ่มาก บางชนิดมีขนาดปานกลาง และบางชนิดก็มีขนาดเล็ก แตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ ตัวอย่างกบที่นิยมเลี้ยง เช่น
1. กบนา ( Rana tigerina Daudin) เป็นกบขนาดกลางค่อนข้างใหญ่ ตัวที่โตเต็มที่ยาวประมาณ 5 นิ้ว ขนาด ประมาณ 4 ตัวต่อกิโลกรัม
2. กบบัว (Rana rugulosa Wiegmann) เป็นกบขนาดกลางตัวที่โตเต็มที่ยาวประมาณ 5 นิ้ว ขนาดประมาณ 6 ตัวต่อ 1 กิโลกรัม
3. กบภูเขา หรือเขียดแลว (Rana bythii Boulenaer) เป็นกบพื้นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวที่โตเต็มที่ขนาดประมาณ 3 กิโลกรัม ขึ้นไป ชาวบ้านเรียกกันอีกชี่อหนึ่งว่า กบคลอง พบมากแถบภาคเหนือและภาคใต้
4. กบบูลฟรอค (Rana catesbeiana show) เป็นกบที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เข้าใจว่าใหญ่ที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา โตเต็มที่มีน้ำหนักมากกว่า 1 กิโลกรัมขึ้นไป ตัวที่โตมีความยาวถึง 8 นิ้ว
กบเป็นสัตว์ที่มีประโยชน์ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ดังนี้1) ช่วยกินแมลงที่เป็นศัตรูพืช และกินปูนาซึ่งคอยทำลายต้นข้าวในนาข้าวให้เสียหาย2) เนื้อกบเป็นอาหารของคนได้ ส่วนหนังกบใช้ทำเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น กระเป๋า รองเท้า และเครื่องดนตรี
ปัจจุบัน ได้มีการส่งเสริมการเลี้ยงกบเป็นอาชีพ เพื่อนำกบมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังเป็นการช่วยอนุรักษ์ และเพิ่มปริมาณกบในธรรมชาติอีกด้วย
การขยายพันธุ์สัตว์ : การผสมเทียมปลา
อาศัยหลักการผสมระหว่างเซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้และตัวเมีย โดยไม่รอการผสมตามธรรมชาติ หากแต่ใช้วิธีรีดน้ำเชื้อจากตัวผู้ แล้วนำไปฉีดเข้าในอวัยวะสืบพันธุ์ของสัตว์ตัวเมียในช่วงเวลาที่ เป็นสัด คือระยะที่ไข่สุก ตัวอสุจิเข้าไปผสมกับไข่ทำให้เกิดการปฏิสนธิ สัตว์ตัวเมียก็จะตั้งท้อง
หลักการผสมเทียม
1.การรีดเก็บน้ำเชื้อ ทำได้โดยใช้เครื่องมือช่วยกระตุ้นให้ตัวผู้หลั่งน้ำเชื้อออกมา โดยต้องพิจารณาถึง อายุ ความสมบูรณ์ของตัวผู้ ระยะเวลาที่เหมาะสม และวิธีการซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์ เช่น ไก่ สุกร โค และต้องฝึกให้พ่อพันธุ์เชื่องต่อการรีดน้ำเชื้อด้วยเช่นกัน
2.การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อ เพื่อตรวจหาปริมาณของตัวอสุจิ และการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อดูความแข็งแรง อัตราตัวเป็นและตัวตาย
3.การละลายน้ำเชื้อ เป็นการเติมน้ำยาเลี้ยงเชื้อลงในน้ำเชื้อ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำเชื้อให้เพียงพอ ในการแบ่งฉีดให้กับตัวเมียหลาย ๆ ตัว น้ำยาเลียงเชื้อที่เติม เช่น ไข่แดง Sodium citrate ยาปฏิชีวนt
4.การเก็บรักษาน้ำเชื้อ มี 2 แบบคือ น้ำเชื้อสด หมายถึงน้ำเชื้อที่ละลายแล้ว และเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 4-5 องศาเซลเซียส จะอยู่ได้นานเป็นเดือน แต่ถ้าเก็บที่ อุณหภูมิ 15-20 องศาเซลเซียส จะเก็บได้นานประมาณ 4 วัน อีกชนิดคือ ส่วนน้ำเชื้อแช่แข็ง หมายถึงน้ำเชื้อที่นำไปทำให้เย็นจนแข็ง แล้วนำไปเก็บไว้ในไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส สามารถ เก็บได้นานเป็นปี
5.การฉีดน้ำเชื้อ สัตว์ตัวเมียที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นแม่พันธุ์ ที่จะได้รับการฉีดน้ำเชื้อ จะต้องอยู่ในวัยที่ผสมพันธุ์ได้ การฉีดน้ำเชื้อ ต้องฉีดในระยะที่ตัวเมียเป็นสัด ซึ่งเป็นระยะไข่สุก สังเกตได้โดย สัตว์จะเบื่ออาหาร กระวนกระวาย ร้องบ่อย มีน้ำเมือกไหลที่อวัยวะสืบพันธุ์ และไล่ขี่ตัวอื่น หรือยอมให้ตัวอื่นขึ้นทับ
หรือ
การผสมเทียม
การผสมเทียม หมายถึง การทำให้เกิดการปฏิสนธิระหว่างไข่กับอสุจิ ที่มนุษย์เป็นผู้ทำให้เกิดการปฏิสนธิ โดยนำน้ำเชื้ออสุจิจากสัตว์ตัวผู้ที่เป็นพ่อพันธุ์ไปผสมกับไข่ของสัตว์ตัวเมียที่เป็นแม่พันธุ์ โดยที่สัตว์ไม่ต้องมีการผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติ
การผสมเทียมสามารถทำได้กับสัตว์ทั้งที่มีการปฏิสนธิภายนอกร่างกายของสัตว์ เช่น การผสมเทียมปลา และการปฏิสนธิภายในร่างกายของสัตว์ เช่น โค กระบือ สุกร แพะ แกะ
การผสมเทียมสัตว์ที่มีการปฏิสนธิภายในร่างกาย
สัตว์ที่มีการปฏิสนธิในร่างกายของสัตว์ ที่นิยมการผสมเทียม ได้แก่ โค กระบือ สุกร แพะ แกะ มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้
1. การรีดน้ำเชื้อ เป็นการรีดน้ำเชื้ออสุจิจากสัตว์พ่อพันธุ์ที่ดี มีความแข็งแรงสมบูรณ์ และมีอายุพอเหมาะ โดยใช้เครื่องมือสำหรับรีดน้ำเชื้อโดยเฉพาะ
2. การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อ เป็นการตรวจสอบความสมบูรณ์ของน้ำเชื้อที่รีดได้ว่ามีปริมาณของตัวอสุจิมากพอแก่การผสมเทียม และมีความแข็งแรงเพียงพอแก่การนำมาใช้หรือไม่
3. การเก็บรักษาน้ำเชื้อ เป็นการเก็บรักษาน้ำเชื้อก่อนที่จะนำไปใช้ โดยจะมีการเติมอาหารลงในน้ำเชื้อเพื่อให้ตัวอสุจิได้ใช้เป็นอาหารตลอดช่วงที่เก็บรักษาและเป็นการช่วยให้ปริมาณน้ำเชื้อมีมากขึ้น จะได้นำไปฉีดให้ตัวเมียได้หลาย ๆ ตัว หลังจากนั้นจะนำน้ำเชื้อที่เติมอาหารแล้วไปเก็บไว้ในอุณหภูมิต่ำ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. การเก็บน้ำเชื้อสด เป็นการเก็บน้ำเชื้อในสภาพของเหลวในที่อุณหภูมิ 4 - 5 องศาเซลเซียส จะช่วยให้น้ำน้ำเชื้อมีอายุอยู่ได้ประมาณหนึ่งเดือน แต่หากเก็บรักษาไว้ที่ อุณหภูมิ 15- 20 องศาเซียส จะเก็บรักษาได้ประมาณ 4 - 5 วัน เท่านั้น
2. การเก็บรักษาน้ำเชื้อแบบแช่แข็ง เป็นการเก็บน้ำเชื้อโดยแช่ไว้ในไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิ ต่ำ - 196 องศาเซียส จะทำให้น้ำเชื้ออยู่ในสภาพของแข็ง วิธีการเก็บแบบนี้จะช่วยให้สามารถเก็บไว้นานเป็นปี
3. การฉีดเชื้อให้แม่พันธุ์ เมื่อจะผสมเทียมจะนำเชื้อสด หรือน้ำเชื้อแช่แข็งออกมาปรับสภาพให้อยู่ในสภาพปกติ แล้วใช้กระบอกฉีดยาดูดน้ำเชื้อที่เตรียมไว้ฉีดเข้าไปในมดลูกของแม่พันธุ์ เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิ และตั้งท้อง
การผสมเทียมหมู
การผสมเทียมสัตว์ที่มีการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย
