วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การจำศีลของสัตว์

 ไม่มีนักวิทยาศาสตร์คนใดที่ทราบ หรือมีประสบการณ์โดยตรงกับความลึกลับอีกอย่างหนึ่ง  คือเรื่องประหลาดเกี่ยวกับกบซึ่งดูเหมือนจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เป็นเวลานานทั้งๆ  ที่จำศีลอยู่ในก้อนหิน 
ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมานี้ได้มีข่าวปรากฏอยู่เสมอว่าพวกกรรมกรขุดถ่านหินหรือคนงานที่ทำงานอยู่ในบ่อถ่านหิน  ขณะที่ทำการระเบิดหินหรือขุดถ่านหินขึ้นมาจากบ่อบางครั้งก็จะมีกบหรือคางคกกระโดดออกมา 

ตัวอย่างที่เห็นจริงจังรายหนึ่งเดี่ยวกับ  “กบที่จำศีลในโพรงหิน”  คือเมื่อนักธรณีวิทยาชาวอังกฤษชื่อ ดร.แจ๊ค  เทรียกัส (DR.JACK  TREAGUS) แห่งมหาลัยแมนเซสเตอร์เป็นผู้ค้นพบและที่  ไวท์วัทสัน  (WHITE WATSON)  นักธรณีวิทยาชาวอังกฤษผู้มีชื่อของมณฑลดาร์บี้เชียร์ (DERBYSHIRE)  บันทึกไว้รายงานประจำปี  1811 เข้าได้เขียนไว้ว่า “ในเมืองโบลสโสเวอร์ฟิลด์ (BOLSOVER FIELD) เมื่อปี  1795  ขณะที่พวกคนงานกำลังทุบหินปูนซึ่งมีน้ำหนักประมาณหนึ่งตันครึ่ง  ก็ได้พบคางคกตัวหนึ่งซึ่งยังมีชีวิตอยู่ฝังตัวอยู่ในก้อนหินปูนก้อนนั้น  แต่เมื่อมันถูกเอาออกมาจากโพรงหินแล้ว  มันก็ได้เสียชีวิตทันที”  รายงานอีกฉบับหนึ่งเกี่ยวกังคางคก  ซึ่งถูกตั้งชื่อว่าโอลด์ริพ (OLD  RIP) ซึ่งดูเหมือนจะยังมีช๊วิตอยู่หลังจากที่ได้ฝังตัวอยู่ในหินที่เป็น  “ศิลาฤกษ์”  ของที่ทำการศาลแห่งหนึ่งในเมืองเชนแน็คทาดี้  (SCHENECTADY)  มาเป็นเวลากว่า  30 ปี

