วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การทำงานของไต



ไตเป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายเม็ดถั่วเหลือง ขนาดเท่ากำปั้น คนปกติมีไต 2 ข้างวางอยู่บริเวณกลางหลังข้างละ 1 อัน โดยตั้งอยู่บริเวณด้านหลังใต้ต่อกระดูกชายโครง บริเวณบั้นเอว ไตเปรียบเสมือนเครื่องกรองชนิดพิเศษที่มีความมหัศจรรย์และมีจำเป็นอย่างมากในการดำรงชีวิต แต่ละวันจะมีเลือดประมาณ 200 หน่วยกรองผ่านเนื้อไต ขับออกเป็นของเสียในรูปน้ำปัสสาวะ 2 หน่วย ลงสู่ท่อไตและกระเพาะปัสสาวะ เพื่อถ่ายปัสสาวะออกนอกร่างกาย ไตทำหน้าที่กลั่นกรองน้ำ เกลือแร่ และสารเคมีส่วนเกินที่ร่างกายไม่ต้องการ พร้อมกับทำการคัดหลั่งของเสียออกจากร่างกาย



หน้าที่สำคัญของไต คือ การสร้างปัสสาวะซึ่งจะช่วยขับของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญสารอาหารต่างๆ และช่วยในการรักษาความปกติของน้ำและเกลือแร่ของร่างกาย นอกจากนั้นไตยังมีหน้าที่ในการสร้างสารที่ควบคุมความดันโลหิต และสารที่ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง ดังนั้นเมื่อไตทำงานน้อยลงมักเกิดปัญหาความดันโลหิตสูงและโลหิตจางร่วมด้วย

ขับถ่ายของเสีย



ไตทำหน้าที่ขับถ่ายของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีนออกจากร่างกาย ของเสียประเภทนี้ ได้แก่ ยูเรีย ครีอะตินีน กรดยูริก และสารประกอบไนโตรเจนอื่นๆ อาหารประเภทโปรตีนมีมากในเนื้อสัตว์และอาหารจำพวกถั่ว ซึ่งหากของเสียจากอาหารประเภทโปรตีนเหล่านี้คั่งค้างอยู่ในร่างกายมากๆ จะทำให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ ซึ่งทางการแพทย์เรียกภาวะดังกล่าวว่า ยูรีเมีย (uremia) นอกจากนี้ไตยังทำหน้าที่กำจัดสารพิษ สารเคมี รวมทั้งขับถ่ายยาต่างๆออกจากร่างกายอีกด้วย

ยูเรีย

ยูเรียเป็นโปรตีนที่ถูกตัดหมู่ amino ออก (-NH2) แล้วเปลี่ยนเป็นยูเรีย ส่งไปกรองที่ไต กระบวนการเปลี่ยนให้เป็นยูเรียเกิดขึ้นที่ตับ ยูเรียมีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำงานของหน่วยไต เรียกว่า countercurrent system ช่วยในการดูดซึมกลับของสารน้ำและเกลือแร่ที่อยู่ในหน่วยไต โปรตีน urea transporter 2 เป็นตัวขนถ่ายยูเรียเข้าสู่ท่อไตเพื่อขับออกทางปัสสาวะ ยูเรียในกระแสเลือดอยู่ในสภาพสารละลายประมาณ 2.5 - 7.5 มิลลิโมล/ลิตร เกือบทั้งหมดขับถ่ายทางปัสสาวะ มีเพียงส่วนน้อยที่ถูกขับถ่ายทางเหงื่อ

ครีอะตินีน

ครีอะตินีนเป็นสารที่เกิดจากการแตกสลายของ creatine phosphate ในกล้ามเนื้อ ร่างกายสร้างครีอะตินีนขึ้นในอัตราที่คงที่โดยอัตราการสร้างขึ้นกับมวลกล้ามเนื้อของแต่ละคน ไตทำหน้าที่กรองครีอะตินีน โดยไม่มีการดูดกลับ ดังนั้นถ้าการทำหน้าที่กรองของไตเสียไปโดยไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ จะสามารถตรวจพบระดับของครีอะตินีนในเลือดเพิ่มสูงขึ้น

กรดยูริก

กรดยูริกเกิดจากการเผาผลาญอาหารประเภทเนื้อสัตว์ สารพิวรีนในโปรตีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องในสัตว์ ถั่วเหลือง ถั่วแดง กระถิน ชะอม ใบขี้เหล็ก ผักตำลึง กระหล่ำดอก ผักบุ้ง ถั่วลิสง เห็ด หน่อไม้ฝรั่ง กรดยูริกจะถูกขับออกมาทางไต ถ้าหน้าที่ของไตเสียไป ก็จะทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้นได้เช่นกัน กรดยูริกเกิดจากการย่อยสลายสารพิวรีน ร่างกายจะย่อยพิวรีนจนกลายเป็นกรดยูริก และจะขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ในคนปกติกรดยูริกจะถูกสร้างขึ้นในอัตราช้าพอที่ไตจะขับออกได้หมดทันกับการสร้างขึ้นพอดี

สมดุลของน้ำและเกลือแร่



ไตทำหน้าที่ควบคุมปริมาณสารน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย น้ำและแร่ส่วนที่เกินควรจำเป็นจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ เกลือแร่ดังกล่าว เช่น โซเดียม โปตัสเซียม แมกนีเซียม แคลเซียม และฟอสฟอรัส เป็นต้น ร่างกายมนุษย์มีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณร้อยละ 70 ในเลือดมีน้ำเป็นองค์ประกอบร้อยละ 92 ในสมองมีน้ำเป็นองค์ประกอบร้อยละ 85 ถ้าพิจารณาในแต่ละเซลล์จะมีน้ำเป็นองค์ประกอบร้อยละ 60 จริงๆแล้วน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญและจำเป็นของเซลล์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นเซลพืช เซลล์สัตว์ และเซลล์มนุษย์ ทุกเซลล์ล้วนประกอบด้วยน้ำทั้งนั้น ในเซลล์มนุษย์และเซลล์สัตว์มีน้ำประมาณ 2 ใน 3 ของน้ำหนักร่างกาย ในพืชบกมีน้ำประมาณร้อยละ 50–75 ถ้าเป็นพืชน้ำอาจมีน้ำมากกว่าร้อยละ 95 โดยน้ำหนัก

ความดันโลหิต

ไตทำหน้าที่สร้างสารเรนิน (renin) ช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ระดับคงที่ ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆเพียงพอ ในภาวะความดันโลหิตในหลอดเลือดแดงที่ไตโดยเฉลี่ยลดลง ทำให้ร่างกายกระตุ้นกระบวนการเรนิน-แองจิโอเทนซิน ซึ่งจะทำให้มีการหลั่งเรนินจากจักซตาโกลเมอรูลาร์ อัฟพาราตัส (juxtaglomerular apparatus) ในไต เรนินเป็นเอนไซม์ที่หลั่งจากไตเข้าไปในกระแสเลือด ทำหน้าที่เปลี่ยนแองจิโอเทนซิโนเจน ให้เป็นแองจิโอเทนซิน I หลังจากนั้นเอนไซม์แเองจิโอเทนซิน คอนเวอทติง (angiotensin converting enzyme : ACE) จะเปลี่ยนแองจิโอเทนซิน I ให้เป็นแองจิโอเทนซิน II ที่ปอด เมื่อสารน้ำในร่างกายต่ำกว่าปกติ ระบบเรนิน-แองจิโอเทนซิน จะไปกระตุ้นหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดหดรัดตัว และกระตุ้นการหลั่งแอลโดสเตอโรนที่ต่อมหมวกไตส่วนนอก ทำให้เพิ่มปริมาณของโซเดียมและน้ำมากขึ้น ปริมาณเลือดจะเพิ่มขึ้น

การสร้างเม็ดเลือดแดง

ไตทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง มีชื่อเรียกว่า อีริโทโพอิติน (erythropoietin) หรือเรียกว่า อีโป (EPO) สารนี้ช่วยกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้ร่างกายมีปริมาณเลือดเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายอย่างเพียงพอ ป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจาง ไขกระดูกเป็นแหล่งสร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกร็ดเลือด โดยทั่วไปไขกระดูกจะอยู่ตามโพรงของกระดูกทุกชิ้น และมีปริมาณมากที่กระดูกเชิงกราน และกระดูกหน้าอก เม็ดเลือดแดงมีสารฮีโมโกลบิน ทำหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้เซลล์ทำงานได้ตามปรกติ



วิตามินดี

ไตทำหน้าที่สร้าง active form ของวิตามินดี ซึ่งมีบทบาทควบคุมระดับเกลือแร่แคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง วิตามินดีมีความจำเป็นในการดูดซึมแคลเซียมไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ในบ้านเรามักจะไม่มีปัญหาการขาดวิตามีนดี เนื่องจากมีแสงแดดตลอดปี วิตามินดีมีผลต่อการดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้ ควบคุมการขับถ่ายแคลเซียมออกจากไต และควบคุมการสะสมแคลเซียมบนกระดูก ร้อยละ 90 ของวิตามินดีในร่างกายมาจากการสร้างขึ้นของผิวหนังเมื่อทำปฏิกิริยากับรังสีอุลตราไวโอเลตชนิดบี



เมื่อไตทำงานบกพร่อง

1.เมื่อความบกพร่องเกิดขึ้นกับไต จนไตไม่สามารถทำหน้าที่ของตนได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ในระยะแรก อาจพบความผิดปกติเพียงเล็กน้อย ไม่รุนแรง เช่น ตรวจพบเพียงโปรตีนไข่ขาวรั่วในปัสสาวะ จากการตรวจสุขภาพประจำปี โดยไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แต่หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ทำการรักษาจนไตเสื่อมหน้าที่มากขึ้น จะเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง


2.หากไตมีความบกพร่องมากๆ ผู้ป่วยอาจมีโรคโลหิตจาง หรือกระดูกผุ เป็นต้น หากไตไม่ทำงาน หรือทำงานไม่เพียงพอ เนื่องจากได้รับบาดเจ็บ หรือมีโรคแทรกจะทำให้ระดับของเสีย และปริมาณน้ำคั่งค้างในร่างกายหรือในเลือด จะปรากฏอาการเหล่านี้ คือ ปัสสาวะน้อย ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ โดยเฉพาะช่วงกลางคืน มีเลือดในปัสสาวะ มีอาการบวมที่มือและเท้า ปวดหลังในระดับชายโครง ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่เกิดภาวะไตวายระยะสุดท้าย มีสาเหตุที่สำคัญมาจากเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ต้องรักษาโดยการล้างไต หรือผ่าตัดเปลี่ยนไต หากรักษาโรคทั้งสองนี้ได้ก็จะทำให้โรคไตที่เกิดขึ้นทุเลา หรือชะลอการเปลี่ยนแปลงได้


3.ภาวะไตวายเรื้อรังในระยะนี้ยังสามารถแก้ไขให้ไตกลับคืนหน้าที่ได้หากได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง ต่อเนื่องและเหมาะสม แต่หากปล่อยปละละเลยจนไตเสื่อมทุกหน้าที่อย่างสมบูรณ์และถาวร จนเกิดภาวะที่เรียกว่าไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย


4.การรักษาด้วยวิธีการบำบัดทดแทนไต เช่น การฟอกเลือด การฟอกไตทางช่องท้อง และการปลูกถ่ายไตใหม่ให้ แม้ว่าจะได้รับการปลูกถ่ายไตใหม่ ก็ใช่ว่าไตนั้นจะใช้งานได้เหมือนอย่างไตของคนปกติ เพราะไม่ใช่ไตที่ติดตัวเรามาแต่กำเนิด ร่างกายต้องปรับตัวเข้ากับไตใหม่ ไตใหม่ที่ปลูกถ่ายมานี้ส่วนใหญ่มีอายุการใช้งานเฉลี่ยไม่เกินสิบปี และเมื่อการเปลี่ยนไตสำเร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไตจะต้องหลีกเหลี่ยงและระวังกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากไตใหม่ที่ปลูกถ่ายใหม่นั้นถือเป็นสิ่งแปลกปลอมของร่างกายที่กระตุ้นให้ภูมิต้านทานของร่างกายออกมาทำหน้าที่ต่อต้าน จึงจำเป็นต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกัน

ที่มา :
นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
http://www.bangkokhealth.com/index.php/2009-01-19-03-16-26/184-2009-01-19-08-22-55

ระบบไหลเวียนโลหิต

ระบบไหลเวียนโลหิต

ระบบไหลเวียนโลหิตเป็นระบบหนึ่งในร่างกายที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เรามาลองทำความรู้จักกันดีกว่าค่ะ


ระบบไหลเวียนโลหิต เป็นระบบที่นำสารเข้าและออกจากเซลล์ สามารถช่วยในการรักษาระดับอุณหภูมิ ความเป็นกรด-เบส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาดุลยภาพของร่างกาย ระบบไหลเวียนโลหิตในสิ่งมีชีวิตแบ่งได้เป็น 3 ประเภท เรียงตามลำดับจากเรียบง่ายไปจนถึงซับซ้อนที่สุดดังนี้ ส่วนประกอบสำคัญของระบบไหลเวียนโลหิต: หัวใจ,เลือด,และเส้นเลือด ระบบไหลเวียนโลหิตยังรวมไปถึง pulmonary circulation คือ ระหว่างหัวใจและปอด และ systemic circulation คือระหว่างหัวใจและร่างกาย ซึ่งระบบไหลเวียนโลหิตมี 2 ประเภทคือ

1. ระบบการไหลเวียนแบบเปิด (open circulatory system) พบในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังโดยเฉพาะไฟลัมอาร์โทรโพดา และไฟลัมมอลลัสกา ระบบนี้เลือดจะไม่ได้อยู่ในเส้นเลือดตลอดเวลา แต่จะออกจากเส้นเลือดเข้าสู่ช่องว่างภายในลำตัวที่เรียกว่าฮีโมซีล (hemocoel) อาจมีหัวใจหนึ่งดวงหรือมากกว่า ทิศทางการไหลของเลือดเริ่มจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปตามหลอดเลือดเข้าสู่ฮีโมซีล เนื้อเยื่อและเซลล์จะได้รับอาหารและก๊าซจากเลือดที่อยู่ในช่องว่างนี้ เมื่อหัวใจคลายตัว เลือดส่วนหนึ่งจะไหลจากฮีโมซีลเข้าเส้นเลือดกลับหัวใจ

2. ระบบไหลเวียนโลหิตแบบปิด มีอวัยวะที่สำคัญในระบบ คือ หัวใจ เลือด และหลอดเลือด) พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิด เช่น ไสัเดือนและหมึก เลือดไหลในเส้นเลือดตลอดเวลา ใช้แรงดันมากว่าการไหลเวียนระบบเปิด



สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังทุกชนิดมีระบบไหลเวียนแบบนี้ นอกจากนี้ ไส้เดือนดินและหมึกก็ยังมีระบบไหลเวียนโลหิตแบบนี้อีกด้วย ระบบนี้ เลือดจะไม่ไหลออกไปนอกหลอดเลือด ซึ่งประกอบไปก้วยอาเทอรี่ เวนและหลอดเลือดฝอย ระบบไหลเวียนโลหิตในปลาเป็นระบบไหลเวียนที่มีทิศทางเดียว คือหัวใจสูบฉีดเลือดไปที่เส้นเลือดฝอยที่เหงือก หัวใจปลามีสองห้องและการไหลเวียนของเลือดมีทิศทางเดียวสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลานมีระบบนี้เช่นกัน แต่หัวใจของสัตว์สองชนิดนี้ทำงานได้ไม่เต็มที่ โดยที่สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ มีหัวใจ 3 ห้องส่วนนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีการแบ่งอยางชัดเจนระหว่างเลือดแดงกับเลือดดำ โดยแบ่งหัวใจออกเป็น 4 ห้อง หัวใจเต้น 72 ครั้งต่อนาที เลือด มีส่วนเป็นของเหลว 55% มีส่วนเป็นของที่ไม่เหลวอีก45%

