วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ปี 2556 มี "ดาวหาง" มาให้ชมจุใจ 2 ดวงเลย

ปี 2556 มี "ดาวหาง" มาให้ชมจุใจ 2 ดวงเลย



ภาพคาดการณ์ความสว่างของดาวหางไอซอนเมื่อมองจากฟ้าที่อังกฤษ ในวันที่ 29 พ.ย.56 หลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า (universetoday)


ปี'56 "ดาวหาง" มาให้ชม 2 ดวง

สมาคมดาราศาสตร์ฯ เผยปี '56 มีดาวหางที่อาจสว่างจนมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า 2 ดวง คือ "ดาวหางแพนสตาร์ส" ที่ค้นพบเมื่อปี '54 โดยคาดว่าจะได้เห็น 30 นาที หลังอาทิตย์ตก ช่วงกลาง มี.ค. และ "ดาวหางไอซอน" ที่ค้นพบเมื่อปี '55 ซึ่งคาดว่าจะได้เห็นช่วงปลาย พ.ย.56 ไปถึงต้นปี '57

สมาคมดาราศาสตร์ไทยเผยว่าในปี 2556 นี้คนไทยมีโอกาสได้ชมดาวหางที่คาดว่าจะสว่างจนมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า 2 ดวง ได้แก่ ดาวหางแพนสตารร์ส (Panstarrs) หรือ C/2011 ซึ่งค้นพบเมื่อ มิ.ย.54 และขณะนี้กำลังเข้าใกล้ดวงอาทิตย์และเริ่มปรากฏหางจากความร้อนของดวงอาทิตย์แล้ว ดาวหางไอซอน (Ison) หรือ C/2012 S1 ซึ่งเพิ่งค้นพบเมื่อเดือน ก.ย.55

ทั้งนี้ นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวหางแพนสตารร์สจากภาพถ่ายเมื่อเดือน มิ.ย.54 ขณะที่ดาวหางอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 7.9 หน่วยดาราศาสตร์ (ระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ เรียกว่า 1 หน่วยดาราศาสตร์) จะเข้าใกล้โลกที่สุดในวันที่ 5 มี.ค.56 ซึ่งระนาบโคจรของดาวห่าง 84 องศา หรือเกือบตั้งฉากกับระนนาบวงโคจรของโลก และจะผ่านจุดที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ 10 มี.ค.56

คาดว่าจะเริ่มสังเกตดาวหางแพนสตารร์ส ด้วยตาเปล่าได้ในช่วงปลาย ม.ค.56 หรือต้น ก.พ.56 แต่สังเกตได้ดีในซีกโลกใต้ ส่วนในประเทศไทยยังไม่สามารถเห็นได้เพราะดาวหางขึ้นและตกเกือบพร้อมดวงอาทิตย์ ข้อมูลจากสมาคมดาราศาสตร์ฯ ระบุว่า ช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับประเทศน่าจะเป็นช่วง 9-17 มี.ค.56 เนื่องจากเป็นช่วงที่ดาวหางสว่างที่สุด และตกลับขอบฟ้าช้าที่สุด

“อย่างไรก็ดี ดาวหางจะปรากฏเฉพาะช่วงเวลาที่ยังมีแสงยามเย็น ท้องฟ้าไม่มืดสนิท และปรากฏอยู่ในกลุ่มดาวปลา ซึ่งเราอาจสังเกตเห็นหางที่ทอดยาวขึ้นเหนือขอบฟ้า จากแนวโน้มคาดว่าวันที่ 8-12 มี.ค.56 ความสว่างหรือโชติมาตรของดาวหางจะอยู่ในช่วง +1 ถึง -1 ซึ่งนับว่าสว่างมาก แต่การสังเกตจะทำได้หลังดวงอาทิตย์ตกไปแล้ว 30 นาที โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันตก” ข้อมูลจากสมาคมดาราศาสตร์ระบุ

ส่วนดาวหางไอซอนนั้นเพิ่งถูกค้นพบเมื่อเดือน ก.ย.55 ที่ผ่านมา ขณะดาวหางอยู่ห่าวจากดวงอาทิตย์ 6.3 หน่วยดาราศาสตร์ และจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดราว 28-29 พ.ย.56 ที่ระยะห่าง 0.012 หน่วยดาราศาสตร์ หรือ 1.9 ล้านกิโลเมตรและห่างจากผิวดวงอาทิตย์เพียง 1.2 ล้านกิโลเมตร โดยคาดว่าความสว่างของดาวหางจะอยู่ในช่วงโชติมาตร -10 ถึง -16 หรือสว่างใกล้เคียงและมากกว่าดวงจันทร์ (ค่าโชติมาตรยิ่งติดลบยิ่งสว่าง)

หากความสว่างเป็นไปตามคาดหมาย ทางสมาคมดาราศาสตร์ฯ ระบุว่าผู้สังเกตในประเทศไทยจะได้เห็นดาวหางไอซอนด้วยตาเปล่าบนท้องฟ้ากลางคืนช่วงต้นเดือน พ.ย.56 - เดือน ม.ค.57 แต่ยกเว้นช่วงปลาย พ.ย.-ต้น ธ.ค.55 เพราะดาวหางจะขึ้นและตกไปพร้อมดวงอาทิตย์ โดยดาวหางไอซอนจะเข้าใกล้โลกที่สุดราว 26-27 ธ.ค.56 ที่ระยะ 0.4 หน่วยดาราศาสตร์ หรือ 64 ล้านกิโลเมตร

นายปณัฐพงศ์ จันทรวัฒนาวณิช เจ้าหน้าที่สมาคมดาราศาสตร์ไทย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ว่า ตำแหน่งของดาวหางไอซอนบนฟ้านั้นอยู่ในตำแหน่งที่เห็นง่ายกว่าดาวหางแพนสตารร์ส เพราะอยู่กลางฟ้า และยังมีความสว่างกว่ามาก แต่ความสว่างก็อาจคลาดเคลื่อนได้ โดยเมื่อดาวหางเฉียดใกล้ดวงอาทิตย์อาจสลายไปจนไม่อาจเห็นได้

“สำหรับดาวหางแพนสตารร์สอยู่ในตำแหน่งที่ดูได้ทั้งโลก ซึ่งตอนนี้เริ่มเข้ามาใกล้และเริ่มปรากฏหางแล้ว นักดาราศาสตร์มีข้อมูลเกี่ยวกับดาวหางดวงนี้มากกว่า ส่วนดาวหางไอซอนจะเห็นได้ดีในประเทศซีกโลกเหนือ ตอนนี้ยังไม่เข้ามาใกล้ ยังเป็นก้อนน้ำแข็งอยู่ และไม่ปรากฏหางที่เกิดจากความร้อนของดวงอาทิตย์” ปณัฐพงศ์กล่าว

เจ้าหน้าที่สมาคมดาราศาสตร์ฯ ให้ข้อมูลอีกว่า ปกติดาวหางจะเข้ามาในระบบสุริยะปีละหลาย 10 ดวง แต่ในปี 56 นี้พิเศษที่มีดาวหางสว่างถึง 2 ดวงที่จะได้เห็นในเมืองไทย ซึ่งปกติจะใช้เวลา 5-10 ปีจึงจะได้เห็นดาวหางสว่างๆ จึงน่าติดตาม เพราะทั้งสว่างและเห็นได้ในเมืองไทย ซึ่งตอนนี้นักดาราศาสตร์รู้แค่ว่าจะโคจรอย่างไร แต่ไม่มีใครรู้ว่าเมื่อโดนความร้อนของดวงอาทิตย์แล้วจะปริแตกหรือไม่




ภาพดาวหางแพนสตาร์ส ซึ่งถ่ายจากเปอร์โตริโก เมื่อ 4 ก.ย.55 (Efrain Morales/Jaicoa Observatory)




ภาพดาวไอซอน เมื่อ 22 ก.ย.55 จากหอดูดาว RAS สหรัฐฯ (E. Guido, G. Sostero, N. Howes)





ที่มา
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9550000155247

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

อันตรายของแรงดันน้ำ

ท่องโลกกว้าง (อัศจรรย์ใต้ทะเล - มหันภัยแรงดันน้ำ) 5 ตุลาคม 2555


อัศจรรย์ใต้ทะเล - มหันภัยแรงดันน้ำ 5Oct12 by LadyBimbette


ท่องโลกกว้าง (อัศจรรย์ใต้ทะเล - มหันภัยแรงดันน้ำ) 5 ตุลาคม 2555

ท่องโลกกว้าง (ยาพิษในชีวิตประจำวัน)

ท่องโลกกว้าง (ยาพิษในชีวิตประจำวัน) 18 ตุลาคม 2555



ยาพิษในชีวิตประจำวัน (1) 18Oct12 by LadyBimbette

ท่องโลกกว้าง (ยาพิษในชีวิตประจำวัน (2) 19 ตุลาคม 2555


ยาพิษในชีวิตประจำวัน (2) 19Oct12 by LadyBimbette

ท่องโลกกว้าง (ท่องจักรวาล - หลักฐานใหม่บนดาวอังคาร) 29 ตุลาคม 2555

ท่องโลกกว้าง (ท่องจักรวาล - หลักฐานใหม่บนดาวอังคาร) 29 ตุลาคม 2555


ท่องจักรวาล - หลักฐานใหม่บนดาวอังคาร 29Oct12 by LadyBimbette

ท่องโลกกว้าง (ท่องจักรวาล - หลักฐานใหม่บนดาวอังคาร) 29 ตุลาคม 2555

ท่องโลกกว้าง (นครแห่งมด) 12 พฤศจิกายน 2555

ท่องโลกกว้าง (นครแห่งมด) 12 พฤศจิกายน 2555


นครแห่งมด 12Nov12 by LadyBimbette

ท่องโลกกว้าง (นครแห่งมด) 12 พฤศจิกายน 2555

ท่องโลกกว้าง (วิถีชีวิตในโลกกัมมันตรังสี) 20 พฤศจิกายน 2555

ท่องโลกกว้าง (วิถีชีวิตในโลกกัมมันตรังสี) 20 พฤศจิกายน 2555


วิถีชีวิตในโลกกัมมันตรังสี 20Nov12 by LadyBimbette


ท่องโลกกว้าง (วิถีชีวิตในโลกกัมมันตรังสี) 20 พฤศจิกายน 2555

ท่องโลกกว้าง (แมลงปอ นักล่ากลางเวหา) 19 พฤศจิกายน 2555

ท่องโลกกว้าง (แมลงปอ นักล่ากลางเวหา) 19 พฤศจิกายน 2555



แมลงปอ นักล่ากลางเวหา 19Nov12 by LadyBimbette

ท่องโลกกว้าง (แมลงปอ นักล่ากลางเวหา) 19 พฤศจิกายน 2555

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ตุ่มจิ๋วที่ “ขากรรไกร” จระเข้ไวต่อสัมผัสยิ่งกว่าปลายนิ้วคน


จุดสีดำตามแนวขากรรไกรจระเข้สามารถรับความรู้สึกได้เร็วกว่าปลายนิ้วมนุษย์ (BBC Nature)


ตุ่มจิ๋วที่ “ขากรรไกร” จระเข้ไวต่อสัมผัสยิ่งกว่าปลายนิ้วคน

       งานวิจัยใหม่เผยตุ่มจิ๋วตามแนวขากรรไกรของจระเข้นั้นไวต่อสัมผัสยิ่งกว่าปลายนิ้วของมนุษย์เสียอีก ซึ่งการไวต่อสัมผัสนี้ทำให้จระเข้สามารถคาบไข่ของตัวเองได้อย่างละมุน และตะครุบเหยื่อได้ในเวลาไม่ถึงวินาที
      
       “ทันทีที่พวกมันรู้สึกถึงสัมผัสบางอย่าง พวกมันก็ตะครุบทันที” เคน คาทาเนีย (Ken Catania) นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลท์ (Vanderbilt University) ในเทนเนสซี สหรัฐฯ ผู้วิจัยเรื่องนี้กล่าว
      
       ไลฟ์ไซน์ระบุว่า คาทาเนียสงสัยว่าทำไมสัตว์จำพวกจระเข้จึงมีตุ่มจิ๋วๆ อยู่บนใบหน้า ซึ่งโครงสร้างเล็กๆ เหล่านี้ช่วยให้นักอนุรักษ์แยกหนังจระเข้ที่ใช้ผลิตกระเป๋าสตังค์ รองเท้าและเข็มขัดว่ามาจากฟาร์มหรือลักลอบล่าได้ แต่ก็ไม่มีใครรู้จริงๆ ว่าตุ่มเหล่านั้นมีหน้าที่อะไร
      
       คาทาเนีย และ ดันแคน ไลท์ช (Duncan Leitch) นักศึกษาปริญญาตรีของเขาจึงใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด เพื่อส่องเข้าไปใกล้ๆ โครงสร้างตุ่มนั้นของจระเข้อเมริกันอัลลิเกเตอร์และจระเข้จากแม่น้ำไนล์ ซึ่งเผยให้เห็นปลายเส้นประสาทที่สามารถตรวจวัดการสั่นไหวและแรงดันได้
      
       จากนั้นพวกเขาก็ตามรอยหาแหล่งของปลายประสาทเหล่านั้น ซึ่งพบว่าปลายประสาทเหล่านั้นขึ้นมาจากเส้นประสาทไตรเจมินัล (trigeminal nerve) ซึ่งโผล่ขึ้นมาตรงๆ จากกะโหลก โดยคนเราเองก็มีเส้นประสาทประเภทดังกล่าว ซึ่งช่วยให้รับความรู้สึกทางใบหน้าและรับสัญญาณสั่งการที่จำเป็นต่อการกัด เคี้ยวและกลืน
      
       หลังจากนั้นทีมวิจัยได้เปิดการทำงานของเครือข่ายเส้นประสาทนี้ โดยทีมวิจัยก่อนหน้านี้ได้ชี้ว่าตุ่มที่ใบหน้าอาจจะตรวจวัดระดับเกลือในน้ำได้ ดังนั้น พวกเขาจึงพยายามให้จระเข้แม่น้ำไนล์ได้สัมผัสกับน้ำเค็มขณะวัดสัญญาณไฟฟ้าที่เส้นประสาทดังกล่าว พวกเขาไม่พบอะไรเลย แต่เมื่อทดสอบความไวในการสัมผัส ซึ่งทำโดยการใช้ขนเส้นเล็กๆ สัมผัสที่ตุ่มดังกล่าว ผลปรากฏว่าตุ่มดังกล่าวมีความไวต่อสัมผัสมากกว่าปลายนิ้วของมนุษย์
      
       นักวิจัยพบว่าทั้งจระเข้ครอคส์และเกเตอร์สนั้นใช้ขากรรไกรตะครุบเหยื่อในเวลาเพียง 0.05 วินาที ซึ่งเป็นเวลาในการตอบสนองที่น่าจะถูกกระตุ้นด้วยผิวหนังที่มีความไวสูง แต่สัตว์เลื้อยคลานตัวยักษ์เหล่านี้ก็สามารถประคองไข่ไว้ในปากได้อย่างนุ่มนวล เพื่อย้ายจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง
       ตอนนี้นักวิจัยกำลังสนใจว่าสมองส่วนไหนที่ประมวลผลการรับรู้จากเส้นประสาทเหล่านี้ และคาทาเนียยังกล่าวอีกว่าแม้จระเข้ไม่ใช้สิ่งมีชีวิตที่เป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ แต่ก็มีความสำคัญที่ช่วยเติมเต็มปริศนาวิวัฒนาการว่า การรับความรู้ในสมองส่วนหน้านั้นมีวิวัฒนาการมาอย่างไร

ที่มา
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9550000137297

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สงสารแพนด้า...อนาคตจะไม่มีไผ่กินเพราะโลกร้อน

สงสารแพนด้า...อนาคตจะไม่มีไผ่กินเพราะโลกร้อน


แบบจำลองภูมิอากาศชี้โลกร้อนจะส่งผลกระทบต่อการเจิรญเติบโตของไผ่ซึ่งเป็นอาหารอย่างเดียวของแพนด้า (ไลฟ์ไซน์/Jessie Cohen/Smithsonian's National Zoo)


       แม้ว่าจะเป็นสัตว์ที่คนหลงมากที่สุดด้วยหน้าตาน่าเอ้นดู แต่ “แพนด้า” ก็ไม่รอดพ้นจากการถูกภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศคุกคาม เมื่อนักวิจัยศึกษาว่าอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นไปจนถึงศตวรรษหน้านั้น จะเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของไผ่ซึ่งเป็นอาหารอย่างเดียวของหมีตาขอบดำ เว้นแต่พืชชนิดนี้จะย้ายถิ่นเจริญเติบโตไปยังบริเวณที่สูงขึ้นก็ยังจะพอมีหวังได้บ้าง
      
       อย่างไรก็ดี ทีมวิจัยระบุว่าความหวังที่พอมีในการกอบกู้พื้นที่เจริญเติบโตของไผ่ซึ่งเป็นอาหารแพนด้านั้นอาจถูกมนุษย์แย่งชิงไปเป็นถิ่นอาหารและใช้สร้างกิจกรรมต่างๆ หากว่าเราเริ่มโครงการอนุรักษ์ช้าเกินไป โดย หลิว เจี้ยนกั๋ว (Jianguo Liu) สมาชิกทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย (Michigan State University) สหรัฐฯ บอกทางไลฟ์ไซน์ว่า หากเราเริ่มปฏิบัติการตั้งแต่ตอนนี้เลยก็ยังคงพอมีหวัง แต่หากมัวก็จะช้าเกินไป
      
       ทั้งนี้ ทีมวิจัยได้ใช้แบบจำลองการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) เพื่อคาดคะเนอนาคตของไผ่ 3 สปีชีส์ ที่จำเป็นต่อแพนด้าในภูเขาฉินหลิ่ง (Qinling Mountain) ของจีน ซึ่งเป็นพื้นที่ 1 ใน 4 ของที่อยู่อาศัยของแพนด้า แต่ละแบบจำลองนั้นแตกต่างกันไปตามคาดการณ์ที่จำเพาะ แต่ทุกแบบจำลองพยากรณ์ถึงระดับอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นภายในศตวรรษที่จะมาถึง
      
       ผลการพยากรณ์ชี้ว่า หากไผ่เหล่านั้นยังถูกกำจัดการกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ปัจจุบัน ไผ่จำนวน 80-100% ของปัจจุบันจะหายไปภายในปลายศตวรรษที่ 21 เพราะไม่สามารถเจิรญเติบโตได้ในอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ซึง่ทีมวิจัยได้ตีพิมพ์ผลวิจัยลงวารสาร เนเจอร์ไคลเมทแชงจ์ (Nature Climate Change)
      
       อย่างไรก็ดี ในอนาคตหากไผ่สามารถย้ายไปเติบโตในพื้นที่ใหม่ซึ่งหนาวเย็นกว่า และเป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิเท่าถิ่นที่อยู่เดิมในปัจจุบัน (เนื่องจากคาดการณ์ว่าอนาคตจะร้อนขึ้น) ก็ยังพอมีหวังแก่การอยู่รอดของไผ่เหล่านั้นต่อไปได้ แต่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับว่ามนุษย์เราจะสามารถจำกัดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้ด้วยการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคตได้หรือไม่
      
       “แบบจำลองทั้งหมดค่อนข้างสอดคล้องกัน แนวโน้มทั่วไปนั้นเหมือนกัน สิ่งที่แตกต่างกันคืออุณหภูมิของการเปลี่ยนแปลง แม้จะมีภาพความหวังอยู่บ้างเมื่อเรายอมให้ให้ไผ่กระจายพันธุ์ไปได้ทุกที่ แต่ก็ยังคงมีผลตามมาที่น่ากลัว และชัดเจนว่าหากไผ่ไม่มีที่ไปจริง ถิ่นอาศัยของแพนด้าก็จะลดลงอย่างรดเร็วด้วย” หลิวอธิบายผลคาดการณ์จากแบบจำลองสภาพอากาศแก่ไลฟ์ไซน์
      