ด้วยความฉงนฉงายเมื่อได้อ่านรายงานทำนองนี้  นักธรรมชาติวิทยาผู้มีชื่อเยงชาวอังกฤษคนหนึ่งชื่อ  ดร.  วิลเลี่ยม  บัคแลนด์ (DR WILLIAM  BUCKLAHD)  ได้นำเดินการทดลองเพื่อหาข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ด้วยกรรมวิธีที่ค่อนข้างจะวิตถาร  ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 1875  ดร. บัคแลนด์ได้ทำการฝังตัวคางคกจำนวน 24 ตัว  ไว้ในช่องเล็กๆซึ่งผนึกอย่างเรียบร้อยโดยบางตัวไปตามช่องหินปูนที่ปิดทึบและบางตัวก็ผนึกไว้ในช่องหินปูนเหล่านั้น  เป็นเวลากว่าปีคือเมื่อวันที่  10  ธันวาคม  1976  คางคกทั้งหมดที่ถูกผนึกอยู่ในช่องหินปูนที่แน่นทึบนั้นตายหมด  และใด้ตายไปแล้วเป็นเวลาตั้งหลายเดือน  แต่คางคกบางตัวที่ถูกผนึกอยู่ในช่องหินปูนที่มีรุเล็กๆพรุนอยู่นั้นยังมีชีวิตอยู่  ถึงแม้ตอนหลังจะตายเพราะทดอาหาร  เมื่อมันต้องถูกนำไปผนึกอยู่ในช่องหินปูนต่อไปอีกหนึ่งปีในนามวิทยาศาสตร์  คางคกบางตัวซึ่งถุกนำไปฝังไว้ในโพรงของต้นแอบเปิ้ล  และอุดปากโพรงหินโดยไม่มีอากาศเลยเป็นเวลาถึงหนึ่งปีได้และก็เป็นที่แน่นอนว่ามันไม่อาจจะทนอยู่ถึง 2ปี  โดยไม่ได้กินอาหารได้  ดร.บัคแลนด์เขียนไว้ว่า
“…..ข้าพเจ้าคิดว่า  เราอาจจะได้พบคำตอบของปรากฏการณ์ทำนองนี้ได้จากการศึกษาสังเกตนิสัยของสัตว์เลื้อยคลานเหล่านี้  และรวมทั้งพวกแมลงต่างๆ  ที่เป็นอาหารของมันด้วยความพยายามขั้นแรกของลูกคางคก  ทันทีมันพ้นจากสถาวะของลูกอ๊อด  และโผ่ลขึ้นมาจากน้ำแต่ละตัวเมื่อยังมีขนาดเล้กอยู่อาจจะเข้าไปอาศัยอยู่ในโพรงหิน  โดยแทรกตัวเข้าไปตามรูหรือรอยแตกเล็กๆ  และเมื่อเข้าไปในโพรงหิน  โดยแทรกตัวเข้าไปตามรุหรือรอยแตกเล็กๆ  และเมื่อเข้าไปอาศัยอยู่ในโพรงหิน  โดยแทรกตัวเข้าไปตามรูหรือรอยแตกเล็กๆ  และเมื่อเข้าไปในโพรงหินนั้นแล้วมันก็อาจจะได้พบสิ่งที่มันสามารถกินเป็นอาหารได้เป็นจำนวนมาก  เพราะแมลงเล็กๆ เหล่านี้ก็ได้เข้าไปหลบอยู่ในโพรงหินนั้นด้วยวัตถุประสงค์แบบเดียวกับลูกคางคกเหมือนกัน  เมื่อมีอาหารสมบูรณ์เช่นั้นในไม่ช้า  คางคกเหล่านี้ก็จะเติบโตขึ้นจนไมสามารถจะออกทาจากรอยแยก  หรือรูเล็กๆที่มันเข้าไปเมื่อตอนแรกได้อีก  พวกคนงานที่ไปพบคางคกถูกฝังอยู่ในหินอาจจะไม่ได้สังเกตว่าหินนั้นมีรู  หรือรอยแตกอยู่ก็ได้  เพราะพวกเขาก็เป็นพวกเดียวที่ทำงานประเภทนี้  และเป็นผู้ที่พบคางคกฝังอยู่ในโพรงหิน  หรือโพรงไม้นั้น”

คำชี้แจงเช่นนี้น่าจะเป็นคำอธิบายที่เป็นไปได้อย่างยิ่งเกี่ยวกับคางคก  ที่ถูกแปรสภาพเป้นเหมือนซากอาบยาที่มีตัวอย่างเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์เมืองไบรทตัน (BRIGHTON  MUSEUM) ซึ่งเป็นหัวเมืองตากอากาศชายทะเลของประเทศอังกฤษ  พร้อมไปด้วยโพรงหินที่มันได้เข้าไปจำศีลอยู่เหตุที่มันถูกค้นพบก็เมื่อคนงานสองคนได้พบก้อนหินขนาดเบา  ที่มีลักษณะประหลาดก้อนหึ่งที่เมืองลิวเวส (LEWES) และได้ก่อให้เกิดความตื่นเต้นไม่ใช่น้อยในตอนนั้น  มันอาจจะเป็นตัวอย่างเพียงเดียวที่รู้จักเกี่ยวกับ “คางคกที่เข้าไปจำศีลอยู่ในก้อนหิน”  ที่อยุ่ในความครอบครองของมนุษย์ละก็เป็นการพิสูจน์ว่า  ข่าวลือเกี่ยวกับปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่มีมูล  อันที่จริงหลังจากที่มีพอเจ้าคางคกที่กลายเป็น  “มัมมี่”  ตัวนี้เข้า  นักวิทยาศาสตร์ที่ไปทำการตราวจสอบเรื่องนี้ก็ได้พบรูเล็กๆ รูหนึ่งอยู่ตรงปลายด้านหนึ่งของหินก้อนนั้น  ซึ่งต่อมารูเล็กๆนี้ก้มีโคลนของหินช็อล์คเข้าไปอุดจนตันไปหมด