ตัวอย่างสัตว์ที่ไม่มีระบบไหลเวียนโลหิต เช่น หนอนตัวแบน ไม่มีช่องว่างภายในลำตัว ตัวมีปากซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของระบบย่อยอาหาร ซึ่งแตกแขนงอย่างมาก ด้วยความแบนของตัว ทำให้อาหารที่ถูกย่อยเรียบร้อยแล้วสามารถแพร่เข้าสู่เซลล์อื่นๆ ได้อย่างทั่วถึงทุกเซลล์ นอกจากนี้ ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส ออกซิเจนสามารถแพร่จากน้ำเข้าสู่เซลล์ได้ และเนื่องจากทุกเซลล์ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม จึงไม่ต้องอาศัยการลำเลียงน้ำและแก๊สออกซิเจน

ที่มา
http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2052

ห่วงโซ่อาหารและสายใยอาหาร



ห่วงโซ่อาหาร (Food Chain)

หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในเรื่องของการกินต่อกันเป็นทอด ๆ จาก ผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค ทำให้มีการถ่ายทอดพลังงานในอาหารต่อเนื่องเป็นลำดับจากการกินต่อกัน

ตัวอย่าง เช่น



จากแผนภาพ จะสังเกตเห็นว่า การกินต่อกันเป็นทอด ๆ ในห่วงโซ่อาหารนี้ เริ่มต้นที่ ต้นข้าว ตามด้วยตั๊กแตนมากินใบของต้นข้าว กบมากินตั๊กแตน และ เหยี่ยวมากินกบ ซึ่งจากลำดับขั้นในการกินต่อกันนี้ สามารถอธิบายได้ว่า



ต้นข้าว นับเป็นผู้ผลิตในห่วงโซ่อาหารนี้ เนื่องจากต้นข้าว เป็นพืชซึ่งสามารถสร้างอาหารได้เองโดยใช้กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง



ตั๊กแตน นับเป็นผู้บริโภคลำดับที่ 1 เนื่องจาก ตั๊กแตนเป็นสัตว์ลำดับแรกที่บริโภคข้าวซึ่งเป็นผู้ผลิต



กบ นับเป็นผู้บริโภคลำดับที่ 2 เนื่องจาก กบจับตั๊กแตนกินเป็นอาหาร หลังจากที่ตั๊กแตนกินต้นข้าวไปแล้ว



เหยี่ยว เป็นผู้บริโภคลำดับสุดท้าย เนื่องจาก เหยี่ยวจับกบกินเป็นอาหาร และในโซ่อาหารนี้ไม่มีสัตว์อื่นมาจับเหยี่ยวกินอีกทอดหนึ่ง

ในการเขียนโซ่อาหาร ให้เขียนโดยเริ่มจากผู้ผลิต อยู่ทางด้านซ้าย และตามด้วยผู้บริโภคลำดับที่ 1, ผู้บริโภคลำดับที่ 2, ผู้บริโภคลำดับที่ 3 ต่อไปเรื่อย ๆ จนถึงผู้บริโภคลำดับสุดท้าย และเขียนลูกศรแทนการถ่ายทอดพลังงานจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังอีก สิ่งมีชีวิตหนึ่ง หรือ เขียนให้หัวลูกศรชี้ไปทางผู้ล่า และปลายลูกศรหันไปทางเหยื่อนั่นเอง

สายใยอาหาร (Food Web)

หมายถึง ห่วงโซ่อาหารหลาย ๆ ห่วงโซ่ ที่มีความคาบเกี่ยวหรือสัมพันธ์กัน นั่นคือ ในธรรมชาติการกินต่อกันเป็นทอด ๆ ในโซ่อาหาร จะมีความซับซ้อนกันมากขึ้น คือ มีการกินกันอย่างไม่เป็นระเบียบ

ตัวอย่าง เช่น



จากแผนภาพสายใยอาหารด้านบน จะสังเกตเห็นได้ว่า ต้นข้าวที่เป็น ผู้ผลิตในระบบนิเวศน์นั้น สามารถถูกสัตว์หลายประเภทบริโภคได้ คือ มีทั้ง วัว ตั๊กแตน ไก่ และ ผึ้ง และ สัตว์ที่เป็นผู้บริโภคลำดับที่ 1 เหล่านั้น ก็สามารถจะเป็นเหยื่อของสัตว์อื่น และ ยังเป็นผู้บริโภคสัตว์อื่น ได้เช่นกัน อาทิเช่น ไก่ สามารถจะบริโภคตั๊กแตนได้ และในขณะเดียวกัน ไก่ก็มีโอกาสที่จะถูกงู บริโภคได้เช่นกัน


โดย ครูสุภาภรณ์ ชูศรีพัฒน์
http://www.thaigoodview.com/node/16425

ระบบการหายใจของมนุษย์

ระบบการหายใจของมนุษย์



มนุษย์ทุกคนต้องหายใจเพื่อมีชีวิตอยู่ การหายใจเข้า อากาศผ่านไปตามอวัยวะของระบบหายใจตามลำดับ ดังนี้

1.จมูก (Nose)
จมูกส่วนนอกเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากตรงกึ่งกลางของใบหน้า รูปร่างของจมูกมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด ฐานของรูปสามเหลี่ยมวางปะ ติดกับหน้าผากระหว่างตาสองข้าง สันจมูกหรือดั้งจมูก มีรูปร่างและขนาดต่างๆกัน ยื่นตั้งแต่ฐานออกมาข้างนอกและลงข้างล่างมาสุดที่ปลายจมูก อีกด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมห้อยติดกับริมฝีปากบนรู จมูกเปิดออกสู่ภายนกทาง ด้านนี้ รูจมูกทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศที่หายใจเข้าไปยังช่องจมูกและกรองฝุ่นละอองด้วย

2. หลอดคอ (Pharynx)
เมื่ออากาศผ่านรูจมูกแล้วก็ผ่านเข้าสู่หลอดคอ ซึ่งเป็นหลอดตั้งตรงยาวประมาณยาวประมาณ 5 " หลอดคอติดต่อทั้งช่องปากและช่องจมูก จึงแบ่งเป็นหลอดคอส่วนจมูก กับ หลอดคอส่วนปาก โดยมีเพดานอ่อนเป็นตัวแยกสองส่วนนี้ออกจากกัน โครงของหลอดคอ ประกอบด้วยกระดูกอ่อน 9 ชิ้นด้วยกัน ชิ้นที่ใหญ่ทีสุด คือกระดูกธัยรอยด์ ที่เราเรียกว่า "ลูกกระเดือก" ในผู้ชายเห็นได้ชัดกว่าผู้หญิง

3. หลอดเสียง (Larynx)
เป็นหลอดยาวประมาณ 4.5 cm ในผู้ชาย และ 3.5 cm ในผู้หญิง หลอดเสียงเจริญเติยโตขึ้นมาเรื่อยๆ ตามอายุ ในวัยเริ่มเป็นหนุ่มสาว หลอดเสียงเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในผู้ชาย เนื่องจากสายเสียง (Vocal cord) ซึ่งอยู่ภายในหลอดเสียงนี้ยาวและหนาขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป จึงทำให้เสียงแตกพร่า การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากฮอร์โมนของเพศชาย

4. หลอดลม (Trachea)
เป็นส่วนที่ต่ออกมาจากหลอดเสียง ยาวลงไปในทรวงอก ลักษณะรูปร่างของหลอดลมเป็นหลอดกลมๆ ประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปวงแหวน หรือรูปตัว U ซึ่งมีอยู่ 20 ชิ้น วางอยู่ทางด้านหลังของหลอดลม ช่องว่าง ระหว่างกระดูกอ่อนรูปตัว U ที่วางเรียงต่อกันมีเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อเรียบมายึดติดกัน การที่หลอดลมมีกระดูกอ่อนจึงทำให้เปิดอยู่ตลอดเวลา ไม่มีโอกาสที่จะแฟบเข้าหากันได้โดยแรงดันจากภายนอก จึงรับประกันได้ว่าอากาศเข้าได้ตลอดเวลา
หลอดลมส่วนที่ตรงกับกระดูกสันหลังช่วงอกแตกแขนงออกเป็นหลอดลมแขนงใหญ่ (Bronchi)ข้างซ้ายและขวา เมื่อเข้าสู่ปอดก็แตกแขนงเป็นหลอดลมเล็กในปอดหรือที่เรียกว่า หลอดลมฝอย (Bronchiole) และไปสุดที่ถุงลม (Aveolus) ซึ่งเป็นการที่อากาศอยู่ ใกล้กับเลือดในปอดมากที่สุด จึงเป็นบริเวณแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน กับคาร์บอนไดออกไซด์

5. ปอด (Lung)
ปอดมีอยู่สองข้าง วางอยู่ในทรวงอก มีรูปร่างคล้ายกรวย มีปลายหรือยอดชี้ขึ้นไปข้างบนและไปสวมพอดีกับช่องเปิดแคบๆของทรวงอก ซึ่งช่องเปิดแคบๆนี้ประกอบขึ้นด้วยซี่โครงบนของกระดูกสันอกและกระดูกสันหลัง ฐานของปอดแต่ละข้างจะใหญ่และวางแนบสนิทกับกระบังลมระหว่างปอด 2 ข้าง จะพบว่ามีหัวใจอยู่ ปอดข้างขวาจะโตกว่าปอดข้างซ้ายเล็กน้อย และมีอยู่ 3 ก้อน ส่วนข้างซ้ายมี 2 ก้อน หน้าที่ของปอดคือ การนำก๊าซ CO2 ออกจากเลือด และนำออกซิเจนเข้าสู่เลือด ปอดจึงมีรูปร่างใหญ่ มีลักษณะยืดหยุ่นคล้ายฟองน้ำ

6. เยื่อหุ้มปอด (Pleura)
เป็นเยื่อที่บางและละเอียดอ่อน เปียกชื้น และเป็นมันลื่น หุ้มผิวภายนอกของปอด เยื่อหุ้มนี้ไม่เพียงคลุมปอดเท่านั้น ยังไปบุผิวหนังด้านในของทรวงอกอีก หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า เยื่อหุ้มปอดซึ่งมี 2 ชั้น ระหว่าง 2 ชั้นนี้มี ของเหลวอยู่นิดหน่อย เพื่อลดแรงเสียดสีระหว่างเยื่อหุ้มมีโพรงว่าง เรียกว่าช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอด

แหล่งอ้างอิง: http://www.chanpradit.ac.th/~russ/bodysystem.html

ระบบย่อยอาหาร

ระบบย่อยอาหาร



การย่อยอาหาร (Digestion)หมายถึงกระบวนการสลายอนุภาคอาหารให้มีขนาดเล็กสุดจนสามารถดูดซึมเข้าไปในเซลล์ได้

ขั้นตอนการย่อยอาหาร การย่อยอาหารมี 2 ขั้นตอน

1.การย่อยทางไกล(Mechamical digestion)
เป็นกระบวนการทำให้อาหารมีขนาดเล็กลง เพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนที่และการเกิดปฏิกิริยาเคมีต่อไป โดยการบดเคี้ยว รวมทั้งการบีบตัวของทางเดินอาหาร ยังไม่สามารถทำให้อาหารมีขนาด เล็กสุด จึงไม่สามารถดูดซึมเข้าเซลล์ได้

2.การย่อยทางเคมี(Chemical digestion)
เป็นการย่อยอาหารให้มีขนาดเล็กที่สุด โดยการเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่าง อาหาร กับ น้ำ โดยตรง และจะใช้เอนไซม์หรือน้ำย่อยเข้าเร่งปฏิกิริยาผลจากการย่อยทางเคมีเมือถึงจุดสุดท้ายจะได้สารโมเลกุลเล็กที่สุดที่สามารถดูดซึมเข้าสู่เซลล์ได้ ซึ่งอาหารที่ดีรับการย่อย ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ส่วนเกลือแร่และวิตามินจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้โดยตรง

ส่วนต่างๆของระบบทางเดินอาหาร
1. ช่องปาก
ภายในประกอบด้วย ฟัน ที่มีหน้าที่ในการบดเคี้ยวอาหาร ลิ้น มีหน้าที่ในการคลุกเคล้าอาหารและต่อมน้ำลายที่สำคัญ 3 คู่ คือ
- ต่อมน้ำลายใต้หู (Parotid)
- ต่อมน้ำลายใต้โคนลิ้น (Sub lingual)
- ต่อมน้ำลายใต้ฟันกรามล่าง (Sub maxillary)
โดยต่อมน้ำลายมีหน้าที่ในการสร้างน้ำลายออกมา โดยในน้ำลายนั้นประกอบไปด้วย น้ำ กับ น้ำย่อยอะไมเลส (amylase) ซึ่งมีผลต่อการย่อยอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต ให้ได้ dextrin หรือน้ำตาลโมเลกุลคู่ที่ไม่สามารถดูดซึมได้

2. หลอดอาหาร
ประกอบขึ้นด้วยกล้ามเนื้อเรียบที่สามารถบีบตัวเป็นจังหวะในขณะที่อาหารผ่านลงมา ในทางเดินอาหารส่วนนี้ไม่มีการสร้างน้ำย่อยออกมา แต่มีการหลั่งสารเมือกช่วยหล่อลื่น

3. กระเพาะอาหาร
ประกอบขึ้นด้วยกล้ามเนื้อเรียบที่อัดกันหนามาก ด้านในมีลักษณะเป็นสันช่วยในการบดอาหารให้มีขนาดเล็กลงอีก ผนังด้านในสามารถสร้างเอนไซม์เปปซิโนเจน (Pepsinogen)และกรดไฮโดรคลอริกหรือกรดเกลือ(HCl) เปปซิโนเจนจะถูกกรดเกลือเปลี่ยนสภาพให้กลายไปเป็นเอนไซม์เปปซิน(Pepsin) ซึ่งมีความสามารถในการย่อยโปรตีนให้มีโมเลกุลเล็กลง เรียกว่า เปปไทด์(Peptide) แต่ยังไม่สามารถดูดซึมได้

4. ลำไส้เล็ก
เป็นทางเดินอาหารส่วนที่ยาวมาก แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ดูโอดีนัม เจจูนัมและไอเลียม ที่ผนังลำไส้เล็กสามารถสร้างน้ำย่อยขึ้นมาได้ ซึ่งมีหลายชนิด นอกจากน้ำที่ลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัม ยังได้รับน้ำย่อยจากตับอ่อน และน้ำดีมาจากตับ น้ำย่อยจากตับอ่อนมีหลายชนิดที่สามารถย่อยคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมันได้

5. ลำไส้ใหญ่
เป็นทางเดินอาหารส่วนสุดท้าย ซึ่งไม่มีการย่อยเกิดขึ้น จึงทำหน้าที่ในด้านการดูดซึมน้ำเกลือแร่และวิตามินบางชนิด

การดูดซึมอาหาร

การดูดซึมอาหาร คือ การนำอาหารโมเลกุลเล็กๆที่ผ่านการย่อยแล้ว ผ่านผนังทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อนำไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย
- กระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่เป็นการดูดซึมสารจำพวกยาและแอลกอฮอล์เป็นส่วนใหญ่
- ลำไส้เล็ก มีการดูดซึมอาหารทุกประเภทมากที่สุด โดยผนังของลำไส้เล็กจะมีส่วนยื่นออกมาเรียกว่า วิลลัส(Villus) เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึม โดยภายในวิลลัสประกอบด้วยเส้นเลือดมากมายเป็นตาข่ายเพื่อรับอาหารที่ย่อยแล้ว และส่วนแกนกลางเป็นเส้นน้ำเหลือง ซึ่งจะดูดซึมอาหารพวกกรดไขมันและกลีเซอรอล นอกจากจะย่อยสารอาหารทั้ง 3 ชนิดแล้ว ยังดูดซึมอาหารที่ย่อยได้โมเลกุลพื้นฐานของสารอาหารชนิดนั้นๆ การย่อยอาหารในลำไส้เล็กจะเกิดได้ดีในสภาวะที่เป็นเบส (NaHCO3) จากตับอ่อน

เอนไซม์กับการย่อยอาหาร
เอนไซม์มีโครงสร้างที่ประกอบขึ้นด้วยกรดอะมิโน แต่มีคุณสมบัติต่างจากโปรตีนตรงที่เอนไซม์สามารถเร่งปฏิกิริยาทางเคมีในเซลล์ได้ โดยที่สารที่จะเป็นเอนไซม์ได้ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1.สามารถเร่งปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ได้
2.เมื่อเกิดปฏิกิริยาแล้วเอนไซม์จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและจำนวน ในขณะที่สารเริ่มต้นถูกเปลี่ยนไปเป็นสารผลิตภัณฑ์
3.อุณหภูมิมีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ ซึ่งจะทำงานได้ดีในช่วง 25 -40 0c
4.สภาพความเป็นกรด-ด่างมีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ โดยขึ้นอยู่กับชนิดของเอนไซม์นั้นๆ