       ตอนนี้แพนด้าจำนวนมากอาศัยอยู่ในป่าอาศัยอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ ซึ่งกันไม่ให้มนุษย์บุกรุกเข้าไป ถึงอย่างนั้น พื้นที่เกือบทั้งหมดที่แพนด้าอาศัยอยู่ก็จะไม่ใช่ถิ่นเจริญเติบโตที่ยั่งยืนสำหรับไผ่ในอนาคต หากอุณหภูมิยังคงพุ่งสูงขึ้นไปตามที่พยากรณ์ไว้ แต่หากนักอนุรักษ์เดินหน้าตั้งแต่ตอนนี้เพื่อย้ายพื้นที่อนุรักษ์แพนด้าไปตามขอบเขตถิ่นที่อยู่ของไผ่ ก็มีความเป็นไปได้ในการอนุรักษ์พื้นที่ที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตของแพนด้าได้
      
       อย่างไรก็ดี นักวิจัยระบุว่าไม่ใช่เพียงการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่กำลังคุกคามแพนด้ายักษ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดในโลก แต่กิจกรรมของมนุษย์ก็ได้จำกัดถิ่นที่อยู่ของสัตว์ ซึ่งอาศัยแหล่งอาหารเพียงอย่างเดียว ที่อาหารอื่นซึ่งให้สารอาหารและอุดมพลังงานไม่อาจทดแทน
      
       นอกจากแพนด้าในถิ่นอาศัยตามธรรมชาติในจีนแล้ว ยังมีแพนด้าที่กระจายตัวไปตามสวนสัตว์ต่างๆ และศูนย์ขยายพันธุ์ทั่วโลก แต่หลิวก็ไม่อาจคาดเดาอนาคตของแพนด้าหากพวกมันสูญเสียแหล่งอาศัยตามธรรมชาติไปหมด และการอนุรักษ์ไม่ใช่เพียงการขยายพันธุ์ในศูนย์หรือสวนสัตว์ ซึ่งจะเป็นการทำลายความหลากหลายทางพันธุกรรมของสัตว์ และไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถาวร
      
ที่มา
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9550000138345

คอกาแฟเครียด! อาราบิกา (อาจ) จะสูญพันธุ์เพราะโลกร้อน

 
คอกาแฟเครียด! อาราบิกา (อาจ) จะสูญพันธุ์เพราะโลกร้อน

ทีมวิจัยอังกฤษ-เอธิโอเปียศึกษาพบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ อาจส่งผลให้พื้นที่เหมาะสมสำหรับการเติบโตของกาแฟอาราบิกาป่าลดลงอย่างรุนแรงเมื่อสิ้นศตวรรษนี้ ซึ่งสอดคล้องการพยากรณ์ที่ว่าการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอาจทำลายการผลิตกาแฟของโลก
      
       กาแฟอาราบิกาและกาแฟโรบัสตาเป็นกาแฟ 2 สปีชีส์สำคัญสำหรับทางการค้า แต่บีบีซีนิวส์ระบุว่าความหลากหลายทางพันธุกรรมของกาแฟอาราบิกาป่านั้นมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมกาแฟอย่างยิ่ง โดยอาราบิกาที่มีการเพาะปลูกในพื้นที่ปลูกกาแฟของโลกนั้นมีความจำกัดทางพันธุกรรม และเชื่อว่าขาดความยืดหยุ่นต่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ รวมถึงการคุกคามอื่นๆ อย่างแมลงศัตรูพืชและโรคพืชต่างๆ
      
       ทั้งนี้ ทีมวิจัยจากสวนพฤกษศาสตร์หลวง (Royal Botanic Gardens) ในเมืองคิว สหราชอาณาจักร และคณะทำงานสิ่งแวดล้อมและป่ากาแฟ (Environment and Coffee Forest Forum : ECFF) ในเมืองแอดดิสอบาบา (Addis Ababa) เอธิโอเปีย ได้ศึกษาการกระจายตัวในอนาคตของอาราบิกาป่าโดยใช้แบบจำลองภูมิอากาศ และได้สรุปผลงานดังกล่าวในวารสารพลอสวัน (Plos One)
      
       พวกเขาพิจารณาว่าอาราบิกาป่าจะได้รับผลกระทบจากการปลดปล่อยคาร์บอนที่แตกต่างกัน 3 รูปแบบและ 3 ช่วงเวลา คือปี 2020, 2050 และ 2080 และเมื่อทีมวิจัยได้พิจารณาต่อว่าจะเกิดอะไรขึ้นในตำแหน่งที่ปัจจุบันอาราบิกาเจริญเติบโตอยู่ ซึ่งผลในแง่ดีที่สุดคือ ในพื้นที่เหมาะสมต่อการเติบโตกาแฟอาราบิกาจะลดลงถึง 65% ภายในปี 2080 แต่ผลลัพธ์แย่ที่สุดอาราบิกาจะลดลงถึง 99.7% ภายในปี 2080 เช่นเดียวกัน ส่วนวิธีการวิเคราะห์ที่ต่างออกไปนั้นพบว่าผลลัพธ์ดีที่สุดนั้นกาแฟอาราบิกาจะให้ผลผลิตลดลง 38% แต่กรณีแย่ที่สุดผลผลิตอาราบิกาจะลดลงถึง 90%
      
       อารอน เดวิส (Aaron Davis) หัวหน้าทีมวิจัยกาแฟที่สวนพฤกษศาสตร์หลวงกล่าวว่า การสูญพันธุ์ของกาแฟอาราบิกานั้นเป็นการคาดการณ์ที่น่าใจหายและน่าวิตก ถึงอย่างนั้น เขาระบุว่าเป้าหมายของการศึกษาครั้งนี้ไม่ใช่เพื่อปล่อยข่าวการพยากรณ์ที่สร้างความตื่นตระหนกในเรื่องการสูญสิ้นอาราบิกาในป่า แม้ว่าการคาดการณ์นั้นจะทำให้เราต้องกังวล แต่มากกว่านั้นคือการประเมินว่าเราจะลงมือแก้ไขอย่างไร
      
       ทีมวิจัยยังเผยว่า ผลจากการศึกษานั้นควรให้เป็นเรื่องของการป้องกัน เพราะแบบจำลองที่ใช้นั้นไม่ใช่การสูญเสียป่าในภาพใหญ่ ซึ่งเกิดขึ้นในป่าที่ราบสูงของเอธิโอเปียและซูดานใต้ ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ในธรรมชาติของกาแฟอาราบิกา ยิ่งกว่านั้น พวกเขายังขาดข้อมูลที่เหมาะสม โดยแบบจำลองนั้นได้สรุปเอาเองว่า การเติบโตตามธรรมชาตินั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลง แม้ว่าในความเป็นจริงพื้นที่ดังกล่าวจะเสียหายไปมากเนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่า
      
       นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่กระทบต่อผลผลิตกาแฟอื่นๆ อีกที่ยังไม่ได้ใส่เข้าไปในแบบจำลอง อาทิ แมลงศัตรูพืช โรคพืช การเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาผลิดอก และการเปลี่ยนแปลงของจำนวนนก ซึ่งมีผลต่อการกระจายเมล็ดพันธุ์กาแฟ


ที่มา
ผู้จัดการออนไลน์

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

“น้ำแกว่งสารส้ม” ดื่มมากอะลูมิเนียมยิ่งมาก เสี่ยงอัลไซเมอร์ถามหา

 

“น้ำแกว่งสารส้ม” ดื่มมากอะลูมิเนียมยิ่งมาก เสี่ยงอัลไซเมอร์ถามหา

 ตรวจอะลูมิเนียมในน้ำดื่ม 4 อำเภอน้ำท่วมพิษณุโลก พบเกินมาตรฐาน 0.2 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร 5% คาด เติมสารส้มมากเกินไป เตือนดื่มน้ำมีอะลูมิเนียมสูง เสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์และไตเสื่อม กรมวิทย์เตรียมศึกษาปริมาณเติมสารส้มที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

วันนี้ (12 พ.ย.) นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า อะลูมิเนียมเป็นโลหะที่ถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหลายประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำมาใช้ในครัวเรือนในรูปสารประกอบไฮเดรตเตดโพแทสเซียมอะลูมิเนียมซัลเฟต (สารส้ม) เพื่อกวนน้ำให้ตกตะกอนจนได้น้ำใสมาใช้อุปโภค บริโภค รวมไปถึงใช้ระงับกลิ่นตัวที่รักแร้และเท้า โดยปกติคนทั่วไปมีโอกาสได้รับอะลูมิเนียมเข้าสู่ร่างกายจากการบริโภคอาหารและน้ำที่มีความใสจากการใช้สารส้มแกว่ง
      
       นพ.นิพนธ์ กล่าวอีกว่า หากไม่มีการควบคุมตรวจสอบปริมาณอะลูมิเนียมในน้ำให้มีปริมาณที่ปลอดภัยต่อการบริโภค ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135 (พ.ศ.2534) เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท กำหนดให้มีอะลูมิเนียมได้ไม่เกิน 0.2 มิลลิกรัมต่อน้ำบริโภค 1 ลิตร อะลูมิเนียมที่เข้าสู่ร่างกายประมาณร้อยละ 3 ถูกดูดซึมแพร่กระจายผ่านทางระบบเลือดไปยังปอด ตับ กระดูก และสมอง และถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะผ่านไต ซึ่งอาจทำให้ไตเสื่อมได้
      
       “ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวาย หรือไตบกพร่อง จึงมีความเสี่ยงต่อพิษของอะลูมิเนียมสูงกว่าคนปกติ หากบริโภคน้ำที่มีอะลูมิเนียม หรือสารส้มปนเปื้อนอยู่ในปริมาณที่สูงอาจทำให้เกิดอาการอาเจียน ท้องร่วง เกิดผื่นคันเป็นแผลร้อนในได้ และที่สำคัญที่สุด คือ เกิดภาวะสมองเสื่อม และเป็นโรคอัลไซเมอร์ เนื่องจากอะลูมิเนียมเป็นโลหะที่มีประสิทธิภาพในการทำลายเนื้อเยื่อประสาท” อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าว
      
       นพ.นิพนธ์ กล่าวด้วยว่า กลุ่มงานพิษวิทยา ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 9 พิษณุโลก ได้เฝ้าระวังอะลูมิเนียมในน้ำบริโภคหลังจากเกิดอุทกภัยในเขตจังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ อำเภอพรหมพิราม อำเภอบางกระทุ่ม อำเภอบางระกำ และอำเภอเมือง โดยความร่วมมือของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) พิษณุโลก เก็บตัวอย่างน้ำรวมทั้งสิ้น 60 ตัวอย่าง นำมาตรวจวิเคราะห์ปริมาณอะลูมิเนียมด้วยวิธี Graphite Furnace Atomic Absorption Spectrophotometer (GFAAS) ปริมาณอะลูมิเนียมต่ำสุดในน้ำที่สามารถตรวจวิเคราะห์ได้ของวิธีนี้เท่ากับ 0.06 มิลลิกรัมต่อลิตร
      
       นพ.นิพนธ์ กล่าวต่อไปว่า ผลการตรวจวิเคราะห์พบอะลูมิเนียมในน้ำจำนวน 7 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 11.7 ของจำนวนตัวอย่างที่ตรวจ ปริมาณที่พบมีความเข้มข้นอยู่ในช่วง 0.06 ถึง 0.42 มิลลิกรัมต่อลิตร ในจำนวน 7 ตัวอย่างที่พบนั้น มีจำนวน 3 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 5 ของจำนวนตัวอย่างทั้งหมด ที่พบปริมาณอะลูมิเนียมเท่ากับ 0.30, 0.39 และ 0.42 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งเป็นค่าที่สูงเกินกว่าที่กำหนด โดยตัวอย่างที่พบอะลูมิเนียมเกินมาตรฐานนี้เก็บจากประปาหมู่บ้านในอำเภอพรหมพิราม จำนวน 1 ตัวอย่าง และอำเภอเมือง จำนวน 2 ตัวอย่าง โดยสาเหตุสำคัญของการปนเปื้อนอาจมาจากการเติมสารส้ม เพื่อทำให้น้ำใสแต่มิได้มีการควบคุมปริมาณให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย ประชาชนที่บริโภคน้ำดังกล่าวจึงยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากพิษของอะลูมิเนียม
      
       “หากบริโภคน้ำที่มีปริมาณอะลูมิเนียมสูงเป็นเวลานานระบบประสาทอาจถูกทำลายและเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ อย่างไรก็ตาม ทางศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 9 พิษณุโลก ได้รายงานผลดังกล่าวให้กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแล้ว และจะทำการศึกษาปริมาณการเติมสารส้มที่อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยเพื่อแจ้งให้ประชาชนทราบต่อไป” อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าว


ที่มา
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000138174

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

เพชร (Diamond)

เพชร (Diamond)



การจำแนก
ประเภท : แร่ธรรมชาติ
สูตรเคมี : C

คุณสมบัติ
มวลโมเลกุล : 12.01
สี : โดยทั่วไปสีเหลือง น้ำตาล หรือ เทา ไปจนถึงไม่มีสี น้อยครั้งที่จะเป็นสีฟ้า เขียว ดำ ขาวขุ่น ชมพู ม่วง ส้ม และแดง
รูปแบบผลึก : ทรงแปดหน้า
โครงสร้างผลึก : สี่เหลี่ยมจัตุรัส-สามมิติ (เหลี่ยมลูกบาศก์)
แนวแตกเรียบ : 111 (สมบรูณ์แบบใน 4 ทิศทาง)
รอยแตก : แตกแบบฝาหอย
ค่าความแข็ง : 10
ความวาว : มีความวาว
ความวาวจากการขัดเงา : มีความวาว
ดรรชนีหักเห : 2.418 (ที่ 500 nm)
คุณสมบัติทางแสง : ไอโซทรอปิก
ค่าแสงหักเหสองแนว : ไม่มี
การกระจายแสง : 0.044
การเปลี่ยนสี : ไม่มี
สีผงละเอียด : ไม่มีสี
ความถ่วงจำเพาะ : 3.52 ± 0.01
ความหนาแน่น : 3.5–3.53
จุดหลอมเหลว : ขึ้นกับความดันบรรยากาศ
ความโปร่ง : โปร่งแสง กึ่งโปร่งแสง ถึง เป็นฝ้าทึบ

เพชร เป็นอัญมณีรูปแบบหนึ่งของคาร์บอน จัดเรียงตัวเป็นทรงแปดหน้า เป็นแร่ที่แข็งที่สุดตามสเกลของโมส์ (Moh's scale) มีค่าความแข็งเท่ากับ 10

เพชรมีหลายสี สีที่นิยมที่สุดคือสีขาวบริสุทธิ์ สีที่หายากคือสีแดง ฟ้า เขียว ส้ม ชมพู เรียก "แฟนซีไดมอนด์" มีราคาสูงมาก การเจียระไนเป็น 52 เหลี่ยมนับว่าสวยที่สุด เพชรเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ ความแข็งแกร่ง แหล่งของเพชรมีอยู่ทั่วโลก ส่วนมากพบที่บราซิลและแอฟริกาใต้

ศัพท์มูลวิทยา
คำว่า เพชร ในภาษาไทย มาจาก वज्र (วชฺร) ในภาษาสันสกฤต หมายถึง สายฟ้า หรืออัญมณีชนิดนี้ก็ได้ ส่วนในภาษาอังกฤษ "diamond" มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกโบราณ αδάμας (adámas) ซึ่งมีความหมายว่า "สมบูรณ์" "เปลี่ยนแปลงไม่ได้" "แข็งแกร่ง" "กล้าหาญ" มาจาก ἀ- (a-) มีความหมายว่า "ไม่-" + δαμάω (damáō), "เอาชนะ" "ขี้ขลาด" ภายหลังได้แผลงเป็น adamant, diamaunt, diamant และ diamond ในที่สุด

ประวัติ
เพชรมีการกล่าวถึงและทำเหมืองเพชรครั้งแรกในประเทศอินเดีย โดยเฉพาะชั้นหินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพาเป็นเวลาหลายศตวรรษตามแม่น้ำเพนเนอร์ กฤษณะ และ โคธาวารี เพชรเป็นที่รู้จักในประเทศอินเดียมาไม่น้อยกว่า 3,000 ปีแต่ไม่เกิน 6,000 ปี

อัญมณีเพชรกลายเป็นสิ่งมีค่าเมื่อมีการนำไปใช้เป็นรูปเคารพทางศาสนาในอาณาจักรอินเดียโบราณ นอกจากนี้ ยังมีการใช้งานเพชรเป็นเครื่องมือแกะสลักตั้งแต่สมัยต้นประวัติศาสตร์ของมนุษย์อีกด้วยความนิยมของเพชรได้เพิ่มขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เนื่องจากอุปทานที่เพิ่มขึ้น เทคนิคการตัดและขัดเกลาที่ดีขึ้น การเติบโตของเศรษฐกิจโลก และการปฏิรูปและความสำเร็จของการโฆษณาเผยแพร่

ในปี ค.ศ. 1772 อ็องตวน ลาวัวซีเยได้ใช้แว่นขยายรวมรังสีดวงอาทิตย์ไปบนเพชรในบรรยากาศที่มีแต่ออกซิเจน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์จากการเผาไหม้มีเพียงแต่คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นการพิสูจน์ว่าเพชรเป็นองค์ประกอบของคาร์บอน ต่อมาในปี ค.ศ. 1797 สมิทสัน เท็นแนนต์ (Smithson Tennant) ได้ทำซ้ำและเพิ่มเติมการทดลองนี้ โดยแสดงให้เห็นว่าการเผาไหม้เพชรและกราไฟท์จะปลดปล่อยก๊าซที่มีองค์ประกอบเดียวกัน สมิทสันได้สร้างสมดุลสมการเคมีของสารเหล่านี้ขึ้นมา

การใช้งานเพชรส่วนมากในปัจจุบันเป็นการใช้ในเชิงอัญมณีซึ่งใช้ทำเครื่องประดับ การใช้งานในลักษณะนี้สามารถนับย้อนไปได้ถึงในสมัยโบราณ การกระจายของแสงขาวในสเปกตรัมสีเป็นลักษณะพื้นฐานทางด้านอัญมณีวิทยาของอัญมณีเพชร ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้เชี่ยวชาญในด้านอัญมณีวิทยาได้พัฒนาวิธีแบ่งระดับของเพชรและอัญมณีชนิดอื่นบนพื้นฐานของลักษณะที่สำคัญในเชิงมูลค่าของอัญมณี 4 ลักษณะหรือที่รู้จักกันในชื่อ 4 ซี ถูกใช้เป็นพื้นฐานการบ่งชี้ของเพชร ประกอบด้วย กะรัต (carat) การตัด (cut) สี (color) และ ความสะอาด (clarity) เพชรไม่มีตำหนิที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรู้จักกันในชื่อ พารากอน
เพชรเป็นผลึกโปร่งใสของอะตอมคาร์บอนที่จับยึดกับแบบรูปพีระมิด (sp3) ตกผลึกกลายเป็นโครงข่ายเพชรที่เป็นการแปรผันของโครงสร้างลูกบาศก์แบบเฟซเซ็นเตอร์ (face centered cubic)

คุณสมบัติทางกายภาพ
 หลักสากล 4Cs

การจำแนกระดับต่างๆของเพชรให้ดูถึงความบริสุทธิ์ที่เพชรมี ในหลักสากล สามารถแบ่งออกเป็น 4Cs ใหญ่ๆ ด้วยกันคือ Clarity (ความบริสุทธิ์) , Carat (น้ำหนักเพชรเทียบเป็นกะรัต) , Color (สีของเพชร) และสุดท้าย Cut (รูปแบบและทรงการเจียระไน)

ระดับความบริสุทธิ์ (Clarity)
การจำแนกความบริสุทธิ์ของเพชร สามารถจำแนกได้ตามหลักสากล ดังนี้

1.Flawless (FL) - เป็นเพชรชั้นยอดน้ำงามที่สุด ไม่มีตำหนิหรือมลทินใดๆในทั้งเนื้อเพชรและผิวของเพชร เมื่อมองภายใต้กล้องขยาย 10 เท่า (10X)