หลักการคร่าวๆก็คือพวกสัตว์เลือดเย็น-เลือดอุ่น รวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แมลงและนกบางชนิดมีการปรับตัวเพื่อเผชิญกับฤดูหนาวโดยการสะสมอาหาร(กินเผื่อไว้เยอะๆ)หาที่สงบปลอดภัย แล้วทิ้งตัวลงนอนนิ่งๆในนั้นจนกว่าอากาศข้างนอกจะเริ่มอุ่นขึ้นพวกเขาก็จะตื่นและทยอยออกมาเริ่มต้นชีวิตกันใหม่

สัตว์ที่จำศีลจะแตกต่างกับสัตว์ที่นอนหลับ สัตว์ที่นอนหลับนั้นร่างกายของพวกเขาจะขยับบ้างเป็นบางครั้งและสมองก็จะสั่งงานตามปกติ สัตว์ที่นอนหลับสามารถที่จะตื่นขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว

การจำศีลของสัตว์นั้นมีอยู่สองชนิดคือ

True Hybernator คือการจำศีลจริง ลักษณะการจำศีลของสัตว์พวกที่จำศีลจริงนี้จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับการตายมากเพราะว่าจังหวะการเต้นของหัวใจของพวกเขาจะเต้นช้าลงๆ และอุณหภูมิในร่างกายของพวกเขาก็จะลดลงใกล้เคียงกับอุณหภูมิภายนอกอย่างมาก การหายใจก็จะเป็นไปอย่างช้าๆแผ่วเบา  สัตว์เหล่านั้นต้องการใช้เวลานานมากในการตื่นขึ้นและขยับตัวเพื่อกลับคืนสู่สภาวะปกติ สัตว์บางจำพวกเช่น หมี ไม่มีการจำศีลแบบ True Hybernator นี้

ในช่วงปลายหน้าร้อน หรือฤดูใบไม้ผลิ สัตว์ที่จะทำการจำศีลนี้จะต้องออกหากินบ่อยพวกเขาจะต้องตระเตรียมกินอาหารจำนวนมากเพื่อกักตุนเอาไว้ ช่วงที่พวกเขาจำศีลร่างกายของพวกเขาจะอยู่ได้ก็โดยธาตุอาหารที่เก็บกักเอาไว้ในชั้นไขมันไต้ผิวหนังนั่นหละครับ พวกเขาจะมองหาโพรงหรือถ้ำหรือรูโดยที่พวกเขาจะทิ้งตัวลงนอนอยู่ภายในนั้นตลอดหลายเดือนแห่งการจำศีลนั่นเลยทีเดียว
สัตว์บางชนิดจะจำศีลโดยมีการตื่นขึ้นมาเป็นครั้งคราวเพื่อรับประทานของว่างที่พวกเขาได้ตระเตรียมไว้เคลื่อนไหวตัวอยู่ภายในโพรงและจะกลับไปสู่ภาวการณ์จำศีลเหมือนเดิม

Torpor คือการจำศีลเทียมในระยะสั้นๆ เป็นภาวะการนอนหลับที่คล้ายกับการณ์จำศีล พวกสัตว์จะมีอุณหภูมิในร่างกายที่ลดลงเช่นกัน หัวใจก็เต้นช้าลง แต่พวกเขาจะสามารถลุกตื่นขึ้นมาและขยับเดินไปรอบๆที่พักของพวกเขาเองได้ กระบวนการจะนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆเช่น ค้างคาวบางชนิดจะออกหาอาหารและตื่นตัวในเวลากลางคืนแต่จะกลับมานอนสงบนิ่งที่รังในตอนกลางวัน และพวกเขาก็จะเริ่มเข้าสู่กระบวนการการจำศีลเทียมเพื่อการสะสมพลังงานของร่างกายไว้ใช้ในวันต่อไปนั่นเอง กระบวนการนี้เกิดขึ้นตลอดฤดูหนาวในแถบภูมิภาคที่มีอากาศในฤดูหนาวที่หนาวมากๆ






ที่มา
http://www.krabork.com
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=289962

ฮือฮา พบสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำพันธุ์ใหม่หน้าตาประหลาด คล้าย"ไส้เดือนผสมงู" ในอินเดีย


ฮือฮา พบสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำพันธุ์ใหม่หน้าตาประหลาด คล้าย"ไส้เดือนผสมงู" ในอินเดีย
คณะนักวิทยาศาสตร์ค้นพบตระกูลสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำไร้ขาพันธุ์ใหม่ ที่มีหน้าตาคล้ายงูและไส้เดือน ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย

สัตว์สายพันธุ์ดังกล่าว ซึ่งเมื่อมองในครั้งแรกมีความคล้ายคลึงกับไส้เดือนเป็นอย่างมาก ถูกขุดพบตามโคลนดินที่อยู่ในป่า และมีความใกล้ชิด กับสัตว์สกุลซีซิเลียน (Caecilians) หรือสัตว์พวกเขียดงู หรือชื่อเดิมคืองูดิน จัดเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกไม่มีเกล็ด ที่อาศัยอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้ ทวีปแอฟริกา และเอเชียใต้  โดยเพศเมียจะคอยฟักไข่เป็นเวลา 2-3 เดือนโดยไม่กินอะไรเลย

คณะนักวิทยาศาสตร์ออกวิจัยเป็นเวลา 5 ปีตามพื้นที่ห่างไกลในรัฐสิกขิม อรุณาจัลประเทศ และนาคาแลนด์จนพบสัตว์ในกลุ่มซีซิเลียนไร้ขาผิวหนังเรียบลื่น ขนาดลำตัวยาว 8 นิ้ว อาศัยอยู่ในดินชุ่มชื้นหรือขุดโพรงอยู่ในชั้นใต้ดิน

 ศ.เอส.ดี บิจู แห่งมหาวิทยาลัยเดลีของอินเดีย ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการร่วมกับทีมวิจัยจากอังกฤษและเบลเยียม กล่าวว่า หลังการค้นพบ ไม่สามารถระบุได้ว่ามันอยู่ในสปีชีส์, สกุล หรือวงศ์ใด แต่หลังจากการวิเคราะห์ด้านสัณฐานวิทยา และดีเอ็นเอแล้ว ยืนยันได้ว่าเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำตระกูลใหม่ ซึ่งถือเป็นสัตว์ตระกูลซีซิเลียนพันธุ์ที่ 10 ซึ่งแยกมาจากสัตว์สกุลที่ใกล้ที่สุดที่อาศัยในแอฟริกาเมื่อกว่า 140 ล้านปีก่อน โดยได้รับการตั้งชื่อตามภาษาท้องถิ่นว่า "Chikilidae" ซึ่งดัดแปลงมาจากภาษากาโร ที่ใช้เรียกมันในเขตที่มีการค้นพบ

เขากล่าวว่าการทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยเป็นปัญหาคุกคามของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำทั่วโลก ซึ่งการค้นพบครั้งนี้พิสูจน์ให้เห็นว่า เราต้องช่วยกันปกป้องสิ่งแวดล้อมเพื่อรักษาธรรมชาติเอาไว้ ซึ่งภัยคุกคามของมันก็คือ ชาวบ้านที่ฆ่ามันเพราะคิดว่าเป็นงูพิษ

นักวิทยาศาสตร์เผยว่า สัตว์จำพวกนี้เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่ง เนื่องมาจากการเติบโตของประชากรและพื้นที่เมือง รวมถึงการเพาะปลูกและเผาพื้นที่เกษตรกรรม นอกจากนั้น พวกมันยังเป็นสัตว์ที่สังเกตเห็นได้ยาก เนื่องจากมักจะอาศัยอยู่ในพื้นดินหรือไม่ก็เศษซากใบไม้ที่จมอยู่ในโคลน

ยอมให้ลูกกินผิวหนังตนเองเป็นอาหาร

เขียดงู (อังกฤษ: Caecilian, อันดับ: Gymnophiona) เป็นอันดับของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gymnophiona

มีลักษณะโดยรวมของรูปร่าง คือ ลำตัวเรียวยาวคล้ายงูหรือปลาไหล มีทั้งอาศัยอยู่บนบก ในโพรงดิน และในน้ำ โดยลดรูปโครงสร้างหลายประการซึ่งเป็นลักษณะที่พบกับสัตว์ที่มีลำตัวเรียวยาวหรืออาศัยอยู่ในโพรง กล่าว คือ หางมีขนาดเล็กมากหรือไม่มีเลย ไม่มีรยางค์ขาหรือฐานรยางค์ แต่ในสกุล Eocaecilia ที่เป็นซากดึกดำบรรพ์มีรยางค์ขา ตามีขนาดเล็กและบางชนิดอยู่ในร่องของกระดูกกะโหลกและถูกชั้นหนังปกคลุมไว้ ปอดข้างซ้ายมีขนาดเล็กหรือไม่มี ขณะที่บางวงศ์ที่อาศัยอยู่ในน้ำจะไม่มีปอด บางชนิดมีเกล็ดฝังตัวอยู่ในร่องที่แบ่งลำตัวเป็นปล้อง การปฏิสนธิเกิดขึ้นภายใน โดยตัวผู้จะมีอวัยวะถ่ายอสุจิเจริญจากผนังของห้องทวารร่วม บางชนิดวางไข่ในน้ำ และมีระยะเวลาของวัยอ่อนและบางชนิดวางไข่บนบกโดยไม่มีระยะวัยอ่อน ตัวเมียมีพฤติกรรมเฝ้าไข่ แต่เขียดงูส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 75 ออกลูกเป็นตัว วัยอ่อนภายในท่อนำไข่ได้รับสารอาหารจากสิ่งผลิตภายในท่อนำไข่