แหล่งอ้างอิง: http://www.chanpradit.ac.th/~russ/bodysystem.html

แผ่นดินไหว

แผ่นดินไหว(ภัยพิบัติ)



แผ่นดินไหว :
เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติ เกิดจากการเคลื่อนตัวโดยฉับพลันของเปลือกโลก ส่วนใหญ่แผ่นดินไหวมักเกิดตรงบริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลกเป็นแนวแผ่นดินไหวของโลก การเคลื่อนตัวดังกล่าว เกิดขึ้นเนื่องจากชั้นหินหลอมละลายที่อยู่ภายใต้เปลือกโลกได้รับพลังงานความร้อนจากแกนโลก และลอยตัวผลักดันให้เปลือกโลกตอนบนตลอดเวลา ทำให้เปลือกโลกแต่ละชิ้นมีการเคลื่อนที่ในทิศทางต่าง ๆ กันพร้อมกับสะสมพลังงานไว้ภายใน บริเวณขอบของชิ้นเปลือกโลกจึงเป็นส่วนที่ชนกันเสียดสีกัน หรือแยกจากกัน

หากบริเวณขอบของชิ้นเปลือกโลกใดๆ ไม่ผ่านหรืออยู่ใกล้กับประเทศใดประเทศนั้น ก็จะมีความเสี่ยงต่อภัยแผ่นดินไหวสูง เช่น ประเทศญี่ปุ่น ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศอินโดนีเซีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น

นอกจากนั้นพลังที่สะสมในเปลือกโลก ถูกส่งผ่านไปยังเปลือกโลกพื้นของทวีป ตรงบริเวณรอยร้าวของหินใต้พื้นโลกหรือที่เรียกว่า "รอยเลื่อน" เมื่อระนาบรอยร้าวที่ประกบกันอยู่ได้รับแรงอัดมากๆก็จะทำให้รอยเลื่อนมีการเคลื่อนตัวอย่างฉับพลันเกิดเป็นแผ่นดินไหวเช่นเดียวกัน

แผ่นดินไหวก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ได้เป็นบริเวณกว้าง ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม

สิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเผชิญภัยแผ่นดินไหว คือการเตรียมพร้อมที่ดี ควรมีมาตรการ/จัดทำแผนในการป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหวทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับธรรมชาติของแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว รอยเลื่อนต่าง ๆ ให้ความรู้ และข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดแผ่นดินไหวต่อประชาชน ให้มีการแบ่งเขตแผ่นดินไหวตามความเหมาะสมของความเสี่ยงภัย ออกกฎหมายให้อาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ สามารถรับแรงแผ่นดินไหวตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่เสี่ยงภัย มีการวางแผนการจัดการที่ดี หากเกิดความเสียหายร้ายแรงหลังการเกิดแผ่นดินไหว เป็นต้น



แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว

 แนวแผ่นดินไหวของโลก ตรงบริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลก ในกรณีของประเทศไทย แนว แผ่นดินไหวโลกที่ใกล้ ๆ ได้แก่ แนวในมหาสมุทรอินเดีย สุมาตรา และ ประเทศพม่า
 แนวรอยเลื่อนต่าง ๆ ในกรณีประเทศไทย ได้แก่ แนวรอยเลื่อนในประเทศเพื่อนบ้าน พม่า จีนตอนใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
 บริเวณที่มนุษย์มีกิจกรรมกระตุ้นให้เกิดแผ่นดินไหว เช่น เหมือง เขื่อน บ่อน้ำมัน เป็นต้น

แนวรอยเลื่อนภายในประเทศซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ และภาคตะวันตก ที่น่าสังเกต คือ แนวรอยเลื่อนบางแห่งเท่านั้นมีความสัมพันธ์กับเกิดแผ่นดินไหว เช่น รอยเลื่อนแพร่ รอยเลื่อนแม่ทา รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และ รอยเลื่อนระนอง เป็นต้น

สถิติการเกิดแผ่นดินไหวตามรอยเลื่อนบริเวณประเทศไทย

1. รอยเลื่อนเชียงแสน
รอยเลื่อนนี้วางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบนสุดของประเทศมีความยาวประมาณ 130 กิโลเมตร โดยเริ่มต้นจากแนวร่องน้ำแม่จันไปทางทิศตะวันออก ผ่านอำเภอแม่จัน แล้วตัดข้ามด้านใต้ของอำเภอเชียงแสนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวลำน้ำเงิน ทางด้านเหนือของอำเภอเชียงของ แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดที่วัดได้ตามแนวรอยเลื่อนนี้ เกิดเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2521 มี ขนาด 4.9 ริคเตอร์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2521 มีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่กว่า 3 ริคเตอร์ เกิดตามแนว รอยเลื่อนนี้ 10 ครั้ง และ 3 ครั้งมีขนาดใหญ่กว่า 4.5 ริคเตอร์ แผ่นดินไหวทั้งหมดเป็นแผ่นดินไหว ที่เกิดในระดับตื้นกว่า 10 กิโลเมตร

2. รอยเลื่อนแพร่
รอยเลื่อนนี้อยู่ทางด้านตะวันออกของแอ่งแพร่ และวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเริ่มต้นจากด้านตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอ เด่นชัย ผ่านไปทางด้านตะวันออกของอำเภอสูงเม่น และจังหวัดแพร่ ไปจนถึงด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอร้องกวาง รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 115 กิโลเมตร มีแผ่นดินไหวขนาด 3-4 ริคเตอร์ เกิดตามแนวรอยเลื่อนนี้กว่า 20 ครั้ง ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ส่วนแผ่น ดินไหวขนาด 3 ริคเตอร์ ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2533 ที่ผ่านมา เกิดตามแนวรอยเลื่อน ซึ่งแยกจากรอยเลื่อนแพร่ไปทางทิศเหนือ

3. รอยเลื่อนแม่ทา
รอยเลื่อนนี้มีแนวเป็นรูปโค้งตามแนวลำน้ำแม่วอง และแนวลำน้ำแม่ทาในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 55 กิโลเมตร จากการศึกษาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (2523) พบว่า ในช่วงระยะเวลา 6 เดือนของการศึกษาในปี พ.ศ. 2521 มีแผ่นดินไหวขนาดเล็กเกิด ในระดับตื้นอยู่มากมายในบริเวณรอยเลื่อนนี้

4. รอยเลื่อนเถิน
รอยเลื่อนเถินอยู่ทางทิศตะตกของรอยเลื่อนแพร่ โดยตั้งต้นจากด้านตะวันตกของอำเภอเถินไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ขนานกับรอยเลื่อนแพร่ไปทางด้านเหนือ ของอำเภอเถินไปทางตะวันออกเฉียงเหนือขนานกับรอยเลื่อนแพร่ ไปทางด้านเหนือของอำเภอวังชื้น และอำเภอลอง รวมความยาวทั้งหมดประมาณ 90 กิโลเมตร เคยมีรายงานการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.7
ริคเตอร์ บนรอยเลื่อนนี้ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2521

5. รอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี
รอยเลื่อนนี้วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ ตั้งต้นจากลำน้ำเมยชายเขตแดนพม่ามาต่อกับห้วยแม่ท้อ และลำน้ำปิงใต้จังหวัดตาก ต่อลงมาผ่านจังหวัดกำแพงเพชร และนครสวรรค์ จนถึงเขตจังหวัดอุทัยธานี รวมความยาวทั้งสิ้นกว่า 250 กิโลเมตร มีรายงานแผ่นดินไหวเกิดตามรอยเลื่อนนี้ 2 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2476 ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2518 ที่ อำเภอ ท่าสองยาง จังหวัดตาก แผ่นดินไหวครั้งหลังนี้มีขนาด 5.6 ริคเตอร์

6. รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์
รอยเลื่อนนี้อยู่ทางด้านตะวันตก ของรอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี โดยมีทิศทางเกือบขนานกับแนวของรอยเลื่อน อยู่ในร่องน้ำแม่กลองและแควใหญ่ ตลอดขึ้นไปจนถึงเขตแดนพม่า รวมความยาวทั้งหมดกว่า 500 กิโลเมตร ในช่วงระยะเวลา 10 ปี ที่ผ่านมามีรายงานแผ่นดินไหวขนาดเล็กหลายร้อยครั้ง ตามแนวรอยเลื่อนนี้ แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดที่วัดได้ในระหว่างนี้ เกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2526 มีขนาด 5.9 ริคเตอร์

7. รอยเลื่อนเจดีสามองค์
รอยเลื่อนนี้อยู่ในลำน้ำแควน้อยตลอดสาย และต่อไปจนถึงรอยเลื่อนสะแกง (Sakaing Fault) ในประเทศพม่า ความยาวของรอยเลื่อนช่วงที่อยู่ในประเทศไทยยาวกว่า 250 กิโลเมตร มีรายงานแผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนนี้มากมายหลายพันครั้ง

8. รอยเลื่อนระนอง
รอยเลื่อนระนองวางตัวตามแนวร่องน้ำของแม่น้ำกระบุรี มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 270 กิโลเมตร มีรายงานแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2521 มีขนาด 5.6 ริคเตอร์

9. รอยเลื่อนคลองมะรุย
รอยเลื่อนนี้ตัดผ่านด้านตะวันออกของเกาะภูเก็ต เข้าไปในอ่าวพังงา และตามแนวคลองมะรุย คลองชะอุน และคลองพุมดวงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนกระทั่งไปออกอ่าวบ้านดอน ระหว่างอำเภอพุนพินกับอำเภอท่าฉาง รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 150 กิโลเมตร แผ่นดินไหวตามแนวรอยเลื่อนนี้ มีรายงาน เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2476 ที่จังหวัดพังงา และทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ นอกฝั่งภูเก็ต เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2519, วันที่ 17 สิงหาคม 2542 และวันที่ 29 สิงหาคม 2542

ขนาดของการเกิดแผ่นดินไหว
ขนาด (Magnitude) เป็นปริมาณที่มีความสัมพันธ์กับพลังงานที่พื้นโลกปลด
ปล่อยออกมาในรูปของการสั่นสะเทือน คำนวณได้จากการตรวจวัดค่าความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่ตรวจวัด ได้ด้วยเครื่องมือตรวจแผ่นดินไหว โดยเป็นค่าปริมาณที่บ่งชี้ขนาด ณ บริเวณศูนย์กลางแผ่นดินไหว มีหน่วยเป็น " ริคเตอร์"

ความรุนแรงแผ่นดินไหว (Intensity) แสดงถึงความรุนแรงของเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น วัด ได้จากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะเกิด และหลังเกิดแผ่นดินไหว เช่น ความรู้สึกของผู้คน ลักษณะที่วัตถุหรือ อาคารเสียหายหรือสภาพภูมิประเทศที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น ในกรณีของประเทศไทยใช้ มาตราเมอร์แคลลี่ สำหรับเปรียบเทียบอันดับ ซึ่งมีทั้งหมด 12 อันดับ เรียงลำดับความรุนแรงแผ่นดินไหวจากน้อยไปมาก มาตราริคเตอร์

ขนาด ความสัมพันธ์ของขนาดโดยประมาณกับความสั่นสะเทือนใกล้ศูนย์กลาง

1-2.9 เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนเริ่มมีความรู้สึกถึงการสั่นไหว บางครั้ง รู้สึกเวียน ศีรษะ
3-3.9 เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนที่อยู่ในอาคารรู้สึกเหมือนรถไฟวิ่งผ่าน
4-4.9 เกิดการสั่นไหวปานกลาง ผู้ที่อาศัยอยู่ทั้งภายในอาคาร และนอกอาคาร รู้สึกถึงการ สั่นสะเทือน วัตถุห้อยแขวนแกว่งไกว
5-5.9 เกิดการสั่นไหวรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง เครื่องเรือน และวัตถุมีการเคลื่อนที่
6-6.9 เกิดการสั่นไหวรุนแรงมาก อาคารเริ่มเสียหาย พังทลาย
7.0 ขึ้นไป เกิดการสั่นไหวร้ายแรง อาคาร สิ่งก่อสร้างมีความเสียหายอย่างมาก แผ่นดินแยก วัตถุที่อยู่บนพื้นถูกเหวี่ยงกระเด็น

มาตราเมอร์แคลลี่

อันดับที่ ลักษณะความรุนแรงโดยเปรียบเทียบ

I เป็นอันดับที่อ่อนมาก ตรวจวัดโดยเครื่องมือ
II พอรู้สึกได้สำหรับผู้ที่อยู่นิ่ง ๆ ในอาคารสูง ๆ
III พอรู้สึกได้สำหรับผู้อยู่ในบ้าน แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้สึก
IV ผู้อยู่ในบ้านรู้สึกว่าของในบ้านสั่นไหว
V รู้สึกเกือบทุกคน ของในบ้านเริ่มแกว่งไกว
VI รู้สึกได้กับทุกคนของหนักในบ้านเริ่มเคลื่อนไหว
VII ทุกคนต่างตกใจ สิ่งก่อสร้างเริ่มปรากฎความเสียหาย
VIII เสียหายค่อนข้างมากในอาคารธรรมดา
IX สิ่งก่อสร้างที่ออกแบบไว้อย่างดี เสียหายมาก
X อาคารพัง รางรถไฟบิดงอ
XI อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลายเกือบทั้งหมด ผิวโลกปูดนูนและเลื่อนเป็นคลื่นบน
พื้นดินอ่อน
XII ทำลายหมดทุกอย่าง มองเห็นเป็นคลื่นบนแผ่นดิน

สถิติการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งตรวจวัดโดย กรมอุตุนิยม วิทยา มีขนาดอยู่ในระดับเล็กถึงปานกลาง (ไม่เกิน 6.0 ริคเตอร์) หากเกิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่พอก็ จะส่งแรงสั่นสะเทือนมายังประเทศไทย ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายเล็กน้อยต่อสิ่งก่อสร้างใกล้ศูนย์กลาง โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. แผ่นดินไหว เมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2518 ขนาด 5.6 ริคเตอร์ บริเวณ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก
2. แผ่นดินไหว เมื่อ 15 เมษายน 2526 ขนาด 5.5 ริคเตอร์ บริเวณ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี
3. แผ่นดินไหว เมื่อ 22 เมษายน 2526 ขนาด 5.9 ริคเตอร์ บริเวณ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี
4. แผ่นดินไหว เมื่อ 22 เมษายน 2526 ขนาด 5.2 ริคเตอร์ บริเวณ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี
5. แผ่นดินไหว เมื่อ 11 กันยายน 2537 ขนาด 5.1 ริคเตอร์ บริเวณ อ.พาน จ.เชียงราย
6. แผ่นดินไหว เมื่อ 9 ธันวาคม 2538 ขนาด 5.1 ริคเตอร์ บริเวณ อ.ร้องกวาง จ.แพร่
7. แผ่นดินไหว เมื่อ 21 ธันวาคม 2538 ขนาด 5.2 ริคเตอร์ บริเวณ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
8. แผ่นดินไหว เมื่อ 22 ธันวาคม 2539 ขนาด 5.5 ริคเตอร์ บริเวณพรมแดนไทย-ลาว

การปฏิบัติเมื่อเกิดแผ่นดินไหว

ก่อนการเกิดแผ่นดินไหว
1. ควรมีไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน และให้ทุกคนทราบว่าอยู่ที่ไหน
2. ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
3. ควรมีเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น เครื่องดับเพลิง ถุงทราย เป็นต้น
4. ควรทราบตำแหน่งของวาล์วปิดน้ำ วาล์วปิดก๊าซ สะพานไฟฟ้า สำหรับตัดกระแสไฟฟ้า
5. อย่าวางสิ่งของหนักบนชั้น หรือหิ้งสูง ๆ เมื่อแผ่นดินไหวอาจตกลงมาเป็นอันตรายได้
6. ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน
7. ควรมีการวางแผนเรื่องจุดนัดหมาย ในกรณีที่ต้องพลัดพรากจากกัน เพื่อมารวมกันอีกครั้ง ในภายหลัง
8. สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว

ขณะเกิดแผ่นดินไหว
1. อย่าตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติอยู่อย่างสงบ ถ้าท่านอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าท่านอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน เพราะส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้าออกจากบ้าน
2. ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืนหรือหมอบอยู่ในส่วนของบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง ที่สามารถรับน้ำหนัก ได้มาก และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่าง
3. หากอยู่ในอาคารสูง ควรตั้งสติให้มั่น และรีบออกจากอาคารโดยเร็ว หนีให้ห่างจากสิ่งที่จะล้มทับได้
4. ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวนต่าง ๆ ที่ปลอดภัยภายนอกคือที่โล่งแจ้ง
5. อย่าใช้ เทียน ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวหรือประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น
6. ถ้าท่านกำลังขับรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนจะหยุด
7. ห้ามใช้ลิฟท์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว
8. หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง

หลังเกิดแผ่นดินไหว
1. ควรตรวจตัวเองและคนข้างเคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ให้ทำการปฐมพยาบาลขั้นต้นก่อน
2. ควรรีบออกจากอาคารที่เสียหายทันที เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวตามมาอาคารอาจพังทลายได้
3. ใส่รองเท้าหุ้มส้นเสมอ เพราะอาจมีเศษแก้ว หรือวัสดุแหลมคมอื่น ๆ และสิ่งหักพังแทง
4. ตรวจสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ อย่าจุดไม้ขีดไฟ หรือก่อไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว
5. ตรวจสอบว่า แก๊สรั่ว ด้วยการดมกลิ่นเท่านั้น ถ้าได้กลิ่นให้เปิดประตูหน้าต่างทุกบาน
6. ให้ออกจากบริเวณที่สายไฟขาด และวัสดุสายไฟพาดถึง
7. เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ นอกจากจำเป็นจริง ๆ
8. สำรวจดูความเสียหายของท่อส้วม และท่อน้ำทิ้งก่อนใช้
9. อย่าเป็นไทยมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสียหายสูง หรืออาคารพัง
10. อย่าแพร่ข่าวลือ

ที่มา
http://www.siamvolunteer.com/autopagev4/show_page.php?topic_id=8&auto_id=7&TopicPk=

สารละลายที่เป็นกรด-เบส

สารละลายที่เป็นกรด-เบส
สารต่างๆ ที่ใช้ในบ้านมีทั้งสารที่เป็นประโยชน์หรือโทษต่อผู้ใช้เราจึงควร
ศึกษาถึงสมบัติต่างๆ ของสารทั้งความเป็นกรด-เบส การนำสารไปใช้ทำ
ความสะอาดในบ้าน รวมทั้งอันตรายที่เกิดจากการใช้สารบางชนิด

ความเป็นกรด-เบสของสารที่ใช้ในบ้าน
สารต่าง ๆที่ใช้ในบ้านสามารถจำแนกได้ 3 ประเภท โดยใช้สมบัติความเป็นกรดเบสเป็นเกณฑ์ คือสารที่มีสมบัติเป็นกรด เบส และกลาง

กระดาษลิตมัส เป็นสารชนิดหนึ่งที่ใช้บ่งความเป็นกรดและความเป็นเบสของสาร หรือเรียกกระดาษชนิดนี้ว่า อินดิเคเตอร์

สารต่าง ๆ เมื่อทดสอบกับกระดาษลิตมัส จะมีสมบัติดังนี้
1.สารที่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดงแสดงว่าสารมีสมบัติ
เป็นกรด
2.สารที่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากแดงเป็นน้ำเงินแสดงว่าสารมีสมบัติ
เป็นเบส
3.สารที่ไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสทั้งสอง แสดงว่า สารมีสมบัติเป็นกลาง

กรด ( acid )
หมายถึง สารใดก็ตามที่ละลายน้ำแล้วให้ไฮโดรเนียมไอออนออกมา ( H3O+) สารที่ใช้ในบ้านที่มีสมบัติเป็นกรด ได้แก่ น้ำมะนาว น้ำส้มสายชู น้ำมะขาม น้ำอัดลม เป็นต้น

สารที่มีสมบัติเป็นกรด มีสมบัติดังนี้
1. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นแดง
2. มีรสเปรี้ยว
3. ทำปฏิกิริยากับโลหะ เช่น เหล็ก สังกะสี และยังทำปฏิกิริยากับหินปูนแล้วเกิดฟองก๊าซไฮโดรเจน
4. กัดกร่อนสารหลายชนิด เช่น โลหะต่าง ๆ หินปูน พลาสติก เนื้อเยื่อ
5. ทำปฏิกิริยากับสารประกอบคาร์บอเนต เช่น หินปูน ได้ก๊าซคาร์บอนได ออกไซด ์
6. ทำปฏิกิริยากับเบสได้น้ำกับเกลือ
7. นำไฟฟ้าได้

ชนิดของกรด
สารที่เป็นกรดแบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้
1. กรดที่ได้จากพืช
2. กรดที่ได้จากแร่ธาตุ

กรดที่ได้จากพืช
จัดเป็นกรดอินทรีย์ซึ่งจะเกิดจากพืชโดยตรง เช่น น้ำส้มคั้น น้ำมะนาว
น้ำมะกรูด น้ำผลไม้ และกรดบางชนิดได้จากพืชโดยทางอ้อมซึ่งเกิดจาก
การหมักพืช เช่น น้ำส้มสายชู เป็นกรดชนิดที่ได้จากธรรมชาติ จึงนำมา
บริโภคได้โดยไม่เกิดอันตราย

ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถสังเคราะห์กรดประเภทนี้จากแร่ธาตุได้
โดยมีสมบัติเช่นเดียวกับที่ผลิตได้จากพืช แต่นำมาบริโภคมากไม่ได้ เพราะ
จะเกิดอันตรายต่อร่างกาย

กรดอินทรีย์ที่สำคัญได้แก่
1. กรดฟอร์มิก หรือกรดมด เตรียมครั้งแรกโดยนำมดมากลั่น มีสถานะเป็น
ของเหลว กลิ่นฉุน สัมผัสกับ ผิวหนังจะคันและบวม อาการคันหรือบวม เมื่อ
ถูกมดกัดก็เพราะกรดฟอร์มิกนี้เอง กรดฟอร์มิกใช้ในอุตสาหกรรมย้อมหนัง
ย้อมผ้า

2. กรดอะเซติก หรือกรดน้ำส้ม เป็นกรดที่มีความสำคัญในอุตสาหกรรม ใช้
เป็นตัวทำละลาย ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอและยางสังเคราะห์ ใช้ทำน้ำส้ม
สายชู โดยนำกรดอะเซติกบริสุทธิ์มาเจือจางเหลือความเข้มข้นประมาณ
4.5 % ใช้ในอุตสาหกรรมทำตะกั่วขาว

3. กรดออกซาลิก เตรียมจากการใช้ขี้เลื่อยเผากับโซเดียมไฮดรอกไซด์กรดนี้เป็นของแข็งเป็นพิษ มีประโยชน์ใช้กำจัดสนิมและ รอยเปื้อน หมึกบนผ้าขาวใช้ฟอกสีลินินและฟางข้าวและใช้ขัดทองเหลือง ทองแดง

สมบัติของกรดที่ได้จากพืช
ก. เมื่อทดสอบด้วยเจนเซียนไวโอเลตที่มีสีม่วงจะไม่เปลี่ยนสีของเจนเซียน ไวโอเลต(น้ำยาป้ายลิ้นสีม่วง)
ข. ส่วนใหญ่มีสมบัติเป็นกรดอ่อน มีฤทธิ์กัดกร่อนน้อย
ค. เป็นกรดที่ใช้ในการปรุงอาหารแต่งรสอาหารหรือเครื่องดื่มได้

2. กรดที่ได้จากแร่ธาตุ
กรดที่ได้จากแร่ธาตุ เรียกว่า กรดแร่หรือกรดอนินทรีย์ การผลิตกรดประเภท
นี้ต้องใช้กรรมวิธีทางเคมี โดยใช้แร่ธาตุเป็นวัตถุดิบในการผลิต กรดประเภท
นี้มีหลายชนิด ได้แก่ กรดซัลฟิวริก กรดไฮโดรคลอริก กรดไนตริก เป็นต้น
เนื่องจากเป็นกรดประเภทที่ได้จากแร่ธาตุ และมีสมบัติกัดกร่อนมากจะเป็น
พิษต่อร่างกายจึงไม่ควรนำมารับประทาน

สมบัติของกรดที่ได้จากแร่ธาตุ
ก. เมื่อทดสอบด้วยเจนเซียนไวโอเลตที่มีสีม่วงจะเปลี่ยนสีของเจนเซียนไว โอเลตจากสีม่วงเป็นสีเขียวหรือน้ำเงิน
ข. ส่วนใหญ่มีสมบัติเป็นกรดแก่ มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง
ค. เป็นพิษต่อร่างกายโดยสามารถกัดกร่อนเนื้อเยื่อ จึงไม่ควรนำมาใช้เป็น สารปรุงแต่งรสอาหาร กรดประเภทนี้ส่วนใหญ่จะนำไปใช้ในกระบวนการ ผลิตทางอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆเท่านั้น

หมายเหตุ
*** เจนเซียนไวโอเลต เป็นสารที่มี ลักษณะสีม่วง ซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกับสารที่ผลิตน้ำยาสีม่วงป้ายปากในคนที่เป็นเชื้อราในปาก หรือบางคนอาจนำไปใช้รักษาโรคน้ำกัดเท้า การใช้เจนเซียนไวโอเลตทดสอบกรดชนิดต่าง ๆ เพื่อจำแนกชนิดกรดที่ได้จาก พืชหรือ ได้จากแร่ธาตุทำได้ ดังนี้ ถ้าใส่เจนเซียนไวโอเลตลงในกรดแล้วได้สีม่วงของเจนเซียนไวโอเลตเหมือนเดิม
แสดงว่ากรดชนิดนี้ได้จากพืช ถ้าใส่เจนเซียนไวโอเลตลงในกรดแล้วเปลี่ยนสีของเจนเซียนไวโอเลตจากสีม่วงเป็นสีเขียวหรือน้ำเงินแสดงว่า กรดชนิดนี้ได้จากแร่ธาตุ

การนำกรดมาใช้ควรคำนึงถึงสมบัติของกรดที่อาจเป็นอันตราย ดังนี้
1. กรดมีสมบัติกัดกร่อนโลหะและพลาสติก แต่ไม่กัดกร่อนภาชนะที่ผลิตด้วยแก้วและกระเบื้องเคลือบ ดังนั้น ไม่ควรบรรจุกรดในภาชนะที่ทำด้วยโลหะหรือพลาสติก นอกจากนี้สารที่ใช้ทำภาชนะประเภทนี้บางอย่างอาจมีพิษละลายอยู่ในกรดได้จะทำให้บริโภคสารพิษที่ละลายอยู่ในกรดซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

2. กรดที่ได้จากแร่ธาตุจะผลิตขึ้นโดยกระบวนการทางเคมีเป็นกรดแก่ที่มีอันตรายต่อร่างกาย จึงไม่ควรนำมาปรุงแต่งอาหาร ดังนั้นควรเลือกใช้กรดที่ได้จากพืชหรือที่สังเคราะห์ขึ้นและมีสมบัติเช่นเดียวกับกรดที่ได้จากพืชเท่านั้น

น้ำส้มสายชู เป็นสารเนื้อเดียว ที่ประกอบด้วยน้ำและกรดแอซิตริกโดยมีน้ำเป็นตัวทำละลายและกรดแอซิตริกเป็นตัวถูกละลายกรดแอซิตริกเป็นกรดที่ได้จากพืช โดนการหมัก เช่น หมักแป้ง น้ำตาล หรือผลไม้จะมีสมบัติ คือ รสเปรี้ยวที่เป็นกรดอ่อน และไม่เป็นพิษต่อร่างกาย แต่มีพ่อค้าบางคน ผลิตน้ำส้มปลอมเพื่อหวังค้ากำไร โดยใช้กรดซัลฟิวริกซึ่งมีรสเปรี้ยวเช่นเดียวกับกรดแอซิตริกปลอมปนในน้ำส้มสายชู กรดซัลฟิวริกเป็นกรดที่ได้จากแร่ธาตุ ซึ่งเป็นกรดแก่ ที่มีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรงถ้าบริโภคเข้าไปจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย จึงควรทดสอบน้ำส้มสายชูที่ใช้ก่อนบริโภคทุกครั้ง วิธีทดสอบน้ำส้มสายชูที่ไม่มีกรดซัลฟิวริกเจือปน

ก. สังเกตลักษณะน้ำส้มสายชูแท้จะต้องมีลักษณะใส ไม่มีสีไม่ขุ่นและไม่มี ตะกอน
ข. ใช้ผักสดที่มีลักษณะใบบางๆ เช่นผักชี ผักคื่นช่าย ใส่ลงในน้ำส้มสายชู แล้วทั้งไว้สักครู่ ใบผักจะมีสีเขียวสดและน้ำส้มสายชู ยังคงใส แสดงว่าเป็นน้ำส้มสายชูแท้ แต่ถ้าใบผักมีลักษณะไม่สดหรือเปื่อยยุ่ยน้ำส้มสายชูขุ่น แสดงว่า น้ำส้มสายชูนั้นมีกรดซัลฟิวริกผสมอยู่ด้วยซึ่งจะมากหรือน้อยต้องตรวจสอบอีกครั้ง
ค. ใช้เจนเซียนไวโอเลตหยดลงไปในน้ำส้มสายชู ถ้าเจนเซียนไวโอเลตไม่ เปลี่ยนสีจากสีม่วงเป็นสีอื่นแสดงว่าเป็นน้ำส้มสายชูแท้แต่ถ้าเจนเซียนไวโอเลตเป็นสีจากสีม่วงเป็นสีเขียวหรือสีน้ำเงิน แสดงว่าน้ำส้มสายชูนั้นมีกรดซัลฟิกริกผสมอยู่ด้วย


เบส(Base)
หมายถึง สารที่ละลายน้ำแล้วได้ ไฮดรอกไซด์ไอออนสารที่ใช้ในบ้านที่มีสมบัติเป็นเบส ได้แก่ ผงฟู (โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต) น้ำปูนใส(แคลเซียมไฮดรอกไซด์) น้ำขี้เถ้า น้ำยาเช็ดกระจก สารละลายปุ๋ยยูเรีย
สารละลายโซดาไฟ เป็นต้น

สารที่เป็นเบสมีสมบัติ ดังนี้
1. มีรสฝาด
2. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน
3. เมื่อถูกับฝ่ามือจะรู้สึกลื่นมือ
4. ทำปฏิกิริยากับแอมโมนียมไนเตรตจะเกิดก๊าซมีกลิ่นฉุน คือก๊าซ แอมโมเนีย
5. ทำปฏิกิริยากับอะลูมิเนียมแล้วเกิดฟองก๊าซ ทำให้อะลูมิเนียมผุกร่อน
6. ทำปฏิกิริยากับไขมันหรือน้ำมันของพืชหรือสัตว์จะได้สารประเภทสบู่
7. นำไฟฟ้าได้

ดินถล่ม (ภัยพิบัติ)

ดินถล่ม (ภัยพิบัติ)



ดินถล่ม (Landslide) คือปรากฏการณ์ที่ส่วนของพื้นดิน ไม่ว่าจะเป็นก้อนหิน ดิน ทราย โคลน หรือเศษดิน เศษต้นไม้ไหล เลื่อน เคลื่อน ถล่ม พังทลาย หรือหล่น ลงมาตามที่ลาดเอียง อันเนื่องมาจากแรงดึงดูดของโลก ในขณะที่สภาพส่วนประกอบของชั้นดิน ความชื้นและความชุ่มน้ำในดิน ทำให้เกิดการเสียสมดุล

ดินถล่ม เป็นปรากฏการณ์ที่มีมาแต่สร้างโลก อาจเป็นเพียงเล็กน้อยเพียงก้อนหินก้อนเดียวที่ตกหรือหล่นลงมา หรือเศษของดินจำนวนไม่มากที่ไหลลงมา หรืออาจเกิดรุนแรงใหญ่โต เช่น ภูเขาหรือหน้าผา หรือลากเขาพังทลายลงมาก็ได้ และอาจเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด หรือค่อยๆ เป็นไปช้าๆ ก็ได้ จนกว่าจะเกิดความสมดุลใหม่จึงหยุด

เนื่องจากในระยะหลังๆ นี้ ดินถล่มปรากฏเป็นข่าวบ่อยมากขึ้น ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินและชีวิตมากขึ้น จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษาเพื่อหาทางป้องกันและหลีกเลี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้น