2.Internally Flawless (IF) - เป็นเพชรชั้นยอดที่ไม่มีตำหนิภายในเนื้อเพชรเลย เมื่อมองภายใต้กล้องขยาย 10 เท่า (10X)

3.Very Very Slightly Included (VVS1 / VVS2) - เป็นระดับของเพชรที่มีมลทินในเนื้อเพชรให้เห็นได้น้อยมากๆ ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า จะต้องใช้กล้องกำลังขยาย 10 เท่า ส่องจึงเห็น และจะต้องใช้เวลาในการค้นหาค่อนข้างนาน แล้วแต่ความชำนาญของผู้ตรวจสอบ จำแนกออกเป็นระดับ 1 และ 2 ตามลำดับ หากตำหนิน้อยมากจะใช้ VVS1 หากตำหนิที่สามารถเห็นได้ชัดมากขึ้นจะใช้ VVS2

4.Very Slightly Included (VS1 / VS2) - เป็นระดับของเพชรที่มีมลทินในเนื้อเพชรในระดับที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า จะต้องใช้กล้องกำลังขยาย 10 เท่า ส่องจึงเห็น และจะต้องใช้เวลาในการค้นหาสักพัก แต่จะใช้เวลาน้อยกว่าเพชรความสะอาดระดับ VVS ตำหนิและมลทินสามารถเห็นได้ชัดเจนมากกว่าระดับ VVS และอาจมีสีต่างๆในเนื้อของมลทินที่สามารถมองเห็นได้

5.Slightly Included (SI1 / SI2) - เป็นระดับของมลทินที่สามารถมองเห็นได้ทันทีภายใต้กล้องกำลังขยาย 10 เท่าและบางกรณีสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่จะมีขนาดที่เล็กอาจจะต้องสังเกต หรือใช้กระดาษขาวทาบและมองกับแสงไฟจึงเห็นชัดขึ้น ในระดับสายตาของผู้ยังไม่ชำนาญการ จะต้องใช้เวลานานในการสังเกต

6.Imperfect (I1 / I2 / I3) - เป็นระดับมลทินที่สามารถสังเกตด้วยตาเปล่าได้อย่างชัดเจน ซึ่งอาจจะมีเยอะมาก จนทำให้สังเกตได้เยอะ

กะรัต (Carat)

น้ำหนักซึ่งเป็นมาตรฐานในการวัดน้ำหนักของอัญมณี ซึ่งเทียบกับมาตราเมตริกได้ 0.2 กรัม ทั้งนี้ มาตรน้ำหนักกะรัตนี้ พ้องเสียงกับคำว่า กะรัต (Karat) ที่ใช้วัดระดับความบริสุทธิ์ของทองคำ ซึ่งทองคำมีค่าความบริสุทธิ์ 99.99% มีค่าเท่ากับ 24 กะรัต (Karat)

ที่มาของคำว่ากะรัต มาจากเมล็ดของผล การัต ซึ่งเมล็ดของผลชนิดนี้จะมีน้ำหนักเท่ากันทุกเมล็ด ซึ่งในสมัยโบราณนิยมใช้กันมาก เพราะไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจนในการวัด จึงนำเอาเมล็ดจากผลการัต มาเป็นหน่วยในการวัดน้ำหนักของอัญมณี

สี (Color)

การจำแนกเฉดสีของเพชร สามารถเรียงจาก D ไปจนถึง Z ซึ่งหากแทนด้วยอักษร D จะหมายถึง มีความขาวใส มากที่สุด ซึ่งบางครั้งคนไทยจะเรียกว่า "น้ำ" เพชรน้ำยิ่งสูงก็จะยิ่งขาวและไม่มีสีเหลืองเจือปน เพชรระดับไร้สี (Colorless) ได้แก่ เพชรน้ำ 100, 99, 98 หรือ เพชรสี D,E,F ส่วนเพชระดับเกือบไร้สี (Near Colorless) ได้แก่เพชรน้ำ 97, 96, 95, 94 หรือ G,H,I,J ดูตัวอย่างการเทียบสีเพชร ส่วนเฉดสีอื่นๆ จะไล่ไปเรื่อยๆเช่น สีนวลอ่อน อาจจะแทนด้วยอักษร G สีเหลืองแชมเปญ จะไล่ลงไปเป็น L เหลืองเข้ม จะใช้แทนด้วย P จนกระทั่งไปถึงตัวอักษร Z ที่จะเป็นสีเหลืองสด และถูกแยกออกเป็นเฉดสีเพชรแฟนซี

การจำแนกสีของเพชร จะแยกเฉพาะโทนสี ขาว และเหลืองเท่านั้น หากแยกออกไปจากนี้จะเป็นรูปแบบเพชรแฟนซี ซึ่งจะมีสีสันสดใสและแปลกตาออกไป

เหตุที่แยกโทนสีเฉพาะสีเหลืองเพราะว่า คาร์บอนในตัวของเพชร เมื่อได้รับความร้อนหรือสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบอื่นๆ จะทำให้เพชรมีสีแตกต่างออกไป เช่นเพชรสีเหลืองมีธาตุในโตรเจนเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย สีน้ำเงิน อาจมีไทเทเนียมและเหล็กเจือปน หรือสีแดงอาจจะเป็นโครเมียมเจือปน ส่วนเพชรชมพูนั้นเกิดจากโครงสร้างของตัวเพชรเอง ส่วนสีเขียวนั้นเป็นเพชรที่ได้รับรังสี ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ทำให้เกิดเป็นเพชรแฟนซี ที่มีสีสันแตกต่างออกไป และราคาแพงมากกว่าสีขาว เนื่องจากหายาก แต่อย่างไรก็ตาม เพชรสีขาวใสสะอาด เป็นที่นิยมมากกว่าเพชรแฟนซี แต่ในปัจจุบันได้มีผู้ผลิต หลายราย นำเพชรสีขาวมาปรับปรุงคุณภาพเพื่อให้เกิดเป็นเพชรสีแฟนซี ต่างๆ ขึ้น เช่น ทำการอบ การเผา หรือการฉายรังสี ทำให้เกิดสีต่างๆ เช่น สีเขียว สีเหลือง และสีฟ้า เป็นต้น

ที่มา
วิกีพีเดีย
คอรันดัม (Corundum)



การจำแนก
ประเภท : สารประกอบอะลูมิเนียมออกไซด์
สูตรเคมี : Al2O3

คุณสมบัติ
สี : ใส ขาว เขียว เหลือง ชมพู แดง ฟ้า สีขาว โปร่งใส ถึง โปร่งแสง วาวแบบแก้ว ถึง วาวแบบเพชร
รูปแบบผลึก : รูปผลึกแบบหกเหลี่ยม
โครงสร้างผลึก : ไตรโกนาล
ค่าความแข็ง : 9
การเปลี่ยนสี : ไม่มี
สีผงละเอียด : ขาว
ความถ่วงจำเพาะ : 3.95-4.1
จุดหลอมเหลว : 2044 °C
สภาพละลายได้ : ไม่สามารถละลายได้

คอรันดัม (อังกฤษ: Corundum) ( Al2O3) เป็นแร่รัตนชาติ ประเภทอะลูมิเนียมออกไซด์ ซึ่งประกอบขึ้นด้วย ธาตุอะลูมิเนียม และออกซิเจน

คุณสมบัติ
- มีค่าความแข็งที่ 9 ตามสเกลของโมส์ (Moh's scale)
- มีค่าความถ่วงจำเพาะที่ 3.95-4.1
- มีลักษณะเป็นระบบเฮกซะโกนอล รูปผลึกหกเหลี่ยม
- สี มีหลายสีเช่น ใส ขาว เขียว เหลือง ชมพู แดง ฟ้า สีขาว โปร่งใส ถึง โปร่งแสง วาวแบบแก้ว ถึง วาวแบบเพชร
- ถ้าเป็นสีฟ้าหรือน้ำเงินเรียกว่าไพลิน
- ถ้าเป็นสีแดงจะเรียกว่าทับทิม
- ถ้าเป็นสีเหลืองเรียกว่าบุษราคัม
- ถ้าเป็นสีเขียวเรียกว่าเขียวส่อง
- ถ้าเป็นสีชมพูอมส้มเรียกว่าพัดพารัดชา
- ถ้าสีไม่สดจะเป็นขี้พลอย หรือเรียกว่ากากกะรุน

ประวัติ
มาจากภาษาสันสกฤต (Kuruvinda) หมายถึง Ruby หรือทับทิม

การกำเนิด
พบในหินหลายชนิด ในประเทศไทยพบในหินภูเขาไฟชนิดหินบะซอลท์ ต่างประเทศพบในหินแปร หินเปกมาไทต์ หินอัคนีชนิดหินไซอีไนต์ และหินเนฟีลีนไซอีไนต์

แหล่งที่พบ
 ในประเทศไทย พบได้ทั่วไปในจังหวัด จันทบุรี ตราด แพร่ เพชรบูรณ์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี กาญจนบุรี และลพบุรี
 ในต่างประเทศ สามารถพบในประเทศ พม่า กัมพูชา ศรีลังกา ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา
ที่มา
วิกีพีเดีย

บุษราคัม (Yellow sapphire)

บุษราคัม (Yellow sapphire)



 เป็นอัญมณีประเภทคอรันดัมที่มีสีเหลือง พบได้ในธรรมชาติเป็นแร่เดียวกับทับทิม ไพลิน เขียวส่อง พัดพารัดช่า และพวก Fancy sapphire แต่ส่วนใหญ่ที่ขายในท้องตลาดจะได้จากการเผาพลอยคอรันดัมที่มีสีเหลืองจาง มีตำหนิสีอื่นปนบ้าง(เหลือง,เขียว,นำเงินมาปนกัน) และสีเขียว(เขียวส่อง) ทำให้มีสีสวยงาม เข้มขึ้นขายได้ราคาสูง พลอยบุษราคัมสีจะมีตั้งแต่เหลืองอ่อนเรียกบุษย์น้ำเพชร, สีอมเขียวเรียกว่าบุษย์น้ำแตง, สีเหลืองทองเรียกบุษย์น้ำทอง, สีคล้ายเหล้าเรียกบุษย์น้ำแม่โขง, สีเหลืองเข้มมากเรียกบุษย์น้ำขมิ้นเน่า, สีเหลืองออกส้มเรียกว่าบุษย์น้ำจำปา , บุษย์น้ำแม่โขงและน้ำทองเป็นที่นิยมจะมีราคาแพง โดยน้ำโขงจะแพงกว่า ลักษณะที่ดีควรเลือกพลอยที่เจียรไนได้สัดส่วน ก้นไม่บางจนเกินไป ใสไม่มีตำหนิที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า พลอยจึงจะมีประกายงดงาม แหล่งบุษราคัมที่สำคัญคือ จันทบุรี ศรีลังกา ทวีปแอฟริกา ออสเตรเลียและอื่นๆ

บุษราคัม   
บุษราคัม Yellow Sapphire เป็นแร่ตระกูลคอรันดัม เช่นเดียวกับทับทิม ไพลิน มีค่าความแข็งเป็นเลิศ คือแข็ง 9 ในโมห์สเกล ธาตุให้สีคือธาตุเหล็กสีเหลืองบุษราคัม เป็นสีของอัญมณีที่เข้ากันได้ดีกับผิวของคนไทย และอีกหลาย ๆ เชื้อชาติในแถบเอเชียและกลุ่มประเทศในตะวันออกกลางเพราะสีของพลอยจะไม่โดดเด่นจนตัดกับผิวอย่างชัดเจนแต่เป็นความกลมกลืนและทำให้มือ ลำคอ หรือใบหน้าผิวพรรณดูดีสว่างไสวขึ้น

บุษราคัมเป็นหนึ่งในอัญมณีนพเก้าที่มีความเป็นสิริมงคลอย่างยิ่งต่อผู้ได้ครอบครอง เมื่อได้ประดับประดาด้วย “บุษราคัม” อีกทั้งสีเหลืองยังให้ความรู้สึกสงบร่มเย็นแก่อารมณ์และจิตใจ บุษราคัมจึงเป็นพลอยที่นิยมตลอดมาอย่างไม่เสื่อมถอย แม้ว่าพลอยบุษราคัมในปัจจุบันจะหาที่สวยคุณภาพดีได้ยากมานานแล้วก็ตาม

บุษราคัมจากแหล่งต่าง ๆ

*ซีลอนหรือศรีลังกา ถือเป็นแหล่งสำคัญที่ให้พลอยคุณภาพดีเยี่ยม เนื้อผลึกมีความใส ก้อนผลึกมีความลึก เมื่อมาเจียระไนแล้วจะส่องประกายแวววาวคล้ายกับเพชร ส่วนมากจะพบก้อนผลึกที่สีไม่สม่ำเสมอ หากเม็ดใดมีสีเสมอจะมีราคาสูงมาก

*บางกะจะ จันทบุรี ให้พลอยที่มีสีเหลืองแกมเขียว หากเม็ดใดให้สีเหลืองสดใสจะมีราคาสูง หาได้ยากยิ่ง เนื้อพลอยจากแหล่งบางกะจะนี้มีเนื้อแกร่งกว่าจากแหล่งใดๆ ทั้งหมด
*ออสเตรเลีย ให้พลอยที่มีลักษณะคล้ายกับของบางกะจะ มักพบเป็นสีเหลืองแกมเขียว หรือเหลืองแกมน้ำเงิน มีแถบสีชัดเจน

*มาดากัสการ์ ให้พลอยที่มีเนื้อสดใส สะอาด แต่ระยะนี้มักพบพลอยสีเหลืองที่มาจากแหล่งนี้ถูกเผาด้วยกรรมวิธีใหม่ อาจในสารเคมีบางตัวลงไปขณะที่เผา โดยกรรมวิธีการเผานี้ในตลาดต่างประเทศยังไม่สรุปผลยอมรับว่าเป็นการเผาที่ คล้ายคลึงกับธรรมชาติ 

ถ้าขณะนี้ท่านกำลังเตรียมควักกระเป๋าจ่ายเงินซื้อบุษราคัมสักเม็ด ลองดูหลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อบุษราคัมกันก่อนวิธีเลือกบุษราคัมน้ำงาม

1.บุษราคัม มีสีเหลืองอ่อน-เข้มหลายระดับ ตั้งแต่ บุษน้ำแตงคือบุษสีอ่อน บางครั้งแกมเขียวเล็กน้อย  บุษน้ำทองคือบุษสีทองสดใสเหมือนดั่งทองคำ บุษแม่โขงคือบุษที่มีสีทองแกมน้ำตาล เมื่ออยู่กลางแดดสีจะเหมือนเหล้าแม่โขงดีกรีแรงของไทย  ไปจนถึงบุษสีเหลืองอมแดง จะเลือกสีแบบใดขึ้นอยู่กับความชอบส่วนตัว ที่นิยมมากที่สุดเห็นจะเป็นสีเหลืองทองสดใส และบุษแม่โขง

2.บุษราคัมที่ดีต้องไม่มีตำหนิในเนื้อพลอยที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า เพราะโดยธรรมชาติพลอยชนิดนี้มักจะมีความใสสะอาดเป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว

3.เนื้อพลอยบุษราคัมที่ดีควรสวยใส ไม่ซึมหรือดูเหมือนมีฝ้าละอองเล็กๆ กระจายอยู่ภายใน มองดูมีความมันวาวและแลดูแกร่ง ซึ่งจะสะท้อนกับแสงไฟได้ดีมาก

4.นานๆ ครั้งก็จะมี “บุษราคัมสตาร์” ให้เห็นบ้างเช่นกัน ส่วนใหญ่เนื้อพลอยจะค่อนข้างทึบ มีสีเหลืองอมน้ำตาลหรืออมทอง และมีเส้นสตาร์ 6 ขา อยู่บนหน้าพลอย นับเป็นของหายากและเหมาะที่จะสะสมไว้ทำชุด “นพเก้า” มากที่สุด เพื่อจะได้เข้าชุดกับไพลินสตาร์ ทับทิมสตาร์ ซึ่งต่างก็หาของสวยๆได้ค่อนข้างยากเช่นกัน

5.ขนาดของพลอยและระดับสีเหลืองสวยที่เหมาะกับสีผิว ถ้ามีผิวสีขาวผ่องนวลก็สามารถใส่บุษราคัมได้ทุกเฉดสี ถ้าท่านมีผิวสีเข้มออกทางดำแดง สีเหลืองบุษราคัมที่เหมาะน่าจะมีสีเหลืองเข้ม เช่น สีแม่โขง 

ในอดีตที่ผ่านมา บุษราคัมจันทบุรี (เนื้อก้อนพลอยค่อนข้างบาง) มักจะได้รับการเจียระไนให้เป็นรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งเป็นที่นิยมมาก ต่อมาการเจียระไนรูปทรงอื่น ๆ ก็ได้รับความนิยมเช่นกัน เพราะมีการนำเข้าพลอยบุษจากแหล่งต่างๆ มากขึ้น และพลอยต่างประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่ก้อนพลอยจะหนา ทำให้เจียระไนแล้วมีเนื้อก้นพลอยค่อนข้างหนาลึก จึงประกายไฟระยิบระยับสวยงาม แต่เปรียบเทียบความแน่นความแกร่งของเนื้อพลอยแล้วถือว่าพลอยจันทบุรีเป็น อันดับหนึ่ง ส่วนสีพลอยนั้น บุษราคัมจากศรีลังกาจะมีความสดใสมากกว่าเป็นส่วนใหญ่
ที่มา
www.aiyaragems.com/content.aspx?id=62

ควอตซ์ (Quartz)

ควอตซ์ (Quartz)



การจำแนก
ประเภท : แร่ซิลิกา
สูตรเคมี : SiO2

คุณสมบัติ
สี : มีทั้งโปร่งใส จนถึงทึบแสง มีมากมายแทบจะทุกสี
โครงสร้างผลึก : รอมโบฮีดรัล
ค่าความแข็ง : 7
ความถ่วงจำเพาะ : 2.65

ควอตซ์ (อังกฤษ: Quartz) (SiO2) หรือมีชื่อว่า "แร่เขี้ยวหนุมาน" เป็นแร่ที่พบมากที่สุดในโลก

คุณสมบัติ
- สี มีทั้งโปร่งใส จนถึงทึบแสง มีมากมายแทบจะทุกสี
- ควอตซ์มีค่าความแข็งที่ 7 ตามสเกลของโมส์ (Moh's scale)
 นอกจากนี้ ควอตซ์ยังมีคุณสมบัติพิเศษคือมี Pieroelectric คือไฟฟ้าที่เกิดจากการกดดันทางกลไกที่มีต่อผลึก

ซึ่งทำให้เกิดมีประจุไฟฟ้าขึ้นในควอตซ์ (เช่นเดียวกับทัวร์มาลีน) ด้วยคุณสมบัตินี้จึงนำมาใช้ควบคุมความถี่คลื่นวิทยุ ควบคุมความเที่ยงตรงของนาฬิกากันน้ำ ที่เราเรียกกันว่า นาฬิกาควอตซ์ และด้วยความโปร่งใสต่อแสงอัลตราไวโอเลต ทำให้ควอตซ์เหมาะที่จะนำมาทำเป็นเลนส์ของกล้องจุลทรรศน์อีกด้วย

รูปแบบผลึก
ด้วยลักษณะของผลึก ทำให้ควอตซ์ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
- แบบผลึกเดี่ยว Single Quartz หรือ Crystalline Quartz เป็นผลึกที่มีการเรียงตัวกันอย่างมีระเบียบ มีชื่อเรียกต่างกันไปตามสีที่พบ สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต นาฬิกา, เลนส์ และอุปกรณ์ควบคุมความถี่ของคลื่นวิทยุ ที่รู้จักและนิยมในท้องตลาดก็คือ ควอตซ์สีเหลือง ที่เรียกว่า ซิทรีน (Citrine) และสีม่วงที่เรียกว่า แอเมทิสต์ (Amethyst)
- แบบ Microcrystalline ประกอบด้วยกลุ่มผลึกเล็กๆ ไม่สามารถมองเห็นรูปผลึกได้ด้วยตาเปล่า เช่น หินตาเสือ (Tiger's eye) ที่คนไทยเรียกว่า คดไม้สัก เป็นต้น
- แบบ Cryptocrystalline Quartz หรือที่เรียกว่า คาลเซโดนี Chalcedony เป็นควอตซ์ที่มีผลึกเล็กๆ ละเอียดรวมตัวกันเป็นจำนวนมาก ต่างจากแบบ Microcrystalline คือเป็นผลึกเล็กๆ มารวมกัน ไม่ใช่กลุ่มผลึก มีลักษณะเล็กกว่ากลุ่มผลึกนั่นเอง เช่น เจสเปอร์, เลือดพระลักษณ์ (Bloodstone) และอาเกท เป็นต้น.

