วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

คอรันดัม (Corundum)



การจำแนก
ประเภท : สารประกอบอะลูมิเนียมออกไซด์
สูตรเคมี : Al2O3

คุณสมบัติ
สี : ใส ขาว เขียว เหลือง ชมพู แดง ฟ้า สีขาว โปร่งใส ถึง โปร่งแสง วาวแบบแก้ว ถึง วาวแบบเพชร
รูปแบบผลึก : รูปผลึกแบบหกเหลี่ยม
โครงสร้างผลึก : ไตรโกนาล
ค่าความแข็ง : 9
การเปลี่ยนสี : ไม่มี
สีผงละเอียด : ขาว
ความถ่วงจำเพาะ : 3.95-4.1
จุดหลอมเหลว : 2044 °C
สภาพละลายได้ : ไม่สามารถละลายได้

คอรันดัม (อังกฤษ: Corundum) ( Al2O3) เป็นแร่รัตนชาติ ประเภทอะลูมิเนียมออกไซด์ ซึ่งประกอบขึ้นด้วย ธาตุอะลูมิเนียม และออกซิเจน

คุณสมบัติ
- มีค่าความแข็งที่ 9 ตามสเกลของโมส์ (Moh's scale)
- มีค่าความถ่วงจำเพาะที่ 3.95-4.1
- มีลักษณะเป็นระบบเฮกซะโกนอล รูปผลึกหกเหลี่ยม
- สี มีหลายสีเช่น ใส ขาว เขียว เหลือง ชมพู แดง ฟ้า สีขาว โปร่งใส ถึง โปร่งแสง วาวแบบแก้ว ถึง วาวแบบเพชร
- ถ้าเป็นสีฟ้าหรือน้ำเงินเรียกว่าไพลิน
- ถ้าเป็นสีแดงจะเรียกว่าทับทิม
- ถ้าเป็นสีเหลืองเรียกว่าบุษราคัม
- ถ้าเป็นสีเขียวเรียกว่าเขียวส่อง
- ถ้าเป็นสีชมพูอมส้มเรียกว่าพัดพารัดชา
- ถ้าสีไม่สดจะเป็นขี้พลอย หรือเรียกว่ากากกะรุน

ประวัติ
มาจากภาษาสันสกฤต (Kuruvinda) หมายถึง Ruby หรือทับทิม

การกำเนิด
พบในหินหลายชนิด ในประเทศไทยพบในหินภูเขาไฟชนิดหินบะซอลท์ ต่างประเทศพบในหินแปร หินเปกมาไทต์ หินอัคนีชนิดหินไซอีไนต์ และหินเนฟีลีนไซอีไนต์

แหล่งที่พบ
 ในประเทศไทย พบได้ทั่วไปในจังหวัด จันทบุรี ตราด แพร่ เพชรบูรณ์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี กาญจนบุรี และลพบุรี
 ในต่างประเทศ สามารถพบในประเทศ พม่า กัมพูชา ศรีลังกา ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา
ที่มา
วิกีพีเดีย