วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ของเล่นภูมิปัญญาไทย (ประกอบเรื่อง เสียง) จั๊กจั่น

ของเล่นภูมิปัญญาไทย จั๊กจั่น

รูปตัวอย่าง

อุปกรณ์การทำ

1. ไม้ไผ่เหลาเป็นแท่งเท่าไม้ตะเกียบ

2. ไม้ไผ่ตัดขวางเป็นแว่นขนาดยาว 1 นิ้ว

3. กระดาษสีน้ำตาล ตัดเป็นวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 นิ้ว

4. ไม้กลัดขนาดยาว 0.5 นิ้ว

5. กระดาษสีต่าง ๆ

6. เส้นเอ็นเบอร์ 30

7. ยางสนเคี่ยวให้เหลว

8. กาวลาเท็กซ์



วิธีการทำ

1 เคี่ยวยางสนให้เหลว

2 นำแท่งไม้ไผ่ชุบที่ปลายไม้ให้ยางสนเคลือบที่ปลายไม้

3 ตัดไม้ไผ่เป็นแว่น ขนาดยาว 1 นิ้ว

4 นำกระดาษสีน้ำตาลมาทากาวแล้วติดหุ้มด้านบนของไม้ไผ่ที่ตัดขวางเป็นแว่น

แล้วเจาะรูตรงกลางด้วยไม้กลัด จากนั้นตกแต่งด้านข้างให้ให้สวยงามด้วย

กระดาษสีต่าง ๆ

5 เจาะรูตรงกลางหลังกาวแห้งแล้ว

6 ร้อยเส้นเอ็นอีกด้านเข้าไปในช่องที่เจาะรูไว้แล้วนำไม้กลัดมาผูกกับ

เส้นเอ็น ตรงกลางเพื่อกันไม่ให้เส้นเอ็นหลุดจากไม้ไผ่ที่ตกแต่งไว้

7 จะได้จักจั่นของเล่นที่ให้ความเพลิดเพลินสนุกสนาน




สืบสายวัฒนธรรม ร่วมสืบทอดสิ่งประดิษฐ์

เป็นความคิดที่รอการกระทำจากคนไทย

ช่วยกันดำรงสืบไว้ ความเป็นไทยจะได้

ไม่จางหายจากไท เรา





ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก
www.gotoknow.org/blog/chok/250967

วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554

นักดาราศาสตร์ยืนยัน "แฝดของโลก" ที่ 600 ปีแสง

นักดาราศาสตร์ยืนยัน "แฝดของโลก" ที่ 600 ปีแสง

นักดาราศาสตร์ยืนยันการมีอยู่จริงของดาวเคราะห์คล้ายโลก ที่อยู่ไกลออกไป 600 ปีแสง ในระบบดาวฤกษ์ที่ต่างไปจากดวงอาทิตย์ของเรา

ดาวคราะห์ดังกล่าวคือ "เคปเลอร์ 22-บี" (Kepler 22-b) ที่อยู่ไกลออกไป 600 ปีแสง และมีขนาด 2.4 เท่าของโลก มีอุณหภูมิประมาณ 22 องศาเซลเซียส ซึ่งบีบีซีนิวส์รายงานว่าดาวเคราะห์ดวงนี้ถือเป็นดาวเคราะห์ "เอิร์ธ 2.0" (earth 2.0) หรือ ดาวที่ได้รับการยืนยันแล้วซึ่งใกล้เคียงดาวเคราะห์คล้ายโลกมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม ทีมนักดาราศาสตร์ที่ค้นพบดาวเคราะห์ดวงนี้ ยังไม่ทราบว่าดาวเคราะห์เคปเลอร์ 22-บี เป็นดาวเคราะห์หิน ดาวเคราะหก๊าซ หรือเป็นดาวเคราะห์ที่เต็มไปด้วยของเหลว และระหว่างการประชุมวิชาการที่ทีมนักดาราสาสตร์เผยถึงการค้นพบเรื่องนี้ พวกเขายังบอกอีกว่าได้ค้นพบสิ่งที่น่าจะเป็นดาวเคราะห์อีก 1,094 ดวง