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับควอตซ์
เนื่องจากฝุ่นละอองที่มีอยู่ในอากาศก็มีแร่ควอตซ์ปะปนอยู่เช่นกัน ดังนี้หากใช้ผ้าทำความสะอาดเช็ดถูอัญมณีที่มีความแข็งน้อยกว่า 7 เช่น ไข่มุก งาช้าง อำพัน ซอยไซต์ ไดออปไซด์ หรือเพอริโดต์ เป็นต้น จะทำให้อัญมณีที่มีค่าความแข็งน้อยกว่าควอตซ์จะเป็นรอยขีดข่วนได้ ดังนี้จึงเป็นที่นิยมเชื่อถือกันว่า แร่ที่มีค่าความแข็งมากกว่า 7 จึงเหมาะสมกับการนำมาทำเป็นอัญมณี ยกเว้นที่แข็งน้อยกว่าแต่มีคุณสมบัติที่จะนำมาเป็นอัญมณีได้ ก็คือ มีความสวยงามที่โดดเด่น และเป็นที่นิยมตามแฟชั่น

ที่มา
วิกีพีเดีย

เฟลด์สปาร์ ( feldspar)

เฟลด์สปาร์ ( feldspar)




การจำแนก
ประเภท : แร่
สูตรเคมี : KAlSi3O8 - NaAlSi3O8 - CaAl2Si2O8

คุณสมบัติ
สี : ชมพู ขาว เทา น้ำตาล
โครงสร้างผลึก : โมโนคลินิก หรือ ไตรคลินิก
แนวแตกเรียบ : 2 หรือ 3
ค่าความแข็ง : 6.0
ความวาว : เงาเหมือนแก้ว

แร่เฟลด์สปาร์ (อังกฤษ: feldspar) หรือ แร่ฟันม้า เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในเนื้อเซรามิกส์ (15.35 %) และในน้ำยาเคลือบผิว (Glaze30-50%) เฟลด์สปาร์เป็นแร่ที่มีปริมาณธาตุอัลคาไลด์สูง ทำให้หลอมตัวที่อุณหภูมิต่ำจึงทำหน้าที่เป็น Flux ทำให้เกิดเนื้อแก้วยึดเหนี่ยวเนื้อ ทำให้เกิดความแกร่งและความโปร่งใสของชิ้นงาน นอกจากนี้ ยังหาได้ง่ายในธรรมชาติ มีธาตุเหล็กต่ำ จึงเป็นที่นิยมใช้

แร่เฟลด์สปาร์ที่เกิดในธรรมชาติมีอยู่ 3 ชนิด คือ
 1.โปแตซเซียม เฟลด์สปาร์ KAl Si3O8 (Potash Feldspar-Orthoclase-Microline)
 2.โซเดียม เฟลด์สปาร์ Na AlSi3O8 (Sodium Feldspar - Albite)
 3.แคลเซียม เฟลด์สปาร์ Ca Al2 Si2O8 (Calcium Feldspar - Anorthite)

แหล่งแร่เฟลด์สปาร์
แร่เฟลด์สปาร์ พบอยู่ในหินอัคนีเกือบทุกชนิด และพบในหินชั้นและหินแปรด้วย แต่แหล่งแร่เฟลด์สปาร์ที่เป็นอุตสาหกรรมนั้น ได้มาจากสายแร่เพกมาไทต์ (Pegmatite) หรือสายคา ซึ่งจะมีแร่เฟลด์สปาร์เกิดร่วมกับควอตซ์ ไมกา การ์เนต ทัวร์มาลีน เป็นต้น สายแร่เปกมาไทต์ ที่ตัดเข้าไปในหินแกรนิต มักให้แร่เฟลด์สปาร์พวกโซเดียมและโปแตซเซียม ซึ่งปริมาณของทั้งสองตัวนี้ก็แตกต่างกันไม่แน่นอน บางแหล่งจะมีโปแตซเซียมเฟลด์สปาร์มาก บางแหล่งก็มีโซเดียมเฟลด์สปาร์มาก เฟลด์สปาร์ที่ซื้อขายกันในประเทศสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
 1.โปแตชเซียม เฟลด์สปาร์ มีปริมาณ K2O อยู่ไม่น้อยกว่า 8 %
 2.โซเดียม เฟลด์สปาร์ มีปริมาณ Na2O ไม่น้อยกว่า 7 %
 3.เฟลด์สปาร์ผสม มีปริมาณ K2O < 8 %, Na2O < 7 %

โดยทั่วๆไป โปแตชเซียมเฟลด์สปาร์ จะมีความต้องการในอุตสาหกรรมเซรามิกส์มากกว่า โซเดียมเฟลด์สปาร์ ทั้งนี้เพราะ โปแตชเซียมเฟลด์สปาร์เมื่อหลอมแล้วได้ความหนืดสูงกว่าและเปลี่ยนแปลงลดลงเล็กน้อย เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น จึงเป็นผลให้รูปทรงของชิ้นงานอยู่ตัวไม่บิดเบี้ยวในช่วงการเผา โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ลูกถ้วยไฟฟ้า จำเป็นต้องใช้โปแตชเซียมเฟลด์สปาร์เกรดสูง เพราะต้องการคุณสมบัติความเป็นฉนวนไฟฟ้า (โปแตชเซียมเฟลด์สปาร์ มีความนำไฟฟ้าต่ำ)

การทำเหมือง
การทำเหมืองแร่เฟลด์สปาร์ จากสายแร่เพกมาไทต์ ที่ จังหวัดตาก, ราชบุรี, กาญจนบุรี และนครศรีธรรมราช การทำเหมืองมักจะเป็นเหมืองเปิด โดยการระเบิดย่อยให้ได้ขนาดเล็กลงด้วยค้อน แล้วใช้วิธีคัดด้วยมือ เพื่อแยกเฟลด์สปาร์ออกจากแร่ควอตซ์, ไมกา และสารเหล็กออกไซด์ วิธีการทำเหมืองแบบนี้ ต้นทุนจะต่ำแต่การสูญเสียแร่ค่อนข้างสูงสำหรับการทำเหมืองแร่โซเดียมเซียเฟลด์สปาร์

วิธีการทำเหมืองดังกล่าวนับว่าใช้ได้ เพราะโซเดียมเซียมเฟลด์สปาร์โดยทั่วไปมักเกิดเป็นก้อนใหญ่ที่ค่อนข้างบริสุทธิ์ ไม่มีแร่อื่นปนมากนักสำหรับการทำเหมืองแร่โปแตชเซียมเฟลด์สปาร์ น่าจะใช้วิธี การลอยแร่ ควบคู่กันไปด้วย เพื่อเก็บแร่ให้หมด โดยแยกเฟลด์สปาร์ออกจากแร่อื่น ทำให้คุณภาพสูงขึ้น และคุ้มทุน เพราะราคาสูง ปัจจุบันมีการลอยแร่โปแตชเซียมเฟลด์สปาร์ ที่ เหมืองตะโกปิดทอง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี และที่จังหวัดตาก

-Bone Ash เป็น Flux ที่สำคัญสำหรับ Bone Chinaได้จากการนำกระดูกวัวควายมาทำ Calcining แล้วบด ถ้าขบวนการ Calcining ถูกต้องจะได้พวกอินทรียวัตถุที่แขวนลอยอยู่เพียงเล็กน้อย ซึ่งจะเพิ่มคุณสมบัติของการใช้งาน องค์ประกอบหลักคือ แคลเซียมฟอสเฟต3CaO.P2O5

-Fluorite - (CaF2) เป็นFluxที่ใช้กับ Enamels,แก้วและน้ำยาเคลือบผิวแร่ฟลูออไรด์มีมากในประเทศไทย

วัสดุอื่นๆ ที่ใช้แทนเฟลด์สปาร์ หิน Nepheline Syenite เป็นหินอัคนีที่ประกอบด้วยแร่ Albite 50 %,Microcline 25 %,Nepheline (Na2Al2Si2O8) 25 % มีอลูมินาและโซดามากกว่าเฟลด์สปาร์ พบที่รัฐ Ontario ประเทศคานาดาโดยหินนี้จะถูกบดและแยกเอาแร่ที่มีเหล็กออกด้วยเครื่องแยกแร่แม่เหล็ก ประเทศเรายังไม่พบหินชนิดนี้

หิน Graphic Granite เป็นหินอัคนีบาดาลที่มีแร่เฟลด์สปาร์ 75 % และควอร์ต 25 % Intergrowth อาจใช้แทนเฟลด์สปาร์ ได้ถ้ามีปริมาณมาก ประเทศเรายัง พบไม่มาก

Cornish Stone เป็นหินที่ใช้เป็น Flux ในประเทศอังกฤษ คือหินเปกมาไทต์ที่ผุเล็กน้อย ประกอบด้วยแร่ Albite,Orthoclase,แร่เกาลิน และ Fluorides เล็กน้อย ได้มีการทำเหมือง และบางเกรดมีการแยก Fluorides ออกมาด้วย

หิน Leucocratic Granite คือ หินแกรนิตสีขาว เนื่องจากมีแร่สีดำน้อยประกอบด้วยแร่ควอร์ต 20 % โซเดียมเฟลด์สปาร์ 50 % โปแตชเฟลด์สปาร์ 30 %ใช้แทนเฟลด์สปาร์ ได้ พบที่ต.นบพิตำ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ผลิต Leucocratic Granite ปีละประมาณ 150,000 ตันส่งไปขายประเทศไต้หวัน และ มาเลย์เซีย

ที่มา
วิกีพีเดีย

อะพาไทต์ (Apatite)

อะพาไทต์ (Apatite)


การจำแนก
ประเภท : แร่ฟอสเฟต
สูตรเคมี : Ca5 (PO4) 3 (F,Cl,OH)

คุณสมบัติ
สี : เหลือง น้ำเงิน ม่วง ชมพู และน้ำตาล
รูปแบบผลึก : รูปผลึกหกเหลี่ยม
ค่าความแข็ง : 5

อะพาไทต์ (อังกฤษ: Apatite) (Ca5 (PO4) 3 (F,Cl,OH)) เป็นแร่ที่อยู่ในกลุ่มฟอสเฟต มีค่าความแข็งที่ 5 ตามสเกลของโมส์ (Moh's scale)

ลักษณะ
- มีลักษณะเป็นรูปผลึกหกเหลี่ยม
- ส่วนมากที่พบจะมีสีเขียว แต่ก็สามารถพบได้ในสีเหลือง น้ำเงิน ม่วง ชมพู และน้ำตาล

ประวัติ
Apatite มาจากภาษากรีก Apate ซึ่งหมายถึง “Deceit” คือ ลวงตา ทั้งนี้ เพราะแร่นี้มีลักษณะเหมือนแร่รัตนชาติหลายชนิด จึงทำให้เกิดความเข้าใจผิดบ่อยๆ ซึ่งดูเหมือนหลอกลวงนั่นเอง

ประโยชน์
- โดยทั่วไปถูกนำไปใช้ในการทำปุ๋ย
- ในสหรัฐอเมริกา ได้ใช้ในใส่ปุ๋ยยาสูบ ซึ่งทำให้รสชาติของบุหรี่อเมริกันมีความแตกต่างไปจากบุหรี่ของประเทศอื่นๆ
- ใช้ในการทำเครื่องประดับ

แหล่งที่พบ
-ในประเทศไทย พบได้ทั่วไปในแหล่งแร่ดีบุก
-ในต่างประเทศ  สามารถพบในประเทศแคนาดา สาธารณรัฐเช็ก นอร์เวย์ บราซิล เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส พม่า เยอรมัน มาดากัสการ์ เม็กซิโก เยอรมัน ศรีลังกา สหรัฐอเมริกา สเปน อินเดีย และแอฟริกาใต้
ที่มา
วิกีพีเดีย

ฟลูออไรต์ (Fluorite)

ฟลูออไรต์ (Fluorite)



ฟลูออไรต์ (Fluorite) หรือฟลูออสปาร์ (Fluorspar)

ชื่อแร่
ตั้งชื่อจากส่วนประกอบที่สำคัญซึ่งประกอบด้วยธาตุฟูออรีน (fluorine) รากฐานดั้งเดิมมาจากภาษาละติน “Fluere” หมายถึง การไหล (To Flow) เพราะเหตุที่แร่ ชนิดนี้หลอมละลายได้ง่ายกว่าแร่อื่นบางตัว แร่ฟลูออไรต์บางชนิดหรือบางแหล่งเรืองแสงได้ (Fluorescence) คำว่า Fluorite จึงแปรเปลี่ยนมาจากคำว่า Fluorescence นั่นเอง

คุณสมบัติทางฟิสิกส์
รูปผลึกระบบไอโซเมทริก รูปผลึกมักจะพบเกิดในลักษณะรูปลูกเต๋า หรือเกิดเป็นลูกเต๋าสองลูกฝังซ้อนกันเป็นผลึกแฝด (Twinning) หรืออาจเกิดในลักษณะเนื้อแน่นหรือแบบมวลเมล็ด เกาะอัดกันแน่นซึ่งมีทั้งแบบที่เกิดเป็นชั้น ๆ เหมือนขนมชั้น อาจจะเป็นชั้นที่มีเนื้อฟลูออไรต์ล้วน ๆ แต่ต่างสีกัน หรือชั้นของฟลูออไรต์สลับกันเอง หรือกับควอรตซ์เนื้อเนียนละเอียดก็ได้ หรือมีเนื้อเหมือนน้ำตาลทราย หรือมองดู คล้ายหินทราย โดยทั่วไป อาจมีเนื้อเนียนละเอียดยิบซึ่งมองดูคล้ายควอรตซ์หรืออาจเกิดในลักษณะเป็นลูก ๆ เหมือนพวงองุ่น (Bortyoidal)

 ฟลูออไรต์ มีแนวแตกเรียบที่สมบูรณ์ 4 ทาง ซึ่งเมื่อแตกออกมาแล้ว จะมีลักษณะเหมือน รูปปิรามิดประกบกัน 2 ด้าน อาจทำให้หลงผิดคิดว่าเป็นรูปผลึกที่แท้จริงได้ แข็ง 4 ค่า ถ.พ. แปรเปลี่ยนได้ตั้งแต่ 3.01-3.26 บางครั้งอาจจะสูงได้ถึง 3.6 เนื่องจากมีธาตุอิตเทรียม Yttrium และซีเรียม Cerium รวมอยู่ด้วย โดยปกติ ส่วนใหญ่มักจะมีควอรตซ์ปะปน วาวคล้ายแก้ว สีผงละเอียดของแร่สีขาว โปร่งใสถึงกึ่งโปร่งแสง มีหลายสี เช่น สีขาว เขียวอ่อน เขียวมรกต เหลืองอมน้ำตาล น้ำเงินอมเขียว น้ำเงินคล้ำค่อนข้างดำ และสีม่วง พวกที่มีเนื้อสมานแน่นมักจะมีแถบสีสลับกันให้เห็นเป็นชั้น ๆ

คุณสมบัติทางเคมี
สูตรเคมี CaF2 (Calcium Fluoride) จัดอยู่ในกลุ่มแร่ เฮไลด์ (The Halides Class) มี Ca 51.3% F 48.7% บางตัวอย่างอาจมีธาตุหายากรวมอยู่ด้วย โดยเฉพาะธาตุ Yttrium และ Cerium ซึ่งเกิดเข้าแทนที่ธาตุแคลเซียม

ลักษณะเด่นและวิธีตรวจ
หากพบเกิดเป็นผลึกจะมีลักษณะเหมือนลูกเต๋า หรืออาจเกิด เป็นแบบ ผลึกแฝด มีแนวแตกเรียบ 4 แนวไม่ตั้งฉากกัน ทำให้เห็นเป็นรูปปิรามิดสองอันประกบกัน เอามีดขีดดูจะเป็นรอย หรือนำฟลูออไรต์ ไปขีดแก้วดูจะขีดไม่เข้า ผิดกับควอรตซ์ซึ่งขีดกระจกเข้า หากในเนื้อฟลูออไรต์ มีควอรตซ์ฝังประกระจายก็ทำให้ยุ่งยาก ต่อการตรวจความแข็งและทำให้เข้าใจผิดได้ โดยปกติหยดกรดเกลือลงไปจะไม่ฟู่ ซึ่งเป็นข้อแตกต่าง กับหินปูน หรือแคลไซต์ แต่ในบางครั้ง ฟลูออไรต์ก็อาจเกิดรวมอยู่กับหินปูน จึงฟู่กับกรดได้ใส่กรดกำมะถันเข้มข้น และร้อน จะสลายตัวให้ควันของกรดเกลือ (อันตรายมาก) วิธีตรวจอีกอย่างหนึ่ง คือ นำสารละลาย Sodium Alizarin Sulphonate (Co. C6 H4.Co.C6H (OH)2 SO3 N) ซึ่งมีสีเหลืองผสมกับสารละลาย Zirconium Nitrate ในกรดเกลือจะทำให้สารละลายผสมมีสีม่วงแดง ถ้าเอาสารละลายนี้ไปบนฟลูออไรต์ ทิ้งไว้สักครู่ สารละลายที่ใส่ลงไป จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แสดงว่าตัวอย่างนั้นเป็นฟลูออไรต์

การเกิด
แร่ฟลูออไรต์พบเกิดได้หลายแบบ เช่น แบบสายแร่ ในรูปของแร่จำนวนน้อยในสายแร่ที่เกิดจากน้ำร้อน(Hydrothermal veins) โดยเฉพาะมักเกิดอยู่ร่วมกับแร่ตะกั่วชนิด galena สังกะสี (sphalerite) แบบกรรมวิธีของก๊าซ (Pneumatolytic deposits) แทนที่ในหินท้องที่ เช่น หินปูน หินดินดาน และหินทราย เป็นต้น แบบที่เกิดเป็นเพื่อนแร่ในสายหิน เพกมาไทต์ (Pegmatite) ใน ไกรเซน (Greisens) หรือเป็นแร่ประกอบหินในหินอัคนี หรือหินแปรเช่นหินอ่อน calcite   marcasite amethyst pyrite apatite barite และแร่ในตระกูล sulfides อื่นๆ

แหล่ง
ในประเทศไทย นับว่าเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญของโลกแห่งหนึ่ง ได้พบในบริเวณ จังหวัด เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน ลำปาง เชียงราย แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ อุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และกระบี่ เคยมี ประทานบัตร และแหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ที่อำเภอปาย อำเภอแม่ลาน้อยและอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอคลองท่อมจังหวัดกระบี่ อำเภอบ้านโฮ่ง และอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี และที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
 ต่างประเทศ พบในประเทศเยอรมนีตะวันตก ฝรั่งเศส อังกฤษ สเปน อิตาลี แคนาดา เม็กซิโก (Mexico ซึ่งเป็นแหล่งผลิตฟลูออไรต์รายใหญ่ที่สุดของโลก) สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา ชิลี สหภาพ-แอฟริกาใต้ ตูนิเซีย เกาหลีใต้ มองโกเลีย และญี่ปุ่น ผลผลิตแร่ฟลูออไรต์หลักๆของโลกสามารถศึกษาได้ที่ USGS