การผสมเทียมในสัตว์ที่มีการปฏิสนธิภายนอก นิยมทำกับสัตว์น้ำพวกปลา กุ้ง และหอย สำหรับการผสมเทียมปลานั้น ก่อนที่จะรีดน้ำเชื้อและไข่จากปลาพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์มาผสมกัน จะต้องมีการเตรียมพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ให้พร้อมที่จะผสมพันธุ์เสียก่อน โดยการฉีด " ฮอร์โมน " เพื่อกระตุ้นให้พ่อพันธุ์ผลิตน้ำเชื้อที่สมบูรณ์ และกระตุ้นให้ไข่ของแม่พันธุ์สุกเต็มที่ ซึ่งฮอร์โมนที่ใช้เป็นฮอร์โมนที่ได้จากต่อมใต้สมองของปลา หรืออาจจะใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ก็ได้ การผสมเทียมปลานั้นมีขั้นตอนที่สำคัญดังนี้
1. การรีดไข่จากแม่พันธุ์ เป็นการรีดไข่ออกจากท้องของปลาที่เป็นแม่พันธุ์
ลงในภาชนะรองรับ โดยนิยมฉีดฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองของปลาชนิดเดียวกัน
เข้าไปในตัวปลาแม่พันธุ์ก่อนเพื่อเร่งไข่ให้สุกเร็วขึ้น
2. การรีดน้ำเชื้อจากพ่อพันธุ์ เป็นการรีดน้ำเชื้อออกมาจากปลาตัวผู้ที่เป็นพ่อพันธุ์ ใส่ลงในภาชนะที่มีไข่ปลาที่รีดไว้แล้ว
3. การคนน้ำเชื้อให้ผสมกับไข่ เพื่อให้อสุจิเข้าผสมกับไข่อย่างทั่วถึงมักนิยมคนไข่ด้วยขนไก่อ่อน ๆ ให้ทั่วภาชนะแล้วทิ้งไว้สักครู่หนึ่งจึงถ่ายน้ำทิ้ง
4. นำไข่ปลาที่ผสมแล้วไปฟัก เป็นการฟักไข่ที่ผสมแล้วให้เป็นลูกปลา โดยนำไข่ที่ผสมแล้วไปฟักในบ่อหรือภาชนะที่เตรียมไว้ เพื่อให้ฟักเป็นตัวอ่อนของลูกปลาต่อไป
การผสมเทียมปลาดุก
ประโยชน์ของการผสมเทียมสัตว์
1. ประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะการรีดน้ำเชื้อแต่ละครั้ง สามารถละลายให้เจือจางและแบ่งไปผสมเทียมให้แม่พันธุ์จำนวนมาก
2. แก้ปัญหาข้อจำกัดต่างๆของการผสมพันธุ์ เช่น ระยะเวลาการผสมพันธุ์ ขนาดของพ่อพันธุ์ และแม่พันธุ์ที่แตกต่างกัน การผิดปกติในอวัยวะสืบพันธุ์ของแม่พันธุ์ เป็นต้น
3. ได้ลูกรุ่นใหม่ที่มีลักษณะที่ดี ตามความต้องการ
4. ป้องกันโรคติดต่อ โรคระบาดได้และการติดเชื้อ
ที่มา
http://learners.in.th/blog/science3/50380
การขยายพันธุ์พืช : การตอนกิ่ง (Layering)
การตอนกิ่ง เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชที่ใช้กันมานานและเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวสวนทั่วๆไป วิธีการตอนกิ่งที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นวิธีการที่ได้นำมาจากประเทศจีน แต่ได้ดัดแปลงไปบ้างเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติ ในยุโรปและอเมริกาก็มีวิธีขยายพันธุ์พืชด้วยการตอนกิ่งเช่นเดียวกัน แต่วิธีการในการตอนกิ่งผิดไปจากวิธีที่รู้จักกันดีในบ้านเราและเรามักเรียกวิธีการตอนกิ่งแบบยุโรปว่า "การตอนทับกิ่ง"
ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะการตอนกิ่งแบบชาวจีน หรือการตอนกิ่งแบบตอนหุ้มกิ่ง ซึ่งมีวิธีการตอนหุ้มกิ่งหลายแบบ
ไม่ว่าจะเป็นการตอนกิ่งแบบชาวจีน หรือการตอนทับกิ่งแบบชาวยุโรป โดยหลักการในการ ตอนต้นพืชแล้วก็คือ การทำให้ต้นหรือกิ่งพืชออกรากขณะที่ยังติดอยู่กับต้นแม่ หลังจากต้นหรือกิ่งพืชออกรากดีแล้วจึงตัดไปปลูกภายหลัง ฉะนั้นโอกาสของการที่กิ่งพืชจะมีชีวิตอยู่รอด จึงดีกว่าการขยายพันธุ์ด้วยการตัดชำ แต่ก็มีข้อเสียอยู่ที่ว่าขยายได้ช้ากว่า
ด้วยเหตุนี้ถ้าต้องการต้นพืชจำนวนมากๆ แล้วมักจะไม่ใช้การขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง เว้นแต่ต้นพืชนั้นจะขยายพันธุ์ไม่ได้ด้วยการตัดชำ หรือออกรากยากกว่าการตอนกิ่งเท่านั้น การตอนกิ่งแบบชาวจีน หรือแบบที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นวิธีที่ใช้ในการตอนกิ่งพืชพวกไม้พุ่ม และไม้ยืนต้นเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งพืชพวกไม้ผลและไม้ประดับ เช่น ลำไย ลิ้นจี่ ละมุด ส้มเขียวหวาน ส้มโอ กระท้อน กุหลาบ มะลิ ดอนย่า เป็นต้น
ขั้นตอนการตอนกิ่ง
ส่วนวิธีการตอนนั้นปฏิบัติเป็นขั้นๆ ดังนี้
ก. การเลือกกิ่ง กิ่งหรือต้นพืชที่จะตอนจะต้องเป็นกิ่งไม่อ่อนและไม่แก่เกินไป ใบงาม ไม่มีโรคหรือแมลงทำลาย ได้รับแสงแดดสม่ำเสมอ โดยปกติมักจะเลือกกิ่งกระโดง ซึ่งอาจจะเป็นกิ่งกระโดงตั้ง หรือกระโดงครีบก็ได้
ข. การทำแผลบนกิ่ง การทำแผลบนกิ่งจะขึ้นอยู่กับชนิดของพืช และความยากง่ายในการงอกราก ซึ่งบางพืชอาจไม่ต้องทำแผลเลยก็สามารถออกรากได้ ส่วนใหญ่มักเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น ต้นสาวน้อยประแป้ง พลูด่าง และพลูฉีก พืชบางชนิด อาจใช้วิธีกรีดเปลือกตามยาวของกิ่ง เช่น กุหลาบ ยี่โถ หรือพืชบางชนิดอาจปาดท้องกิ่ง เช่น ต้นชวนชม แต่มีบางชนิดที่ต้องควั่นกิ่งโดยเฉพาะพืชที่ออกรากยาก มีความจำเป็นที่จะต้องทำแผลโดยการควั่นกิ่ง เพราะการควั่นนอกจากจะทำให้เกิดบริเวณออกรากแล้ว ยังมีผลเกี่ยวกับกาสะสมธาตุอาหารรวมทั้งสารฮอร์โมน ให้เกิดขึ้นภายในกิ่งซึ่งจะมีผลดีในการออกรากด้วย ดังนั้นเพื่อความแน่นอนในเรื่องการออกราก ชาวสวนทั่วไปจึงใช้วิธีการทำแผลด้วยการควั่นกิ่งแทบทั้งสิ้น
ค. การทาฮอร์โมน การใช้ฮอร์โมนเร่งรากทาบริเวณที่ทำแผล หรือบริเวณที่กิ่งจะเกิดราก จะช่วยให้กิ่งพืชเกิดรากดีขึ้น คือ มีรากมากขึ้น รากเจริญเร็วขึ้น และอาจออกรากเร็วขึ้น การทาฮอร์โมนปกติจะทาเฉพาะบริเวณที่จะเกิดรากเท่านั้น เช่น บริเวณที่เป็นรอยกรีด หรือรอยปาด หรือรอยควั่นตอนบนเท่านั้น และการที่จะใช้ฮอร์โมนตอนต้นพืชฃชนิดใดนั้น ควรจะได้ศึกษาหรือทดลองมาก่อนเพราะต้นพืชแต่ละชนิดออกรากยากง่ายต่างกัน โดย ปกติต้นพืชที่ออกรากไม่ยาก อาจใช้ฮอร์โมนชนิดอ่อนหรือที่มีความเข้มข้นน้อยๆ ก็เพียงพอ ส่วนต้นพืชที่ออกรากยากๆ จำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนแรงๆ หรือที่เข้มข้นมากๆ ตามลำดับ การใช้ฮอร์โมนที่ตรงกันข้ามกับที่กล่าวนี้ นอกจากจะไม่ได้ผลดีขึ้นแล้ว ยังเป็นการทำลายกิ่งพืชที่ตอน และทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกด้วย
ง. การหุ้มกิ่งตอน วัตถุที่จะใช้หุ้มกิ่งตอนอาจใช้วัตถุต่างๆ ได้หลายอย่าง ข้อสำคัญก็คือวัตถุนั้นๆ ต้องอมความชื้นได้พอ ไม่เป็นพิษกับกิ่งพืช มีราคาถูก และหาได้ง่าย เช่น หญ้ามอสส์ (sphagnum moss) กาบมะพร้าวชุบน้ำ ปุยมะพร้าวผ้ากระสอบป่าน หรือรากผักตบชวา แม้กระทั่งดินธรรมดาๆ ทั่วๆ ไปใช้ก็ได้ แต่วัตถุที่นิยมใช้จะ ต้องสะดวกต่อการหุ้ม เช่น ใช้กาบมะพร้าวชุ่มน้ำทุบให้แผ่ ตัดเป็นท่อนให้พอเหมาะกับขนาดกิ่งตอนซึ่งเมื่อจะหุ้มก็จะสามารถหุ้มกิ่งได้ง่าย ส่วนการหุ้มอาจใช้วัตถุชนิดเดียว เช่น หญ้ามอสส์ล้วนๆ หรือกาบมะพร้าวล้วนๆ หรืออาจใช้ดินหุ้มก่อนแล้วหุ้มหญ้ามอสส์ หรือกาบมะพร้าวอีกชั้นหนึ่งก็ได้ ข้อสำคัญก็คือ ต้องพันหรือหุ้มวัตถุหุ้มกิ่งให้แน่นพอสมควร อย่าให้หมุนหรือคลอนไปมาได้ง่าย และพยายามหุ้มให้กลางกระเปาะวัตถุที่หุ้มอยู่ตรงกับบริเวณที่ออกรากด้วย