มีลักษณะเด่น คือ ลำตัวเป็นปล้อง ปล้องของลำตัวโดยทั่วไปมีจำนานเท่ากับจำนวนปล้องของกระดูกสันหลัง แต่บางชนิดอาจมีปล้องลำตัวจำนวนสองปล้องหรืออาจจะถึงสามปล้องต่อกระดูกสันหลังหนึ่งปล้อง โดยปล้องลำตัวปฐมภูมิเจริญขึ้นมาก่อนต่อจากนั้นจึงมีปล้องลำตัวทุติยภูมิหรือปล้องลำตัวตติยภูมิเจริญขึ้นมาเป็นลำดับต่อมา เกล็ดของเขียดงูประกอบด้วยคอลลาเจนหลายชั้นเรียงซ้อนกันและฝังตัวอยู่ในร่องตรงส่วนลึกที่สุดของปล้องลำตัวปฐมภูมิ โดยเรียงเป็นลำดับต่อเนื่องกันในแนวเฉียง

กะโหลกของเขียดงูมีชิ้นของกระดูกยึดติดกันแข็งแรงและส่วนใหญ่ไม่มีช่องเปิดที่กะโหลก นอกจากช่องเปิดของอวัยวะรับความรู้สึก ได้แก่ ตา, จมูก, หนวด ในบางวงศ์มีช่องเปิดบริเวณขมับ กระดูกกะโหลกจึงขยับได้บ้าง ฟันที่ขากรรไกรบนอยู่บนกระดูกพรีแมคซิลลา กระดูกแมคซิลโลพาลาทีนและกระดูกโวเมอร์ มีอวัยวะรับรู้จำเพาะ คือ อวัยวะที่แลดูคล้ายหนวด ที่เจริญขึ้นมาจากช่องเปิดที่อยู่ระหว่างตากับช่องเปิดจมูก ตำแหน่งของช่องเปิดหนวดแตกต่างกันในแต่ละชนิด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการอนุกรมวิธาน สัดส่วนความยาวของหนวดที่โผล่พ้นช่องเปิดออกมาก็แตกต่างกันในแต่ละวงศ์ โดยหนวดเป็นโครงสร้างเชิงซ้อนประกอบด้วยกล้ามเนื้อ, ต่อม และท่อ การเจริญของหนวดสัมพันธ์กับตาและอวัยวะจาคอบสัน ซึ่งทำหน้าที่รับรู้สารเคมี

เขียดงูแบ่งออกได้เป็นทั้งหมด 6 วงศ์ (ในขณะที่บางข้อมูลแบ่งเพียง 3 วงศ์)โดยใช้หลักการแบ่งทางรูปร่างโครโมโซมและลักษณะทางโมเลกุล และสันฐานวิทยา โดยมีทั้งหมดราว 174 ชนิด ใน 33 สกุล กระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อน ยกเว้นบนเกาะมาดากัสการ์และทางตะวันออกของเส้นสมมติวอลเลซ ในประเทศไทยพบได้ 1 วงศ์ เช่น เขียดงูเกาะเต่า (Ichthyophis kohtaoensis) เป็นต้น
การจำแนก (วงศ์)
- Rhinatrematidae
- Ichthyophiidae
- Uraetyphidae
- Scolecomorphidae
- Caecililidae
- Typhlonectidae


ส่วนหน้าของเขียดงูไม่ทราบชนิด (Ichthyophis sp.) ในวงศ์เขียดงู (Ichthyophiidae)


การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร : Animalia
ไฟลัม : Chordata
ชั้น : Amphibia
ชั้นย่อย : Lissamphibia
อันดับ : Gymnophiona


ที่มาข้อมูล
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1329911682&grpid=01&catid=&subcatid=
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B8%B9