ประโยชน์
 ใช้เป็น Flux ในการถลุงเหล็กเพื่อช่วยให้สิ่งเจือปนในเหล็ก เช่น กำมะถัน ฟอสฟอรัส หลอมตัวเข้าไปรวมในตะกรันและช่วยให้ตะกรันไหลได้ง่ายด้วย ใช้ในการทำ Opalescent glass ทำกรดไฮโดรฟลูออริก (HF) ใช้ในอุตสาหกรรมทำอะลูมิเนียม ทำอุปกรณ์ทางกล้องจุลทรรศน์ ใช้ผสมทำวัสดุเคลือบเหล็กและเหล็กกล้า ใช้ผสมก๊าซพวก Freon นับว่าเป็นก๊าซที่สำคัญ ใช้ในเครื่องทำความเย็นแบบต่าง ๆ ซึ่งไม่มีพิษเมื่อเกิดการรั่วขึ้นมา และอุตสาหกรรมผลิตแก้วชนิดต่าง ๆ ฯลฯ ในปัจจุบัน แร่ฟลูออไรต์ส่วนใหญ่มักจะนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเหล็กกล้ามากที่สุด รองลงมาก็เป็นอุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรม ผลิตอะลูมิเนียม และอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา

นอกจากนี้ยังนิยมนำมาผลิตเป็นรัตนชาตราคาคาไม่แพง นำมาแกะสลักพระหรือรูปอื่นๆ เชื่อกันว่าพระแก้วมรกตแกะสลักขึ้นมาจากแร่ชนิดนี้

ราคา
ราคา ประกาศของแร่ฟูออไรต์ ปี พ.ศ. 2546  (2003) ตันละ 4,065 บาท คิดค่าภาคหลวง 7 % หรือตันละ 284 บาท ราคาแร่ฟูออไรต์ที่ตลาดสหรัฐอเมริกา เกรดโลหะ ราคา CIF  ตันละ 85 $US เกรดเคมี  (Acid grade) ประมาณตันละ 165-170 US$ 

ที่มา
cphairat.tripod.com/Fluorite.htm

แคลไซต์ (Calcite)

แคลไซต์ (Calcite)



การจำแนก
ประเภท : แร่คาร์บอเนต
สูตรเคมี : CaCO3

คุณสมบัติ
สี : ไร้สี ขาว เทา เหลือง เขียว
โครงสร้างผลึก : เฮกซาโกนัล
ค่าความแข็ง : 3
ความวาว : คล้ายแก้ว
ดรรชนีหักเห : nω = 1.640 - 1.660 nε = 1.486
สีผงละเอียด : สีขาว
ความถ่วงจำเพาะ : 2.72

แคลไซต์ (อังกฤษ: Calcite) เป็นแร่คาร์บอเนตและเป็นแร่ที่เสถียรที่สุดในกลุ่มแร่ที่มีสูตรโครงสร้างเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ส่วนแร่อื่นที่มีสูตรโครงสร้างเดียวกัน ได้แก่ อราโกไนท์ (Aragonite) และ วาเทอร์ไรต์ (Vaterite) โดยอราโกไนท์จะเปลี่ยนไปเป็นแคลไซต์ที่อุณหภูมิ 470 องศาเซลเซียส ส่วนวาเทอร์ไรต์นั้นไม่เสถียร

คุณสมบัติ

มีรูปผลึก ระบบเฮกซาโกนัล พบเกิดเป็นรูปผลึกได้มากกว่า 300 แบบและเป็นผลึกที่ซับซ้อนมาก ที่พบบ่อยคือรูปผลึกที่เป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หรือมีลักษณะเป็นแท่งหัวแหลมๆ ยาวๆ คล้ายฟันสุนัขเรียกว่าแร่ฟันหมาหรือหินเขี้ยวหมา

มีค่าความแข็งที่ 3 ตามสเกลของโมส์ (Moh’s scale) มีความถ่วงจำเพาะ 2.72 มีความวาวคล้ายแก้ว หรือด้านคล้ายดิน โปร่งใสถึงโปร่งแสง ปกติมีสีขาวหรือไม่มีสีแต่หากมีมลทินปนจะทำให้มีสีอื่นเช่น สีเทา สีแดง สีเขียว สีเหลือง สีน้ำเงิน สีน้ำตาล หรือสีดำ รอยแยกแนวเรียบเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ลักษณะเป็นแท่งปลายแหลม ยาวๆ คล้ายฟันสุนัขความวาวคล้ายแก้ว

มีผงละเอียดสีขาวหรือสีเทา มีสูตรเคมี CaCO3 มี CaO 56.0 % และ CO2 44.0 % บางชนิดอาจมีแมงกานีส สังกะสี หรือเหล็กเข้าไปแทนที่ธาตุแคลเซียม หากมีการแทนที่อย่างสมบูรณ์ด้วยธาตุแมงกานีส จะได้เป็นโรโดโครไซต์

แคลไซต์จะทำปฏิกิริยากับกรดเกลือ คือหยดกรดเกลือแล้วเกิดเป็นฟองฟู่ (acid test.) แต่แร่ตระกูลคาร์บอเนตชนิดอื่น เช่น โดโลไมต์ (dolomite) และ ซิเดอไรด์ (siderite) จะไม่ทำปฏิกิริยาเป็นฟองฟู่เหมือนแคลไซต์

นอกจากนี้แคลไซต์ยังมีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถทำให้เกิดการหักเหสองแนว(double refraction)

การกำเนิด
พบได้ทั่วไปในหินชั้นและหินแปร โดยเฉพาะบริเวณที่มีหินปูน ในตัวหินปูนเองอาจมีสายแร่แคลไซต์ ตัดผ่านหรือตกผลึกใหม่เนื่องจากความร้อนหรือความดันกลายเป็นหินอ่อน นอกจากนี้ยังพบแคลไซต์ในโพรงของหินภูเขาไฟ เช่น หินบะซอลต์ และพบเป็นเพื่อนแร่อยู่ในแร่ชนิดอื่นเช่นในแร่ ฟลูออไรต์ (fluorite), ควอตซ์ (quartz), แบไรต์ (barite), สฟาเลอไรท์ (sphalerite), กาลีนา (galena), เซเลสไทท์ (celestite), ซัลเฟอร์ (sulfur), ทอง (gold), ทองแดง (copper), มรกต (emerald), อะพาไทท์ (apatite), ไบโอไทท์ (biotite), ซีโอไลท์ (zeolites), แร่ตระกูลซัลไฟด์ (sulfides), คาร์บอเนต (carbonates) , บอเรต (borates) และ แร่โลหะพื้นฐานชนิดต่างๆ ที่เกิดจากน้ำร้อนใต้ผิวโลก (hydrothermal)

แหล่งแคลไซต์
ประเทศไทย พบทั่วไปในจังหวัดที่มีหินปูน ตั้งแต่เชียงรายจนถึงจังหวัดยะลา พบมากจังหวัด ลพบุรี สระบุรีจันทบุรี กาญจนบุรี ชุพร สุราษฎร์ธานี นครสวรรค์ และเพชรบุรี ต่างประเทศพบมากที่ประเทศอังกฤษ จีน เม็กซิโก สหรัฐอเมริกา อิตาลี สเปน

ประโยชน์
ใช้ทำปูนซีเมนต์และปูนขาว นำมาบดผสมทำอาหารสัตว์ ผสมทำเครื่องเคลือบดินเผา หากมีสีและเนื้อสวยงามนำมาขัดทำหินประดับผลึกแร่แคลไซต์ ใช้เป็นวัตถุดิบผลิตแสงเลเซอร์

ที่มา
วีกีพีเดีย

ยิปซัม ( Gypsum)

ยิปซัม ( Gypsum)
 

การจำแนก
ประเภท : แร่อโลหะ
สูตรเคมี : CaSO4·2H2O

คุณสมบัติ
สี : สีเทา ขาวหรือสีชมพูแดง
โครงสร้างผลึก : ระบบโมโนคลินิก
ค่าความแข็ง : 1.5-2
ดรรชนีหักเห : nα = 1.519 - 1.521 nβ = 1.522 - 1.523 nγ = 1.529 - 1.530
สีผงละเอียด : สีขาว
ความถ่วงจำเพาะ : 2.31 - 2.33

ยิปซัม (อังกฤษ: Gypsum) (CaSO4·2H2O) CaSO4.H2O) หรือเรียกว่าเกลือจืด เป็นแร่อโลหะที่มีความเปราะมากมีสีขาว ไม่มีสีหรือสีเทา มักมีสีเหลือง แดง หรือน้ำตาล เป้นมลทินปนอยู่ มีความวาวคล้ายแก้ว มุก หรือไหม ความแข็ง 2 ความถ่วงจำเพาะ 2.7 เนื้อแร่โปร่งใสจนกระทั่งโปร่งแสง อาจเรียกชื่อต่างกันออกไปตามลักษณะของเนื้อแร่ คือ ชนิดซาตินสปาร์ (satinspar) เป็นแร่ยิปซัมลักษณะที่เป็นเนื้อเสี้ยน มีความวาวคล้ายไหม ชนิดอะลาบาสเทอร์ (alabaster) มีเนื้อเป็นมวลเม็ดอัดกันแน่น และชนิดซีลีไนต์ (selenite) ใสไม่มีสี เนื้อแร่เป็นแผ่นบางโปร่งใส เกิดจากแร่ที่ตกตะกอนในแอ่งที่มีการระเหยของน้ำสูงมากและต่อเนื่อง ทำให้น้ำส่วนที่เหลือมีความเข้มข้นสูงขึ้น ถึงจุดที่แร่กลุ่มที่เรียกว่า “อีแวพอไรต์ (evaporites) ” จะสามารถตกตะกอนออกมาตามลำดับความสามารถในการละลาย (solubility) ซึ่งโดยทั่วไปเริ่มจากพวกคาร์บอเนต (carbonates) ซัลเฟต (sulphates) และเฮไลด์ (halides) การกำเนิด แร่ยิปซัมของไทยมีเนื้อเป็นเกล็ดเล็กๆ สมานแน่น เรียกว่า “อะลาบาสเตอร์ (alabaster) ” ซึ่งมิได้เกิดจากการตกตะกอนทับถมกันในสภาพการณ์ปฐมภูมิจากการระเหยของน้ำ แต่เกิดจากการเติมน้ำ (rehydration) ให้กับช่วงบนสุดของมวลแอนไฮไดรต์ จนเกิดการเปลี่ยนแปลง ชนิดแร่ ยิปซัมในประเทศไทยมีประวัติที่ค่อนข้างซับซ้อน และการศึกษาธรณีวิทยาแหล่งแร่พบว่า เคยผ่านการเปลี่ยนแปลงชนิดแร่ไปมา ระหว่างยิปซัมกับแอนไฮไดรต์ (CaSO4) หลายครั้ง (Utha-aroon and Ratanajarurak, 1996) ก่อนจะมีสภาพเช่นในปัจจุบัน

คุณสมบัติ
- มีค่าความแข็งที่ 2 ตามสเกลของโมส์ (Moh's scale)
- มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ แคลเซียม และน้ำ
- มีสีเทาขาวหรือสีชมพูแดง
- ลักษณะที่พบโดยทั่วไป เป็นแบบเนื้อแน่น และมีรูปผลึกเฉพาะ

ประโยชน์ของแร่ยิปซัม

ประโยชน์ของแร่ยิปซัม สามารถนำมาทำปูนปลาสเตอร์ ปูนซีเมนต์ (portland cement) แผ่นยิปซัมอัด (gypsum board) หรือแผ่นยิปซัมบอร์ด ปุ๋ย แป้งนวล ชอล์ก กระดาษ ดินสอ สี ยาง ส่วนแร่ชนิดซาตินสปาร์ และอะลาบาสเตอร์ อาจนำมาใช้ในการแกะสลักหรือขัดทำเป็นเครื่องประดับได้อีกด้วย

แหล่งที่พบ
ต่างประเทศ

สามารถพบได้ในประเทศอิหร่าน เยอรมัน อังกฤษ อิตาลี ไอร์แลนด์ แคนาดา สหรัฐอเมริกา และภูฏาน

ในประเทศ
- บริเวณเขตติดต่อของอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ กับอำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ซึ่งมีเหมืองเปิดทำการอยู่รวม 9 เหมือง
- บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเหมืองเปิดทำการ 12 เหมือง
- บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช มีเหมืองเปิดทำการ 9 เหมือง นอกจากแหล่งที่มีการทำเหมืองอยู่แล้ว

ยังมีแหล่งแร่ยิปซัมที่กรมทรัพยากรธรณีเพิ่งค้นพบใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2538 ในพื้นที่อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ซึ่งการสำรวจในปีต่อๆมา ทำให้สามารถกำหนดขอบเขตแร่ที่ชัดเจนขึ้นได้อีกระดับหนึ่ง แหล่งแร่นี้ มีลักษณะทางธรณีวิทยาและองค์ประกอบทางเคมีคล้ายคลึงกับแหล่งที่มีการทำเหมืองอยู่แล้ว นับเป็นแหล่งที่มีศักยภาพแร่สูงอีกแห่งหนึ่ง

ที่มา
วีกิพีเดีย

ทัลก์ (Talc)

ทัลก์ (Talc)



การจำแนก
ประเภท : แร่ไฮเดรต แมกนิเซียมซิลิเกต
สูตรเคมี : Mg3Si4O10(OH)2

คุณสมบัติ
สี : ขาว เทา เขียว ฟ้า
รูปแบบผลึก : รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนและรูปหกเหลี่ยม
โครงสร้างผลึก : ระบบโมโนคลินิก
ค่าความแข็ง : 1

ดรรชนีหักเห 
nα = 1.538 - 1.550
nβ = 1.589 - 1.594
nγ = 1.589 - 1.600
ค่าแสงหักเหสองแนว : δ = 0.051
สีผงละเอียด : สีขาว
ความถ่วงจำเพาะ : 2.5-2.8

ทัลก์ (อังกฤษ: Talc) (Mg3Si4O10(OH)2) หรือแร่หินสบู่ เป็นแร่ไฮเดรต แมกนิเซียมซิลิเกต

คุณสมบัติ
มีลักษณะผลึกเป็นแผ่นหนา มีรูปผลึกเป็นระบบโมโนคลินิก รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนและหกเหลี่ยม
แร่ทัลก์ เป็นแร่ที่มีความแข็ง 1 ตามสเกลของโมส์ ซึ่งอ่อนมากจนสามารถใช้เล็บขูดเป็นรอยได้

ประโยชน์
ป่นเป็นผงเพื่อใช้ทำสี เครื่องปั้นดินเผา ยาฆ่าแมลง วัสดุมุงหลังคา วัสดุทนไฟ ใช้บุผนังแบบหล่อ ใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษ ยาง พลาสติกและสิ่งทอ ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เช่นใช้ทำแป้งฝุ่นทาหน้า ฝุ่นโรยตัว ฯลฯ

แหล่งที่พบในประเทศไทย
พบได้ในจังหวัดอุตรดิตถ์ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ และจันทบุรี
ที่มา : วีกีพีเดีย

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การจำศีลของสัตว์

 ไม่มีนักวิทยาศาสตร์คนใดที่ทราบ หรือมีประสบการณ์โดยตรงกับความลึกลับอีกอย่างหนึ่ง  คือเรื่องประหลาดเกี่ยวกับกบซึ่งดูเหมือนจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เป็นเวลานานทั้งๆ  ที่จำศีลอยู่ในก้อนหิน 
ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมานี้ได้มีข่าวปรากฏอยู่เสมอว่าพวกกรรมกรขุดถ่านหินหรือคนงานที่ทำงานอยู่ในบ่อถ่านหิน  ขณะที่ทำการระเบิดหินหรือขุดถ่านหินขึ้นมาจากบ่อบางครั้งก็จะมีกบหรือคางคกกระโดดออกมา 

ตัวอย่างที่เห็นจริงจังรายหนึ่งเดี่ยวกับ  “กบที่จำศีลในโพรงหิน”  คือเมื่อนักธรณีวิทยาชาวอังกฤษชื่อ ดร.แจ๊ค  เทรียกัส (DR.JACK  TREAGUS) แห่งมหาลัยแมนเซสเตอร์เป็นผู้ค้นพบและที่  ไวท์วัทสัน  (WHITE WATSON)  นักธรณีวิทยาชาวอังกฤษผู้มีชื่อของมณฑลดาร์บี้เชียร์ (DERBYSHIRE)  บันทึกไว้รายงานประจำปี  1811 เข้าได้เขียนไว้ว่า “ในเมืองโบลสโสเวอร์ฟิลด์ (BOLSOVER FIELD) เมื่อปี  1795  ขณะที่พวกคนงานกำลังทุบหินปูนซึ่งมีน้ำหนักประมาณหนึ่งตันครึ่ง  ก็ได้พบคางคกตัวหนึ่งซึ่งยังมีชีวิตอยู่ฝังตัวอยู่ในก้อนหินปูนก้อนนั้น  แต่เมื่อมันถูกเอาออกมาจากโพรงหินแล้ว  มันก็ได้เสียชีวิตทันที”  รายงานอีกฉบับหนึ่งเกี่ยวกังคางคก  ซึ่งถูกตั้งชื่อว่าโอลด์ริพ (OLD  RIP) ซึ่งดูเหมือนจะยังมีช๊วิตอยู่หลังจากที่ได้ฝังตัวอยู่ในหินที่เป็น  “ศิลาฤกษ์”  ของที่ทำการศาลแห่งหนึ่งในเมืองเชนแน็คทาดี้  (SCHENECTADY)  มาเป็นเวลากว่า  30 ปี

ด้วยความฉงนฉงายเมื่อได้อ่านรายงานทำนองนี้  นักธรรมชาติวิทยาผู้มีชื่อเยงชาวอังกฤษคนหนึ่งชื่อ  ดร.  วิลเลี่ยม  บัคแลนด์ (DR WILLIAM  BUCKLAHD)  ได้นำเดินการทดลองเพื่อหาข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ด้วยกรรมวิธีที่ค่อนข้างจะวิตถาร  ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 1875  ดร. บัคแลนด์ได้ทำการฝังตัวคางคกจำนวน 24 ตัว  ไว้ในช่องเล็กๆซึ่งผนึกอย่างเรียบร้อยโดยบางตัวไปตามช่องหินปูนที่ปิดทึบและบางตัวก็ผนึกไว้ในช่องหินปูนเหล่านั้น  เป็นเวลากว่าปีคือเมื่อวันที่  10  ธันวาคม  1976  คางคกทั้งหมดที่ถูกผนึกอยู่ในช่องหินปูนที่แน่นทึบนั้นตายหมด  และใด้ตายไปแล้วเป็นเวลาตั้งหลายเดือน  แต่คางคกบางตัวที่ถูกผนึกอยู่ในช่องหินปูนที่มีรุเล็กๆพรุนอยู่นั้นยังมีชีวิตอยู่  ถึงแม้ตอนหลังจะตายเพราะทดอาหาร  เมื่อมันต้องถูกนำไปผนึกอยู่ในช่องหินปูนต่อไปอีกหนึ่งปีในนามวิทยาศาสตร์  คางคกบางตัวซึ่งถุกนำไปฝังไว้ในโพรงของต้นแอบเปิ้ล  และอุดปากโพรงหินโดยไม่มีอากาศเลยเป็นเวลาถึงหนึ่งปีได้และก็เป็นที่แน่นอนว่ามันไม่อาจจะทนอยู่ถึง 2ปี  โดยไม่ได้กินอาหารได้  ดร.บัคแลนด์เขียนไว้ว่า
“…..ข้าพเจ้าคิดว่า  เราอาจจะได้พบคำตอบของปรากฏการณ์ทำนองนี้ได้จากการศึกษาสังเกตนิสัยของสัตว์เลื้อยคลานเหล่านี้  และรวมทั้งพวกแมลงต่างๆ  ที่เป็นอาหารของมันด้วยความพยายามขั้นแรกของลูกคางคก  ทันทีมันพ้นจากสถาวะของลูกอ๊อด  และโผ่ลขึ้นมาจากน้ำแต่ละตัวเมื่อยังมีขนาดเล้กอยู่อาจจะเข้าไปอาศัยอยู่ในโพรงหิน  โดยแทรกตัวเข้าไปตามรูหรือรอยแตกเล็กๆ  และเมื่อเข้าไปในโพรงหิน  โดยแทรกตัวเข้าไปตามรุหรือรอยแตกเล็กๆ  และเมื่อเข้าไปอาศัยอยู่ในโพรงหิน  โดยแทรกตัวเข้าไปตามรูหรือรอยแตกเล็กๆ  และเมื่อเข้าไปในโพรงหินนั้นแล้วมันก็อาจจะได้พบสิ่งที่มันสามารถกินเป็นอาหารได้เป็นจำนวนมาก  เพราะแมลงเล็กๆ เหล่านี้ก็ได้เข้าไปหลบอยู่ในโพรงหินนั้นด้วยวัตถุประสงค์แบบเดียวกับลูกคางคกเหมือนกัน  เมื่อมีอาหารสมบูรณ์เช่นั้นในไม่ช้า  คางคกเหล่านี้ก็จะเติบโตขึ้นจนไมสามารถจะออกทาจากรอยแยก  หรือรูเล็กๆที่มันเข้าไปเมื่อตอนแรกได้อีก  พวกคนงานที่ไปพบคางคกถูกฝังอยู่ในหินอาจจะไม่ได้สังเกตว่าหินนั้นมีรู  หรือรอยแตกอยู่ก็ได้  เพราะพวกเขาก็เป็นพวกเดียวที่ทำงานประเภทนี้  และเป็นผู้ที่พบคางคกฝังอยู่ในโพรงหิน  หรือโพรงไม้นั้น”