สาเหตุของดินถล่ม (Causes of Landslides)
เกิดจากกรที่พื้นดินหรือส่วนของพื้นดินเคลื่อน เลื่อน ตกหล่น หรือไหล ลงมาจากที่ลาดชัน หรือลาดเอียงต่างระดับ ตามแรงดึงดูดของโลกในภาวะที่เกิดการเสียสมดุลด้วยเหตุต่างๆ มักพบบ่อยๆ บริเวณภูเขาที่ลาดชัน แต่ความจริงอาจเกิดขึ้นบริเวณฝั่งแม่น้ำ และชายฝั่งทะเลหรือมหาสมุทร แม้กระทั่งใต้มหาสมุทร แบ่งสาเหตุที่อาจทำให้ดินถล่มได้เป็น

1. สาเหตุตามธรรมชาติ (Natural causes)

- ความแข็งแรงของดิน ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของดิน (Soil composition) ว่าเป็น หินหรือ ดิน ประเภทใด มีโครงสร้างหรือมีต้นไม้ประกอบยึดเกาะกันแข็งแรงแค่ไหน มีชั้นดินดานตื้นหรือลึกในลักษณะใด

- ที่ที่มีความลาดเอียงมาก (Steep slope)

- มีฝนตกมากนานๆ (Prolong heavy rain)

- มีหิมะตกมาก (Heavy snowfall)

- โครงสร้างของแผ่นดิน (Structure of soil) ความแตกต่างกันของชั้นดินที่น้ำซืมผ่านได้ กับชั้นที่น้ำซึมผ่านไม่ได้ ที่จะทำให้น้ำขังใต้ดินมากจนดินเหลวบนที่ลาดเอียง ทำให้เกิดการไหลได้

- ฤดูกาล (Glacial erosion, rain, drought)

- ต้นไม้ถูกทำลายโดยไฟป่าหรือความแล้ง (Vegetation removal by fire or drought)

- แผ่นดินไหว (Earthquake)

- คลื่น "สึนามิ" (Tsunami)

- ภูเขาไฟระเบิด (Volcanic eruption)

- การเปลี่ยนแปลงของน้ำใต้ดิน (Change in underground water)

- การสึกกร่อนของชั้นหินใต้ดิน (Change in underground structure)

- การกัดเซาะของฝั่งแม่น้ำ ฝั่งทะเล และไหล่ทวีป (Coastal erosion and change in continental slope)


2. สาเหตุจากมนุษย์( Human causes )

- การขุดดินบริเวณไหล่เขา ลาดเขาหรือเชิงเขา ( Excavation of slpoe or its toe ) เพื่อการเกษตร หรือทำถนน หรือขยายที่ราบในการพัฒนาที่ดิน หรือการทำเหมือง ( Mining ) ไม่ว่าบนภูเขาหรือพื้นราบ

- การดูดทรายจากแม่น้ำ หรือบนแผ่นดิน

- การขุดดินลึก ๆ ในการก่อสร้างห้องใต้ดินของอาคาร

- การบดอัดที่ดินเพื่อการก่อสร้าง ทำให้เกิดการเคลื่อนของดินในบริเวณใกล้เคียง

- การสูบน้ำใต้ดิน น้ำบาดาล ที่มากเกินไป หรือการอัดน้ำลงใต้ดิน ในพื้นที่บางแห่ง

- การถมดิน ก่อสร้าง เพิ่มน้ำหนัก บนภูเขา หรือสันเขา ( Loading or building on crest or slope )

- การทำลายป่า ( Deforestation ) เพื่อทำไร่ หรือสวนเกษตรกรรม

- การทำอ่างเก็บน้ำ ( Reservoir ) นอกจากเป็นการเพิ่มน้ำหนักบนภูเขาแล้ว ยังทำให้น้ำซึมลงใต้ดินมากจนเกินสมดุล

- การเปลี่ยนแปลงทางน้ำธรรมชาติ ( Change the natural stream ) ทำให้ระบบน้ำใต้ดินเสียสมดุล

- น้ำทิ้งจากอาคาร บ้านเรือน สวนสาธรณะ ถนน บนภูเขา ( Water from utilities leakages or or drainages )

- การกระเทือนต่าง ๆ เช่นการระเบิดหิน ( Artificial vibration )


ประเภทของดินถล่ม ( Types of Landslides )
จากส่วนประกอบของดิน และสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดดินถล่ม ดังกล่าวมาแล้ว ทำให้ลักษณะของดินถล่มมีรูปแบบต่าง ๆ กัน ดังนี้

1. การตกหล่น ( Falls ) มักเป็นก้อนหิน( Rock ) หรือ หินก้อนใหญ่ทั้งก้อน ( Boulder ) อาจตกหล่นลงมาโดยตรง ( Free fall ) หรือตกกระดอน ๆ ลงมา ( Bouncing ) หรือกลิ้งลงมา ( Rolling ) และสำหรับกรณีที่หินร่วงตกลงมามาก ๆ เป็นกองใหญ่ เช่นจากภูเขาที่มีน้ำแข็ง หินที่ตกลงมาจะกองเป็นรูปกรวยคว่ำ ( cone-shape ) เรียกว่า Talus slope

2. ล้มหรือหกคะเมน ( Topple ) มักเป็นหินที่เป็นแผ่นเป็นแท่งที่แตกและล้มคะเมนลงมา

3. การคืบ - เคลื่อนไปช้า ๆ (Creep) ของดิน หรือหิน เนื่องจากมีแรงดึงไปน้อย พอที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนตัวไปเรื่อย ๆ แต่อย่างช้า ๆ มาก ๆ ซึ่งมี 3 รูปแบบ คือ

ก. เคลื่อนตามฤดูกาล ( Seasonal ) ที่มีความชุ่มและอุณหภูมิของดินชั้นล่างพอดีของแรงที่ทำให้เกิดการเคลื่อนได้

ข. เคลื่อนอย่างคงที่ตลอดเวลา ( Continuous ) จากแรงตึงมีมีอย่างคงที่

ค. เคลื่อนด้วยอัตราเร่ง ( Progressive ) เพราะความลาดชันที่ทำให้แรงเคลื่อนเพิ่มขึ้นตามลำดับ

4. การสไลด์
4.1 Transitional slide ถ้าพื้นดินชั้นล่างเป็นแผ่นระนาบค่อนข้างเรียบ พื้นดินข้างบนก็จะเคลื่อนลงมาในแนวขนานกับที่ลาดเอียงนั้น ทิ้งรอยแยกเป็นร่องไว้ด้านบน

4.2 Rotational slide เมื่อพื้นชั้นล่างที่ดินแยกตัวเป็นที่ลาดโค้งเว้า ดินที่จะเคลื่อนลงมาก็จะเคลื่อนโค้งหมุนตัวรอบแกนที่ขวางขนานกับที่ลาดเอียงนั้น หมุนตัวเข้าด้านใน หากมีต้นไม้หรือสิ่งก่อสร้างอยู่บนนั้น ก็จะเห็นการเอียงเข้าหาด้านบนได้ ส่วนรอยเคลื่อนของผิวดินตรงขอบบนจะเป็นรอยโค้งเว้าขึ้นไปด้านบน ทิ้งร่องรอยเป็นหน้าผาเว้าที่ชันกว่าเดิม ส่วนที่พื้นดินด้านล่างลงไปจะมีดินถูกดันโป่งออกมาเป็นหย่อม ๆ ลักษณะคล้ายนิ้วเท้า เรียกว่า Toe เป็นลักษณะให้สังเกตรู้ได้ว่า ที่ข้างบนขึ้นไปเคยมีดินถล่ม Landslide

ดินที่เคลื่อน แบบนี้ จะมีส่วนที่ยังเกาะเป็นชิ้นเป็นผืนเดียวกัน เรียกว่า Slump

5. การไหล ( Flows ) เกิดจากมีส่วนประกอบของน้ำจำนวนมากและและไหลเร็วลงมาตามที่ลาดชัน มีหลายแบบ ได้แก่

5.1 เศษดินทรายและเศษต้นไม้ ( Debris flow ) เป็นเศษชิ้นเล็ก ๆ และผงขนาดเม็ดทรายที่ไหลมากับน้ำ พบเห็นบ่อยทั่วไป

5.2 การถล่มของก้อนหิมะที่ทับถมกันเป็นจำนวนมาก ( Debris avalanche )

5.3 ดินไหล( Earth flow ) มักเกิดในที่ไม่ลาดชันนัก ที่มีส่วนประกอบเป็นดิน โคลน และก้อนกรวดเล็ก ๆ ในบริเวณที่ชุ่มน้ำมากจนเป็นส่วนผสมที่เหลวจนไหลได้ จึงไหวลงมาเป็นทางแคบ ๆ มากองอยู่ในที่ต่ำลงมา ทิ้งร่องรอยที่เดิมเป็นแอ่ง ทำให้เป็นรูปคล้ายนาฬิกาทราย

5.4 โคลนไหล ( Mudflow ) เกิดเช่นเดียวกับข้อก่อน แต่มีส่วนผสมเป็นโคลนและทรายและน้ำ ซึ่งในบางครั้งน้ำโคลนที่ขังอยู่ใต้ดินเป็นจำนวนมากอาจทะลักและไหลออกมาอย่างรวดเร็วเป็นกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว ( Torrent ) สามารถไหลไปได้ไกล ลงไปท่วมในที่ต่ำข้างล่างได้ และหากท่วมเข้าไปในหมู่บ้านหรือเมืองบริเวณเชิงเขา จะทำให้ผู้คนเสียชีวิตได้มาก เพราะหนีออกจากน้ำโคลนได้ยาก ส่วนโคลนร้อนที่ถูกพ่นออกมาจากภูเขาไฟ เรียกว่า Lahar


6. การเคลื่อนแผ่ออกไปด้านข้าง( Lateral spreading )
เกิดในที่ลาดชันน้อยหรือที่ราบ เนื่องจากมีความชุ่มน้ำมากจนพื้นดินเริ่มเหลวตัว ( Liquefaction ) พื้นดินไม่มีแรงพอที่จะเกาะกุมกัน จึงแผ่ตัวออกไปทางข้าง ๆ และบางครั้งตรงขอบบนของที่ลาดเอียงเล็กน้อยนั้น อาจเกิดรอยแยกของดิน หรือตรงด้านข้างอาจเกิดการหมุนตัวของแผ่นดิน หรือในที่ลาดเอียงบางแห่งจะมีการเคลื่อนเร็วขึ้น จนเป็นดินเลื่อน หรือดินไหลได้

ที่มา
http://www.siamvolunteer.com/autopagev4/show_page.php?topic_id=9&auto_id=7&TopicPk=

หินและวัฏจักรของหิน

หิน (Rock) หมายถึง มวลของแข็งที่ประกอบขึ้นด้วยแร่ชนิดเดียวกันหรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติ แบ่งตามลักษณะการเกิดได้ 3 ชนิดใหญ่

1. หินอัคนี (Igneous Rock)
เกิดจากหินหนืดที่อยู่ใต้เปลือกโลกแทรกดันขึ้นมาแล้วตกผลึกเป็นแร่ต่างๆ และเย็นตัวลงจับตัวแน่นเป็นหินที่ผิวโลก แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ

หินอัคนีแทรกซอน (Intrusive Igneous Rock) เกิดจากการเย็นตัวลงอย่างช้า ๆ ของหินหนืดใต้เปลือกโลก มีผลึกแร่ขนาดใหญ่ (>1 มิลลิเมตร) เช่นหินแกรนิต (Granite) หินไดออไรต์ (Diorite) หินแกบโบร (Gabbro)
หินอัคนีพุ (Extruisive Igneous Rock) หรือหินภูเขาไฟ (Volcanic Rock) เกิดจากการเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วของหินหนืดที่ดันตัวพุออกมานอกผิวโลกเป็นลาวา (Lava) ผลึกแร่มีขนาดเล็กหรือไม่เกิดผลึกเลยเช่น หินบะซอลต์ (Basalt) หินแอนดีไซต์ (Andesite) หินไรโอไลต์ (Rhyolite)

2. หินชั้นหรือหินตะกอน (Sedimentary Rock)
เกิดจากการทับถม และสะสมตัวของตะกอนต่างๆ ได้แก่ เศษหิน แร่ กรวด ทราย ดินที่ผุพังหรือสึกกร่อนถูกชะละลายมาจากหินเดิม โดยตัวการธรรมชาติ คือ ธารน้ำ ลม ธารน้ำแข็งหรือคลื่นในทะเล พัดพาไปทับถมและแข็งตัวเป็นหินในแอ่งสะสมตัวหินชนิดนี้แบ่งตามลักษณะเนื้อหินได้ 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ

หินชั้นเนื้อประสม (Clastic Sedimentary Rock) เป็นหินชั้นที่เนื้อเดิมของตะกอน พวกกรวด ทราย เศษหินและดิน ยังคงสภาพอยู่ให้พิสูจน์ได้ เช่น หินทราย (Sandstone) หินดินดาน (Shale) หินกรวดมน (Conglomerate) เป็นต้น
หินเนื้อประสาน (Nonclastic Sedimentary Rock) เป็นหินที่เกิดจากการตกผลึกทางเคมี หรือจากสิ่งมีชีวิต มีเนื้อประสานกันแน่นไม่สามารถพิสูจน์สภาพเดิมได้ เช่น หินปูน (Limestone) หินเชิร์ต (Chert) เกลือหิน (Rock Salte) ถ่านหิน (Coal) เป็นต้น

3. หินแปร (Metamorphic Rock)
เกิดจากการแปรสภาพโดยการกระทำของความร้อน ความดันและปฏิกิริยาทางเคมี ทำให้เนื้อหิน แร่ประกอบหินและโครงสร้างเปลี่ยนไปจากเดิม การแปรสภาพของหินจะอยู่ในสถานะของของแข็ง ซึ่งจัดแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

การแปรสภาพบริเวณไพศาล (Regional metamorphism) เกิดเป็นบริเวณกว้างโดยมีความร้อนและความดันทำให้เกิดแร่ใหม่หรือผลึกใหม่เกิดขึ้น มีการจัดเรียงตัวของแร่ใหม่ และแสดงริ้วขนาน (Foliation) อันเนื่องมาจากแร่เดิมถูกบีบอัดจนเรียงตัวเป็นแนวหรือแถบขนานกัน เช่น หินไนส์ (Gneiss) หินชีสต์ (Schist) และหินชนวน (Slate) เป็นต้น
การแปรสภาพสัมผัส (Contact metamorphism) เกิดจากการแปรสภาพโดยความร้อนและปฏิกิริยาทางเคมีของสารละลายที่ขึ้นมากับหินหนืดมาสัมผัสกับหินท้องที่ ไม่มีอิทธิพลของความดันมากนัก ปฏิกิริยาทางเคมีอาจทำให้ได้แร่ใหม่บางส่วนหรือเกิดแร่ใหม่แทนที่แร่ในหินเดิม หินแปรที่เกิดขึ้นจะมีการจัดเรียงตัวของแร่ใหม่ ไม่แสดงริ้วขนาน (Nonfoliation) เช่น หินอ่อน (Marble) หินควอตไซต์ (Quartzite)


geology


วัฏจักรของหิน (Rock cycle) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของหินทั้ง 3 ชนิด จากหินชนิดหนึ่งไปเป็นอีกชนิดหนึ่งหรืออาจเปลี่ยนกลับไปเป็นหินชนิดเดิมอีกก็ได้

กล่าวคือ เมื่อหินหนืดเย็นตัวลงจะตกผลึกได้เป็นหินอัคนี เมื่อหินอัคนีผ่านกระบวนการผุพังอยู่กับที่และการกร่อนจนกลายเป็นตะกอนมีกระแสน้ำ ลม ธารน้ำแข็ง หรือคลื่นในทะเล พัดพาไปสะสมตัวและเกิดการแข็งตัวกลายเป็นหิน อันเนื่องมาจากแรงบีบอัดหรือมีสารละลายเข้าไปประสานตะกอนเกิดเป็น หินชั้นขึ้น

เมื่อหินชั้นได้รับความร้อนและแรงกดอัดสูงจะเกิดการแปรสภาพกลายเป็นหินแปร และหินแปรเมื่อได้รับความร้อนสูงมากจนหลอมละลาย ก็จะกลายสภาพเป็นหินหนืด ซึ่งเมื่อเย็นตัวลงก็จะตกผลึกเป็นหินอัคนีอีกครั้งหนึ่งวนเวียนเช่นนี้เรื่อยไปเป็นวัฏจักรของหิน กระบวนการเหล่านี้อาจข้ามขั้นตอนดังกล่าวได้ เช่น จากหินอัคนีไปเป็นหินแปร หรือจากหินแปรไปเป็นหินชั้น