จ. การรักษาความชื้น หลังจากตอนกิ่งแล้วโดยเฉพาะราว ๓-๕ วัน จากที่หุ้มกิ่ง จะต้องรดน้ำกระเปาะตอนหรือมัดวัตถุหุ้มกิ่งที่ตอนนั้นให้ชื้นสม่ำเสมอในการรักษาความชื้นนี้อาจใช้วิธีรดน้ำกระเปาะที่ตอนทุกวัน หรือใช้วิธีรดทั้งต้นแบบฝนตก แต่ที่สะดวกก็คือใช้ผ้าพลาสติกหุ้มให้มิด ทั้งนี้เพื่อมิให้น้ำจากกระเปาะวัตถุนั้นระเหยออกมาได้ การหุ้มผ้าพลาสติกกระเปาะที่ตอนแล้ว ควรจะได้หุ้มเสียแต่ตอนแรกขณะที่วัตถุนั้นยังชื้นอยู่ ซึ่งการหุ้มพลาสติกในทำนองนี้จะช่วยให้กระเปาะกิ่งตอนชื้นอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งกิ่งออกราก อย่างไรก็ตามในระหว่างรอการออกราก ควรจะได้ตรวจดูกระเปาะตอนบ้าง เพราะอาจมีมดกัดผ้าพลาสติกให้เป็นรู ทำให้กระเปาะตอนแห้งได้ การแก้ไขก็คือใช้เข็มฉีดยา ฉีดน้ำเข้าไปในกระเปาะตอนราว ๕-๗วันต่อครั้ง จนกว่ากิ่งจะออกรากมากพอและตัดมาปลูกได้
ฉ. การตัดกิ่งตอน เมื่อถึงเวลาอันควร กิ่งพืชที่ตอนไว้ก็จะเกิดราก เวลาของการออกรากนี้จะมากน้อยต่างกัน พวกไม้ประดับทั่วๆ ไปจะออกรากเร็วกว่าพวกไม้ผล แต่ไม้ผลแต่ละชนิดก็จะใช้เวลาในการออกรากแตกต่างกัน เช่น ชมพู่จะออกรากเร็วกว่าส้ม ส้มเร็วกว่าละมุด เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่จะใช้เวลาไม่เกิน ๓ เดือน ในการตัดกิ่งตอนจะต้องดูจำนวนรากว่ามีรากมากพอหรือยัง และควรจะรอให้รากมีจำนวนมากพอได้สัดส่วนกับขนาดของกิ่งและใบ ซึ่งถ้ากิ่งยิ่งโตมีใบมากก็ต้องเป็นกิ่งที่มีรากมาก มิฉะนั้นรากจะดูดน้ำไปเลี้ยงใบไม่ทันกิ่งก็จะแห้งเหี่ยวตายไปในที่สุด หรือมิฉะนั้นก็จะต้องตัดกิ่งและใบทิ้งเสียบ้าง อย่างไรก็ตาม พวกไม้ดอกหรือไม้ประดับ ซึ่งรากมักเจริญได้เร็วหลังจากตัดกิ่งแล้ว เช่น กุหลาบ ดอนย่า ฯลฯ อาจตัดกิ่งได้เมื่อรากยังมีไม่มากนัก เพราะต้นพืชจะสร้างรากได้ไวหลังจากตัดมาปลูกแล้ว ส่วนพืชพวกไม้ผล จะต้องรอให้กิ่งมีรากมากพอ หรืออย่างน้อยจะต้องรอให้มีแขนงรากเกิดขึ้นให้มากพอ ฉะนั้นการตัดกิ่งตอนพวกไม้ผล จึงจำเป็นต้องใช้เวลายาว นานกว่าไม้ประดับโดยทั่วไป
ซ. การปลูกกิ่งตอน กิ่งตอนที่ตัดได้อาจมีจำนวนรากมากน้อยต่างกัน เพื่อป้องกันการเสียหายซึ่งอาจจะเกิดขึ้น ควรจะได้คัดกิ่งตอนออกเป็นพวกๆ ตามความมากน้อยของรากเสียก่อน คือ คัด กิ่งที่มีรากมากและรากน้อยออกคนละพวก พวกที่มีรากมากอาจปลูกลงกระถางหรือลงถุงปลูกได้ทันทีส่วนพวกที่รากยังไม่มากพอ ควรจะได้ตัดแต่งกิ่งและใบออกเสียบ้าง แล้วนำไปชำรวมกันไว้ในกระบะหรือภาชนะที่เหมาะสม เพื่อรอให้รากเกิดมากขึ้นจึงจะนำไปปลูกภายหลัง ข้อสำคัญในการปลูกกิ่งตอน คือ อย่าปลูกให้ลึกโดยเฉพาะในการใช้วัตถุปลูกที่ทึบหรืออับอากาศ เช่น ดินเหนียว เป็นต้นเพราะจะทำให้รากเจริญช้า ควรจะปลูกให้กระเปาะฃตอนโผล่พ้นดินปลูกเล็กน้อย ประมาณหนึ่งในสี่ของกระเปาะตอน จากนั้นจึงนำกระถางปลูกไปตั้งไว้ในที่ร่มรำไร คือ ที่ที่มีแสงแดดส่องเล็กน้อย คอยพรมน้ำให้ใบกิ่งตอนชื้นอยู่เสมอๆ แต่ไม่ควรรดน้ำจนดินปลูกแฉะ และหลังจากยอดเริ่มเจริญหรือแตกยอดใหม่จึงเพิ่มแสงแดดให้มากขึ้น
ที่มา
http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=37300.0
การงอกของเมล็ด
การงอกของเมล็ด
1. การงอกของเมล็ดพืช
ก. การงอกของเมล็ดพืช หมายถึง การเริ่มต้นเจริญเติบโต หรือกลับคืนเข้าสู่สภาพของการเจริญเติบโตครั้งใหม่ โดยที่เอ็มบริโอจะต้องอยู่ในสภาพดันระยะพักตัวแล้วจึงเจริญเติบโตงอกออกจากเมล็ด
การพักตัวของเมล็ดพืช ( dormancy ) เมล็ดพืชมีระยะพักตัวต่าง ๆ กันตามชนิดของพทช บางชนิดไม่มีระยะพักตัวเลย
การพักตัวของเมล็ดอาจจะเนื่องจากสาเหตุหลายประการคือ
1. เมล็ดพืชบางชนิเดมีเปลือกเข็งหรือเหนียวมาก น้ำและออกซิเจนไม่สามารถผ่านเข้าไปในเมล็ดได้ แต่ในสภาพธรรมชาติเปลือกเมล็ดจะค่อยๆ ผุกร่อนไป
2. เมล็ดพืชบางชนิดมีสารยับยั้งการงอกเคลือบอยู่ที่ผิวนอกและในสภาพธรรมชาติเมล็ดพืชนี้จะงอกได้ก็ต่อเมื่อสารที่เคลือบเมล็ดหลุดออกไป เช่น เมล็ดมะเขือเทศ เมล็ดฟัก
3. สภาพเอ็มบริโอภายในเมล็ด ยังไม่เจริญเต็มที่ หรืออยู่ในสภาพที่ยังไม่พร้อมที่จะเจริญต่อไป เมล็ดที่มีสภาพเป็นเอ็มบริโอ เช่นนี้จะต้องการระยะเวลาหนึ่ง เพื่อปรับสภาพทางสรีระ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
ข. ลักษณะการงอกของเมล็ดพืช
ต้นอ่อนส่วนที่งอกพ้นเปลือกหุ้มเมล็ดออกมาเป็นส่วนแรกคือ แรดิเคิล โดย แทงทะละออกมาทางไมโครไพล์ แล้วเจริญลงสู่ดิน กลายเป็นราก ( primary root ) และจะมีรากชุดสอง ( secondary root ) แตกออกไปเพื่อช่วยค้ำจุน
การงอกของเมล็ดพืชชนิดต่าง ๆ มีลักษณะแตกต่างกันเป็น 2 แบบคือ
1. การงอกที่ใบเลี้ยงชูขึ้นมาเหนือดิน ( epigeal germination )
เป็นลักษณะการงอกที่มีการชูใบขึ้นมาเหนือดิน โดยเมื่อรากอ่อนหรือแรดิเคิลงอกโผล่พ้นเมล็ดออกทางไมโครไพล์เจริญลงสู่พื้นดินก่อน จากนั้นไฮโพคอทิลจะเจริญอย่างรวดเร็วงอกตามออกมา
2. การงอกที่ใบเลี้ยงจมอยู่ใต้ดิน ( hypogeal germination )
เป็นลักษณะการงอกที่เมื่องอกแล้วคงทิ้งใบเลี้ยงจมอยู่ใต้ดิน เนื่องจากพืชพวกนี้มีไฮโพคอลิทสั้น เจริญช้า ในขณะที่เอพิคอทิลและยอดอ่อนเจริญยืดยาวได้อย่างรวดเร็วและโผล่ขึ้นเหนือดินโดยไม่ดึงให้ใบเลี้ยงกับไฮโพคอทิลขึ้นมาด้วย
2. ปัจจัยในการงอกของเมล็ดพืช
ปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด คือ
1. ความชื้นหรือน้ำ เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากเนื่องจาก
- น้ำช่วยให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนลง เนื้อเยื่อภายในเมล็ดขยายขนาดใหญ่ขึ้น
- น้ำช่วยให้แก๊สออกซิเจนผ่านเข้าสู่เซลล์ของเอ็มบริโอได้ง่ายขึ้น
2. อุณหภูมิ อุณหภูมิมีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ที่จำเป็นต่อปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ ภายในพืช เมล็ดพืชแต่ละชนิดมีอุณหภูมิที่เหมาะสมในการงอกต่างกัน
3. ปริมาณออกซิเจน ที่ได้รับ ออกซิเจนมีความสำคัญต่อการงอกของเมล็ดมาก เพราะเอ็มบริโอต้องการพลังงานเพี่อใช้ในกระบวนการเจริญเติบโต
4. แสงสว่าง โดยทั่วไปแสงสว่างไม่จำเป็นต่อการงอกนัก ยกเว้นในพืชบางชนิดเท่านั้น เช่น ยาสูบ ไทร
5. ความแก่ของเมล็ดพืช เมล็ดพืชบางชนิดเมื่อเก็บเกี่ยวมาใหม่ ๆ และนำไปเพาะหรือปลูกทันทีจะไม่งอกแม้จะมีสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เหมาะสมต่อการงอกก็ตาม
6. เมล็ดต้องมีชีวิตอยู่ โดยปกติเมล็ดพืชที่แก่เต็มที่จะมีความชื้นต่ำ ประมาณ ร้อยละ 10-15 มีอัตราการหายใจต่ำ มีการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ภายในเมล็ดน้อยมาก ถ้าไม่ได้รับน้ำ แก๊สออกซิเจน และอุณหภูมิที่เหมาะสม เมล็ดจะไม่งอกหรือไม่เจริญเติบโต
3. ความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์พืช
เมล็ดพืชดอกนอกจากจะมีความสำคัญต่อการดำรงพันธุ์ของพืชมากแล้วยังมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ โดยเป็นแหล่งอาหารสำคัญและมีความสำคัญต่อการเพาะปลูก ใช้เมล็ดใน การขยายพันธุ์ พืช เช่น พืชพวกข้าว ถั่ว ข้าวโพด เป็นต้น
ก. การผลิตเมล็ดพันธุ์พืช
1. ชนิดของพืช เมล็ดพืชต้องมีสมบัติตรงตามพันธุ์ซึ่งผ่านการตรวจคุณภาพแล้ว
2. สถานที่ผลิตเมล็ดพันธุ์พืชนั้น ควรมีสภาพภูมิอากาศเหมาะสมกับพืชชนิดนั้น และดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง
3. มีวิธีการเก็บเกี่ยวเมล็ดพืชที่มีประสิทธิภาพ
4. ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคพืชและแมลง
5. มีกระบวนการหรือขั้นตอนการลดความชื้นของเมล็ดอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
6. มีการตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์
ข. การตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์พืช
การตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ หมายถึง การตรวจสอบดูความสามารถในการงอกได้อย่างรวดเร็ว สม่ำเสมอ และตั้งตัวได้ดีเมื่อนำไปปลูก
ค. ความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์พืช ( seed vigour ) หมายถึง ลักษณะรวม ๆ หลายประการของเมล็ด อันเป็นลักษณะเด่นที่เมล็ดสามารถแสดงออกมา และเมื่อนำเมล็ดนั้นไปเพาะในสภาวะแวดล้อมที่แปรปรวนและไม่เหมาะสมแล้ว เมล็ดที่มีความแข็งแรงสูงจะสามารถงอกได้ดีนื้อเยื่อ 3 ชั้น ด้วยกัน และแต่ละชั้นจะเจริญไปเป็นส่วนต่าง ๆ ของผล
4. การกระจายพันธุ์พืช
ถ้าเมล็ดและผลของพืชตกอยู่ในบริเวณเดียวกันกับต้นเดิม เมื่อมีการงอกและเจริญเป็นต้นใหม่ขึ้นมาจะเกิดการแย่งอาหาร แสงแดด และอื่น ๆ อีก ย่อมมีผลต่อการเจริญเติบโต ด้วยเหตุนี้ พืชจึงมีวิธีกระจายพันธุ์พืชให้ไปไกล ๆ จากบริเวณต้นเดิม
ดูวีดีโอการงอกของต้นถั่ว
การงอกของเมล็ดข้าวโพด
ที่มา
http://203.113.101.214/biology/BioText/Student/BE2542/STUD2542/s643/m05/flower5.htm
วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553
สัตว์ป่าสงวน 15 ชนิด (ตอนจบ)
Muntiacus feai
ลักษณะ : เก้งหม้อมีลักษณะโดยทั่วไป คล้ายคลึงกับเก้งธรรมดา ขนาดลำตัวไล่เลี่ยกัน เมื่อโตเต็มที่น้ำหนักประมาณ ๒๐ กิโลกรัม แต่เก้งหม้อจะมีสีลำตัวคล้ำกว่าเก้งธรรมดา ด้านหลังสีออกน้ำตาลเข้ม ใต้ท้องสีน้ำตาลแซมขาว ขาส่วนที่อยู่เหนือกีบจะมีสีดำ ด้านหน้าของขาหลังมีแถบขาวเห็นได้ชัดเจน บนหน้าผากจะมีเส้นสีดำอยู่ด้านในระหว่างเขา หางสั้นด้านบนสีดำตัดกับสีขาวด้านล่างชัดเจน
อุปนิสัย : เก้งหม้อชอบอาศัยอยู่เดี่ยว ในป่าดงดิบ ตามลาดเขา จะอยู่เป็นคู่เฉพาะฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น ออกหากินในเวลากลางวันมากกว่าในเวลากลางคืน อาหารได้แก่ ใบไม้ ใบหญ้า และผลไม้ป่า ตกลูกครั้งละ ๑ ตัว เวลาตั้งท้องนาน ๖ เดือน
ที่อยู่อาศัย : ชอบอยู่ตามลาดเขาในป่าดงดิบและหุบเขาที่มีป่าหนาทึบและมีลำธารน้ำไหลผ่าน
เขตแพร่กระจาย : เก้งหม้อมีเขตแพร่กระจาย อยู่ในบริเวณตั้งแต่พม่าตอนใต้ลงไปจนถึงภาคใต้ตอนบน ของประเทศไทยเท่านั้น ในประเทศไทยพบในบริเวณเทือกเขาตะนาวศรีลงไปจนถึงเทือกเขาภูเก็ต ในบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง ในจังหวัดระนอง สุราษฎร์ธานีและพังงา
สถานภาพ : องค์การสวนสัตว์ ได้ประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงเก้งหม้อมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๘ ในปัจจุบันเก้งหม้อจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย และองค์การ IUCN จัดเก้งหม้อให้เป็นสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์หมดไปจากประเทศ เนื่องจากมีเขตแพร่กระจายจำกัด และที่อยู่อาศัยถูกทำลายหมดไปเพราะการตัดไม้ทำลายป่า การเก็บกักน้ำเหนือเขื่อนและการล่าเป็นอาหาร เก้งหม้อเป็นเนื้อที่นิยมรับประทานกันมาก
พะยูนหรือหมูน้ำ
Dugong dugon
ลักษณะ : พะยูนจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในน้ำ มีลำตัวเพรียวรูปกระสวย หางแยกเป็นสองแฉก วางตัวขนานกับพื้นในแนวราบ ไม่มีครีบหลัง ปากอยู่ตอนล่าง ของส่วนหน้าริมฝีปากบนเป็นก้อนเนื้อหนา ลักษณะเป็นเหลี่ยมคล้ายจมูกหมู ตัวอายุน้อยมีลำตัวออกขาว ส่วนตัวเต็มวัยมีสีชมพูแดง เมื่อโตเต็มวัยจะมีน้ำหนักตัวประมาณ ๓๐๐ กิโลกรัม
อุปนิสัย : พะยูนอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว หลายครอบครัวจะหากินเป็นฝูงใหญ่ ออกลูกครั้งละ ๑ ตัว ใช้เวลาตั้งท้องนาน ๑๓ เดือน และจะโตเต็มที่เมื่อมีอายุ ๙ ปี
ที่ยู่อาศัย : ชอบอาศัยหากินพืชจำพวกหญ้าทะเลตามพื้นท้องทะเลชายฝั่ง ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน
เขตแพร่กระจาย : พะยูนมีเขตแพร่กระจาย ตั้งแต่บริเวณชายฝั่งตะวันออกของทวีปอาฟริกา ทะเลแดง ตลอดแนวชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียไปจนถึงประเทศฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และตอนเหนือของออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบไม่บ่อยนัก ทั้งในบริเวณอ่าวไทยแถบจังหวัดระยอง และชายฝั่งทะเลอันดามัน แถบจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง สตูล
สถานภาพ : ปัจจุบันพบพะยูนน้อยมาก พยูนที่ยังเหลืออยู่จะเป็นกลุ่มเล็กหรืออยู่โดดเดี่ยว บางครั้งอาจจะเข้ามาจากน่านน้ำของประเทศใกล้เคียง พะยูนจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย และจัดโดยอนุสัญญา CITES ไว้ใน Appendix I
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : เนื่องจากพะยูนถูกล่าเพื่อเป็นอาหาร ติดเครื่องประมงตาย และเอาน้ำมันเพื่อเอาเป็นเชื้อเพลิง ประกอบกับพะยูนแพร่พันธุ์ได้ช้ามาก นอกจากนี้มลพิษที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมตามชายฝั่งทะเล ได้ทำลายแหล่งหญ้าทะเล ที่เป็นอาหารของพยูนเป็นจำนวนมาก จึงน่าเป็นห่วงว่าพะยูนจะสูญสิ้นไปจากประเทศในอนาคตอันใกล้นี้
เลียงผา,เยือง,กูรำ,โครำ
Capricornis sumatraensis
ลักษณะ : เลียงผาเป็นสัตว์จำพวกเดียวกับ แพะและแกะ เมื่อโตเต็มที่มีความสูงที่ไหล่ประมาณ ๑ เมตร ขายาวและแข็งแรง ใบหูยาวคล้ายใบหูลา ขนตามลำตัวค่อนข้างยาว หยาบและมีสีดำ ด้านท้องขนสีจางกว่า มีขนเป็นแผงยาวบนสันคอและสันหลัง มีเขาทั้งในตัวผู้และตัวเมีย เขามีลักษณะตอนโคนกลม หยักเป็นวงแหวนโดยรอบค่อยๆ เรียวไปทางปลายเขาโค้ง ไปทางด้านหลังเล็กน้อย