คำชี้แจงเช่นนี้น่าจะเป็นคำอธิบายที่เป็นไปได้อย่างยิ่งเกี่ยวกับคางคก  ที่ถูกแปรสภาพเป้นเหมือนซากอาบยาที่มีตัวอย่างเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์เมืองไบรทตัน (BRIGHTON  MUSEUM) ซึ่งเป็นหัวเมืองตากอากาศชายทะเลของประเทศอังกฤษ  พร้อมไปด้วยโพรงหินที่มันได้เข้าไปจำศีลอยู่เหตุที่มันถูกค้นพบก็เมื่อคนงานสองคนได้พบก้อนหินขนาดเบา  ที่มีลักษณะประหลาดก้อนหึ่งที่เมืองลิวเวส (LEWES) และได้ก่อให้เกิดความตื่นเต้นไม่ใช่น้อยในตอนนั้น  มันอาจจะเป็นตัวอย่างเพียงเดียวที่รู้จักเกี่ยวกับ “คางคกที่เข้าไปจำศีลอยู่ในก้อนหิน”  ที่อยุ่ในความครอบครองของมนุษย์ละก็เป็นการพิสูจน์ว่า  ข่าวลือเกี่ยวกับปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่มีมูล  อันที่จริงหลังจากที่มีพอเจ้าคางคกที่กลายเป็น  “มัมมี่”  ตัวนี้เข้า  นักวิทยาศาสตร์ที่ไปทำการตราวจสอบเรื่องนี้ก็ได้พบรูเล็กๆ รูหนึ่งอยู่ตรงปลายด้านหนึ่งของหินก้อนนั้น  ซึ่งต่อมารูเล็กๆนี้ก้มีโคลนของหินช็อล์คเข้าไปอุดจนตันไปหมด

หลักการคร่าวๆก็คือพวกสัตว์เลือดเย็น-เลือดอุ่น รวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แมลงและนกบางชนิดมีการปรับตัวเพื่อเผชิญกับฤดูหนาวโดยการสะสมอาหาร(กินเผื่อไว้เยอะๆ)หาที่สงบปลอดภัย แล้วทิ้งตัวลงนอนนิ่งๆในนั้นจนกว่าอากาศข้างนอกจะเริ่มอุ่นขึ้นพวกเขาก็จะตื่นและทยอยออกมาเริ่มต้นชีวิตกันใหม่

สัตว์ที่จำศีลจะแตกต่างกับสัตว์ที่นอนหลับ สัตว์ที่นอนหลับนั้นร่างกายของพวกเขาจะขยับบ้างเป็นบางครั้งและสมองก็จะสั่งงานตามปกติ สัตว์ที่นอนหลับสามารถที่จะตื่นขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว

การจำศีลของสัตว์นั้นมีอยู่สองชนิดคือ

True Hybernator คือการจำศีลจริง ลักษณะการจำศีลของสัตว์พวกที่จำศีลจริงนี้จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับการตายมากเพราะว่าจังหวะการเต้นของหัวใจของพวกเขาจะเต้นช้าลงๆ และอุณหภูมิในร่างกายของพวกเขาก็จะลดลงใกล้เคียงกับอุณหภูมิภายนอกอย่างมาก การหายใจก็จะเป็นไปอย่างช้าๆแผ่วเบา  สัตว์เหล่านั้นต้องการใช้เวลานานมากในการตื่นขึ้นและขยับตัวเพื่อกลับคืนสู่สภาวะปกติ สัตว์บางจำพวกเช่น หมี ไม่มีการจำศีลแบบ True Hybernator นี้

ในช่วงปลายหน้าร้อน หรือฤดูใบไม้ผลิ สัตว์ที่จะทำการจำศีลนี้จะต้องออกหากินบ่อยพวกเขาจะต้องตระเตรียมกินอาหารจำนวนมากเพื่อกักตุนเอาไว้ ช่วงที่พวกเขาจำศีลร่างกายของพวกเขาจะอยู่ได้ก็โดยธาตุอาหารที่เก็บกักเอาไว้ในชั้นไขมันไต้ผิวหนังนั่นหละครับ พวกเขาจะมองหาโพรงหรือถ้ำหรือรูโดยที่พวกเขาจะทิ้งตัวลงนอนอยู่ภายในนั้นตลอดหลายเดือนแห่งการจำศีลนั่นเลยทีเดียว
สัตว์บางชนิดจะจำศีลโดยมีการตื่นขึ้นมาเป็นครั้งคราวเพื่อรับประทานของว่างที่พวกเขาได้ตระเตรียมไว้เคลื่อนไหวตัวอยู่ภายในโพรงและจะกลับไปสู่ภาวการณ์จำศีลเหมือนเดิม

Torpor คือการจำศีลเทียมในระยะสั้นๆ เป็นภาวะการนอนหลับที่คล้ายกับการณ์จำศีล พวกสัตว์จะมีอุณหภูมิในร่างกายที่ลดลงเช่นกัน หัวใจก็เต้นช้าลง แต่พวกเขาจะสามารถลุกตื่นขึ้นมาและขยับเดินไปรอบๆที่พักของพวกเขาเองได้ กระบวนการจะนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆเช่น ค้างคาวบางชนิดจะออกหาอาหารและตื่นตัวในเวลากลางคืนแต่จะกลับมานอนสงบนิ่งที่รังในตอนกลางวัน และพวกเขาก็จะเริ่มเข้าสู่กระบวนการการจำศีลเทียมเพื่อการสะสมพลังงานของร่างกายไว้ใช้ในวันต่อไปนั่นเอง กระบวนการนี้เกิดขึ้นตลอดฤดูหนาวในแถบภูมิภาคที่มีอากาศในฤดูหนาวที่หนาวมากๆ






ที่มา
http://www.krabork.com
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=289962

ฮือฮา พบสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำพันธุ์ใหม่หน้าตาประหลาด คล้าย"ไส้เดือนผสมงู" ในอินเดีย


ฮือฮา พบสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำพันธุ์ใหม่หน้าตาประหลาด คล้าย"ไส้เดือนผสมงู" ในอินเดีย
คณะนักวิทยาศาสตร์ค้นพบตระกูลสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำไร้ขาพันธุ์ใหม่ ที่มีหน้าตาคล้ายงูและไส้เดือน ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย

สัตว์สายพันธุ์ดังกล่าว ซึ่งเมื่อมองในครั้งแรกมีความคล้ายคลึงกับไส้เดือนเป็นอย่างมาก ถูกขุดพบตามโคลนดินที่อยู่ในป่า และมีความใกล้ชิด กับสัตว์สกุลซีซิเลียน (Caecilians) หรือสัตว์พวกเขียดงู หรือชื่อเดิมคืองูดิน จัดเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกไม่มีเกล็ด ที่อาศัยอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้ ทวีปแอฟริกา และเอเชียใต้  โดยเพศเมียจะคอยฟักไข่เป็นเวลา 2-3 เดือนโดยไม่กินอะไรเลย

คณะนักวิทยาศาสตร์ออกวิจัยเป็นเวลา 5 ปีตามพื้นที่ห่างไกลในรัฐสิกขิม อรุณาจัลประเทศ และนาคาแลนด์จนพบสัตว์ในกลุ่มซีซิเลียนไร้ขาผิวหนังเรียบลื่น ขนาดลำตัวยาว 8 นิ้ว อาศัยอยู่ในดินชุ่มชื้นหรือขุดโพรงอยู่ในชั้นใต้ดิน

 ศ.เอส.ดี บิจู แห่งมหาวิทยาลัยเดลีของอินเดีย ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการร่วมกับทีมวิจัยจากอังกฤษและเบลเยียม กล่าวว่า หลังการค้นพบ ไม่สามารถระบุได้ว่ามันอยู่ในสปีชีส์, สกุล หรือวงศ์ใด แต่หลังจากการวิเคราะห์ด้านสัณฐานวิทยา และดีเอ็นเอแล้ว ยืนยันได้ว่าเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำตระกูลใหม่ ซึ่งถือเป็นสัตว์ตระกูลซีซิเลียนพันธุ์ที่ 10 ซึ่งแยกมาจากสัตว์สกุลที่ใกล้ที่สุดที่อาศัยในแอฟริกาเมื่อกว่า 140 ล้านปีก่อน โดยได้รับการตั้งชื่อตามภาษาท้องถิ่นว่า "Chikilidae" ซึ่งดัดแปลงมาจากภาษากาโร ที่ใช้เรียกมันในเขตที่มีการค้นพบ

เขากล่าวว่าการทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยเป็นปัญหาคุกคามของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำทั่วโลก ซึ่งการค้นพบครั้งนี้พิสูจน์ให้เห็นว่า เราต้องช่วยกันปกป้องสิ่งแวดล้อมเพื่อรักษาธรรมชาติเอาไว้ ซึ่งภัยคุกคามของมันก็คือ ชาวบ้านที่ฆ่ามันเพราะคิดว่าเป็นงูพิษ

นักวิทยาศาสตร์เผยว่า สัตว์จำพวกนี้เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่ง เนื่องมาจากการเติบโตของประชากรและพื้นที่เมือง รวมถึงการเพาะปลูกและเผาพื้นที่เกษตรกรรม นอกจากนั้น พวกมันยังเป็นสัตว์ที่สังเกตเห็นได้ยาก เนื่องจากมักจะอาศัยอยู่ในพื้นดินหรือไม่ก็เศษซากใบไม้ที่จมอยู่ในโคลน

ยอมให้ลูกกินผิวหนังตนเองเป็นอาหาร

เขียดงู (อังกฤษ: Caecilian, อันดับ: Gymnophiona) เป็นอันดับของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gymnophiona

มีลักษณะโดยรวมของรูปร่าง คือ ลำตัวเรียวยาวคล้ายงูหรือปลาไหล มีทั้งอาศัยอยู่บนบก ในโพรงดิน และในน้ำ โดยลดรูปโครงสร้างหลายประการซึ่งเป็นลักษณะที่พบกับสัตว์ที่มีลำตัวเรียวยาวหรืออาศัยอยู่ในโพรง กล่าว คือ หางมีขนาดเล็กมากหรือไม่มีเลย ไม่มีรยางค์ขาหรือฐานรยางค์ แต่ในสกุล Eocaecilia ที่เป็นซากดึกดำบรรพ์มีรยางค์ขา ตามีขนาดเล็กและบางชนิดอยู่ในร่องของกระดูกกะโหลกและถูกชั้นหนังปกคลุมไว้ ปอดข้างซ้ายมีขนาดเล็กหรือไม่มี ขณะที่บางวงศ์ที่อาศัยอยู่ในน้ำจะไม่มีปอด บางชนิดมีเกล็ดฝังตัวอยู่ในร่องที่แบ่งลำตัวเป็นปล้อง การปฏิสนธิเกิดขึ้นภายใน โดยตัวผู้จะมีอวัยวะถ่ายอสุจิเจริญจากผนังของห้องทวารร่วม บางชนิดวางไข่ในน้ำ และมีระยะเวลาของวัยอ่อนและบางชนิดวางไข่บนบกโดยไม่มีระยะวัยอ่อน ตัวเมียมีพฤติกรรมเฝ้าไข่ แต่เขียดงูส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 75 ออกลูกเป็นตัว วัยอ่อนภายในท่อนำไข่ได้รับสารอาหารจากสิ่งผลิตภายในท่อนำไข่

มีลักษณะเด่น คือ ลำตัวเป็นปล้อง ปล้องของลำตัวโดยทั่วไปมีจำนานเท่ากับจำนวนปล้องของกระดูกสันหลัง แต่บางชนิดอาจมีปล้องลำตัวจำนวนสองปล้องหรืออาจจะถึงสามปล้องต่อกระดูกสันหลังหนึ่งปล้อง โดยปล้องลำตัวปฐมภูมิเจริญขึ้นมาก่อนต่อจากนั้นจึงมีปล้องลำตัวทุติยภูมิหรือปล้องลำตัวตติยภูมิเจริญขึ้นมาเป็นลำดับต่อมา เกล็ดของเขียดงูประกอบด้วยคอลลาเจนหลายชั้นเรียงซ้อนกันและฝังตัวอยู่ในร่องตรงส่วนลึกที่สุดของปล้องลำตัวปฐมภูมิ โดยเรียงเป็นลำดับต่อเนื่องกันในแนวเฉียง

กะโหลกของเขียดงูมีชิ้นของกระดูกยึดติดกันแข็งแรงและส่วนใหญ่ไม่มีช่องเปิดที่กะโหลก นอกจากช่องเปิดของอวัยวะรับความรู้สึก ได้แก่ ตา, จมูก, หนวด ในบางวงศ์มีช่องเปิดบริเวณขมับ กระดูกกะโหลกจึงขยับได้บ้าง ฟันที่ขากรรไกรบนอยู่บนกระดูกพรีแมคซิลลา กระดูกแมคซิลโลพาลาทีนและกระดูกโวเมอร์ มีอวัยวะรับรู้จำเพาะ คือ อวัยวะที่แลดูคล้ายหนวด ที่เจริญขึ้นมาจากช่องเปิดที่อยู่ระหว่างตากับช่องเปิดจมูก ตำแหน่งของช่องเปิดหนวดแตกต่างกันในแต่ละชนิด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการอนุกรมวิธาน สัดส่วนความยาวของหนวดที่โผล่พ้นช่องเปิดออกมาก็แตกต่างกันในแต่ละวงศ์ โดยหนวดเป็นโครงสร้างเชิงซ้อนประกอบด้วยกล้ามเนื้อ, ต่อม และท่อ การเจริญของหนวดสัมพันธ์กับตาและอวัยวะจาคอบสัน ซึ่งทำหน้าที่รับรู้สารเคมี

เขียดงูแบ่งออกได้เป็นทั้งหมด 6 วงศ์ (ในขณะที่บางข้อมูลแบ่งเพียง 3 วงศ์)โดยใช้หลักการแบ่งทางรูปร่างโครโมโซมและลักษณะทางโมเลกุล และสันฐานวิทยา โดยมีทั้งหมดราว 174 ชนิด ใน 33 สกุล กระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อน ยกเว้นบนเกาะมาดากัสการ์และทางตะวันออกของเส้นสมมติวอลเลซ ในประเทศไทยพบได้ 1 วงศ์ เช่น เขียดงูเกาะเต่า (Ichthyophis kohtaoensis) เป็นต้น
การจำแนก (วงศ์)
- Rhinatrematidae
- Ichthyophiidae
- Uraetyphidae
- Scolecomorphidae
- Caecililidae
- Typhlonectidae


ส่วนหน้าของเขียดงูไม่ทราบชนิด (Ichthyophis sp.) ในวงศ์เขียดงู (Ichthyophiidae)


การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร : Animalia
ไฟลัม : Chordata
ชั้น : Amphibia
ชั้นย่อย : Lissamphibia
อันดับ : Gymnophiona


ที่มาข้อมูล
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1329911682&grpid=01&catid=&subcatid=
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B8%B9

วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิ้งก่าคาเมเลี่ยน





กิ้งก่าคาเมเลี่ยน
อยู่ในวงศ์กิ้งก่าคาเมเลี่ยน (อังกฤษ: Chameleon, ชื่อวิทยาศาสตร์: Chamaeleonidae) เป็นวงศ์ของกิ้งก่าที่ใช้ชื่อวงศ์ว่า Chamaeleonidae ที่มีรยางค์ขาและมีลักษณะจำเพาะคือ ลำตัวแบนข้างมาก หางมีกล้ามเนื้อเจริญและใช้ยึดพันกิ่งไม้ได้ บนหัวและด้านหลังของคอมีสันเจริญขึ้นมาปกคลุม นิ้วเท้าแยกจากกันเป็นสองกลุ่ม คือ 2 นิ้วกับ 3 นิ้ว และอยู่ตรงกันข้ามกัน โดยนิ้วเท้าของขาหน้าเป็นกลุ่มของนิ้วที่ 1, 2 และ 3 และกลุ่มของนิ้วที่ 4 และ 5 ส่วนนิ้วเท้าของขาหลังเป็นกลุ่มของนิ้วที่ 1 และ 2 และกลุ่มของนิ้วที่ 3, 4 และ 5 ซึ่งเป็นการปรับปรุงเพื่ออาศัยบนต้นไม้โดยใช้ยึดติดกับกิ่งไม้

นอกจากนี้แล้วยังสามารถยืดลิ้นออกจากปากได้ยาวมาก เนื่องจากกระดูกการปรับปรุงโครงสร้างของกระดูกฮัยออยด์ ตามีลักษณะโปนขึ้นมาทางด้านบนของหัวและแต่ละข้างเคลื่อนไหวเป็นอิสระจากกัน สามารถใช้ดวงตาเพียงข้างเดียวคำนวณระยะทางได้ถูกต้องแม่นยำ ซึ่งต่างจากสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นอื่นที่ต้องใช้ตาทั้งสองข้างถึงจะคำนวณระยะทางได้ เปลือกตามีแผ่นหนังปกคลุม เกล็ดปกคลุมลำตัวมีขนาดเล็กและเรียงตัวต่อเนื่องกัน ไม่มีกระดูกในชั้นหนัง กระดูกหัวไหล่ไม่มีกระดูกอินเตอร์คลาวิเคิลและไม่มีกระดูกไหปลาร้า บางชนิดมีหางสั้นและบางชนิดมีหางยาว พื้นผิวด้านบนของลิ้นมีตุ่ม ฟันที่ขากรรไกรเกาะติดกับพื้นผิวกระดูกโดยตรง กระดูกพเทอรีกอยด์ไม่มีฟัน อีกทั้งยังถือว่าเป็นกิ้งก่าที่สามารถเปลี่ยนสีได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

มีความแตกต่างกันของขนาดลำตัวมาก โดยสกุลที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ Brookesia และRhampholeon มีความยาวของลำตัว 2.5-5.5 เซนติเมตร และสกุลChamaeleo มีขนาดลำตัวใหญ่ที่สุดโดยมีความยาวของลำตัว 7-63 เซนติเมตร ทุกสกุลทุกชนิดมีสีสันลำตัวสดใสสวยงาม ยกเส้นสกุล Brookesia ที่มีสีลำตัวคล้ำ อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าและส่วนมากอาศัยและหากินบนต้นไม้ แต่ในสกุล Brookesia มีหางสั้นจะอาศัยบนพื้นดิน ออกาหกินในเวลากลางวันและกินแมลงเป็นอาหารหลัก แต่ก็สามารถกินนกได้ โดยพบเป็นซากในกระเพาะของชนิดที่มีขนาดใหญ่ คือ Trioceros melleri และChamaeleo oustaleti เป็นต้น ขยายพันธุ์โดนการวางไข่ แต่สกุล Bradypodion และบางชนิดในสกุล Chamaeleo ตกลูกเป็นตัว จำนวนไข่และจำนวนลูกสัมพันธ์กับขนาดตัว