กระบวนการแทรกดันของหินหนืด แล้วเย็นตัวลงได้เป็นหินอัคนี เมื่อเกิดกระบวนการผุพังทำลายพาไปทับถมได้เป็นหินชั้น
และเมื่อผ่านกระบวนการของความร้อนและความดันจะกลายเป็นหินแปร


อ้างอิง
http://www.maceducation.com/e-knowledge/2342204100/11.htm
http://www.dmr.go.th/

สมบัติของสาร

สมบัติของสาร
รอบตัวเรามีสิ่งต่างๆ มากมาย สิ่งเหล่านี้มีตัวตน ต้องการที่อยู่ มีน้ำหนักและสัมผัสได้เราเรียกว่าสสาร เช่น ต้นไม้ ก้อนหิน

สสาร จะประกอบด้วยสาร เช่น ไม้บรรทัด ประกอบด้วยพลาสติก กุญแจประกอบด้วยทองเหลือง เกลือแกงประกอบด้วยโซเดียมคลอไรด์ ดังนั้น พลาสติก ทองเหลือง โซเดียมคลอไรด์ จึงเป็น สาร

สาร หมายถึง สสารที่มีสมบัติเฉพาะตัว สสาร หมายถึงสิ่งที่มีตัวตน มีมวลมีน้ำหนัก ต้องการที่อยู่และสัมผัส ได้ เช่น อากาศ ทองคำ เงิน เหล็ก เป็นต้น

สารรอบตัวเรามีจำนวนมากมายแต่ละชนิดอาจมีสมบัติบางอย่างเหมือนกัน หรือมีสมบัติบางอย่างต่างกัน การจัดกลุ่มสารจะต้องใช้สมบัติของสารเป็นเกณฑ์ โดยจัดให้สารที่มีสมบัติเหมือนกันอยู่ด้วยกัน

ถ้าใช้สถานะของสารเป็นเกณฑ์ สามารถจัดกลุ่มสารได้ 3 กลุ่ม ดังนี้

1. สารที่เป็นของแข็ง เช่น เหล็ก น้ำแข็ง เกลือ น้ำตาล เป็นต้น

2. สารที่เป็นของเหลว เช่น น้ำ แอลกอฮอล์ ปรอท น้ำอัดลม เป็นต้น

3. สารที่เป็นก๊าซ เช่น ก๊าซออกซิเจน ไอน้ำ ก๊าซไข่เน่า เป็นต้น


สารเนื้อเดียวสารเนื้อผสม

ถ้าใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์ สามารถจัดกลุ่มสาร 2 กลุ่ม คือ
1. สารเนื้อเดียว
2. สารเนื้อผสม

สารเนื้อเดียว หมายถึง สารที่มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน มีองค์ประกอบและสมบัติเหมือนกันทุกอย่างเมื่อมองดูด้วยตาเปล่าจะเห็นเป็นเนื้อเดียวกันตลอดทั้งสาร สารเนื้อเดียวจะมีสถานะทั้ง 3 สถานะ
- สถานะเป็นของแข็ง เช่น เกลือ ถ่าน
- สถานะเป็นของเหลว เช่น น้ำเกลือ น้ำส้มสายชู
- สถานะเป็นก๊าซ เช่น อากาศ ก๊าซหุงต้ม

สารเนื้อผสม หมายถึง สารที่มีลักษณะเนื้อสารแตกต่างกันและมีสมบัติไม่เหมือนกันหมด สารเนื้อผสมเกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิด ผสมกันโดยเนื้อสารไม่กลมกลืนกัน เช่น น้ำคลอง น้ำจิ้ม ลักษณะของสารเนื้อผสมมี
สถานะอยู่ 2 สถานะ คือ ของแข็งและของเหลว

หลุมยุบ ธรณีพิบัติภัยของธรรมชาติ

หลุมยุบ ธรณีพิบัติภัยของธรรมชาติ



หลุมยุบในประเทศไทย
ในประเทศไทยมีร่องรอยของหลุมยุบเกิดมากมาย บางบริเวณมีขนาดใหญ่ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น ทะเลในของหมู่เกาะอ่างทอง ถ้ำมรกตที่จังหวัดตรัง และทะเลบันที่จังหวัดสตูล

ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2538 ถึงเดือนมกราคม 2548 มีการเกิดหลุมยุบทั่วประเทศมากกว่า 66 พื้นที่ ในจำนวนนี้ 25 พื้นที่ เกิดหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 และส่วนใหญ่พบในจังหวัดฝั่งทะเลอันดามัน



ลักษณะของหลุมยุบ

รูปร่างของหลุมยุบแตกต่างกันไปตามลักษณะการเกิด ส่วนใหญ่มีรูปร่างวงกลมหรือวงรี หลุมยุบที่เกิดจากการพังถล่มของเพดานโพรงหรือถ้ำใต้ดิน จะมีขอบหลุมชัน แต่หลุมยุบที่เกิดเนื่องจากการละลายของหินเป็นหลัก จะมีขอบหลุมเอียงลาด ขนาดของหลุมยุบขึ้นอยู่กับขนาดของโพรงหรือถ้ำใต้ดิน มีตั้งแต่ไม่กี่เมตรถึงหลายร้อยเมตรและลึกหลายสิบเมตร

หลุมยุบคืออะไร

หลุมยุบ หรือ Sinkhole เป็นธรณีพิบัติภัยประเภทหนึ่ง เกิดตามธรรมชาติ แต่กิจกรรมของมนุษย์เร่งให้เกิดเร็วขึ้นได้ พบได้ทั่วไปในภูมิประเทศที่ใต้ผิวดินเป็นหินปูน หินโดโลไมต์ และหินอ่อน ซึ่งหินเหล่านี้ละลายได้ในน้ำใต้ดิน และเมื่อเพดานต้านทานน้ำหนักของดินและสิ่งก่อสร้างที่กดทับด้านบนไม่ไหว จึงพังกลายเป็นหลุมยุบ

คน แผ่นดินไหวและสึนามิ ทำให้เกิดหลุมยุบจริงหรือ?

จริง เพราะการเผาไหม้ของน้ำมันและถ่านหิน ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเมื่อผสมกับน้ำฝนจะกลายเป็นกรดคาร์บอนิค ถ่านหินที่มีแร่ไพไรต์อยู่ด้วย เมื่อถูกเผาก็ทำให้เกิดฝนกรด ซี่งกรดเหล่านี้จะไปละลายหินปูนหรือหินคาร์บอเนตให้กลายเป็นหลุมยุบได้เร็วขึ้น แผ่นดินไหวที่รุนแรง นอกจากทำให้หินแตกร้าว แผ่นดินไหว และสึนามิ รวมทั้งการสูบน้ำบาดาลจากโพรงหรือถ้ำ มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แรงดันน้ำและอากาศในโพรงหรือถ้ำใต้ดิน เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดหลุมยุบ

ข้อควรระวังเมื่อเกิดหลุมยุบ

1. ล้อมรั้วรอบบริเวณ โดยห่างจากขอบหลุมไม่ต่ำกว่า 15 เมตร เพื่อป้องกันอันตรายไม่ให้คนหรือสัตว์ตกลงไปในหลุม พร้อมติดป้ายห้ามเข้า

2. แจ้งให้ทางราชการทราบ เช่น อบต. อำเภอ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด หรือกรมทรัพยากรธรณี เพื่อมาตรวจสอบสภาพพื้นที่และลักษณะทางธรณีวิทยา

3. อย่าทิ้งขยะ ของเสีย หรือสารพิษในหลุม เพราะจะทำให้เกิดการปนเปื้อนในแหล่งน้ำบาดาล

4. ถมหลุมยุบด้วยก้อนหิน ใช้ก้อนขนาดใหญ่ถมก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกพัดพาไปกับทางน้ำใต้ดินและถมดินลูกรังอัดตามกันไปจนเต็มหลุม

5. ห้ามปลูกสิ่งก่อสร้างบนพื้นที่ดังกล่าว เว้นแต่ได้ตรวจสอบลักษณะโครงสร้างใต้ดินแล้ว

6. น้ำบริเวณนี้เป็นน้ำกระด้าง ทำให้เป็นนิ่วได้ อย่างน้อยต้องต้มก่อน จึงจะดื่มได้

ปัจจัยที่ทำให้เกิดหลุมยุบ
1. เป็นบริเวณที่มีหินปูนหรือหินคาร์บอเนตรองรับอยู่ในระดับตื้น
2. มีโพรงหรือถ้ำใต้ดิน
3. มีตะกอนดินปิดทับบาง (ไม่เกิน 50 เมตร)
4. มีการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำใต้ดิน
5. แรงดันน้ำและอากาศภายในโพรง/ถ้ำ เปลี่ยน
6. เกิดแผ่นดินไหว สึนามิ การสูบน้ำบาดาล
7. มีการก่อสร้างอาคารบนพื้นดินที่มีโพรง/ถ้ำใต้ดิน ระดับตื้น


ข้อสังเกตก่อนเกิดหลุมยุบ
1. มีการทรุดตัวของกำแพง รั้ว เสาบ้าน ต้นไม้หรือรากต้นไม่โผล่ผิดปกติ
2. ประตู/หน้าต่าง บิดเบี้ยว ทำให้เปิดยากขึ้น
3. มีรอยปริแตกบนกำแพง ทางเดินเท้า และบนพื้นดิน
4. มีต้นไม้ ใบไม้ ดอกไม้ หรือพืชผัก เหี่ยวเฉา เป็นบริเวณแคบ ๆ หรือเป็นวงกลม
5. เกิดแอ่งน้ำขนาดเล็กในบริเวณที่ไม่เคยมีแอ่งน้ำมาก่อน
6. น้ำในบ่อ สระ เกิดการขุ่นข้น หรือเป็นโคลนโดยไม่มีสาเหตุ

ที่มาข้อมูล เอกสารเผยแพร่ กรมทรัพยากรธรณี http://www.dmr.go.th
จาก http://www.vcharkarn.com/varticle/39062

วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การแยกสารเนื้อเดียว

การแยกสารเนื้อเดียว
สารเนื้อเดียวอาจเป็นได้ทั้งสารบริสุทธิ์และสารไม่บริสุทธิ์ ถ้าเป็นสารไม่บริสุทธิ์ส่วนประกอบจะต้องผสมกันแล้วรวมตัวเป็นเนื้อเดียวกัน โดยสารเนื้อเดียวจะแสดงสมบัติเดิม

สารเนื้อเดียวที่เป็นสารบริสุทธิ์ได้แก่ น้ำ แอลกอฮอล์ เกลือแกง น้ำตาลทราย เป็นต้น

สารเนื้อเดียวที่เป็นสารไม่บริสุทธิ์ได้แก่ น้ำเกลือ น้ำเชื่อม อากาศ เป็นต้น

การแยกองค์ประกอบของสารเนื้อเดียวสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การกลั่น การระเหยจนแห้ง การตกลึก โครมาโทกราฟี วิธีการเหล่านี้เป็นการแยกวิธีทางกายภาพ การเลือกวิธีแยกสารที่เหมาะสมกับสารเนื้อเดียวแต่ละชนิด จะต้องพิจารณาสมบัติของส่วนประกอบดังต่อไปนี้

1. การระเหยจนแห้ง เหมาะสำหรับการแยกองค์ประกอบของสารเนื้อเดียวที่เกิดจากของแข็งผสมกับของเหลว โดยของแข็ง อาจ ละลาย หรือไม่ละลายในของเหลวก็ได้เมื่อให้ความร้อนแก่สารประเภทนี้ ส่วนประกอบที่เป็นของเหลวจะระเหยเป็นไอจนหมดคงเหลือเฉพาะส่วนที่เป็นของแข็ง เช่น การทำนาเกลือ โดยน้ำเกลือที่มีเกลือละลายอยู่ไดีรับความร้อนจากแสงอาทิตย์จะกลาย เป็นไอจนหมด และ เหลือ ไว้เฉพาะเกลือซึ่งเป็นของแข็ง

2. การตกผลึก เหมาะสำหรับการแยกองค์ประกอบของสารเนื้อเดียวที่เกิดของของแข็งผสมกับของเหลว โดยของแข็งจะต้อง ละลาย ในของเหลวจนได้สารละลายอิ่มตัวของแข็งจึงจะตกผลึกลงสู่ก้นภาชนะคล้ายกับการตกตะกอน

3. การกลั่น เหมาะสำหรับการแยกองค์ประกอบของสารเนื้อเดียว ที่เกิดจากของแข็งผสมกับของเหลว เช่น น้ำเกลือ น้ำเชื่อม หรือ ของเหลวผสมกับของเหลว เช่น น้ำผสมแอลกอฮอล์ ซึ่งส่วนประกอบในสารเนื้อเดียวจะมีจุดเดือดต่างกันจึงจะใช้วิธีแยกโดยการกลั่นได้



4. วิธีโครมาโทกราฟฟี เหมาะสำหรับการแยกองค์ประกอบของสารเนื้อเดียวที่มีส่วนประกอบตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปละลายอยู่ ในของ เหลว โดยส่วนประกอบของสารจะต้องมีความสามารถในการเคลื่อนที่บนตัวดูดซับได้ไม่เท่ากัน จึงจะแยกออกจากกันด้วยวิธีนี้ได้ นั่นคือ หลักการที่สำคัญ คืออาศัยสมบัติของการละลายในตัวทำละลายและตัวดูดซับเป็นสำคัญ โครมาโทกราฟี แปลว่า การแยกออกมาให้เห็น เป็นสี ๆ

วิธีโครมาโทกราฟฟี ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน
ก. ตัวดูดซับ เป็นส่วนที่ให้สารละลายเคลื่อนที่แล้วปรากฏเป็นแถบสี ตัวอย่างตัวดูดซับ ได้แก่ กระดาษกรอง แท่งชอล์ก กระดาษ โครมาโทกราฟี เป็นต้น
ข.ตัวทำละลาย เป็นของเหลวที่ทำหน้าที่ละลายองค์ประกอบของสาร ให้ออกจากกัน แล้วสารแต่ละตัวจะเคลื่อน ที่บนตัวดูดซับ ได้ตามความสามารถของสารนั้น ๆ ตัวอย่างของตัวทำละลาย ได้แก่ น้ำ น้ำเกลือแอลกอฮอล์ เป็นต้น สารจะเคลื่อนที่บน ตัวดูดซับได้ ระยะทางต่างกัน เนื่องจากมีความสามารถในการละลายในตัวทำละลายและการดูดซับต่างกัน

วิธีการทำโครมาโทกราฟี คือ
แต้มสารเป็นจุด ซึ่งมักจะมีสีบนตัวดูดซับเพื่อสังเกตง่าย แล้วนำตัวดูดซับไปแช่ในตัวทำละลาย โดยให้จุดสีของสารอยู่สูงกว่าระดับ ของตัวทำละลายเล็กน้อย หลังจากนั้นตัวทำละลายจะซึมขึ้นมาถึงจุดสีของสารแล้วละลายสาร พาสารเคลื่อนที่ไปบนตัวดูดซับปรากฎ เป็นแถบสีบนตัวดูดซับ ซึ่งสีแต่ละสีเคลื่อนที่ได้ระยะทางต่างกัน

ผลของการทำโครมาโทกราฟี
1. สารที่เคลือนที่ออกมาก่อน แสดงว่าละลายน้ำได้ดี และถูกกระดาษกรองดูดซับได้น้อยจึงเคลื่อนที่ได้เร็ว
2. สารที่เคลือนที่ออกทีหลัง แสดงว่าละลายน้ำได้ไม่ดี และถูกกระดาษกรองดูดซับได้ดีจึงเคลื่อนที่ได้ช้า

อัตราส่วนที่เปรียบเทียบระหว่างระยะทางที่สารเคลื่อนที่ได้กับระยะทางที่น้ำ(หรือตัวทำละลาย)เคลื่อนที่ได้ เรียกว่า เรด ออฟ โฟลว์ ( Rate of flow ) ย่อว่า อาร์ เอฟ ( Rf ) ดังนั้นจึงเขียนเป็นสูตรได้ว่า
Rf = ระยะทางที่สารเคลื่อนที่ได้ / ระยะทางที่ตัวทำละลายเคลื่อนที่ได้