อุปนิสัย : ในเวลากลางวันจะพักอาศัยอยู่ในถ้ำ หรือในพุ่มไม้ ออกหากินในตอนเย็นถึงพลบค่ำ และในเวลาเช้ามืด อาหารได้แก่พืชต่างๆ ทุกชนิด เลียงผามีประสาทหู ตา และรับกลิ่นได้ดี ผสมพันธุ์ในช่วงปลายเดือนตุลาคม ตกลูกครั้งละ ๑-๒ ตัว ใช้เวลาตั้งท้องราว ๗ เดือน ในที่เลี้ยง เลียงผามีอายุยาวกว่า ๑๐ ปี
ที่อาศัย : เลียงผาอาศัยอยู่ตามภูเขาที่มีหน้าผาสูงชันมีป่าปกคลุม
เขตแพร่กระจาย : เลียงผามีเขตแพร่กระจาย ตั้งแต่แคว้นแคชเมียร์ มาตามเทือกเขาหิมาลัยจนถึงแคว้นอัสสัม จีนตอนใต้ พม่า อินโดจีน มลายู และสุมาตรา ในประเทศไทยพบอาศัยอยู่ตามภูเขาสูงในหลายภูมิภาคของประเทศ เช่น เทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาถนนธงชัย เทือกเขาเพชรบูรณ์ และภูเขาทั่วไปในบริเวณภาคใต้ รวมทั้งบนเกาะในทะเลที่อยู่ไม่ห่างจากแผ่นดินใหญ่มากนัก
สถานภาพ : เลียงผาจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย และอนุสัญญา CITES จัดเรียงผาไว้ใน Appendix I
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : ในระยะหลังเลียงผามีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการล่าอย่างหนักเพื่อเอาเขา กระดูก และน้ำมันมาใช้ทำยาสมานกระดูก และพื้นที่หากินของเลียงผาลดลงอย่างรวดเร็ว จากการทำการเกษตรตามลาดเขา และบนพื้นที่ที่ไม่ชันจนเกินไป
ข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ป่าสงวนทั้งหมดจาก
http://www.dusitzoo.org/index.php?option=com_content&task=view&id=64&Itemid=39
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
สัตว์ป่าสงวน 15 ชนิด (ตอนที่ 4)
Grus antigone
ลักษณะ : เป็นนกขนาดใหญ่เมื่อยืนมีขนาดสูงราว ๑๕๐ เซนติเมตร ส่วนหัวและคอไม่มีขนปกคลุม มีลักษณะเป็นปุ่มหยาบสีแดง ยกเว้นบริเวณกระหม่อมสีเขียวอมเทา ในฤดูผสมพันธุ์มีสีแดงส้มสดขึ้นกว่าเดิม ขนลำตัวสีเทาจนถึงสีเทาแกมฟ้า มีกระจุกขนสีขาวห้อยคลุมส่วนหาง จะงอยปากสีออกเขียว แข้งและเท้าสีแดงหรือสีชมพูอมฟ้า นกอายุน้อยมีขนสีน้ำตาลทั่วตัว บนส่วนหัวและลำคอมีขนสีน้ำตาลเหลืองปกคลุม ในประเทศไทยเป็นนกกระเรียนชนิดย่อย Sharpii ซึ่งไม่มีวงแหวนสีขาวรอบลำคอ
อุปนิสัย : ออกหากินเป็นคู่และเป็นกลุ่มครอบครัว กินพวกสัตว์ เช่น แมลง สัตว์เลื้อยคลาน กบ เขียด หอย ปลา กุ้งและพวกพืช เมล็ดข้าวและยอดหญ้าอ่อน ทำรังวางไข่ในฤดูฝนราวเดือนมิถุนายน ปกติวางไข่จำนวน ๒ ฟอง พ่อแม่นกจะเลี้ยงดูลูกอีกเป็นเวลาอย่างน้อย ๑๐ เดือน
ที่อยู่อาศัย : ชอบอาศัยตามทุ่งหญ้าที่ชื้นแฉะ และหนองบึงที่ใกล้ป่า
เขตแพร่กระจาย : นกกระเรียนชนิดย่อยนี้ มีเขตแพร่กระจายจากแคว้นอัสสัมในประเทศอินเดีย ประเทศพม่า ไทย ตอนใต้ลาว กัมพูชา เวียดนามตอนใต้ ถึงเมืองลูซุนประเทศฟิลิปปินส์ บางครั้งพลัดหลงไปถึงประเทศมาเลเซีย และยังมีประชากรอีกกลุ่มหนึ่งในรัฐควีนแลนด์ประเทศออสเตรเลีย
สถานภาพ : นกกระเรียนเคยพบอยู่ทั่วประเทศ ครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๗ พบ ๔ ตัว ที่วัดไผ่ล้อม จังหวัดปทุมธานี จากนั้นมีรายงานที่ไม่ยืนยันว่าพบนกกระเรียน ๔ ตัว ลงหากินในทุ่งนาอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๒๘
แมวลายหินอ่อน
Pardofelis marmorata
ลักษณะ : แมวลายหินอ่อนเป็นแมวป่าขนาดกลาง น้ำหนักตัวเมื่อโตเต็มที่ ๔-๕ กิโลกรัม ใบหูเล็กมนกลมมีจุดด้านหลังใบหู หางยาวมีขนหนาเป็นพวงเด่นชัด สีขนโดยทั่วไปเป็นสีน้ำตาลอมเหลือง มีลายบนลำตัวคล้ายลายหินอ่อน ด้านใต้ท้องจะออกสีเหลืองมากกว่า ด้านหลังขาและหางมีจุดดำ เท้ามีพังผืดยืดระหว่างนิ้ว นิ้วมีปลอกเล็บสองชั้น และเล็บพับเก็บได้ในปลอกเล็บทั้งหมด
อุปนิสัย : ออกหากินในเวลากลางคืน ส่วนใหญ่มักอยู่บนต้นไม้ อาหารได้แก่สัตว์ขนาดเล็กแทบทุกชนิดตั้งแต่แมลง จิ้งจก ตุ๊กแก งู นก หนู กระรอก จนถึงลิงขนาดเล็ก นิสัยค่อนข้าดุร้าย
ที่อยู่อาศัย : ในประเทศไทยพบอยู่ตามป่าดงดิบเทือกเขาตะนาวศรีและป่าดงดิบชื้น ในภาคใต้
เขตแพร่กระจาย : แมวป่าชนิดนี้มีเขตแพร่กระจายตั้งแต่ประเทศเนปาล สิกขิม แคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย ผ่านทางตอนเหนือของพม่า ไทย อินโดจีน ลงไปตลอดแหลมมลายู สุมาตราและบอร์เนียว
สถานภาพ : แมวลายหินอ่อนจัดเป็นสัตว์ป่าชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย และอนุสัญญา CITES จัดอยู่ใน Appendix I
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์: เนื่องจากแมวลายหินอ่อนเป็นสัตว์ที่หาได้ยาก และมีปริมาณในธรรมชาติค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับแมวป่าชนิดอื่นๆ จำนวนจึงน้อยมาก และเนื่องจากถิ่นที่อยู่อาศัยถูกทำลาย และถูกล่าหรือจับมาเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีราคาสูง จำนวนแมวลายหินอ่อนจึงน้อยลง ด้านชีววิทยาของแมวป่าชนิดนี้ยังรู้กันน้อยมาก
สมเสร็จ
Tapirus indicus
ลักษณะ : สมเสร็จเป็นสัตว์กีบคี่ เท้าหน้ามี ๔ เล็บ และเท้าหลังมี ๓ เล็บ จมูกและริมฝีปากบนยื่นออกมาคล้ายงวง ตามีขนาดเล็ก ใบหูรูปไข่ หางสั้น ตัวเต็มวัยมีน้ำหนัก ๒๕๐-๓๐๐ กิโลกรัม ส่วนหัวและลำตัวเป็นสีขาวสลับดำ ตั้งแต่ปลายจมูกตลอดท่อนหัวจนถึงลำตัว บริเวณระดับหลังของขาคู่หน้ามีสีดำ ท่อนกลางตัวเป็นแผ่นขาว ส่วนบริเวณโคนหางลงไปตลอดขาคู่หลัง จะเป็นสีดำ ขอบปลายหูและริมฝีปากขาว ลูกสมเสร็จลำตัวมีลายเป็นแถบ ดูลายพร้อยคล้ายลูกแตงไทย
อุปนิสัย : สมเสร็จชอบออกหากินในเวลากลางคืน กินยอดไม้ กิ่งไม้ หน่อไม้ และพืชอวบน้ำหลายชนิด มักมุดหากินตามที่รกทึบ ไม่ค่อยชอบเดินหากินตามเส้นทางเก่า มีประสาทสัมผัสทางกลิ่นและเสียงดีมาก ผสมพันธุ์ในเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคม ตกลูกครั้งละ ๑ ตัว ใช้เวลาตั้งท้องนานประมาณ ๑๓ เดือน สมเสร็จที่เลี้ยงไว้มีอายุนานประมาณ ๓๐ ปี
ที่อยู่อาศัย : สมเสร็จชอบอยู่อาศัยตามบริเวณที่ร่มครึ้ม ใกล้ห้วยหรือลำธาร
เขตแพร่กระจาย : สมเสร็จมีเขตแพร่กระจายจากพม่าตอนใต้ ไปตามพรมแดนด้านทิศตะวันตกของประเทศไทย ลงไปสุดแหลมมลายูและสุมาตรา ในประเทศไทยจะพบสมเสร็จได้ในป่าดงดิบตามเทือกเขาถนนธงชัย เทือกเขาตะนาวศรี และป่าทั่วภาคใต้
สถานภาพ : ปัจจุบันสมเสร็จจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย และจัดโดยอนุสัญญา CITES ไว้ใน Appendix I และจัดเป็นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ตาม U.S. Endanger Species Act.