กิ้งก่าคาเมเลี่ยนมีทั้งหมดด้วยกันประมาณ 140 ชนิด แพร่กระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา บนเกาะมาดากัสการ์ และบางพื้นที่ในอินเดีย และภาคพื้นอาหรับ รวมทั้งยุโรปตอนใต้ คือ สเปน และโปรตุเกส โดยเป็นกิ้งก่าที่นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง

การจับเหยื่อ

กิ้งก่าคาเมเลี่ยนจัดได้ว่าเป็นกิ้งก่าที่มีความโดดเด่นมากในหลายอย่างที่แตกต่างจากกิ้งก่าในวงศ์อื่น ประการหนึ่งก็คือ การใช้ลิ้นยาวในการจับเหยื่อ คือ แมลง กินเป็นอาหาร โดยมีความยาวของลิ้นมากกว่าความยาวลำตัวถึง 2 เท่า ที่ปลายลิ้นจะมีก้อนเนื้อและมีสารเหนียวเคลือบอยู่ ตัวลิ้นมีกล้ามเนื้อวงแหวนขนาดใหญ่ และมีกล้ามเนื้อตามความยาวของลิ้น กล้ามเนื้อวงแหวนถูกล้อมรอบด้วยก้านกระดูกอ่อนที่เจริญจากกระดูกฮัยโอแบรนเคียม ส่วนกล้ามเนื้อฮัยโอกลอสซัสอยู่ทางด้านท้ายของลิ้น กระดูกอ่อนเอนโทกลอสซัสเป็นแผ่นกระดูกกว้างสม่ำเสมอแต่ส่วนทางด้านหน้าเรียวแคบ กลไกของการยืดลิ้น คือ ลดขากรรไกรล่างต่ำลงและยกกระดูกฮัยออยด์ขึ้นพร้อมกันกับยืดลิ้นไปข้างหน้า ในจังหวะเริ่มต้นค่อนข้างช้าต่อจากนั้นลิ้นได้ยืดออกจากปากอย่างรวดเร็วซึ่งเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้ออย่างฉับพลัน ลิ้นที่ยืดได้ยาวเนื่องจากกล้ามเนื้อวงแหวน กล่าวคือ เมื่อกล้ามเนื้อหดตัวทำให้ตัวลิ้นหดแคบลงแต่ยาวขึ้นและยาวเลยส่วนปลายของกระดูกอ่อนแอโทกลอสซัส ลิ้นที่ยืดออกจากปากมีอัตราความเร็ว 5.8 cm.sec-1 เมื่อลิ้นสัมผัสกับตัวเหยื่อ ถ้าตัวเยนื่อมีขนาดเล็กจะติดอยู่ที่ส่วนปลายของลิ้น แต่ถ้าเหยื่อมีขนาดใหญ่ ก็จะติดกับเนื้อเยื่อบนลิ้น

ที่มา
วิกิพีเดีย

อีคิดนา (Echidna)...สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่ออกลูกเป็นไข่

นั่นน่ะสิ ตัวอะไรหนอที่ออกลูกเป็นไข่ แต่กลับเป็นสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เฉลย....
อีคิดนา (Echidna) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อของ ตัวกินมดหนาม (Spiky Anteater) เป็นสัตว์ประจำท้องถิ่นของออสเตรเลีย พบในนิวกินีและออสเตรเลีย นอกจากตุ่นปากเป็ดแล้วมีเพียงอีคิดนาเท่านั้น ที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับโมโนทรีมาตา (Monotremata) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ จึงเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียงสองชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่

ลักษณะทั่วไป
อีคิดนามีรูปร่างคล้ายเม่นตัวเล็กๆ มีขนหยาบและขนหนาม (spine) ปกคลุมตลอดตัว เมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวประมาณสามสิบเซนติเมตร จมูกเรียวยาว ขาสั้นแข็งแรง อุ้งเล็บใหญ่ ขุดดินได้ดี อีคิดนามีปากเล็ก ไม่มีฟัน หาอาหารโดยการฉีกท่อนไม้ผุ ขุดจอมปลวก ใช้ลิ้นเหนียว ๆ กวาดปลวก มด และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กชนิดอื่น ๆ แล้วบดเหยื่อกับเพดานปากก่อนกลืน

อีคิดนาเป็นสัตว์ที่สันโดษมาก มักหากินไปตามลำพัง ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์มันจะตามกลิ่นไปหาคู่ อีคิดนาผสมพันธุ์ในช่วงกลางฤดูหนาว หรือประมาณเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม เพราะมีขาสั้นอีคิดนาจึงเดินช้าและงุ่มง่าม แต่ว่ายน้ำเก่งจนน่าแปลกใจ

พฤติกรรมทั่วไป
อีคิดนาตาไว จมูกไว แม้รูปลักษณ์ภายนอกจะดูน่าเกรงขามแต่อีคิดนาเป็นสัตว์ขี้อายและขี้กลัว ที่ข้อเท้าหลังของอีคิดนาตัวผู้มีเดือยยื่นออกมาคล้ายของตุ่นปากเป็ด ในขณะที่ตุ่นปากเป็ดสามารถใช้เดือยแทงและปล่อยพิษใส่ศัตรูได้ อีคิดนากลับไม่มีคุณสมบัติดังกล่าว เมื่อต้องเผชิญหน้ากับผู้บุกรุกมันจะหลบมากกว่าสู้ อาจจะซ่อนตัวในพุ่มไม้ หรือแทรกตัวเข้าไปในโพรงขอนไม้ ซอกหิน หรือมุดลงในดิน หากไม่มีทางเลือกอื่นมันก็จะม้วนตัวกลมให้หนามยื่นออกไปรอบตัว

มีศัตรูไม่กี่ชนิดที่สามารถทำร้ายอีคิดนาได้ เช่น สุนัข หมาป่าดิงโก แมว หมู ศัตรูเหล่านี้ต้องเคยผ่านประสบการณ์กับอีคิดนามาก่อน จึงรู้ว่าเมื่ออีคิดนาวัยผู้ใหญ่ม้วนตัวจะมีจุดอ่อนที่ท้อง เพราะมันไม่สามารถม้วนจนกลมเป็นลูกบอลได้เหมือนอีคิดนาวัยอ่อน และเชื่อกันว่าสัตว์เลื้อยคลานบางชนิดกินลูกอีคิดนา อีคิดนาวางไข่ครั้งละหนึ่งฟองเท่านั้น หลังผสมพันธุ์ยี่สิบสองวันอีคิดนาตัวเมียจะวางไข่เปลือกนิ่มออกมาหนึ่งฟอง แล้วใส่ไว้ในถุงหน้าท้องคล้ายของจิงโจ้ ซึ่งร่างกายสร้างขึ้นมาในระยะผสมพันธุ์ ฟักไข่ไว้ในถุงสิบวัน ลูกอีคิดนาจึงออกจากไข่ ลูกอ่อนของอีคิดนาเรียกว่า พักเกิ้ล (puggle) มีขนาดไม่เกินสองเซนติเมตร

เนื่องจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับโมโนทรีมาตาไม่มีหัวนม มีเพียงฐานนมสองข้าง พักเกิ้ลจึงดูดนมจากท่อเล็กๆที่ฐานนมแม่ และอาศัยอยู่ในถุงหน้าท้องแม่สี่สิบห้าถึงห้าสิบห้าวัน ซึ่งเป็นช่วงที่ขนหนามเริ่มขึ้นแล้ว แม่อีคิดนาจะขุดโพรงอนุบาลไว้ใส่ลูก และกลับมาให้นมทุกห้าวัน ลูกอีคิดนาหย่านมตอนอายุประมาณเจ็ดเดือน อีคิดนาเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนและปรับตัวเก่ง ในเขตภูเขาช่วงหน้าหนาวมันจะจำศีลอย่างกบ ในเขตทะเลทรายตอนกลางวันมันจะหลบร้อนอยู่ในอุโมงค์หรือหลืบหิน ออกหากินเฉพาะตอนกลางคืน ในเขตอากาศอบอุ่นส่วนใหญ่จะออกมาตอนพลบค่ำ แต่หากอากาศหนาวขึ้นมันก็จะออกมาหากินได้ทั้งวัน

การจำแนกประเภท
อีคิดนาแยกเป็น 2 สกุล คือ Zaglossus กับ Tachyglossus
- สกุล Zaglossus เป็นอีคิดนาจมูกยาว มีจมูกยาวคล้ายตัวกินมด แบ่งออกเป็น 4 สปีชีส์ สูญพันธุ์ไปแล้ว 2 สปีชีส์
1.สปีชีส์ Zaglossus attenboroughi เป็นอีคิดนาจมูกยาวที่เรียกว่า Cyclops Long-beaked Echidna เพิ่งค้นพบได้ไม่นาน ในบางพื้นที่ของนิวกินี ซึ่งสูงกว่าเขตที่อีคิดนาจมูกยาวสปีชีส์ Zaglossus bruijnii อาศัยอยู่
 2.สปีชีส์ Zaglossus bruijnii เป็นอีคิดนาจมูกยาวที่เรียกว่า Long-beaked Echidna อาศัยอยู่ในป่าแถบที่ราบสูง หรือภูเขาสูงในนิวกินี อาหารคือหนอนและแมลงที่ขุดคุ้ยได้จากกองใบไม้ที่ทับถมกันอยู่ในป่า
 3.สปีชีส์ Zaglossus hacketti สูญพันธุ์แล้ว ศึกษาจากฟอสซิล
 4.สปีชีส์ Zaglossus robustus สูญพันธุ์แล้ว ศึกษาจากฟอสซิล

- สกุล Tachyglossus เป็นอีคิดนาจมูกสั้น ที่เรียกว่า Short-beaked Echidna  มีเพียงสปีชี่ส์เดียว คือ Tachyglossus aculeatus พบในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของนิวกินี และทั่วทวีปออสเตรเลีย ตั้งแต่เขตภูเขาที่มีหิมะปกคลุมไปจนถึงเขตทะเลทราย อีคิดนาจมูกสั้นตัวเล็กกว่าอีคิดนาจมูกยาว แต่มีขน (hair) ยาวกว่า โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่อยู่ในแทสเมเนียจะมีขนยาวมากจนมองแทบไม่เห็นขนหนาม (spine)

สถานภาพ
 แม้จะไม่สามารถบอกได้ว่าอีคิดนาจมูกสั้นมีจำนวนประมาณเท่าไร แต่เชื่อกันว่ามันอยู่ในสถานภาพที่ไม่มั่นคงนัก ลักษณะและพฤติกรรมของอีคิดนาจะแตกต่างกันออกไปตามถิ่นอาศัย การแยกกันอยู่อย่างกระจัดกระจายทำให้ถูกโจมตีจากสัตว์อื่นได้ง่าย พื้นที่อาศัยลดน้อยลงก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบต่อจำนวนอีคิดนา อีคิดนาจมูกยาวอยู่ในรายชื่อสัตว์ใกล้สูญพันธุ์แล้ว และอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วงมาก เพราะชาวนิวกินีล่ามันเป็นอาหารด้วย
ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1

โคอาลา (Koala) เป็นหมีจริงหรือเปล่า

โคอาลา (Koala)

โคอาลา (Koala) เป็นสัตว์ในกลุ่มสัตว์จำพวกจิงโจ้ (ไม่ใช่หมี) ตัวเมียจะมีกระเป๋าหน้าท้อง สำหรับให้ลูกอ่อนอาศัยอยู่ จากการที่มันมีลักษณะรูปร่าง หน้าตาคล้ายสัตว์ในตระกูลหมี ทำให้คนส่วนมากเรียกมันว่า หมีโคอาลา (Koala bear)

ประวัติ

ใน พ.ศ. 2341 มีบันทึกครั้งแรกสุดที่พบโคอาล่า ข้อมูลรายละเอียดของโคอาลาเริ่มถูกตีพิมพ์ในซิดนีย์กาเซ็ตต์ (Sydney Gazette) ค.ศ. 1816 นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส Blainwill ตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ให้ ชื่อว่า Phascolarctos ซึ่งมาจากภาษากรีก โดยเกิดจากคำ 2 คำ รวมกัน คือคำว่า กระเป๋าหน้าท้องของจิงโจ้ และคำว่า หมี (leather pouch และ bear) ต่อมานักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมัน Goldfuss ได้ตั้งชื่อที่เฉพาะเจาะจงลงไปเป็น cinereus ซึ่งหมายถึง สีขี้เถ้า

ขนาดและน้ำหนัก

โคอาลาที่อยู่ทางตอนใต้จะมีขนาดใหญ่กว่าที่อื่น โดยตัวผู้สูงประมาณ 30.8 นิ้ว หรือ 78 ซ.ม. ในขณะที่ตัวเมียสูงประมาณ 28 นิ้ว หรือ 72 ซ.ม. โคอาลาที่อยู่ทางตอนใต้ ตัวผู้มีน้ำหนักเฉลี่ย 26 ปอนด์ หรือ 11.8 กิโลกรัม ในขณะน้ำหนักเฉลี่ยของตัวเมียอยู่ที่ 17.4 ปอนด์ หรือ 7.9 กิโลกรัม โคอาลาที่อยู่ทางตอนเหนือ ตัวผู้มีน้ำหนักเฉลี่ย 14.3 ปอนด์ หรือ 6.5 กิโลกรัม ในขณะน้ำหนักเฉลี่ยของตัวเมียอยู่ที่ 11.2 ปอนด์ หรือ 5.1 กิโลกรัม โคอาลาแรกเกิดมีน้ำหนักเพียง 0.5 กิโลกรัม เท่านั้น ลักษณะขน โคอาลาที่อยู่ทางตอนใต้มีขนที่หนาเหมือนขนแกะ บริเวณหลังจะมีขนที่หนาและยาวกว่าบริเวณท้อง โคอาลาที่อยู่ทางตอนเหนือมีขนที่สั้นกว่า โคอาลามีขนหนาที่สุดเมื่อเทียบกับสัตว์อื่นๆในตระกูลจิงโจ้ ขนมีสีเทา ถึง น้ำตาลปนเหลือง และมีสีขาวบริเวณคาง หน้าอก และด้านหน้าของแขน-ขา ขนบริเวณหูมีลักษณะเป็นปุย และมีขนสีขาวที่ยาวกว่าบริเวณอื่น

ลักษณะขน

โคอาลาที่อยู่ทางตอนใต้มีขนที่หนาเหมือนขนแกะ บริเวณหลังจะมีขนที่หนาและยาวกว่าบริเวณท้อง โคอาลาที่อยู่ทางตอนเหนือมีขนที่สั้นกว่า โคอาลามีขนหนาที่สุดเมื่อเทียบกับสัตว์อื่นๆในตระกูลจิงโจ้ ขนมีสีเทา ถึง น้ำตาลปนเหลือง และมีสีขาวบริเวณคาง หน้าอก และด้านหน้าของแขน-ขา ขนบริเวณหูมีลักษณะเป็นปุย และมีขนสีขาวที่ยาวกว่าบริเวณอื่น

ถิ่นที่อยู่อาศัย
โคอาลาอาศัยอยู่ในป่าที่มีต้นยูคาลิปตัส ปัจจุบันจะพบโคอาลาได้ที่ รัฐควีนส์แลนด์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ รัฐวิกตอเรีย และ รัฐเซาท์ออสเตรเลีย

ศัตรู

ศัตรูที่สำคัญคือ มนุษย์ ซึ่งล่าเอาขนของมัน

อาหาร

โคอาล่ากินใบยูคาลิปตัสเป็นอาหาร ฟันและระบบย่อยอาหารถูกพัฒนามาให้สามารถกินและย่อยใบยูคาลิปตัสได้ ใบยูคาลิปตัวมีสารอาหารน้อยมาก และยังมีสารที่มีพิษต่อสัตว์ แต่ระบบย่อยอาหารของโคอาลามีการปรับตัว ทำให้สามารถทำลายพิษนั้นได้ โคอาลามีอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการย่อยไฟเบอร์ (ส่วนประกอบหลักของใบยูคาลิปตัส) ยาวมากถึง 200 ซ.ม. ที่บริเวณอวัยวะนี้ จะมีแบคทีเรียที่ช่วยในการย่อยไฟเบอร์ให้กลายเป็นสารอาหารที่ดูดซึมได้ อย่างไรก็ตาม โคอาลามีการดูดซึมสารที่ได้จากการย่อยไฟเบอร์ไปใช้เพียงแค่ 25 % ของที่มันกินไปเท่านั้น ส่วนน้ำในใบยูคาลิปตัสส่วนใหญ่ถูกดูดซึม ทำให้โคอาลาไม่ค่อยหาน้ำกินจากแหล่งน้ำ ส่วนใหญ่โคอาลากินใบยูคาลิปตัวประมาณวันละ 2000 ถึง 5000 กรัม โดยปกติมันจะนอนถึง 16-24 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อรักษาพลังงานไว้

การสืบพันธุ์

ฤดูการสืบพันธุ์ของโคอาลาอยู่ในช่วงกันยายน ถึง มีนาคม ตัวเมียเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 3 ถึง 4 ปี และมักมีลูกปีละตัว แต่ทั้งนี้อาจมีลูกปีเว้นปี หรือ ปีเว้น 2 ปี ก็ได้ ขึ้นกับอายุของตัวเมียและสภาพแวดล้อม อายุขัยเฉลี่ยของโคอาลาตัวเมียประมาณ 12 ปี ทำให้มีลูกได้อย่างมาก 5 -6 ตัว ตลอดอายุขัยของมัน มันใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 34-36 วัน ลูกโคอาลาที่เกิดใหม่ มีความยาวเพียง 2 ซ.ม. และมีน้ำหนักไม่ถึง 1 กรัม ผิวหนังสีชมพู ไม่มีขน ยังไม่ลืมตา และยังไม่มีหู ลูกโคอาลาจะอาศัยอยู่ในกระเป๋าหน้าท้องของแม่ และกินนมแม่อยู่นาน 7-8 เดือน หลังจากอายุได้ 6-7 สัปดาห์ ลูกโคอาลามีความยาวของหัวประมาณ 26 ม.ม. และเมื่อเริ่มสัปดาห์ที่ 13 จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 50 กรัม และมีความยาวของหัวเพิ่มขึ้นเป็น 50 ม.ม. เมื่ออายุได้ 22 สัปดาห์ ตาของลูกโคอาลาจะเริ่มเปิด และมันจะเริ่มโผล่หัวออกมาจากกระเป๋าหน้าท้องของแม่ พออายุได้ 24 สัปดาห์ จะมีขนเต็มตัว และฟันซีกแรกเริ่มงอก สัปดาห์ที่ 30 ลูกโคอาล่าจะมีน้ำหนักประมาณ 0.5 ก.ก. และมีขนาดของหัวยาว 70 ม.ม. ตอนนี้มันเริ่มใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ข้างนอกกระเป๋าหน้าท้องของแม่ สัปดาห์ที่ 36 ลูกโคอาลามีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 1 ก.ก. และไม่เข้าไปอยู่ในกระเป๋าหน้าท้องแม่อีกแล้ว ส่วนมากมันมักจะเกาะอยู่ที่หลังของแม่ แต่ในช่วงอากาศหนาว หรืออากาศชื้น มันก็จะกลับเข้าไปอยู่ในกระเป๋าหน้าท้องของแม่อีก สัปดาห์ที่ 37 ลูกโคอาลาเริ่มออกห่างจากแม่เพื่อเดินเที่ยวเล่น แต่ยังอยู่ในระยะใกล้ๆ สัปดาห์ที่ 44 ลูกโคอาลากล้าเดินออกมาไกลมากขึ้น แต่ยังไปเกินระยะทาง 1 เมตร ที่ห่างจากแม่ สัปดาห์ที่ 48 ลูกโคอาลายิ่งมีความอยากผจญภัย หรืออยากรู้อยากเห็นยิ่งขึ้น และไม่ส่งเสียงร้องอีกแล้วเมื่อแม่ของมันเดินห่างออกไป มันจะอยู่กับแม่ของมันถึงอายุประมาณ 1 ปี ซึ่งช่วงนี้มันจะมีน้ำหนัก 2 ก.ก. กว่าเล็กน้อย

