ไม่มีนักวิทยาศาสตร์คนใดที่ทราบ หรือมีประสบการณ์โดยตรงกับความลึกลับอีกอย่างหนึ่ง คือเรื่องประหลาดเกี่ยวกับกบซึ่งดูเหมือนจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เป็นเวลานานทั้งๆ ที่จำศีลอยู่ในก้อนหิน
ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมานี้ได้มีข่าวปรากฏอยู่เสมอว่าพวกกรรมกรขุดถ่านหินหรือคนงานที่ทำงานอยู่ในบ่อถ่านหิน ขณะที่ทำการระเบิดหินหรือขุดถ่านหินขึ้นมาจากบ่อบางครั้งก็จะมีกบหรือคางคกกระโดดออกมา
ตัวอย่างที่เห็นจริงจังรายหนึ่งเดี่ยวกับ “กบที่จำศีลในโพรงหิน” คือเมื่อนักธรณีวิทยาชาวอังกฤษชื่อ ดร.แจ๊ค เทรียกัส (DR.JACK TREAGUS) แห่งมหาลัยแมนเซสเตอร์เป็นผู้ค้นพบและที่ ไวท์วัทสัน (WHITE WATSON) นักธรณีวิทยาชาวอังกฤษผู้มีชื่อของมณฑลดาร์บี้เชียร์ (DERBYSHIRE) บันทึกไว้รายงานประจำปี 1811 เข้าได้เขียนไว้ว่า “ในเมืองโบลสโสเวอร์ฟิลด์ (BOLSOVER FIELD) เมื่อปี 1795 ขณะที่พวกคนงานกำลังทุบหินปูนซึ่งมีน้ำหนักประมาณหนึ่งตันครึ่ง ก็ได้พบคางคกตัวหนึ่งซึ่งยังมีชีวิตอยู่ฝังตัวอยู่ในก้อนหินปูนก้อนนั้น แต่เมื่อมันถูกเอาออกมาจากโพรงหินแล้ว มันก็ได้เสียชีวิตทันที” รายงานอีกฉบับหนึ่งเกี่ยวกังคางคก ซึ่งถูกตั้งชื่อว่าโอลด์ริพ (OLD RIP) ซึ่งดูเหมือนจะยังมีช๊วิตอยู่หลังจากที่ได้ฝังตัวอยู่ในหินที่เป็น “ศิลาฤกษ์” ของที่ทำการศาลแห่งหนึ่งในเมืองเชนแน็คทาดี้ (SCHENECTADY) มาเป็นเวลากว่า 30 ปี
ด้วยความฉงนฉงายเมื่อได้อ่านรายงานทำนองนี้ นักธรรมชาติวิทยาผู้มีชื่อเยงชาวอังกฤษคนหนึ่งชื่อ ดร. วิลเลี่ยม บัคแลนด์ (DR WILLIAM BUCKLAHD) ได้นำเดินการทดลองเพื่อหาข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ด้วยกรรมวิธีที่ค่อนข้างจะวิตถาร ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 1875 ดร. บัคแลนด์ได้ทำการฝังตัวคางคกจำนวน 24 ตัว ไว้ในช่องเล็กๆซึ่งผนึกอย่างเรียบร้อยโดยบางตัวไปตามช่องหินปูนที่ปิดทึบและบางตัวก็ผนึกไว้ในช่องหินปูนเหล่านั้น เป็นเวลากว่าปีคือเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 1976 คางคกทั้งหมดที่ถูกผนึกอยู่ในช่องหินปูนที่แน่นทึบนั้นตายหมด และใด้ตายไปแล้วเป็นเวลาตั้งหลายเดือน แต่คางคกบางตัวที่ถูกผนึกอยู่ในช่องหินปูนที่มีรุเล็กๆพรุนอยู่นั้นยังมีชีวิตอยู่ ถึงแม้ตอนหลังจะตายเพราะทดอาหาร เมื่อมันต้องถูกนำไปผนึกอยู่ในช่องหินปูนต่อไปอีกหนึ่งปีในนามวิทยาศาสตร์ คางคกบางตัวซึ่งถุกนำไปฝังไว้ในโพรงของต้นแอบเปิ้ล และอุดปากโพรงหินโดยไม่มีอากาศเลยเป็นเวลาถึงหนึ่งปีได้และก็เป็นที่แน่นอนว่ามันไม่อาจจะทนอยู่ถึง 2ปี โดยไม่ได้กินอาหารได้ ดร.บัคแลนด์เขียนไว้ว่า
