วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การแยกสารเนื้อเดียว

การแยกสารเนื้อเดียว
สารเนื้อเดียวอาจเป็นได้ทั้งสารบริสุทธิ์และสารไม่บริสุทธิ์ ถ้าเป็นสารไม่บริสุทธิ์ส่วนประกอบจะต้องผสมกันแล้วรวมตัวเป็นเนื้อเดียวกัน โดยสารเนื้อเดียวจะแสดงสมบัติเดิม

สารเนื้อเดียวที่เป็นสารบริสุทธิ์ได้แก่ น้ำ แอลกอฮอล์ เกลือแกง น้ำตาลทราย เป็นต้น

สารเนื้อเดียวที่เป็นสารไม่บริสุทธิ์ได้แก่ น้ำเกลือ น้ำเชื่อม อากาศ เป็นต้น

การแยกองค์ประกอบของสารเนื้อเดียวสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การกลั่น การระเหยจนแห้ง การตกลึก โครมาโทกราฟี วิธีการเหล่านี้เป็นการแยกวิธีทางกายภาพ การเลือกวิธีแยกสารที่เหมาะสมกับสารเนื้อเดียวแต่ละชนิด จะต้องพิจารณาสมบัติของส่วนประกอบดังต่อไปนี้

1. การระเหยจนแห้ง เหมาะสำหรับการแยกองค์ประกอบของสารเนื้อเดียวที่เกิดจากของแข็งผสมกับของเหลว โดยของแข็ง อาจ ละลาย หรือไม่ละลายในของเหลวก็ได้เมื่อให้ความร้อนแก่สารประเภทนี้ ส่วนประกอบที่เป็นของเหลวจะระเหยเป็นไอจนหมดคงเหลือเฉพาะส่วนที่เป็นของแข็ง เช่น การทำนาเกลือ โดยน้ำเกลือที่มีเกลือละลายอยู่ไดีรับความร้อนจากแสงอาทิตย์จะกลาย เป็นไอจนหมด และ เหลือ ไว้เฉพาะเกลือซึ่งเป็นของแข็ง

2. การตกผลึก เหมาะสำหรับการแยกองค์ประกอบของสารเนื้อเดียวที่เกิดของของแข็งผสมกับของเหลว โดยของแข็งจะต้อง ละลาย ในของเหลวจนได้สารละลายอิ่มตัวของแข็งจึงจะตกผลึกลงสู่ก้นภาชนะคล้ายกับการตกตะกอน

3. การกลั่น เหมาะสำหรับการแยกองค์ประกอบของสารเนื้อเดียว ที่เกิดจากของแข็งผสมกับของเหลว เช่น น้ำเกลือ น้ำเชื่อม หรือ ของเหลวผสมกับของเหลว เช่น น้ำผสมแอลกอฮอล์ ซึ่งส่วนประกอบในสารเนื้อเดียวจะมีจุดเดือดต่างกันจึงจะใช้วิธีแยกโดยการกลั่นได้



4. วิธีโครมาโทกราฟฟี เหมาะสำหรับการแยกองค์ประกอบของสารเนื้อเดียวที่มีส่วนประกอบตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปละลายอยู่ ในของ เหลว โดยส่วนประกอบของสารจะต้องมีความสามารถในการเคลื่อนที่บนตัวดูดซับได้ไม่เท่ากัน จึงจะแยกออกจากกันด้วยวิธีนี้ได้ นั่นคือ หลักการที่สำคัญ คืออาศัยสมบัติของการละลายในตัวทำละลายและตัวดูดซับเป็นสำคัญ โครมาโทกราฟี แปลว่า การแยกออกมาให้เห็น เป็นสี ๆ

วิธีโครมาโทกราฟฟี ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน
ก. ตัวดูดซับ เป็นส่วนที่ให้สารละลายเคลื่อนที่แล้วปรากฏเป็นแถบสี ตัวอย่างตัวดูดซับ ได้แก่ กระดาษกรอง แท่งชอล์ก กระดาษ โครมาโทกราฟี เป็นต้น
ข.ตัวทำละลาย เป็นของเหลวที่ทำหน้าที่ละลายองค์ประกอบของสาร ให้ออกจากกัน แล้วสารแต่ละตัวจะเคลื่อน ที่บนตัวดูดซับ ได้ตามความสามารถของสารนั้น ๆ ตัวอย่างของตัวทำละลาย ได้แก่ น้ำ น้ำเกลือแอลกอฮอล์ เป็นต้น สารจะเคลื่อนที่บน ตัวดูดซับได้ ระยะทางต่างกัน เนื่องจากมีความสามารถในการละลายในตัวทำละลายและการดูดซับต่างกัน

วิธีการทำโครมาโทกราฟี คือ
แต้มสารเป็นจุด ซึ่งมักจะมีสีบนตัวดูดซับเพื่อสังเกตง่าย แล้วนำตัวดูดซับไปแช่ในตัวทำละลาย โดยให้จุดสีของสารอยู่สูงกว่าระดับ ของตัวทำละลายเล็กน้อย หลังจากนั้นตัวทำละลายจะซึมขึ้นมาถึงจุดสีของสารแล้วละลายสาร พาสารเคลื่อนที่ไปบนตัวดูดซับปรากฎ เป็นแถบสีบนตัวดูดซับ ซึ่งสีแต่ละสีเคลื่อนที่ได้ระยะทางต่างกัน

ผลของการทำโครมาโทกราฟี
1. สารที่เคลือนที่ออกมาก่อน แสดงว่าละลายน้ำได้ดี และถูกกระดาษกรองดูดซับได้น้อยจึงเคลื่อนที่ได้เร็ว
2. สารที่เคลือนที่ออกทีหลัง แสดงว่าละลายน้ำได้ไม่ดี และถูกกระดาษกรองดูดซับได้ดีจึงเคลื่อนที่ได้ช้า

อัตราส่วนที่เปรียบเทียบระหว่างระยะทางที่สารเคลื่อนที่ได้กับระยะทางที่น้ำ(หรือตัวทำละลาย)เคลื่อนที่ได้ เรียกว่า เรด ออฟ โฟลว์ ( Rate of flow ) ย่อว่า อาร์ เอฟ ( Rf ) ดังนั้นจึงเขียนเป็นสูตรได้ว่า
Rf = ระยะทางที่สารเคลื่อนที่ได้ / ระยะทางที่ตัวทำละลายเคลื่อนที่ได้


ประโยชน์ของวิธีโครมาโทกราฟี
1. สามารถตรวจสอบได้ว่า สารเนื้อเดียวเป็นสารบริสุทธิ์ หรือเป็นสารละลาย
2. ส ามารถทดสอบสารเนื้อเดียวที่ไม่มีสีได้
3. ถ้ามีตัวอย่างสารเพียงเล็กน้อยก็สามารถทดสอบได้
4. แยกองค์ประกอบต่าง ๆในของผสมออกจากกันได้