โครงการไวกิ้ง Viking Mission to Mars
โครงการไวกิ้งของนาซ่าสู่ดาวอังคาร เป็นโครงอวกาศที่มียานอวกาศสองลำคือ Viking 1 และ Viking 2 แต่ละลำจะประกอบด้วยยานโคจร (Viking orbiter) และ ยานสำรวจ (Viking lander) วัตถุประสงค์เพื่อถ่ายภาพความละเอียดสูงของผิวดาวอังคาร ศึกษาโครงสร้างและองค์ประกอบของชั้นบรรยากาศ รวมทั้งค้นหาสิ่งมีชีวิตด้วย.
Viking 1 ปล่อยจากฐานเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 1975 และถึงดาวอังคาร 19 มิถุนายน 1976 ใช้เวลา 10 เดือน ช่วงเดือนแรกในวงโคจร จะถ่ายภาพพื้นผิว และสำรวจจุดปล่อยยานสำรวจ ในวันที่ 20 กรกฏาคม 1976 Viking 1 Lander แยกตัวจากวงโคจรแล้วลงบนดาวอังคาร ที่ Chryse Planitia ตำแหน่ง 22.48 องศาเหนือ 49.97 องศาตะวันตก
Viking 2 ปล่อยจากฐานเมื่อวันที่ 9 กันยายน 1975 ถึงดาวอังคาร 7 สิงหาคม 1976 ใช้เวลา 11 เดือน Viking 2 Lander ลงดาวอังคาร ที่ Utopia Planitia ตำแหน่ง 47.97องศาเหนือ 225.74 องศาตะวันตก เมื่อวันที่ 3 กันยายน 1976
สำหรับยานแม่ที่โคจรอยู่ ได้ส่งภาพพื้นผิวของดาวอังคาร ที่ระดับความสูงต่ำสุด 300 กิโลเมตร โดยมีรอบการโคจรรอบดาวอังคาร 1,400 รอบและ 706 รอบของยานไวกิ้ง 1 และ 2 ตามลำดับ
ยาน Viking Landers ได้ส่งภาพพื้นผิวดาวอังคาร วิเคราะห์ตัวอย่างหินและหาองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต ศึกษาสภาพอากาศและองค์ประกอบ Viking 2 Lander สิ้นสุดการส่งภาพเมื่อวันที่ 11 เมษายน 1980 ส่วน Viking 1 Lander สิ้นสุดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 1982 หลังจากที่ส่งภาพมาได้กว่า 1,400 ภาพ จากผลการทดลองของยานไวกิ้ง ทำให้เราได้ภาพพจน์ของดาวอังคารดวงนี้ใหม่ การเกิดภูเขาไฟ , ลานลาวา, แคนยอน, ล่องลอยธารน้ำบนดาวอังคาร มีการวัดอุณหภูมิบริเวณโดยรอบที่ยานลงจอด อยู่ในช่วงระหว่าง 150 ถึง 250 องศาเคลวิน และสูงขึ้นในตอนกลางวันระหว่าง 35-50 องศาเคลวิน รวมทั้งสาเหตุของพายุฝุ่นขนาดใหญ่
ที่มา
ดาราศาสตร์.คอม