“…..ข้าพเจ้าคิดว่า เราอาจจะได้พบคำตอบของปรากฏการณ์ทำนองนี้ได้จากการศึกษาสังเกตนิสัยของสัตว์เลื้อยคลานเหล่านี้ และรวมทั้งพวกแมลงต่างๆ ที่เป็นอาหารของมันด้วยความพยายามขั้นแรกของลูกคางคก ทันทีมันพ้นจากสถาวะของลูกอ๊อด และโผ่ลขึ้นมาจากน้ำแต่ละตัวเมื่อยังมีขนาดเล้กอยู่อาจจะเข้าไปอาศัยอยู่ในโพรงหิน โดยแทรกตัวเข้าไปตามรูหรือรอยแตกเล็กๆ และเมื่อเข้าไปในโพรงหิน โดยแทรกตัวเข้าไปตามรุหรือรอยแตกเล็กๆ และเมื่อเข้าไปอาศัยอยู่ในโพรงหิน โดยแทรกตัวเข้าไปตามรูหรือรอยแตกเล็กๆ และเมื่อเข้าไปในโพรงหินนั้นแล้วมันก็อาจจะได้พบสิ่งที่มันสามารถกินเป็นอาหารได้เป็นจำนวนมาก เพราะแมลงเล็กๆ เหล่านี้ก็ได้เข้าไปหลบอยู่ในโพรงหินนั้นด้วยวัตถุประสงค์แบบเดียวกับลูกคางคกเหมือนกัน เมื่อมีอาหารสมบูรณ์เช่นั้นในไม่ช้า คางคกเหล่านี้ก็จะเติบโตขึ้นจนไมสามารถจะออกทาจากรอยแยก หรือรูเล็กๆที่มันเข้าไปเมื่อตอนแรกได้อีก พวกคนงานที่ไปพบคางคกถูกฝังอยู่ในหินอาจจะไม่ได้สังเกตว่าหินนั้นมีรู หรือรอยแตกอยู่ก็ได้ เพราะพวกเขาก็เป็นพวกเดียวที่ทำงานประเภทนี้ และเป็นผู้ที่พบคางคกฝังอยู่ในโพรงหิน หรือโพรงไม้นั้น”
คำชี้แจงเช่นนี้น่าจะเป็นคำอธิบายที่เป็นไปได้อย่างยิ่งเกี่ยวกับคางคก ที่ถูกแปรสภาพเป้นเหมือนซากอาบยาที่มีตัวอย่างเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์เมืองไบรทตัน (BRIGHTON MUSEUM) ซึ่งเป็นหัวเมืองตากอากาศชายทะเลของประเทศอังกฤษ พร้อมไปด้วยโพรงหินที่มันได้เข้าไปจำศีลอยู่เหตุที่มันถูกค้นพบก็เมื่อคนงานสองคนได้พบก้อนหินขนาดเบา ที่มีลักษณะประหลาดก้อนหึ่งที่เมืองลิวเวส (LEWES) และได้ก่อให้เกิดความตื่นเต้นไม่ใช่น้อยในตอนนั้น มันอาจจะเป็นตัวอย่างเพียงเดียวที่รู้จักเกี่ยวกับ “คางคกที่เข้าไปจำศีลอยู่ในก้อนหิน” ที่อยุ่ในความครอบครองของมนุษย์ละก็เป็นการพิสูจน์ว่า ข่าวลือเกี่ยวกับปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่มีมูล อันที่จริงหลังจากที่มีพอเจ้าคางคกที่กลายเป็น “มัมมี่” ตัวนี้เข้า นักวิทยาศาสตร์ที่ไปทำการตราวจสอบเรื่องนี้ก็ได้พบรูเล็กๆ รูหนึ่งอยู่ตรงปลายด้านหนึ่งของหินก้อนนั้น ซึ่งต่อมารูเล็กๆนี้ก้มีโคลนของหินช็อล์คเข้าไปอุดจนตันไปหมด