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : การล่าสมเสร็จเพื่อเอาหนังและเนื้อ การทำลายป่าดงดิบที่อยู่อาศัยและหากิน โดยการตัดไม้ การสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำและถนน ทำให้จำนวนสมเสร็จลดปริมาณลงจนหาได้ยาก
สัตว์ป่าสงวน 15 ชนิด(ตอนที่ 3)
Cervus schomburki
ลักษณะ : เนื้อสมันเป็นกวางชนิดหนึ่งที่เขาสวยงามที่สุด ในประเทศไทย เมื่อโตเต็มวัยจะมีความสูงที่ไหล่ประมาณ ๑ เมตร สีขนบนลำตัวมีสีน้ำตาลเข้มและเรียบเป็นมัน หางค่อนข้างสั้น และมีสีขางทางตอนล่างสมันมีเขาเฉพาะตัวผู้ ลักษณะเขาของสมันมีขนาดใหญ่ และแตกกิ่งก้านออกหลายแขนง ดูคล้ายสุ่มหรือตะกร้า สมันจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กวางเขาสุ่ม
อุปนิสัย : ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็กๆ โดยเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์ หลังจากหมดฤดูผสมพันธุ์ และตัวผู้จะแยกตัวออกมาอยู่โดดเดี่ยว สมันชอบกินหญ้าโดยเฉพาะหญ้าอ่อน ผลไม้ ยอดไม้ และใบไม้หลายชนิด
ที่อยู่อาศัย : สมันจะอาศัยเฉพาะในทุ่งโล่ง ไม่อยู่ตามป่ารกทึบ เนื่องจากเขามีกิ่งก้านสาขามาก จะเกี่ยวพันพันกับเถาวัลย์ได้ง่าย
เขตแพร่กระจาย : สมันเป็นสัตว์ชนิดที่มีเขตแพร่กระจายจำกัด อยู่ในบริเวณที่ราบภาคกลางของประเทศเท่านั้น สมัยก่อนมีชุกชุมมากในที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณจังหวัดรอบกรุงเทพฯ เช่น นครนายก ปทุมธานี และปราจีนบุรี และแม้แต่บริเวณพื้นที่รอบนอกของกรุงเทพฯ เช่น บริเวณพญาไท บางเขน รังสิต ฯลฯ
สถานภาพ : สมันได้สูญพันธุ์ไปจากโลกและจากประเทศไทยเมื่อเกือบ ๖๐ ปีที่แล้ว สมันยังจัดเป็นป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมซาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขาของสมันไม่ให้มีการส่งออกนอกราชอาณาจักร
สาเหตุของการสูญพันธุ์ : เนื่องจากแหล่งที่อยู่อาศัยได้ถูกเปลี่ยนเป็นนาข้าวเกือบทั้งหมด และสมันที่เหลืออยู่ตามที่ห่างไกลจะถูกล่าอย่างหนักในฤดูน้ำหลากท่วมท้องทุ่ง ในเวลานั้นสมันจะหนีน้ำขึ้นไปอยู่รวมกันบนที่ดอนทำให้พวกพรานล้อมไล่ฆ่าอย่างง่ายดาย
กวางผา
Naemorhedus griseus
ลักษณะ : กวางผาเป็นสัตว์จำพวก แพะแกะเช่นเดียวกับเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า เมื่อโตเต็มที่มีความสูงที่ไหล่มากกว่า ๕๐ เซนติเมตร เพียงเล็กน้อย และมีน้ำหนักตัวประมาณ ๓๐ กิโลกรัม ขนบนลำตัวสีน้ำตาล หรือสีน้ำตาลปนเทา มีแนวสีดำตามสันหลงไปจนจดหาง ด้านใต้ท้องสีจางกว่าด้านหลัง หางสั้นสีดำ เขาสีดำมีลักษณะเป็นวงแหวนรอบโคนเขา และปลายเรียวโค้งไปทางด้านหลัง
อุปนิสัย : ออกหากินตามที่โล่งในตอนเย็น และตอนเช้ามืด หลับพักนอนตามพุ่มไม้ และชะง่อนหินในเวลากลางคืน อาหาร ได้แก่ พืชที่ขึ้นตามสันเขาและหน้าผาหิน เช่น หญ้า ใบไม้ กิ่งไม้ และลูกไม้เปลือกแข็งจำพวกลูกก่อ กวางผาอยู่รวมกันเป็นฝูงๆละ ๔-๑๒ ตัว ผสมพันธุ์ในราวเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม ออกลูกครอกละ ๑-๒ ตัว ตั้งท้องนาน ๖ เดือน
ที่อาศัย : กวางผาจะอยู่บนยอดเขาสูงชันในที่ระดับน้ำสูงชันมากกว่า ๑,๐๐๐ เมตร
เขตแพร่กระจาย : กวางผามีเขตแพร่กระจายตั้งแต่แคว้นแพร่กระจาย ตั้งแต่แคว้นแคชเมียร์ลงมาจนถึงแคว้นอัสสัม จีนตอนใต้ พม่าและตอนเหนือของประเทศไทย ในประเทศไทยมีรายงานพบกวางผาตามภูเขาที่สูงชันในหลายบริเวณ เช่น ดอยม่อนจอง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย ดอยเลี่ยม ดอยมือกาโด จังหวัดเชียงใหม่ และบริเวณสองฝั่งลำน้ำปิงในอุทยานแห่งชาติแม่ปิง จังหวัดตาก
สถานภาพ : กวางผาจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทยและอนุสัญญา CITES จัดไว้ใน Appendix I
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : เนื่องจากการบุกรุกถางป่าที่ทำไร่เลื่อนลอยของชาวเขาในระยะเริ่มแรกและชาวบ้านในระยะหลัง ทำให้ที่อาศัยของกวางผาลดน้อยลง เหลืออยู่เพียงตามยอดเขาที่สูงชัน ประกอบกับการล่ากวางผาเพื่อเอาน้ำมันมาใช้ในการสมานกระดูกที่หักเช่นเดียวกับเลียงผา จำนวนกวางผาในธรรมชาติจึงลดลงเหลืออยู่น้อยมาก
นกแต้วแล้วท้องดำ
Pitta gurneyi
ลักษณะ : เป็นนกขนาดเล็ก ลำตัวยาว ๒๑ เซนติเมตร จัดเป็นนกที่มีความสวยงามมาก นกตัวผู้มีส่วนหัวสีดำ ท้ายทอยมีสีฟ้าประกายสดใส ด้านหลังสีน้ำตาลติดกับอกตอนล่าง และตอนใต้ท้องที่มีดำสนิท นกตัวเมียมีสีสดใสน้อยกว่า โดยทั่วไปสีลำตัวออกน้ำตาลเหลือง ไม่มีแถบดำบนหน้าอกและใต้ท้อง นกอายุน้อยมีหัว และคอสีน้ำตาลเหลือง ส่วนอกใต้ท้องสีน้ำตาล ทั่วตัวมีลายเกล็ดสีดำ
อุปนิสัย : นกแต้วแล้วท้องดำทำรังเป็นซุ้มทรงกลม ด้วยแขนงไม้และใบไผ่ วางอยู่บนพื้นดิน หรือในกอระกำ วางไข่ ๓-๔ ฟอง ทั้งพ่อนกและแม่นก ช่วยกันกกไข่และหาอาหารมาเลี้ยงลูก อาหารได้แก่หนอนด้วง ปลวก จิ้งหรีดขนาดเล็ก และแมลงอื่นๆ
ที่อยู่อาศัย : นกแต้วแล้วท้องดำชนิดนี้พบอาศัยอยู่เฉพาะในบริเวณป่าดงดิบต่ำ
เขตแพร่กระจาย : พบตั้งแต่ตอนใต้ของประเทศพม่า ลงมาจนถึงเขตรอยต่อระหว่างประเทศไทย กับประเทศมาเลเซีย
สถานภาพ : เคยพบชุกชุมในระยะเมื่อ ๘๐ ปีก่อน แต่ไม่มีรายงานทางวิทยาศาสตร์เลยตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๕ จนมีรายงานพบครั้งล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๑ นกแต้วแล้วท้องดำ ได้รับการจัดให้เป็นสัตว์ชนิดที่หายากชนิดหนึ่ง ในสิบสองชนิดที่หายากของโลก
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : นกชนิดนี้ จัดเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่เฉพาะในป่าดงดิบต่ำ ซึ่งกำลังถูกตัดฟันอย่างหนัก และสภาพที่อยู่เช่นนี้มีน้อยมากในบริเวณเขตคุ้มครองในภาคใต้ นอกจากนี้ เนื่องจากเป็นนกที่หายากเป็นที่ต้องการของตลาดนกเลี้ยง จึงมีราคาแพง อันเป็นแรงกระตุ้นให้นกแต้วแล้วท้องดำถูกล่ามากยิ่งขึ้น
สัตว์ป่าสงวน 15 ชนิด(ตอนที่ 2)
Bos sauveli
ลักษณะ : กูปรีเป็นสัตว์ป่าชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับ กระทิงและวัวแดง เมื่อโตเต็มที่มีความสูงที่ไหล่ ๑.๗-๑.๙ เมตร น้ำหนัก ๗๐๐-๙๐๐ กิโลกรัม ตัวผู้มีขนาดลำตัวใหญ่กว่าตัวเมียมาก สีโดยทั่วไปเป็นสีเทาเข้มเกือบดำ ขาทั้ง ๔ มีถุงเท้าสีขาวเช่นเดียวกับกระทิง ในตัวผู้ที่มีอายุมาก จะมีเหนียงใต้คอยาวห้อยลงมาจนเกือบจะถึงดิน เขากูปรีตัวผู้กับตัวเมียจะแตกต่างกัน โดยเขาตัวผู้จะโค้งเป็นวงกว้าง แล้วตีวงโค้งไปข้างหน้า ปลายเขาแตกออกเป็นพู่คล้ายเส้นไม้กวาดแข็ง ตัวเมียมีเขาตีวงแคบแล้วม้วนขึ้นด้านบน ไม่มีพู่ที่ปลายเขา
อุปนิสัย : อยู่รวมกันเป็นฝูง ๒-๒๐ ตัว กินหญ้า ใบไม้ดินโป่งเป็นครั้งคราว ผสมพันธุ์ในราวเดือนเมษายน ตั้งท้องนาน ๙ เดือน จะพบออกลูกอ่อนประมาณเดือนธันวาคมและมกราคม ตกลูกครั้งละ ๑ ตัว
ที่อยู่อาศัย : ปกติอาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง ที่มีทุ่งหญ้าสลับกับป่าเต็งรังและในป่าเบญจพรรณที่ค่อนข้างแล้ง
เขตแพร่กระจาย : กูปรีมีเขตแพร่กระจายอยู่ในไทย เวียดนาม ลาว และกัมพูชา
สถานภาพ : ประเทศไทยมีรายงานว่าพบกูปรีอยู่ตามแนวเทือกเขาชายแดนไทย-กัมพูชา และลาว เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๕ มีรายงานพบกูปรีในบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก กูปรีจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย และอยู่ใน Appendix I ตามอนุสัญญา CITES
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : ปัจจุบันกูปรีเป็นสัตว์ป่าที่หายากกำลังใกล้จะสูญพันธุ์หมดไปจากโลก เนื่องจากการถูกล่าเป็นอาหารและสภาวะสงครามในแถบอินโดจีน ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยเฉพาะกูปรี ทำให้ยากในการอยู่ร่วมกันในการอนุรักษ์กูปรี
ควายป่า
Bubalus bubalis