ทั้งนี้ ทีมวิจัยได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ (Kepler space telescope) ที่ออกแบบมาเพื่อศึกษาดาวฤกษ์ประมาณ 150,000 ดวงในท้องฟ้ายามค่ำคืน และกล้องโทรทรรศน์อวกาศนี้ยังมีความไวมากพอที่จะตรวจจับเมื่อดาวเคราะห์ผ่านหน้าดาวฤกษ์ของตัวเอง จากการวัดความสว่างของดาวฤกษ์ที่ลดลงแม้เพียงเล้กน้อย

กล้องเคปเลอร์จะจำแนกการเปลี่ยนแปลงของแสงที่หรี่ลงเล็กน้อยนี้ให้เป็นสิ่งที่น่าจะเป็นดาวเคราะห์ จากนั้นจะยืนยันจากการสังเกตเพิ่มเติมด้วยกล้องเคปเลอร์และกล้องโทรทรรศน์อื่นๆ ทั้งที่อยู่ในวงโคจรและอยู่บนโลก ซึ่งดาวเคราะห์เคปเลอร์ 22-บีเป็น 1 ในว่าที่ดาวเคราะห์ 54 ดวง ซึ่งได้รับรายงานการค้นพบโดยทีมวิจัยเคปเลอร์เมื่อเดือน ก.พ.54 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ เคปลเอร์ 22-บีจัดเป็นดาวเคราะห์ดวงแรกที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากการยืนยันการค้นพบด้วยกล้องโทรทรรศน์อื่น ทั้งนี้ คาดว่าดาวเคราะห์ที่จัดเป็น “เอิร์ธ 2.0” อีกจำนวนหนึ่งจะได้รับการยืนยันในอนาคตอันใกล้นี้

ตำแหน่งที่เคปเลอร์ 22-บีโคจรรอบดาวฤกษ์ของตัวเองนั้นน้อยกว่าระยะทางระหว่างโลกไปยังดวงอาทิตย์ 15% โดย 1 ปีของดาวเคราะห์ดวงนี้คือ 290 วัน แต่ดาวฤกษ์ของดาวเคราะห์คล้ายโลกนี้ก็มีแสงน้อยกว่าดวงอาทิตย์ของเรา 25% ซึ่งทำให้ดาวเคราะห์ที่เราพูดถึงนี้มีอุณหภูมิที่ไม่ร้อนจัด ซึ่งอาจจะเอื้อต่อการมีน้ำในรูปของเหลว

ทีมวิจัยต้องเฝ้ารอเคปเลอร์ 22-บีผ่านหน้าดาวฤกษ์ของตัวเองถึง 3 ครั้ง จึงสามารถเลื่อนฐานะจากการเป็นว่าที่ดาวเคราะห์ที่ “อยู่ระหว่างพิจารณา” เป็นดาวเคราะห์ที่ “ได้รับการยืนยันแล้ว” ซึ่ง วิลเลียม บอรุซกี (William Borucki) นักสังเกตการณ์หลักของกล้องเคปเลอร์จากศูนย์วิจัยเอมส์ (Ames Research Center) ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) กล่าวว่า โชคเข้าข้างพวกเขาให้ตรวจพบดาวเคราะห์ดวงนี้

“ครั้งแรกที่เราจับภาพการผ่านหน้าของดาวเคราะห์ได้คือ 3 วันหลังจากที่เราประกาศยืนยันความพร้อมในการทำงานของกล้องโทรทรรศน์อวกาศ เราได้เป็นพยานการผ่านหน้าครั้งที่ 3 ในช่วงเทศกาลวันหยุดประจำปี 2010” บอรุซกีกล่าว

ทั้งนี้ ทีมวิจัยได้รายงานผลการค้นพบภายในการประชุมวิชาการสำหรับกล้องโทรทรรศน์เคปเลอร์ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งมีการพบสิ่งที่น่าจะเป็นดาวเคราะห์จำนวนมาก สำหรับ “ว่าที่ดาวเคราะห์” ที่ค้นพบด้วยกล้องเคปเลอร์นั้นมีถึง 2,326 ดวงแล้ว ซึ่งในจำนวนนี้มี 207 ที่มีขนาดใกล้เคียงโลก ซึ่งเป็นไปได้ว่าดาวเคราะห์ที่มีขนาดใกล้เคียงโลกไปจนถึงดาวเคราะห์ที่ใหญ่กว่าโลก 4 เท่า ที่เรียกว่า “ซูเปอร์เอิร์ธ” (super-Earth) นั้นอาจมีอยู่มากมายยิ่งกว่าที่คิดก็เป็นได้