หลักการคร่าวๆก็คือพวกสัตว์เลือดเย็น-เลือดอุ่น รวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แมลงและนกบางชนิดมีการปรับตัวเพื่อเผชิญกับฤดูหนาวโดยการสะสมอาหาร(กินเผื่อไว้เยอะๆ)หาที่สงบปลอดภัย แล้วทิ้งตัวลงนอนนิ่งๆในนั้นจนกว่าอากาศข้างนอกจะเริ่มอุ่นขึ้นพวกเขาก็จะตื่นและทยอยออกมาเริ่มต้นชีวิตกันใหม่
สัตว์ที่จำศีลจะแตกต่างกับสัตว์ที่นอนหลับ สัตว์ที่นอนหลับนั้นร่างกายของพวกเขาจะขยับบ้างเป็นบางครั้งและสมองก็จะสั่งงานตามปกติ สัตว์ที่นอนหลับสามารถที่จะตื่นขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว
การจำศีลของสัตว์นั้นมีอยู่สองชนิดคือ
True Hybernator คือการจำศีลจริง ลักษณะการจำศีลของสัตว์พวกที่จำศีลจริงนี้จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับการตายมากเพราะว่าจังหวะการเต้นของหัวใจของพวกเขาจะเต้นช้าลงๆ และอุณหภูมิในร่างกายของพวกเขาก็จะลดลงใกล้เคียงกับอุณหภูมิภายนอกอย่างมาก การหายใจก็จะเป็นไปอย่างช้าๆแผ่วเบา สัตว์เหล่านั้นต้องการใช้เวลานานมากในการตื่นขึ้นและขยับตัวเพื่อกลับคืนสู่สภาวะปกติ สัตว์บางจำพวกเช่น หมี ไม่มีการจำศีลแบบ True Hybernator นี้
ในช่วงปลายหน้าร้อน หรือฤดูใบไม้ผลิ สัตว์ที่จะทำการจำศีลนี้จะต้องออกหากินบ่อยพวกเขาจะต้องตระเตรียมกินอาหารจำนวนมากเพื่อกักตุนเอาไว้ ช่วงที่พวกเขาจำศีลร่างกายของพวกเขาจะอยู่ได้ก็โดยธาตุอาหารที่เก็บกักเอาไว้ในชั้นไขมันไต้ผิวหนังนั่นหละครับ พวกเขาจะมองหาโพรงหรือถ้ำหรือรูโดยที่พวกเขาจะทิ้งตัวลงนอนอยู่ภายในนั้นตลอดหลายเดือนแห่งการจำศีลนั่นเลยทีเดียว
สัตว์บางชนิดจะจำศีลโดยมีการตื่นขึ้นมาเป็นครั้งคราวเพื่อรับประทานของว่างที่พวกเขาได้ตระเตรียมไว้เคลื่อนไหวตัวอยู่ภายในโพรงและจะกลับไปสู่ภาวการณ์จำศีลเหมือนเดิม
Torpor คือการจำศีลเทียมในระยะสั้นๆ เป็นภาวะการนอนหลับที่คล้ายกับการณ์จำศีล พวกสัตว์จะมีอุณหภูมิในร่างกายที่ลดลงเช่นกัน หัวใจก็เต้นช้าลง แต่พวกเขาจะสามารถลุกตื่นขึ้นมาและขยับเดินไปรอบๆที่พักของพวกเขาเองได้ กระบวนการจะนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆเช่น ค้างคาวบางชนิดจะออกหาอาหารและตื่นตัวในเวลากลางคืนแต่จะกลับมานอนสงบนิ่งที่รังในตอนกลางวัน และพวกเขาก็จะเริ่มเข้าสู่กระบวนการการจำศีลเทียมเพื่อการสะสมพลังงานของร่างกายไว้ใช้ในวันต่อไปนั่นเอง กระบวนการนี้เกิดขึ้นตลอดฤดูหนาวในแถบภูมิภาคที่มีอากาศในฤดูหนาวที่หนาวมากๆ
ที่มา
http://www.krabork.com
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=289962