ประโยชน์ของวิธีโครมาโทกราฟี
1. สามารถตรวจสอบได้ว่า สารเนื้อเดียวเป็นสารบริสุทธิ์ หรือเป็นสารละลาย
2. ส ามารถทดสอบสารเนื้อเดียวที่ไม่มีสีได้
3. ถ้ามีตัวอย่างสารเพียงเล็กน้อยก็สามารถทดสอบได้
4. แยกองค์ประกอบต่าง ๆในของผสมออกจากกันได้

การแยกสารเนื้อเดียว

การแยกสารเนื้อเดียว
สารเนื้อเดียวอาจเป็นได้ทั้งสารบริสุทธิ์และสารไม่บริสุทธิ์ ถ้าเป็นสารไม่บริสุทธิ์ส่วนประกอบจะต้องผสมกันแล้วรวมตัวเป็นเนื้อเดียวกัน โดยสารเนื้อเดียวจะแสดงสมบัติเดิม

สารเนื้อเดียวที่เป็นสารบริสุทธิ์ได้แก่ น้ำ แอลกอฮอล์ เกลือแกง น้ำตาลทราย เป็นต้น

สารเนื้อเดียวที่เป็นสารไม่บริสุทธิ์ได้แก่ น้ำเกลือ น้ำเชื่อม อากาศ เป็นต้น

การแยกองค์ประกอบของสารเนื้อเดียวสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การกลั่น การระเหยจนแห้ง การตกลึก โครมาโทกราฟี วิธีการเหล่านี้เป็นการแยกวิธีทางกายภาพ การเลือกวิธีแยกสารที่เหมาะสมกับสารเนื้อเดียวแต่ละชนิด จะต้องพิจารณาสมบัติของส่วนประกอบดังต่อไปนี้

1. การระเหยจนแห้ง เหมาะสำหรับการแยกองค์ประกอบของสารเนื้อเดียวที่เกิดจากของแข็งผสมกับของเหลว โดยของแข็ง อาจ ละลาย หรือไม่ละลายในของเหลวก็ได้เมื่อให้ความร้อนแก่สารประเภทนี้ ส่วนประกอบที่เป็นของเหลวจะระเหยเป็นไอจนหมดคงเหลือเฉพาะส่วนที่เป็นของแข็ง เช่น การทำนาเกลือ โดยน้ำเกลือที่มีเกลือละลายอยู่ไดีรับความร้อนจากแสงอาทิตย์จะกลาย เป็นไอจนหมด และ เหลือ ไว้เฉพาะเกลือซึ่งเป็นของแข็ง

2. การตกผลึก เหมาะสำหรับการแยกองค์ประกอบของสารเนื้อเดียวที่เกิดของของแข็งผสมกับของเหลว โดยของแข็งจะต้อง ละลาย ในของเหลวจนได้สารละลายอิ่มตัวของแข็งจึงจะตกผลึกลงสู่ก้นภาชนะคล้ายกับการตกตะกอน

3. การกลั่น เหมาะสำหรับการแยกองค์ประกอบของสารเนื้อเดียว ที่เกิดจากของแข็งผสมกับของเหลว เช่น น้ำเกลือ น้ำเชื่อม หรือ ของเหลวผสมกับของเหลว เช่น น้ำผสมแอลกอฮอล์ ซึ่งส่วนประกอบในสารเนื้อเดียวจะมีจุดเดือดต่างกันจึงจะใช้วิธีแยกโดยการกลั่นได้



4. วิธีโครมาโทกราฟฟี เหมาะสำหรับการแยกองค์ประกอบของสารเนื้อเดียวที่มีส่วนประกอบตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปละลายอยู่ ในของ เหลว โดยส่วนประกอบของสารจะต้องมีความสามารถในการเคลื่อนที่บนตัวดูดซับได้ไม่เท่ากัน จึงจะแยกออกจากกันด้วยวิธีนี้ได้ นั่นคือ หลักการที่สำคัญ คืออาศัยสมบัติของการละลายในตัวทำละลายและตัวดูดซับเป็นสำคัญ โครมาโทกราฟี แปลว่า การแยกออกมาให้เห็น เป็นสี ๆ

วิธีโครมาโทกราฟฟี ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน
ก. ตัวดูดซับ เป็นส่วนที่ให้สารละลายเคลื่อนที่แล้วปรากฏเป็นแถบสี ตัวอย่างตัวดูดซับ ได้แก่ กระดาษกรอง แท่งชอล์ก กระดาษ โครมาโทกราฟี เป็นต้น
ข.ตัวทำละลาย เป็นของเหลวที่ทำหน้าที่ละลายองค์ประกอบของสาร ให้ออกจากกัน แล้วสารแต่ละตัวจะเคลื่อน ที่บนตัวดูดซับ ได้ตามความสามารถของสารนั้น ๆ ตัวอย่างของตัวทำละลาย ได้แก่ น้ำ น้ำเกลือแอลกอฮอล์ เป็นต้น สารจะเคลื่อนที่บน ตัวดูดซับได้ ระยะทางต่างกัน เนื่องจากมีความสามารถในการละลายในตัวทำละลายและการดูดซับต่างกัน

วิธีการทำโครมาโทกราฟี คือ
แต้มสารเป็นจุด ซึ่งมักจะมีสีบนตัวดูดซับเพื่อสังเกตง่าย แล้วนำตัวดูดซับไปแช่ในตัวทำละลาย โดยให้จุดสีของสารอยู่สูงกว่าระดับ ของตัวทำละลายเล็กน้อย หลังจากนั้นตัวทำละลายจะซึมขึ้นมาถึงจุดสีของสารแล้วละลายสาร พาสารเคลื่อนที่ไปบนตัวดูดซับปรากฎ เป็นแถบสีบนตัวดูดซับ ซึ่งสีแต่ละสีเคลื่อนที่ได้ระยะทางต่างกัน

ผลของการทำโครมาโทกราฟี
1. สารที่เคลือนที่ออกมาก่อน แสดงว่าละลายน้ำได้ดี และถูกกระดาษกรองดูดซับได้น้อยจึงเคลื่อนที่ได้เร็ว
2. สารที่เคลือนที่ออกทีหลัง แสดงว่าละลายน้ำได้ไม่ดี และถูกกระดาษกรองดูดซับได้ดีจึงเคลื่อนที่ได้ช้า

อัตราส่วนที่เปรียบเทียบระหว่างระยะทางที่สารเคลื่อนที่ได้กับระยะทางที่น้ำ(หรือตัวทำละลาย)เคลื่อนที่ได้ เรียกว่า เรด ออฟ โฟลว์ ( Rate of flow ) ย่อว่า อาร์ เอฟ ( Rf ) ดังนั้นจึงเขียนเป็นสูตรได้ว่า
Rf = ระยะทางที่สารเคลื่อนที่ได้ / ระยะทางที่ตัวทำละลายเคลื่อนที่ได้


ประโยชน์ของวิธีโครมาโทกราฟี
1. สามารถตรวจสอบได้ว่า สารเนื้อเดียวเป็นสารบริสุทธิ์ หรือเป็นสารละลาย
2. ส ามารถทดสอบสารเนื้อเดียวที่ไม่มีสีได้
3. ถ้ามีตัวอย่างสารเพียงเล็กน้อยก็สามารถทดสอบได้
4. แยกองค์ประกอบต่าง ๆในของผสมออกจากกันได้

การแยกสารเนื้อผสม

การแยกสารเนื้อผสม
สารเนื้อผสมเป็นสารไม่บริสุทธิ์ เกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิดมาผสมกันแล้วไม่รวมตัวเป็นเนื้อเดียว จึงอาจเรียกสารเนื้อผสมได้ว่าเป็น ของผสม สารเนื้อผสมจะแสดงสมบัติของสารที่เป็นส่วนประกอบ ซึ่งอาจเกิดจากของแข็งผสมกับของแข็ง เช่น พริกเกลือผสมกัน ของเหลวผสมกับของเหลวโดยจะเห็นของเหลวแบ่งชั้นกัน เช่นน้ำกับน้ำมันและของแข็งผสมกับของเหลว ซึ่งจะเห็นเป็น ของเหลวขุ่น เช่น น้ำอบไทย น้ำแป้ง

การแยกสารเนื้อผสมออกเป็นองค์ประกอบเดิมแต่ละชนิด สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การกรอง การตกตะกอน การระเหิด การใช้อำนาจแม่เหล็ก การสกัดด้วยตัวทำละลาย การเขี่ยออก และหยิบออก ซึ่งวิธีการเหล่านี้เป็นการแยกโดยวิธีทางกายภาพ การเลือกวิธีที่เหมาะสมเพื่อแยกสารเนื้อผสม จะต้องพิจารณาจากสมบัติของสารที่เป็นส่วนประกอบดังนี้

1.สารเนื้อผสมที่เกิดจากของแข็งผสมกับของแข็ง ใช้วิธีการแยกสารดังนี้

ก. การเขี่ยออกหรือหยิบออก เหมาะสำหรับการแยกองค์ประกอบของสารเนื้อผสมที่องค์ประกอบมีลักษณะแตกต่างกัน อย่างเห็นได้ชัดเจน เช่น ขนาดต่างกันมาก หรือมีสีต่างกันมาก เมื่อต้องการแยก องค์ประกอบออกจากสารเนื้อผสมจึงทำได้โดยการเขี่ย หรือหยิบส่วนผสมที่ต้องการออกได้แก่ การแยกพริกออกจากเกลือ การแยกแกลบออกจากข้าวสาร เป็นต้น

ข. การใช้อำนาจแม่เหล็ก เหมาะสำหรับการแยกองค์ประกอบของสารเนื้อผสมที่เกิดจากของแข็งผสมกับของแข็ง แล้วไม่กลมกลืนกันมีเนื้อสารแตกต่างกัน โดยสารหนึ่งมีสมบัติที่ แม่เหล็กดูดได้หรือที่เรียกว่า สารแม่เหล็ก เช่น สารผสมระหว่าง ผงเหล็กกับผงกำมะถัน หรือผงเหล็กกับทราย

ค. การระเหิด เหมาะสำหรับการแยกองค์ประกอบของสารเนื้อผสมที่เกิดจากของแข็งผสมกับของแข็งแล้วไม่กลมกลืนกัน ยังมีเนื้อสารที่แตกต่างกัน โดยสารหนึ่งมีสมบัติระเหิดได้ เมื่อนำสารเนื้อผสมมาให้ความร้อน ของแข็งที่มีสมบัติระเหิดได้ จะกลาย เป็นไอแยกออกจากสารเนื้อผสม ถ้าผ่านไดไปสู่ภาชนะที่เย็นกว่าจะกลายเป็นของแข็ง เช่น สารผสมระหว่างผงทรายกับการบูรซึ่งการบูรสามารถระเหิดได้

ง. การสกัดด้วยตัวทำละลาย เหมาะสำหรับการแยกองค์ประกอบของสารเนื้อผสม ที่เกิดจากของแข็งผสมกับของแข็ง ซึ่งองค์ประกอบในสารนี้มีความสามารถในการละลายต่างกัน เช่น สารผสมระหว่างทรายกับเกลือ ซึ่งทรายไม่ละลายน้ำแต่เกลือ ละลายน้ำได้ เมื่อใส่น้ำลงในสารผสมแล้วคน เกลือจะละลายน้ำแล้วไน้ำเกลือส่วนทรายไม่ละลายน้ำและจะตกตะกอนที่ก้นภาชนะจากนั้นนำสารทั้งหมดไปกรอง ทรายจะติดอยู่บนกระดาษกรอง ส่วนน้ำเกลือจะอยู่ในภาชนะ เมื่อนำเอาสารในภาชนะไปต้ม จนแห้งจะได้เกลืออยู่ที่ก้นภาชนะ

จ. การใช้แรงลมและแรงโน้มถ่วงของโลก ใช้แยกของผสมที่น้ำหนักต่างกัน เช่น ข้าวสารผสมอยู่กับแกลบ เราก็นำมาใส่ กระด้ง แล้วออกแรงฝัด แกลบเบากว่าก็จะถูกแรงลมพัดปลิวออกไปนอกกระด้ง ข้าวสารหนักกว่าก็จะอยู่ในกระด้ง

2.สารเนื้อผสมที่เกิดจากของแข็งผสมกับของเหลว ใช้วิธีการแยก ดังนี้

ก. การกรอง เหมาะสำหรับการแยกองค์ประกอบของสารเนื้อผสมที่เกิดจากของแข็งผสมกับของเหลวโดยไม่เกิดการละลาย จะทำให้ของเหลวขุ่น จึงต้องกรองของแข็งออกจากของเหลว เช่น กรองฝุ่นออกจากน้ำเชื่อม กรองตะกอนออกจากน้ำสำหรับดื่ม

ข.การตกตะกอน เหมาะสำหรับการแยกองค์ประกอบของสารเนื้อผสมที่เกิดจากของแข็งผสมกับของเหลว โดยไม่เกิดการละลาย จะทำให้ของเหลวขุ่น จึงต้องแยกของแข็งออกจากของเหลวแล้วปล่อยให้สารเนื้อผสมอยู่นิ่งๆ เพื่อให้ของแข็งตกตะกอนลงสู่ก้นภาชนะ ถ้าต้องการให้สารตกตะกอนได้เร็วจะใช้สารส้มแกว่งในสารเพื่อเพื่อจะทำให้ตะกอนจับตัวกันมีขนาดใหญ่ขึ้นแล้วตกลงสู่ก้นภาชนะได้เร็วขึ้น ในกรณีที่ตะกอนเบามาก ถ้าตกการให้ตกตะกอนเร็วขึ้นอาจทำได้โดย

1.ใช้แรงเหวี่ยงด้วยเครื่องเซนตริฟิล

2.ใช้สารตัวกลางให้โมเลกุลของตะกอนมาเกาะ เมื่อมีมวลมากขึ้น น้ำหนักจะมากขึ้นจะตกตะกอนได้เร็วขึ้น เช่น ใช้สารส้มแกว่ง โมเลกุลของสารส้มจะทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ให้โมเลกุลของสารที่ต้องการตกตะกอนมาเกาะ ตะกอนจะตกเร็วขึ้น

3. สารเนื้อผสมที่เกิดจากของเหลวผสมกับของเหลว ใช้วิธีการแยก ดังนี้

การใช้กรวยแยก ใช้แยกสารเนื้อผสม ที่เป็นของเหลวผสมอยู่กับของเหลวแต่ไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกัน โดยของเหลวที่มี ความหนาแน่นน้อยกว่าจะอยู่ข้างบน ของเหลวที่มีความหนาแน่นมากกว่า จะอยู่ข้างล่าง ตัวอย่าง การแยกน้ำมันที่ผสมปนอยู่กับน้ำ ทำได้โดยนำของผสมมาใส่ลงในกรวยแยก น้ำมันมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำจะลอยอยู่เหนือน้ำ จากนั้นค่อย ๆเปิดก๊อกของกรวยแยกไข แยกน้ำออกมาก่อน และแยกน้ำมันออกมาทีหลัง

การเกิดจันทรุปราคา



จันทรุปราคา (เรียกได้หลายอย่าง ตัวอย่างเช่น จันทรคาธ, จันทรคราส, ราหูอมจันทร์ หรือ กบกินเดือน) คือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อดวงอาทิตย์, โลก และดวงจันทร์ เรียงอยู่ในแนวเดียวกันพอดี หากเกิดขึ้นในช่วงพระจันทร์เต็มดวง เมื่อดวงจันทร์ผ่านเงาของโลก จะเรียกว่า จันทรุปราคา ปรากฏการณ์จันทรุปราคาแม้จะเกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่มีอิทธิพลต่อความคิดและความเชื่อในหลายวัฒนธรรมมาช้านาน รวมทั้งของไทยด้วย ซึ่งลักษณะของจันทรุปราคาขึ้นอยู่กับตำแหน่งของดวงจันทร์ที่เคลื่อนที่ผ่านเงาของโลกในเวลานั้นๆ