ภาพเปรียบเทียบดวาเคราะห์คล้ายโลก "เคปเลอร์ 22-บี" (ซ้ายสุด) ซึ่งโคจรรอบดาวฤกษ์ที่ระยะใกล้กว่าโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ 15% ซึ่งทั้งเคปเลอร์ 22-บี ในระบบดาวฤกษ์เคปเลอร์ 22 และ โลก (ที่ 2 จากขวา) พร้อมดาวเพื่อนบ้าน ดาวอังคาร (ที่ 1 ขวา) ดาวศุกร์ (ที่ 3 ขวา) และดาวพุธ (ที่ 4 ขวา) ล้วนอยู่ในบริเวณที่น่าจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ (habitable zone) ภาพจากบีบีซีนิวส์


ภาพแสดงส่วนประกอบของกล้องโทรทรรศน์เคปเลอร์ (บีบีซีนิวส์)



ที่มา
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000155166

พบ 2 “หลุมดำยักษ์” มวลมากกว่าดวงอาทิตย์หมื่นล้านเท่า

พบ 2 “หลุมดำยักษ์” มวลมากกว่าดวงอาทิตย์หมื่นล้านเท่า

นักวิทยาศาสตร์พบ 2 หลุมดำใหญ่ยักษ์สุดเท่าที่เคยพบ มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์เราถึง 10,000 ล้านเท่า อยู่ไกลออกไป 300 ล้านปีแสง จุดคำถามขึ้นว่าหลุมดำเหล่านั้นโตขึ้นมาได้อย่างไร

ทั้งนี้ ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในเบิร์กเลย์ (University of California, Berkeley) สหรัฐฯ ได้ค้นพบ2 หลุมดำขนาดยักษ์ ซึ่งเอพีรายงานว่าแต่ละหลุมดำนั้นมีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์เท่า 10,000 ล้านเท่า โดยอยู่กาแลกซีวงรีที่ห่างจากโลกไป 300 ล้านปีแสง โดยหลุมดำที่ติดอันดับใหญ่สุดก่อนหน้านี้ใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ 6 พันล้านเท่า

“พวกมันเป็นปีศาจชัดๆ เราไม่คาดว่าจะได้เจอหลุมดำใหญ่ขนาดนี้ เพราะพวกมันมีขนาดใหญ่มากกว่าที่จะชี้วัดได้ด้วยคุณสมบัติของกาแลกซีที่พวกมันอยู่ มันเป็นสิ่งที่ไม่ธรรมดาจริงๆ” หม่า จงเผ่ย (Chung-Pei Ma) นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากเบิร์กเลย์กล่าว

สำหรับงานวิจัยที่เพิ่งตีพิมพ์ลงวารสารเนเจอร์ (Nature) นี้ นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า หลุมดำเหล่านี้อาจเหลือจากควอซาร์ (quasar) ที่แออัดในยุคต้นๆ ของเอกภพ โดยมีมวลคล้ายกับควอซาร์อายุน้อยและถูกซ่อนไว้อย่างดีมาจนถึงทุกวันนี้

สำหรับการค้นพบล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ทั้งกล้องโทรทรรศน์บนโลกและกล้องโทรทรรศน์ในอวกาศอย่างฮับเบิล (Hubble) รวมถึงซูเปอร์คอมพิวเตอร์เพื่อสังเกตดวงดาวที่อยู่ใกล้ๆ หลุมดำ และวัดความของดาวเพื่อหาหลุมดำขนาดใหญ่นี้ ซึ่งอยู่ในบริเวณที่มองไม่เห็น