ลักษณะ : ควายป่าเป็นสัตว์ชนิดเดียวกับ ควายบ้าน แต่มีลำตัวขนาดลำตัวใหญ่กว่า มีนิสัยว่องไว และดุร้ายกว่าควายบ้านมาก ตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่เกือบ ๒ เมตร น้ำหนักมากกว่า ๑,๐๐๐ กิโลกรัม สีลำตัวโดยทั่วไปเป็นสีเทา หรือสีน้ำตาลดำ ขาทั้ง ๔ สีขาวแก่ หรือสีเทาคล้ายใส่ถุงเท้าสีขาว ด้านล่างของลำตัวเป็นลายสีขาวรูปตัววี ( V ) ควายป่ามีเขาทั้ง ๒เพศ เขามีขนาดใหญ่กว่าควายเลี้ยง วงเขากางออกกว้างโค้งไปทางด้านหลัง ด้านตัดขวางเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายเขาเรียวแหลม
อุปนิสัย : ควายป่าชอบออกหากินในเวลาเช้า และเวลาเย็น อาหารได้แก่ พวกใบไม้ หญ้า และหน่อไม้ หลังจากกินอาหารอิ่มแล้ว ควายป่าจะนอนเคี้ยวเอื้องตามพุ่มไม้ หรือนอนแช่ปรักโคลนตอนช่วงกลางวัน ควายป่าจะอยู่ร่วมกันเป็นฝูง ฤดูผสมพันธุ์อยู่ราวๆ เดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ตกลูกครั้งละ ๑ ตัว ตั้งท้องนาน ๑๐ เดือน เท่าที่ทราบควายป่ามีอายุยืน ๒๐-๒๕ ปี
เขตแพร่กระจาย : ควายป่ามีเขตแพร่กระจายจากประเทศเนปาลและอินเดีย ไปสิ้นสุดทางด้านทิศตะวันออกที่ประเทศเวียดนาม ในประเทศไทยปัจจุบันมีควายป่าเหลืออยู่บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี
สถานภาพ : ปัจจุบันควายป่าที่เหลืออยู่ในประเทศไทยมีจำนวนน้อยมาก จนน่ากลัวว่าอีกไม่นานจะหมดไปจากประเทศ ควายป่าจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย และอนุสัญญา CITES จัดควายป่าไว้ใน Appendix III
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : เนื่องจากการถูกล่าเพื่อเอาเนื้อและเอาเขาที่สวยงาม และการสูญเชื้อพันธุ์ เนื่องจากไปผสมกับควายบ้าน ที่มีผู้เอาไปเลี้ยงปล่อยเป็นควายปละในป่า ในกรณีหลังนี้บางครั้งควายป่าจะติดโรคต่างๆ จากควายบ้าน ทำให้จำนวนลดลงมากยิ่งขึ้น
ละองหรือละมั่ง
Cervus eldi
ลักษณะ : เป็นกวางที่มีขนาดโตกว่าเนื้อทราย แต่เล็กกว่ากวางป่า เมื่อโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่ ๑.๒-๑.๓ เมตร น้ำหนัก ๑๐๐-๑๕๐ กิโลกรัม ขนตามตัวทั่วไปมีสีน้ำตาลแดง ตัวอายุน้อยจะมีจุดสีขาวตามตัว ซึ่งจะเลือนกลายเป็นจุดจางๆ เมื่อโตเต็มที่ในตัวเมีย แต่จุดขาวเหล่านี้จะหายไปจนหมด ในตัวผู้ตัวผู้จะมีขนที่บริเวณคอยาว และมีเขาและเขาของละอง จะมีลักษณะต่างจากเขากวางชนิดอื่นๆ ในประเทศไทย ซึ่งที่กิ่งรับหมาที่ยื่นออกมาทางด้านหน้า จะทำมุมโค่งต่อไปทางด้านหลัง และลำเขาไม่ทำมุมหักเช่นที่พบในกวางชนิดอื่นๆ
อุปนิสัย : ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ตัวผู้ที่โตเต็มวัยจะเข้าฝูงเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ออกหากินใบหญ้า ใบไม้ และผลไม้ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน แต่เวลาแดดจัดจะเข้าหลบพักในที่ร่ม ละอง ละมั่งผสมพันธุ์ในเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนเมษายน ตั้งท้องนาน ๘ เดือน ออกลูกครั้งละ ๑ ตัว
ที่อยู่อาศัย : ละองชอบอยู่ตามป่าโปร่ง และป่าทุ่ง โดยเฉพาะป่าที่มีแหล่งน้ำขัง
เขตแพร่กระจาย : ละองแพร่กระจายในประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และเกาะไหหลำ ในประเทศไทยอาศัยอยู่ในบริเวณเหนือจากคอคอดกระขึ้นมา
สถานภาพ : มีรายงานพบเพียง ๓ ตัว ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ละอง ละมั่งจัดเป็นป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย และอนุสัญญา CITES จัดอยู่ใน Appendix
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : ปัจจุบัน ละอง ละมั่งกำลังใกล้จะสูญพันธุ์หมดไปจากประเทศไทย เนื่องจากสภาพป่าโปร่ง ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยถูกบุกรุกทำลายเป็นไร่นา และที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ทั้งยังถูกล่าอย่างหนักนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา
สัตว์ป่าสงวน 15 ชนิด
สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าที่หายาก กำหนดตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติสงวนและ คุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๐๓ จำนวน ๙ ชนิด เป็นสัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด ได้แก่ แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมัน เนื้อทราย เลียงผา และกางผา สัตว์ป่าสงวนเหล่านี้หายาก หรือใกล้จะสูญพันธุ์หรืออาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว จึงจำเป็นต้องมีบทบัญญัติเข้มงวดกวดขัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่สัตว์ป่าที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือซากสัตว์ป่า ซึ่งอาจจะตกไปอยู่ยังต่างประเทศด้วยการซื้อขาย
ต่อมาเมื่อสถานการณ์ของสัตว์ป่าในประเทศไทย เปลี่ยนแปลงไป สัตว์ป่าหลายชนิดมีแนวโน้มถูกคุกคามเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากยิ่งขึ้น ประกอบกับเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับความร่วมมือระหว่างประเทศในการ ควบคุมดูแลการค้าหรือการลักลอบค้าสัตว์ป่าในรูปแบบต่างๆ ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ว่าด้วยชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าหรือ CITES ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามรับรองอนุสัญญาในปี พ.ศ.๒๕๑๘ และได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๖ นับเป็นสมาชิกลำดับที่ ๘๐ จึงได้มีการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติฉบับเดิม และตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.๒๕๓๕ ขึ้นใหม่เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕
สัตว์ป่าสงวนตามในพระราชบัญญัติฉบับใหม่หมายถึงสัตว์ป่าที่หายากตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติฉบับนี้ และตามที่กำหนดโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงชนิดสัตว์ป่าสงวนได้โดยสะดวก โดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกาแก้ไข หรือเพิ่มเติมเท่านั้น ไม่ต้องถึงกับต้องแก้ไขพระราชบัญญัติอย่างของเดิม ทั้งนี้ได้มีการเพิ่มเติมชนิดสัตว์ป่าที่มีสภาพล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์ อย่างยิ่ง ๗ ชนิด และตัดสัตว์ป่าที่ไม่อยู่ในสถานะใกล้จะสูญพันธุ์ เนื่องจากการที่สามารถเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้มาก ๑ ชนิด คือ เนื้อทราย รวมกับสัตว์ป่าสงวนเดิม ๘ ชนิด รวมเป็น ๑๕ ชนิด ได้แก่ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมัน เลียงผา กวางผา นกแต้วแล้วท้องดำ นกกระเรียน แมวลายหินอ่อน สมเสร็จ เก้งหม้อ และพะยูน
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร
Pseudochelidon sirintarae
ลักษณะ : นกนางแอ่นที่มีลำตัวยาว ๑๕ เซนติเมตร สีโดยทั่วไปมีสีดำเหลือบเขียวแกมฟ้า โคนหางมีแถบสีขาว ลักษณะเด่นได้แก่ มีวงสีขาวรอบตา ทำให้ดูมีดวงตาโปนโตออกมา จึงเรียกว่านกตาพอง นกที่โตเต็มวัย มีแกนขนหางคู่กลางยื่นยาวออกมา ๒ เส้น
อุปนิสัย : แหล่งผสมพันธุ์วางไข่ และที่อาศัยในฤดูร้อนยังไม่ทราบ ในบริเวณบึงบอระเพ็ด นกเจ้าหญิงสิรินธรจะเกาะนอน อยู่ในฝูงนกนางแอ่นชนิดอื่นๆ ที่เกาะอยู่ตามใบอ้อ และใบสนุ่นภายในบึงบอระเพ็ด บางครั้งก็พบอยู่ในกลุ่มนกกระจาบ และนกจาบปีกอ่อน กลุ่มนกเหล่านี้มีจำนวนนับพันตัว อาหารเชื่อได้ว่าได้แก่แมลงที่โฉบจับได้ในอากาศ
ที่อยู่อาศัย : อาศัยอยู่ตามดงอ้อและพืชน้ำในบริเวณบึงบอระเพ็ด
เขตแพร่กระจาย : พบเฉพาะในประเทศไทย พบในช่วงเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว
สถานภาพ : นกชนิดนี้สำรวจพบครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ จังหวัดนครสวรรค์ หลังจากการค้นพบครั้งแรกแล้วมีรายงานพบอีก ๓ ครั้ง แต่มีเพียง ๖ ตัวเท่านั้น นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร เป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.๒๕๓๕
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์: นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร เป็นนกที่สำคัญอย่างยิ่งในด้านการศึกษาความสัมพันธ์ของนกนางแอ่น เพราะนกชนิดที่มีความสัมพันธ์กับนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรมากที่สุด คือนกนางแอ่นคองโก ( Pseudochelidon euristomina ) ที่พบตามลำธารในประเทศซาอีร์ ในตอนกลางของแอฟริกาตะวันตก แหล่งที่พบนกทั้ง ๒ ชนิดนี้ห่างจากกันถึง ๑๐,๐๐๐ กิโลเมตร ประชากรในธรรมชาติของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเชื่อว่ามีอยู่น้อยมาก เพราะเป็นนกชนิดที่โบราณที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน แต่ละปีในฤดูหนาวจะถูกจับไปพร้อมๆกับนกนางแอ่นชนิดอื่น นอกจากนี้ที่พักนอนในฤดูหนาว คือ ดงอ้อ และพืชน้ำอื่นๆที่ถูกทำลายไปโดยการทำการประมง การเปลี่ยนหนองบึงเป็นนาข้าว และการควบคุมระดับน้ำในบึงเพื่อการพัฒนาหลายรูปแบบ สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดผลเสียต่อการคงอยู่ของพืชน้ำ และต่อนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรมาก
แรด
Rhinoceros sondaicus
ลักษณะ : แรดจัดเป็นสัตว์จำพวกมีกีบ คือมีเล็บ ๓ เล็บทั้งเท้าหน้าและเท้าหลัง ตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่ ๑.๖-๑.๘ เมตร น้ำหนักตัว ๑,๕๐๐-๒,๐๐๐ กิโลกรัม แรดมีหนังหนาและมีขนแข็งขึ้นห่างๆ สีพื้นเป็นสีเทาออกดำ ส่วนหลังมีส่วนพับของหนัง ๓ รอย บริเวณหัวไหล่ด้านหลังของขาคู่หน้า และด้านหน้าของขาคู่หลัง แรดตัวผู้มีนอเดียวยาวไม่เกิน ๒๕ เซนติเมตร ส่วนตัวเมียจะเห็นเป็นเพียงปุ่มนูนขึ้นมา
อุปนิสัย : ในอดีตเคยพบแรดหากินร่วมเป็นฝูง แต่ในปัจจุบันแรดหากินตัวเดียวโดดๆ หรืออยู่เป็นคู่ในฤดูผสมพันธุ์ อาหารของแรดได้แก่ ยอดไม้ ใบไม้ กิ่งไม้ และผลไม้ที่ร่วงหล่นบนพื้นดิน แรดไม่มีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน จึงสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ตกลูกครั้งละ ๑ ตัว ตั้งท่องนานประมาณ ๑๖ เดือน
ที่อยู่อาศัย: แรดอาศัยอยู่เฉพาะในบริเวณป่าดิบชื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ หรือตามป่าทึบริมฝั่งทะเล ส่วนใหญ่จะหากินอยู่ตามพื้นที่ราบ ไม่ค่อยขึ้นบนภูเขาสูง
เขตแพร่กระจาย : แรดมีเขตกระจายตั้งแต่ประเทศบังคลาเทศ พม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม ลงไปทางแหลมมลายู สุมาตรา และชวา ปัจจุบันพบน้อยมากจนกล่าวได้ว่า เกือบจะหมดไปจากผืนแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชียแล้ว เชื่อว่ายังอาจจะมีคงเหลืออยู่บ้างทางเทือกเขาตะนาวศรี และในป่าลึกตามแนวรอยต่อจังหวัดระนอง พังงา และสุราษฎร์ธานี
สถานภาพ : ปัจจุบันแรดจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย และจัดอยู่ใน Appendix 1 ของอนุสัญญา CITES ทั้งยังเป็นสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ตาม U.S.Endanger Species
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : เช่นเดียวกับแรดที่พบบริเวณอื่นๆ ที่พบในประเทศไทยถูกล่าและทำลายอย่างหนัก เพื่อต้องการนอหรือส่วนอื่นๆ เช่น กระดูก เลือด ฯลฯ ซึ่งมีคุณค่าสูงยิ่ง เพื่อใช้ในการบำรุงและยาอื่นๆ นอกจากนี้บริเวณป่าที่ราบที่แรดชอบอาศัยอยู่ก็หมดไป กลายเป็นบ้านเรือนและเกษตรกรรมจนหมด
กระซู่
Dicerorhinus sumatrensis
ลักษณะ : กระซู่เป็นสัตว์จำพวกเดียวกับแรด แต่มีลักษณะลำตัวเล็กกว่า ตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่ ๑-๑.๕ เมตร น้ำหนักประมาณ ๑,๐๐๐ กิโลกรัม มีหนังหนาและมีขนขึ้นปกคลุมทั้งตัว โดยเฉพาะในตัวที่มีอายุน้อย ซึ่งขนจะลดน้อยลงเมื่อมีอายุมากขึ้น สีลำตัวโดยทั่วไปออกเป็นสีเทา คล้ายสีขี้เถ้า ด้านหลังลำตัว จะปรากฏรอยพับของหนังเพียงพับเดียว ตรงบริเวณด้านหลังของขาคู่หน้า กระซู่ทั้งสองเพศมีนอ ๒ นอ นอหน้ามีความยาวประมาณ ๒๕ เซนติเมตร ส่วนนอหลังมีความยาวไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร หรือเป็นเพียงตุ่มนูนขึ้นมาในตัวเมีย
อุปนิสัย : กระซู่ปีนเขาได้เก่ง มีประสาทรับกลิ่นดีมาก ออกหากินในเวลากลางคืน อาหาร ได้แก่ พวกใบไม้ และผลไม้ป่าบางชนิด ปกติกระซู่จะใช้ชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์ หรือตัวเมียเลี้ยงลูกอ่อน ตกลูกครั้งละ ๑ ตัว มีระยะตั้งท้อง ๗-๘ เดือน ในที่เลี้ยงกระซู่มีอายุยืน ๓๒ ปี
ที่อยู่อาศัย : กระซู่อาศัยอยู่ตามป่าเขาที่มีความหนารกทึบ ลงมาอยู่ในป่าที่ราบต่ำ ในตอนปลายฤดูฝนซึ่งในระยะนั้นมีปรักและน้ำอยู่ทั่วไป
เขตแพร่กระจาย : กระซู่มีเขตแพร่กระจายตั้งแต่แคว้นอัสสัมในประเทศอินเดีย บังคลาเทศ พม่า ไทย เวียดนาม มลายู สุมาตรา และบอเนียว ในประเทศไทยมีรายงานว่าพบกระซู่อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหลายแห่งได้แก่ ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี และคลองแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานี และในบริเวณอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง ได้แก่ แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และเขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา และบริเวณป่ารอยต่อระหว่างประเทศกับมาเลเซีย
สถานภาพ : ปัจจุบันกระซู่จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย อนุสัญญา CITES จัดไว้ใน Appendix I และ U.S. Endanger Species Act จัดไว้ในพวกที่ใกล้จะสูญพันธุ์
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : กระซู่ปัจจุบันใกล้จะสูญพันธุ์ไปจากโลก เนื่องจากถูกล่าเพื่อเอานอ และอวัยวะทุกส่วนของตัว ซึ่งมีฤทธิ์ในทางเป็นยา กระซู่จึงถูกล่าอยู่เนืองๆ ประกอบกับกระซู่มีอยู่ในธรรมชาติน้อย และประชากรแต่ละกลุ่มและแม้แต่กลุ่มเดียวกันก็อยู่ห่างกันมากไม่มีโอกาสจับคู่ขยายพันธุ์ได้
ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง
มีหลักพิจารณา ดังนี้
กรอบแนวคิด
คุณลักษณะ
คำนิยาม
1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรุ้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
2. เงื่อนไขความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี
ภาวะการล่าเหยื่อ (Predaion +,-)
เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง โดยฝ่ายได้ประโยชน์เรียกว่า ผู้ล่า(Predator) ฝ่ายเสียประโยชน์เรียกว่า เหยื่อ (Prey) เช่นการล่าเหยื่อของสุนัขจิ้งจอก, การล่าของกิ้งก่า, กาบหอยแครงดักจับแมลง, เสือล่ากวาง
วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ภาวะปรสิต(Parasitism +,-)
เป็นความสันพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งไปอาศัยสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ฝ่ายที่ได้ประโยชน์เรียกว่า ปรสิต(Parasite) ส่วนสิ่งมีชีวิตที่ถูกอาศัยเรียกว่าผู้ถูกอาศัย(Host) เช่น กาฝากกับต้นมะม่วง, ต้นฝอยทองกัยยต้นไม้ือื่น, ยุงดูดเลือดจากสิ่งมีชีวิต, พยาธิต่างๆ ที่อาศัยอยู่กับร่างกายคนและสัตว์, หนอนกัดกินใบไม้
กาฝากกับต้นมะม่วง
กาฝากที่เกาะกับต้นมะม่วง รากของกาฝากจะชอนไชไปถึงท่อน้ำ ท่ออาหารของต้นมะม่วง แล้วแย่งน้ำ อาหารจากต้นมะม่วง
ต้นฝอยทองกับต้นไม้อื่น
ต้นฝอยทองจะฝังรากลงไปในพืชแล้วดูดน้ำและอาหารจากพืชมาใช้
ยุงดูดเลือดจากสิ่งมีชีวิต
พยาธิต่างๆ ที่อาศัยอยู่กับร่างกายคนและสัตว์
วิดีโอนี้แสดงถึงการเบียนของต่อที่มีความสัมพันธ์แบบปรสิตเต็มๆ ตัว คือ เมื่อต่อมาฝังไข่อ่อนลงในตัวแมลง ลูกของต่อจะเจริญเติบโตและฟักออกมาเป็นตัว น่ากลัวจริงๆ