วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

กล้องอวกาศ (Space Telescope)

กล้องอวกาศ (Space Telescope)

วัตถุท้องฟ้าต่างๆที่อยู่นอกโลกเรานั้น นอกจากเราจะรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสของตา ที่เราเรียกว่า ช่วงคลื่นตามองเห็น (Visible Light) จาก Chat ข้างบนจะเห็นว่ามีความกว้าง (Band Width) แคบมากๆ ดังนั้นการรับรู้ด้วยประสาทตาจึงแคบเกินไป เพราะปกติวัตถุท้องฟ้าจะมีการแพร่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาหลายช่วงความถี่ ตั้งแต่ต่ำมากๆในระดับคลื่นวิทยุ เช่นพวก พัลซ่าร์ ซึ่งเรารับรู้ได้โดยการติดตั้งจานรับสัญญาณขนาดใหญ่บนภาคพื้นดิน หรือสูงขึ้นมาอีกหน่อย ก็พวกคลื่นไมโครเวฟ หรือ Infrared หรือรังสีใต้แดง รังสี Ultraviolet หรือรังสีเหนือม่วง รังสีเอ็กซ์ และรังสีแกรมม่า

เนื่องจากรังสีที่กล่าวมานี้ จะถูกกั้นไว้ด้วยชั้นบรรยากาศของโลก เพื่อป้องกันอันตรายที่จะมาทำลายสิ่งมีชีวิต เพราะรังสีเหล่านี้มีพลังงานสูงมาก นั่นเป็นข้อดีของชั้นบรรยากาศโลก แต่ก็เหมือนดาบสองคม ข้อเสียที่ตามมาคือ ทำให้เราไม่สามารถรับรู้รังสีช่วงคลื่นเหล่านั้นจากนอกโลกได้ เพื่อการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ทางแก้อย่างเดียวคือต้องส่งอุปกรณ์ขึ้นไปตรวจจับนอกชั้นบรรยากาศโลก ทำให้มีโครงการกล้องอวกาศขึ้น

กล้องอวกาศตัวแรกที่ถูกใช้งานบนวงโคจรก็คือ ATM หรือ Apollo Telescope Mount ซึ่งติดตั้งไว้บนสถานีอวกาศสกายแล็บ และต้องเลิกใช้ไปเมื่อเสร็จภาระกิจของสกายแล็บ เมื่อปีพศ.2522

หลังจากนั้นก็มีการส่งกล้องอวกาศขึ้นไปวงโคจรอีกในรูปแบบของดาวเทียม เพื่อความคล่องตัวในการควบคุม และที่ประสบผลสำเร็จมากที่สุดก็คือกล้องอวกาศฮับเบิล และตามมาด้วยจันทราเอ็กซ์เรย์ และ สปิตเซอร์ ด้วยความสำเร็จและประสิทธิภาพของกล้องอวกาศรุ่นก่อนๆ ทำให้มีโครงที่จะส่งกล้องอวกาศขึ้นสู่วงโคจรอีกมากมาย


ที่มา
http://www.darasart.com/spacetelescope/main.htm