ทั้งนี้ หลุมดำเป็นวัตถุที่หนาแน่นมากจนไม่มีสิ่งใดแม้กระทั่งแสงที่สามารถหนีออกมาได้ ซึ่งบางหลุมดำเกิดจากการยุบตัวของดาวขนาดใหญ่ แต่ นิโคลัส แมคคอนเนลล์ (Nicholas McConnell) นักศึกษาเบิร์กเลย์ซึ่งศึกษาเรื่องนี้ระบุว่า ยังไม่แน่ชัดนักว่าหลุมดำยักษ์นี้เกิดขึ้นมาอย่างไร และการมีขนาดใหญ่อย่างนี้หลุมดำทั้งสองต้องโตขึ้นมากนับแต่ก่อเกิดขึ้นมา

เชื่อว่ากาแลกซีส่วนใหญ่มีหลุมดำอยู่ที่ใจกลาง ยิ่งกาแลกซีใหญ่มากหลุมดำก็ยิ่งใหญ่ขึ้นไปด้วย ส่วนควอซาร์นั้นเป็นใจกลางกาแลกซีที่ทรงพลังมหาศาลและอยู่ไกลโพ้น ซึ่งนักวิจัยระบุว่าการค้นพบของพวกเขานั้นชี้ว่ามีหลายวิธีที่หลุมดำจะเติบโตขึ้น โดยขึ้นอยู่กับขนาดของกาแลกซี

ด้าน หม่าคาดเดาว่าหลุมดำทั้งสองซ่อนตัวมาได้นาน เพราะตอนนี้หลุมดำเหล่านั้นอยู่ในบั้นปลายของควอซาร์ที่ค่อนข้างสงบ ซึ่งอยู่อย่างเงียบเชียบและนิ่งเฉยมากกว่าเมื่อครั้งอยู่ในควอซาร์อายุน้อยที่อึกทึกและวุ่นวายเมื่อหลายพันล้านปีก่อน โดยฌธอได้เปรียบเทียบการค้นพบหลุมดำขนาดใหญ่นี้ว่าสำหรับนักดาราศาสตร์แล้วก็เหมือนการที่คนสูงกว่า 2 เมตรไปเจอกระดูกไดโนเสาร์เข้าและดูด้อยลงทันตา

“แล้วพวกมันโตขนาดนี้ได้อย่างไร การค้นพบสิ่งที่ไม่เจอได้บ่อยนี้อาจช่วยให้เราเข้าใจได้ว่าพวกมันมีต้นกำเนิดที่ใหญ่อยู่แล้ว หรือกินอะไรเข้าไปจนใหญ่โตได้ขนาดนี้” หม่าให้ความเห็น

ทางด้าน มิเชล แคปเปลลารี (Michele Cappellari) นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (Oxford University) อังกฤษ ซึ่งเขียนความเห็นในวารสารเนเจอร์ เห็นด้วยว่าการค้นพบหลุมดำทั้งสองครั้งนี้อาจแสดงถึงซากที่เหลือของหลุมดำขนาดใหญ่ที่เป็นพลังให้แก่ควอซาร์ที่สว่างสุกใสที่สุดในเอกภพยุคเริ่มต้น

หนึ่งในหลุมดำที่เพิ่งพบนั้นมีมวลหนักกว่าดวงอาทิตย์ 9.7 พันล้านเท่า ส่วนอีกหลุมดำนั้นอยู่ไกลไกลออกไป โดยน่ามีขนาดใหญ่เท่าๆ กันหรืออาจจะใหญ่กว่า และเป็นไปได้ว่าอาจมีหลุมดำขนาดใหญ่กว่าซ่อนอยู่ที่เดียวกันนั้น ซึ่งหม่ากล่าวว่า คำถามว่าหลุมดำสามารถโตขึ้นได้แค่ไหนนั้นมีมูลค่านับล้านเหรียญสหรัฐฯ และตอนนี้นักวิจัยกำลังจับตาดูกาแลกซีที่ใหญ่ที่สุดเพื่อหาคำตอบ


ภาพวาดโดยศิลปินที่แจกจ่ายโดยหอดูดาวเจมินี (Gemini Observatory) ตีพิมพ์ลงเนเจอร์ เผยภาพจำลองหมู่ดาวที่กำลังถูกหลุมดำในใจกลางกาแลกซีดูดกลืน (เอเพี)