ประเภทของจันทรุปราคา
จันทรุปราคาเงามัว* เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเงามัวของโลก จันทรุปราคาลักษณะนี้จะสังเกตเห็นได้ไม่ชัดเจนมากนัก เนื่องจากความสว่างของดวงจันทร์จะลดลงไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
จันทรุปราคาเงามัวเต็มดวง เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่เข้าไปในเงามัวของโลกทั้งดวงแต่ไม่ได้เข้าไปอยู่ในบริเวณเงามืด ดวงจันทร์ด้านที่อยู่ใกล้เงามืดมากกว่าจะมืดกว่าด้านที่อยู่ไกลออกไป จันทรุปราคาลักษณะนี้เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก
จันทรุปราคาเต็มดวง* เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่เข้าสู่เงามืดของโลกทั้งดวง ดวงจันทร์จะอยู่ภายใต้เงามืดของโลกนานเกือบ 107 นาที เนื่องจากดวงจันทร์เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วประมาณ 1 กิโลเมตรต่อวินาที แต่หากนับเวลาตั้งแต่ดวงจันทร์เริ่มเคลื่อนเข้าสู่เงามืดจนออกจากเงามืดทั้งดวง อาจกินเวลาถึง 6 ชั่วโมง 14 นาที
จันทรุปราคาบางส่วน เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเงามืดของโลกเพียงบางส่วน

ปัจจัยในการเกิดจันทรุปราคา
จันทรุปราคาไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ เนื่องจากระนาบการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์และระนาบการโคจรของดวงจันทร์รอบโลกทำมุมกัน 5 องศา ในการเกิดจันทรุปราคา ดวงจันทร์จะต้องอยู่บริเวณจุดตัดของระนาบวงโคจรทั้งสอง และต้องอยู่ใกล้จุดตัดนั้นมาก จึงจะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงหรือจันทรุปราคาบางส่วนได้

ระยะห่างระหว่างโลกและดวงจันทร์มีผลต่อความเข้มของจันทรุปราคาด้วย นอกจากนี้ หากดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งที่ห่างจากโลกมากที่สุด (apogee) จะทำให้ระยะเวลาในการเกิดจันทรุปราคานานขึ้น ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ

1 ดวงจันทร์จะเคลื่อนที่อย่างช้าๆ เพราะตำแน่งนี้เป็นตำแหน่งที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่ช้าที่สุดตลอดการโคจรรอบโลก
2 ดวงจันทร์ที่มองเห็นจากโลกจะมีขนาดเล็ก จะเคลื่อนที่ผ่านเงาของโลกไปทีละน้อย ทำให้อยู่ในเงามืดนานขึ้น
ในทุกๆ ปีจะมีจันทรุปราคาเกิดขึ้นอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง หากเก็บสถิติการเกิดจันทรุปราคาแล้ว จะสามารถทำนายวันเวลาในการเกิดจันทรุปราคาครั้งต่อไปได้

การสังเกตจันทรุปราคาแตกต่างจากสุริยุปราคา จันทรุปราคาส่วนใหญ่จะสามารถสังเกตได้จากบริเวณใดๆ บนโลกที่อยู่ในช่วงเวลากลางคืนขณะนั้น ขณะที่สุริยุปราคาจะสามารถสังเกตได้เพียงบริเวณเล็กๆ เท่านั้น

หากขึ้นไปยืนอยู่บนพื้นผิวของดวงจันทร์ขณะที่เกิดจันทรุปราคาบนโลก ก็จะสามารถเห็นการเกิดสุริยุปราคาบนดวงจันทร์ได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ เนื่องจากการที่โลกกำลังบังดวงอาทิตย์อยู่ในเวลานั้น

จาก http://th.wikipedia.org/wiki

คลิปวิดีโอจาก http://www.youtube.com/

ขณะเกิดจันทรุปราคา ยังมีจานบินบินผ่าน ...

การเกิดสุริยุปราคา

สุริยุปราคา หรือ สุริยคราส เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันโดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เมื่อสังเกตจากพื้นโลก จะเห็นดวงจันทร์เคลื่อนเข้ามาบดบังดวงอาทิตย์



สุริยุปราคามี 4 ประเภท ได้แก่

สุริยุปราคาบางส่วน: มีเพียงบางส่วนของดวงอาทิตย์เท่านั้นที่ถูกบัง
สุริยุปราคาเต็มดวง: ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์หมดทั้งดวง
สุริยุปราคาวงแหวน: ดวงอาทิตย์มีลักษณะเป็นวงแหวน เกิดเมื่อดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งที่ห่างไกลจากโลก ดวงจันทร์จึงปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์
สุริยุปราคาผสม: ความโค้งของโลกทำให้สุริยุปราคาคราวเดียวกันกลายเป็นแบบผสมได้ คือ บางส่วนของโลกเห็นสุริยุปราคาเต็มดวง บางส่วนเห็นสุริยุปราคาวงแหวน บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาเต็มดวง เป็นส่วนที่อยู่ใกล้ดวงจันทร์มากกว่า
สุริยุปราคาอาจจัดเป็นการบังกันประเภทหนึ่ง เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์มีดิถีตรงกับจันทร์ดับ

การสังเกตสุริยุปราคา

การมองดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าส่งจะผลเสียต่อตา ไม่ว่ามองเวลาใดก็ตาม แม้แต่มองดวงอาทิตย์ขนาดเกิดสุริยุปราคา แต่สุริยุปราคาก็เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น่าสนใจและศึกษาอย่างมาก การใช้อุปกรณ์ช่วยในการมอง เช่นกล้องสองตา หรือกล้องโทรทรรศน์ก็ยิ่งทำให้เป็นอันตรายมากยิ่งขึ้นไปอีก

ดังนั้นในการมองดวงอาทิตย์ ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยกรองรังสีบางชนิดที่จะเข้าสู่ตา การใช้แว่นกันแดดในการมองเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง เพราะไม่สามารถป้องกันสิ่งที่เป็นอันตราย รวมทั้งรังสีอินฟราเรดที่ตามองไม่เห็นซึ่งจะเป็นอันตรายต่อเรตินาได้ การสังเกตจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่ทำมาโดยเฉพาะ จึงจะสามารถมองดวงอาทิตย์ตรงๆ ได้

การสังเกตที่จะปลอดภัยต่อตามากที่สุด คือการฉายแสงจากดวงอาทิตย์ผ่านอุปกรณ์อื่น เช่น กล้องสองตา หรือกล้องโทรทรรศน์ แล้วใช้กระดาษสีขาวมารองรับแสงนั้น จากนั้นมองภาพจากกระดาษที่รับแสง แต่การทำเช่นนี้ต้องมั่นใจว่าไม่มีใครมองผ่านอุปกรณ์นั้นโดยตรง ไม่เช่นนั้นจะทำอันตรายต่อตาของคนนั้นอย่างมาก โดยเฉพาะถ้ามีเด็กอยู่บริเวณนั้นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ




อย่างไรก็ตาม สามารถมองดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าโดยตรงได้ เฉพาะตอนที่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงเท่านั้น นอกจากจะไม่เป็นอันตรายแล้ว สุริยุปราคาเต็มดวงยังสวยงามอีกด้วย หากมองขณะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ก็จะเห็นชั้นบรรยากาศโคโรนาของดวงอาทิตย์ ในบางครั้งอาจเห็นพวยแก๊สทีพุ่งออกมาจากดวงอาทิตย์ ซึ่งปกติจะไม่สามารถมองเห็นได้ แต่ควรหยุดมองดวงอาทิตย์ก่อนที่จะสิ้นสุดการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงเล็กน้อย

การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงและบางส่วน



จากรูป เป็นการเกิดสุริยุปราคา ส่วนสีเทาเข้มเป็นเงามืด ดวงอาทิตย์ถูกบังโดยดวงจันทร์อย่างสมบูรณ์ หากผู้สังเกตอยู่บริเวณที่เงามืดตกทอด จะสังเกตเห็นสุริยุปราคาเต็มดวง แต่หากผู้สังเกตอยู่บริเวณที่เงามัว (ส่วนสีเทาอ่อน) ตกทอด จะสังเกตเห็นสุริยุปราคาบางส่วน


วงโคจรของโลกและดวงจันทร์
ระบบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทตย์ (สุริยวิถี) กับระนาบวงโคจรของดวงจันทร์รอบโลกทำมุมกันประมาณ 5 องศา ทำให้ในวันจันทร์ดับส่วนใหญ่ ดวงจันทร์จะอยู่เหนือหรือใต้ดวงอาทิตย์ ซึ่งสุริยุปราคาจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านบริเวณจุดตัดของระนาบวงโคจรทั้งสองในวันจันทร์ดับ

วงโคจรของดวงจันทร์เป็นรูปวงรี ทำให้ระยะห่างระหว่างดวงจันทร์ของโลกมีความแตกต่างกันได้ประมาณ 6 เปอร์เซนต์จากค่าเฉลี่ย ด้วยเหตุนี้ ทำให้ขนาดของดวงจันทร์ที่มองจากโลกอาจมีขนาดเล็กหรือใหญ่กว่าปกติได้ ส่งผลกระทบต่อการเกิดสุริยุปราคา ขนาดของดวงจันทร์เฉลี่ยเมื่อมองจากโลกมีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์เล็กน้อย ทำให้สุริยุปราคาส่วนใหญ่จะเกิดแบบวงแหวน แต่หากในวันที่เกิดสุริยุปราคานั้น ดวงจันทร์โคจรอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้โลก ก็จะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ส่วนวงโคจรของโลกก็เป็นวงรีเช่นกัน ระยะห่างระหว่างดวงอาทิตย์กับโลกก็มีค่าเปลี่ยนไปตลอดเวลา แต่ก็ส่งผลไม่มากนักกับการเกิดสุริยุปราคา

ดวงจันทร์โคจรรอบโลกใช้เวลาประมาณ 27.3 วัน เมื่อเทียบกับตำแหน่งการโคจรเดิม เรียกว่าเดือนดาราคติ แต่โลกก็โคจรรอบดวงอาทิตย์ในทิศทางเดียวกัน ทำให้ระยะเวลาจากจันทร์เพ็ญถึงจันทร์เพ็ญอีกครั้งหนึ่งกินเวลานานกว่านั้น คือ ประมาณ 29.6 วัน เรียกว่า เดือนจันทรคติ

การนับเวลาที่ดวงจันทร์โคจรผ่านจุดตัดระหว่างวงโคจรของดวงจันทรและโลก (node) โดยเคลื่อนที่จากใต้เส้นสุริยะวิถีขึ้นไปทางเหนือ ครบหนึ่งรอบนั้นก็เป็นการนับเดือนอีกวิธีหนึ่งเช่นกัน โดยเดือนแบบนี้จะสั้นกว่าแบบแรกเล็กน้อย เนื่องจากวงโคจรของดวงจันทร์เอียงไปมาจากแรงดึงดูดของดวงอาทิตย์ ครบรอบในเวลา 18.5 ปี เรียกเดือนแบบนี้ว่า เดือนดราโคนิติก

การนับเดือนอีกแบบหนึ่งคือ นับจากที่ดวงจันทร์โคจรจากจุดที่ใกล้โลกที่สุด (เรียกว่า perigee) ถึงจุดนี้อีกครั้ง การนับแบบนี้จะมีค่าไม่เท่ากับการนับแบบดาราคติ เนื่องจากวงโคจรของดวงจันทร์มีการส่ายโดยรอบซึ่งจะครบหนึ่งรอบใช้เวลาประมาณ 9 ปี เดือนแบบนี้เรียกว่า เดือนอะนอมัลลิสติก


ความถี่ในการเกิดสุริยุปราคา

ภาพแสงจากดวงอาทิตย์ขณะเกิดสุริยุปราคาบางส่วนผ่านใบไม้วงโคจรของดวงจันทร์ตัดกับสุริยะวิถี 2 จุด ซึ่งห่างกัน 180 องศา ดังนั้น ดวงจันทร์ในวันจันทร์ดับจะอยู่บริเวณจุดนี้ 2 ปีต่อครั้ง ซึ่งโดยทั่วไปจะเกิดสุริยุปราคาทุกปี แต่ในบางปี ดวงจันทร์อาจโคจรอยู่ตำแหน่งวันจันทร์ดับใกล้ๆ กับสุริยะวิถี 2 เดือนติดกัน ทำให้บางปีอาจเกิดสุริยุปราคามากถึง 5 ครั้ง อย่างไรก็ตาม เงามืดของดวงจันทร์มักจะทอดออกไปทางเหนือหรือใต้ของโลก โดยเงามัวจะทอดลงมาบนโลก ทำให้เกิดสุริยุปราคาบางส่วนที่บริเวณขั้วโลกเหนือเท่านั้น


ระยะเวลาในการเกิดสุริยุปราคา
สุริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดในเวลาสั้นๆ เนื่องจากดวงจันทร์โคจรรอบโลกอย่างรวดเร็ว ในขณะที่โลกก็โคจรไปรอบดวงอาทิตย์ด้วยเช่นกัน ทำให้เงามืดที่ตกบริเวณโลกเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วจากตะวันตกไปตะวันออกในระยะเวลาสั้นๆ

หากสุริยุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์โคจรอยู่ใกล้ตำแหน่ง perigee มากๆ จะทำให้สุริยุปราคาเต็มดวงสามารถสังเกตได้ในบริเวณกว้าง ประมาณ 250 กิโลเมตร และเวลาในการเกิดนั้นอาจนานประมาณ 7 นาที

สุริยุปราคาบางส่วน ซึ่งเกิดจากเงามัวของดวงจันทร์นั้นสามารถเกิดได้ในบริเวณกว้างกว่าสุริยุปราคาเต็มดวงมาก


ประโยชน์ของการสังเกตสุริยุปราคา
นักดาราศาสตร์ใช้การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในการสังเกตชั้นบรรยากาศชั้นโคโรนาของดวงอาทิตย์ ซึ่งตามปกติจะไม่สามารถมองเห็นได้ เนื่องจากบรรยากาศชั้นโฟโตสเฟียร์ของดวงอาทิตย์นั้นสว่างกว่ามาก


สุริยุปราคามีระยะเวลา หรือวงรอบของการเกิดที่แน่นอน ทำให้สามารถทำนายการเกิดสุริยุปราคาครั้งต่อไปได้โดยการคำนวณอย่างง่ายๆจากความเร็วในการเคลื่อนที่ไปรอบดวงอาทิตย์ เปรียบเทียบตำแหน่งกับการที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลก

จาก http://th.wikipedia.org/wiki

ภาพจาก http://www.youtube.com/


สาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

เนื้อหาสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ประถมศึกษาปีที่ 6
1. การเจริญเติบโตของมนุษย์
2. ระบบย่อยอาหาร
3. ระบบหายใจ
4. ระบบหมุนเวียนเลือด
5. ระบบขับถ่าย
6. การทำงานที่สัมพันธ์กันของระบบระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจและระบบหมุนเวียนเลือดของมนุษย์
7. สารอาหาร
8. ความจำเป็นที่ร่างกายต้องได้รับสารอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสมกับเพศและวัย
9. ความสัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่ต่างๆ
10. ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตในรูปของโซ่อาหารและสายใยอาหาร
11. ความสัมพันธ์ระหว่างการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตกัยสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น
12. แหล่งทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละท้องถิ่นที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
13. ผลของการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
14. การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมโดยธรรมชาติและมนุษย์ที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิต
15. แนวทางในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
16. การมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
17. สมบัติของของแข็ง ของเหลวและแก๊ส
18. การจำแนกสารโดยการใช้สถานะและเกณฑ์อื่นๆ
19. วิธีการแยกสาร ได้แก่ การร่อน ตกตะกอน กรอง ระเหิด ระเหยแห้ง
20. จำแนกประเภทของสารโดยใช้สมบัติและการใช้ประโยชน์ของสารเป็นเกณฑ์
21. การเลือกใช้สารแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
22. สมบัติของสารละลาย และการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร
23. การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสารใหม่
24. การเปลี่ยนแปลงของสารที่ก่อให้เกิดผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
25. การต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย
26. ตัวนำไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า
27. การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรม แบบขนานและนำความรู้ไปใช้
28. การต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรม แบบขนานและนำความรู้ไปใช้
29. สนามแม่เหล็ก การเกิดสนามแม่เหล็ก และการใช้ประโยชน์
30. หินและการจำแนกประเภทของหิน
31. ประโยน์ของหิน
32. การเปลี่ยนแปลงของหิน
33. ธรณีพิบัติภัยที่มีผลต่อมนุษย์และสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น
34. การเกิดฤดู
35. การเกิดข้างขึ้นข้างแรม
36. การเกิดสรุยุปราคา
37. การเกิดจันทรุปราคา
38. ความก้าวหน้าและเทคโนโลยีอวกาศ