ที่มา
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000155362

วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ความหนาแน่นของสาร

ความหนาแน่นของสาร

ความหนาแน่น (Density) ของสารใด ๆ หมายถึง อัตราส่วนระหว่างมวล (Mass) ต่อ ปริมาตร (Volume) ของสารนั้น โดยจะหาความหนาแน่นของสารใด ๆ ได้นั้น ต้องหามวล และ ปริมาตรของสารนั้นให้ได้ก่อน

มวล ( Mass ) แทนสัญลักษณ์ด้วย m เป็นปริมาณเนื้อสารที่มีอยู่จริง และมวลของวัตถุจะมีค่าคงที่เสมอ มวลมีหน่วยได้หลายหน่วยเช่น กรัม ( g ) , หรือ กิโลกรัม ( Kg ) การหามวลทำได้โดยการชั่ง ซึ่งต้องใช้เครื่องชั่ง ซึ่งก็มีหลายแบบด้วยกันเช่น

1. เครื่องชั่งชนิดจานเดียว
1.1 เครื่อง Ohaus Cent - O - Gram
1.2 เครื่อง Ohaus Triple beam
2. เครื่องชั่งชนิดสองจาน

การหามวลของวัตถุใด ๆ สามารถทำได้โดยการชั่งด้วยเครื่องชั่งแบบต่าง ๆซึ่งเครื่องชั่งแต่ละแบบสามารถชั่งมวลได้มากน้อยและละเอียดแตกต่างกันไป

การเปลี่ยนหน่วยของมวล
1. ถ้าเปลี่ยนจากหน่วย กรัม ( g ) เป็น กิโลกรัม ( Kg ) ให้ หารด้วย 103
2. ถ้าเปลี่ยนจากหน่วย กิโลกรัม ( Kg ) เป็น กรัม ( g ) ให้ คูณด้วย 103

สรุป: หน่วยเล็กเปลี่ยนเป็นหน่วยใหญ่ หาร 103 และ หน่วยใหญ่เปลี่ยนเป็นหน่วยเล็ก คูณ 103

ปริมาตร ( Volume ) แทนด้วย V ปริมาตรของวัตถุใด ๆ สามารถวัดได้หลายแบบ โดย
1. ถ้าวัตถุนั้นเป็นของเหลว อาจใช้ กระบอกตวงวัดหาปริมาตร หรือ ใช้หลอดฉีดยา
1.1 หลอดฉีดยา เป็นเครื่องมือสำหรับวัดหาปริมาตรของสารที่มีสถานะเป็นของเหลว การอ่านปริมาตรของของเหลวที่ถูกต้องนั้นต้องอ่านที่ตำแหน่ง หมายเลข 2 และต้องระวังอย่าให้มีฟองอากาศขณะหาปริมาตร
1.2 กระบอกตวง เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับหาปริมาตรของสารที่มีสถานะเป็นของเหลว การอ่านปริมาตรของของเหลวที่ถูกต้องนั้นจะต้องอ่านตรงรอยเว้า หรือตำแหน่งที่ 3

2. ถ้าวัตถุนั้นเป็นของแข็ง มีวิธีการหาปริมาตรอยู่ 2 วิธีคือ
2.1 วัตถุที่มีรูปทรงเรขาคณิต หาได้จากการวัดส่วนต่าง ๆ แล้วคำนวณโดยใช้สูตรหาปริมาตร
2.2 วัตถุที่ไม่เป็นรูปทรงเรขาคณิต ทำได้โดยการนำวัตถุชนิดนั้นไปแทนที่น้ำในถ้วยยูเรก้า แล้วตวงหาปริมาตรของน้ำที่ล้นออกมา ซึ่งจะมีค่าเท่ากับปริมาตรของวัตถุนั้นตามหลักของอาร์คิมิดิส นั่นเอง

หลักของอาร์คีมิดิส กล่าวว่า “ ปริมาตรของของเหลวที่ถูกแทนที่จะมีค่าเท่ากับปริมาตรของวัตถุที่แทนที่ของเหลวนั้นเสมอ “



ข้อควรจำ

1. การใช้เครื่องมือวัดเพื่อหาปริมาณต่าง ๆ ของวัตถุนั้น จะทำให้ได้ค่าที่แน่นอนกว่าการกะประมาณ

2. การใช้เครื่องมือในการวัดนั้นต้องเลือกให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการวัด

3. ต้องวัดหลาย ๆ ครั้งแล้วหาค่าเฉลี่ยเพื่อให้ได้ค่าที่ใกล้เคียงกับความจริงมากที่สุด



การเปลี่ยนหน่วยของปริมาตร



หน่วยของปริมาตรที่นิยมใช้มีอยู่ 2 หน่วยคือ cm 3 , m 3 ซึ่งสามารถเปลี่ยนไปมาได้ดังนี้

1. ถ้าเปลี่ยนจากหน่วย cm 3 เป็น m 3 ให้ หารด้วย 106

2. ถ้าเปลี่ยนจากหน่วย m 3 เป็น cm 3 ให้ คูณด้วย 106

สรุป: หน่วยเล็กเปลี่ยนเป็นหน่วยใหญ่ หาร 106 และ หน่วยใหญ่เปลี่ยนเป็นหน่วยเล็ก คูณ 106

ถ้านำสารต่าง ๆ ( อาจอยู่ในสถานะของแข็ง , ของเหลว หรือ ก๊าซก็ได้ ) มาด้วยปริมาตรเท่าๆ กัน มาเทียบมวลหรือน้ำหนักกัน จะพบว่ามวลและน้ำหนักมีค่าต่างๆ กัน แต่ถ้าเป็นสารอย่างเดียวกัน และ สถานะเดียวกันแล้วมวลหรือน้ำหนักจะมีค่าเท่ากัน นักวิทยาศาสตร์จึงใช้ค่านี่แสดงสมบัติทางกายภาพเฉพาะตัวของสารได้ และกำหนดนิยามของความหนาแน่นของสารขึ้นว่า

ความหนาแน่นของสารใดๆ ( DENSITY ) คือ มวล ( Mass : m )ของสารนั้นต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร ( Volume : V ) ดังนั้น หน่วยของความหนาแน่นจึงมีหน่วยเป็นหน่วยของมวลต่อปริมาตร คือ เป็น กิโลกรัม ต่อ ลูกบาศก์เมตร ( Kg / m3 ) ในระบบเอสไอ หรือเป็น กรัม ต่อ ลูกบาศก์เซนติเมตร ( g / cm3 ) ก็ได้

เขียนเป็นสูตรได้ว่า



D = m / V



เมื่อ D ( Density ) = ความหนาแน่นของสาร หน่วยเป็น กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ( g/cm 3 ) หรือ กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ( kg / m 3 )

m ( mass ) = มวลสาร หน่วยเป็นกรัม ( g ) หรือ กิโลกรัม ( kg )

V ( Volume ) = ปริมาตร หน่วยเป็น ลูกบาศก์เซนติเมตร ( g / cm 3) หรือลูกบาศก์เมตร ( kg / m 3)

ข้อควรจำ

1. ความหนาแน่นของน้ำ ( Dน้ำ ) = 1 g / cm 3 หรือ 1000 kg / m 3

2. สารชนิดเดียวกัน ไม่ว่าจะมีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็ตาม ความหนาแน่นของสารนั้นจะมีค่าคงที่เสมอจะสังเกตเห็นได้ว่าหน่วยของความหนาแน่นที่นิยมใช้นั้น มีอยู่ด้วยกันสองหน่วยคือ g / cm 3 และ kg / m 3

ซึ่งจะใช้บอกความหนาแน่นของสารที่มีค่าความหนาแน่นต่าง ๆ กัน

เราสามารถเปลี่ยนได้ดังนี้ เช่น

ความหนาแน่นของน้ำเท่ากับ 1 g / cm 3 จะมีค่าเท่าใดในหน่วย kg / m 3 เราสามารถเปลี่ยนได้ดังนี้

ความหนาแน่น คือ อัตราส่วนระหว่างมวล ต่อ ปริมาตร

ให้นักเรียนเปลี่ยนหน่วยของมวล และ ปริมาตร แยกจากกันคนละครั้งตามตัวอย่างบนกระดาน