อายุขัย

ขึ้นกับปัจจัยรอบข้าง โดยเฉลี่ยมีอายุประมาณ 113-200 ปี เนื่องจากยีนส์

การติดต่อสื่อสาร

โคอาลาใช้เสียงในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งเสียงที่ใช้มีหลายลักษณะ โดยทั่วไปตัวผู้มักส่งเสียงร้องดังเพื่อประกาศหรือบอกบริเวณที่ตนอาศัยอยู่ ในขณะที่ตัวเมียจะไม่ค่อยส่งเสียงร้อง ตัวเมียจะส่งเสียงร้องดังเมื่อมีอาการกร้าวร้าว สำหรับโคอาลาตัวเมียที่มีลูกอ่อน จะใช้เสียงที่มีความอ่อนโยนกับลูกของตนเอง เมื่อเกิดความกลัวขึ้น โคอาล่าทั้งตัวผู้และตัวเมียจะใช้ส่งเสียงคล้ายเสียงเด็กร้องไห้ นอกจากนี้ โคอาลายังใช้กลิ่นของตนเองทำเครื่องหมายตามต้นไม้ที่ต่างๆ ในการติดต่อถึงกันอีกด้วย

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ปลาเสือโกลิอัท - มอนสเตอร์น้ำจากแอฟริกา

ปลาเสือโกลิอัท - มอนสเตอร์น้ำจากแอฟริกา



 ปลาไทเกอร์โกไลแอต (อังกฤษ: Goliath tigerfish, Giant tigerfish) หรือ เอ็มเบ็งกะ (Mbenga) ในภาษาลิงกาลา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hydrocynus goliath อยู่ในวงศ์ปลาเตเตร้าแอฟริกัน (Alestiidae) 

มีรูปร่างโดยรวมเหมือนปลาในสกุล Hydrocynus ทั่วไป แต่มีความแตกต่างคือ ปลาในวัยอ่อนจะไม่มีลายใด ๆ บนลำตัวทั้งสิ้น ลำตัวแลดูแบนข้างมาก ปลายหางล่างสีแดงจัด ครีบหางและครีบอื่น ๆ มีขนาดใหญ่ แฉกครีบของครีบหางมีความกว้างกว่าชนิดอื่น

ในปากมีฟันแหลมคมขนาดใหญ่เรียงอยู่ทั้งหมด 36 ซี่ เท่ากับปลาฉลามขาว ขากรรไกรใหญ่และยื่นยาว ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 6 ฟุต และมีน้ำหนักกว่า 100 ปอนด์ จัดเป็นปลาแอฟริกันไทเกอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และเป็นปลาในอันดับปลาคาราซินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย

 พบกระจายพันธุ์ในกระแสน้ำเชี่ยวของลุ่มแม่น้ำคองโก ในตอนกลางของทวีปแอฟริกา และแม่น้ำลูลาบา ทะเลสาบอูเพ็มบา และทะเลสาบแทนกันยีกา อาศัยหากินอยู่บริเวณกลางน้ำและผิวน้ำ และชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง แต่เมื่อล่าเหยื่อจะออกล่าเพียงลำพัง โดยมักจะจู่โจมเหยื่อที่มีแสงสะท้อนระยิบระยับหรือมีเสียงหรือมีแรงกระเพื่อมของน้ำ

โดยปลาแอฟริกันไทเกอร์ชนิดนี้เคยมีรายงานว่าทำร้ายมนุษย์จนถึงแก่ความตายมาแล้วด้วย เป็นปลาที่นิยมตกเป็นเกมกีฬาที่ท้าทาย เนื่องจากเป็นปลาที่ทรงพละกำลังและตกได้ยากมากชนิดหนึ่ง[4] และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย


ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย 
 ภาพประกอบจาก http://fwmail.teenee.com/etc/46741.html

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ 6 มิถุนายน 2555

ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ 6 มิถุนายน 2555


ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ วันที่ 8 มิถุนายน 2547 (ภาพ - Vincent Yu/AP)


ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์เป็นปรากฏการณ์ที่ดาวศุกร์เคลื่อนมาอยู่ในแนวระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ คนบนโลกมีโอกาสเห็นดาวศุกร์ปรากฏเป็นดวงกลมดำขนาดเล็กเคลื่อนผ่านดวงอาทิตย์ วันพุธที่ 6 มิถุนายน 2555 ประเทศไทยสามารถสังเกตดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ได้ในช่วงเวลาตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้น จนกระทั่งสิ้นสุดปรากฏการณ์ในเวลาประมาณ 11:50 น. โดยดาวศุกร์เริ่มผ่านหน้าดวงอาทิตย์ตั้งแต่ประมาณ 20 นาที ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นที่ประเทศไทย วันนั้นดาวศุกร์มีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 33 เท่า

ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์เกิดเป็นคู่ ภายในคู่ห่างกัน 8 ปี แต่ละคู่ห่างกัน 105 หรือ 120 ปี ระยะห่างระหว่างแต่ละครั้งจะมีรูปแบบที่แน่นอน คือ 8, 121.5, 8 และ 105.5 ปี และวนซ้ำกันเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2547 ซึ่งเห็นได้ในประเทศไทย หลังจากครั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่าคนที่มีชีวิตอยู่บนโลกในปัจจุบันทั้งหมด จะไม่มีโอกาสได้เห็นดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์อีก เพราะดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์คู่ถัดไปจะเกิดขึ้นในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2660 (ค.ศ. 2117) และวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2668 (ค.ศ. 2125)

แพรัลแลกซ์ของดาวศุกร์ทำให้การสังเกตดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์จากสถานที่ต่างกัน ให้เวลาสัมผัสที่ต่างกัน ยกตัวอย่าง ที่กรุงเทพฯ สิ้นสุดปรากฏการณ์ในเวลา 11:49:51 น. แต่ที่โตเกียว สิ้นสุดปรากฏการณ์ในเวลา 11:47:27 น. ตามเวลาในเขตเวลาเดียวกัน (ถ้าแปลงเป็นเวลาท้องถิ่นของญี่ปุ่นต้องบวก 2 ชั่วโมง) เป็นต้น

พื้นที่ที่เห็นปรากฏการณ์ได้ตลอดตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดคือประเทศทางด้านตะวันออกของเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ด้านตะวันออกของจีน มองโกเลีย ด้านตะวันออกของรัสเซีย ด้านตะวันออกของออสเตรเลีย เกือบทั้งหมดของนิวซีแลนด์ ฮาวาย ด้านตะวันตกของแคนาดา และรัฐอะแลสกาของสหรัฐอเมริกา พื้นที่ที่เห็นได้ขณะดวงอาทิตย์ขึ้น คือดาวศุกร์ได้เคลื่อนเข้ามาในดวงอาทิตย์แล้วก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น ได้แก่ เกือบทั้งหมดของยุโรป ตะวันออกกลาง ด้านตะวันออกของแอฟริกา ด้านตะวันตกของเอเชีย ด้านตะวันตกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (รวมทั้งประเทศไทย) และด้านตะวันตกของออสเตรเลีย

พื้นที่ที่เห็นได้ขณะดวงอาทิตย์ตก คือดวงอาทิตย์ตกขณะที่ดาวศุกร์ยังอยู่ในดวงอาทิตย์ ได้แก่ ส่วนใหญ่ของอเมริกาเหนือ และด้านตะวันตกเฉียงเหนือของอเมริกาใต้ ซึ่งพื้นที่นี้ยังเป็นวันที่ 5 มิถุนายน ตามเวลาท้องถิ่น



ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในปี 2555 ปรากฏการณ์เกิดขึ้นในเช้าวันที่ 6 มิถุนายน ตามเวลาประเทศไทย ส่วนทวีปอเมริกาเหนือและใต้จะเห็นได้ในเย็นวันที่ 5 มิถุนายน ตามเวลาท้องถิ่น ภาพนี้แสดงเวลาที่ดาวศุกร์สัมผัสขอบดวงอาทิตย์ ซึ่งแบ่งเป็น 4 สัมผัส ตามเวลาประเทศไทย โดยสมมุติว่าสังเกตการณ์จากศูนย์กลางโลก หรืออีกนัยหนึ่งคือสังเกตจากผิวโลกขณะดวงอาทิตย์อยู่ที่จุดเหนือศีรษะ แพรัลแลกซ์ของดาวศุกร์ ทำให้เวลาที่มองเห็นดาวศุกร์แตะขอบดวงอาทิตย์จากสถานที่ต่าง ๆ เกิดขึ้นไม่พร้อมกัน สำหรับกรุงเทพฯ จะเห็นได้เฉพาะสัมผัสที่ 3 และ 4 เกิดขึ้นในเวลา 11:32:28 น. และ 11:49:51 น. ตามลำดับ

ที่มา
http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/eclipses/2012eclipses.html

การจัดประเภทของการลุกจ้าบนดวงอาทิตย์

การจัดประเภทของการลุกจ้าบนดวงอาทิตย์


ภาพการลุกจ้าบนดวงอาทิตย์ในระดับ X1.9 เมื่อ 3 พฤศจิกายน 2011จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Solar Dynamics Observatory (SDO)
เครดิต : NASA / SDO


การระเบิดขนาดยักษ์บนดวงอาทิตย์ก่อให้เกิดการลุกจ้าและส่งพลังงานแสงรวมทั้งอนุภาคความเร็วสูงออกสู่อวกาศ การลุกจ้าเหล่านี้มักจะเกี่ยวข้องกับการเกิดพายุพลังงานแม่เหล็กดวงอาทิตย์หรือที่รู้จักกันในชื่อพายุสุริยะเป็นการปลดปล่อยมวลโคโรนา Coronal Mass Ejections (CMEs) ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่พบมากบนดวงอาทิตย์ในขณะนี้ นอกจากนั้นดวงอาทิตย์ยังสามารถปล่อยกระแสโปรตรอนได้อย่างรวดเร็ว หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของอนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์ Solar Energetic Particle (SEP) และการแปรปรวนของลมสุริยะ Corotating Interaction Regions (CIRs) ทั้งหมดนี้สามารถก่อให้เกิดพายุสุริยะที่แตกต่างกัน การเกิดพายุสุริยะหากมีความรุนแรงอาจไปรบกวนระบบ การส่ือสาร วิทยุคลื่นระยะสั้น สัญญาณGPS และสายไฟฟ้าบนโลกได้

ปริมาณกิจกรรมบนดวงอาทิตย์จะเพิ่มขึ้นประมาณทุกๆ 11 ปี และในขณะที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนไปสู่ช่วงที่มีจุดบนดวงอาทิตย์สูงสุดซึ่งมีแนวโน้มว่าจะอยู่ในช่วงประมาณปี 2013 นั้นหมายความว่าดวงอาทิตย์จะเกิดการปล่อยพลังงานจากการลุกจ้าบนดวงอาทิตย์ได้มากขึ้น

องค์การมหาสมุทรและบรรยากาศของสหรัฐอเมริกา หรือ (NOAA) ได้มีการวางแผนจำแนกหมวดหมู่ของการลุกจ้าบนดวงอาทิตย์ และพายุสุริยะ โดยการลุกจ้าขนาดใหญ่บนดวงอาทิตย์นี้ จะเรียกว่า การลุกจ้าระดับ X ซึ่งการจำแนกการลุกจ้าบนดวงอาทิตย์จะแบ่งตามระดับความรุนแรงของการลุกจ้า โดยการลุกจ้าขนาดเล็กที่สุดจะอยู่ในระดับ A - class ตามด้วย B,C,M, และ X คล้ายกับมาตราริกเตอร์วัดแผ่นดินไหว ซึ่งจะแสดงถึงพลังงานที่เกิดจากการลุกจ้าเพิ่มขึ้น 10 เท่าของตัวอักษรแต่ละตัว ดังนั้น X จะมีค่าพลังงาน 10 เท่า ของระดับ M และจะมีค่าพลังงานเป็น 100 เท่าของระดับ C ซึ่งหมายความว่าในแต่ละตัวอักษรจะมีตัวเลขระดับขนาด 1-9 ระดับ

หากจะกล่าวถึงผลกระทบจากการลุกจ้านี้นักวิทยาศาสตร์ได้ให้ข้อมูลว่า การลุกจ้าระดับ C จะมีพลังงานที่อ่อนเกินกว่าที่จะส่งผลกระทบต่อโลก แต่ในระดับ M สามารก่อให้เกิดความเสียหายตอวิทยุคลื่นส้ันๆ และยังมีพายุรังสีที่อาจเป็นอันตรายกับนักบินอวกาศ และการลุกจ้าระดับ X แม้ว่า X1 จะเป็นตัวอักษรลำดับสุุดท้าย แต่พลังงานจากการลุกจ้าก่อให้เกิดพลังงานมากกว่า 10 ระดับ ดังนั้นการลุกจ้าในระดับ X สามารถก่อให้เกิดพลังงานสูงกว่าระดับ 9 ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบอิเลคทรอนิคบนโลก สำหรับการลุกจ้าบนดวงอาทิตย์ที่มีความรุนแรงที่สุดที่วัดได้โดยวิธีที่ทันสมัยเม่ือปี 2003 ในช่วงที่มีจุดบนดวงอาทิตย์สูงสุด ซึ่งเซนเซอร์สามารถวัดได้ในระดับที่ X15 แต่จากการคาดการณ์คาดว่าจะสูงถึงระดับ X28

เนื่องจากปัจจุบันดวงอาทิตย์อยู่ในช่วงที่มีจุดบนดวงอาทิตย์เพิ่มขึ้นจนถึงช่วงที่มีจุดบนดวงอาทิตย์สูงสุดจึงทำให้เราเห็นการเกิดกิจกรรมบนดวงอาทิตย์มากขึ้น การลุกจ้าบนดวงอาทิตย์ระดับ X ครั้งแรกของวัฏจักรสุริยะปะทุขึ้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2011 และมีเพิ่มมากขึ้นในช่วงฤดูร้อน เมื่อวันที 23 มกราคม 2012 ดวงอาทิตย์ได้ปลดปล่อยพลังงานที่ระดับ M8.7


ภาพการปลดปล่อยอนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์ solar energetic particle (SEP) ที่ก่อให้เกิดการรบกวนที่ดูเหมือนมีหิมะ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2012 จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Solar Heliospheric Observatory (SOHO) เครดิต : SOHO / ESA และ NASA


ทั้งนี้องค์การนาซา, องค์การมหาสมุทรและบรรยากาศของสหรัฐอเมริกา (NOAA),หน่วยงานกองทัพอากาศสหรัฐ (AFWA) และอืนๆ ได้เฝ้าสังเกตการณ์ค่าพลังงานที่เกิดจากการลุกจ้าบนดวงอาทิตย์ว่าอยู่ในระดับใด และจะมีความรุนแรงมากพอที่จะเป็นพายุสุริยะได้หรือไม่ เพื่อเป็นแนวทางการแจ้งเตือนล่วงหน้าเพือป้องกันผลกระทบกับยานอวกาศ ดาวเทียม และระบบเทคโนโลยี เป็นต้น

ที่มา
http://www.narit.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=351:-coronal-mass-ejections&catid=1:astronomy-news&Itemid=4

แปลกตา คลื่นหมอกสึนามิที่ชายหาดฟลอริด้า

ปรากฎการณ์แปลกตา คลื่นหมอกสึนามิที่ชายหาดฟลอริด้า









ตระการตา! ภาพความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ คลื่นหมอกสึนามิ กำลังซัดเข้าหาชายหาดในรัฐฟลอริด้า

เว็บไซต์เดลิเมล ของอังกฤษ รายงานเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ว่า ได้เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติอันน่าทึ่งเป็น "คลื่นหมอกสึนามิ" โถมเข้าใส่ตึกบริเวณริมชายหาดปานามา ซิตี้ ในรัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา สร้างความตกตะลึงในความสวยงามของมันให้กับคนขับเฮลิคอปเตอร์ที่บังเอิญขับผ่านไป เขาจึงได้เก็บภาพความประทับใจนั้นเอามาแบ่งปันให้ผู้อื่นได้ชื่นชมลงในเฟซบุ๊กของเขา ในชื่อบัญชี "Panhandle Helicopter"



โดยภาพคลื่นยักษ์นี้ ถูกถ่ายด้วยฝีมือของ นายเจอาร์ ฮอตต์ คนขับเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งขณะนั้นเขากำลังขับบินอยู่เหนือชายฝั่ง ทันใดนั้นเขาก็เห็นคลื่นหมอกนี้กำลังถาโถมเข้ามา จึงรีบบินฉีกตัวหนีออกไปเพื่อหามุมดี ๆ ที่จะเก็บภาพเอาไว้ และเมื่อหามุมที่ต้องการได้แล้ว เขาจึงรีบนำกล้องออกมาถ่ายเอาไว้อย่างไม่รีรอ เพราะกลัวว่าหมอกจะหายไปเสียก่อน และเพียงไม่กี่นาทีที่เขานำเครื่องลงที่ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ คลื่นก็ลงมาปกคลุมทั่วทั้งบริเวณ ซึ่งภาพถ่ายที่ปรากฏออกมาแสดงให้เห็นถึงคลื่นหมอกที่สูงเหนือตึกลอยซัดเข้าไปเป็นทิวแถวอย่างสวยงาม และเขายืนยันว่าภาพถ่ายไม่ได้มีการตัดต่อแม้แต่นิดเดียว



ทางด้าน ดร.เกรค ฟอร์บส จากเว็บไซต์ Weather.com กล่าวถึงปรากฏการณ์ครั้งนี้ว่า เป็นผลมาจากสภาพอากาศที่อบอุ่น บวกกับความชื้นในอากาศมารวมตัวกันเป็นจำนวนมากจึงทำให้เกิดหมอก แล้วเมื่อโดนแรงลมพัดเข้ามาจึงทำให้เกิดการกระจายตัวเป็นลักษณะลูกคลื่นพัดเข้าหาชายฝั่งตามภาพที่ปรากฏ

ดร.เกรค กล่าวเสริมอีกว่า ความชื้นในอากาศกับสภาพอากาศนั้นจะต้องรวมตัวกันได้อย่างพอดิบพอดีเท่านั้น ถึงจะเกิดคลื่นหมอกได้ ดังนั้นมันจึงอธิบายได้ว่าทำไมเราถึงไม่ได้เห็นภาพแบบนี้ในทุก ๆ วัน

ที่มา
http://hilight.kapook.com/view/67444

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ทอร์นาโด (tornado)

ทอร์นาโด (tornado อ่านว่า ทอร์เนโด)
เป็นพายุที่เกิดจากการหมุนของอากาศ สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะ โดยลักษณะที่พบได้บ่อยสุดคือลักษณะรูปทรงกรวย โดยส่วนปลายโคนชี้ลงที่พื้น ทอร์นาโดสามารถก่อพลังทำลายได้สูง โดยความเร็วลมสามารถสูงมากถึง 500 กม/ชม (300 ไมล์/ชม) ซึ่งก่อให้เกิดการพังทลายของสิ่งก่อสร้างได้

ทอร์นาโดเกิดขึ้นจากลมร้อนและลมเย็นมาเจอกันและก่อตัวให้เกิดลมหมุน และเมื่อลมหมุนในระดับที่ไม่คงที่ ทำให้ปลายข้างหนึ่งลงมาสัมผัสที่พื้นก่อให้เกิดทอร์นาโดได้ โดยทอร์นาโดสามารถส่วนใหญ่เกิดในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่สามารถก่อให้เกิดลมร้อนและไอเย็นปะทะกันบริเวณทุ่งราบ



ทอร์นาโดแบ่งออกเป็นรายระดับตามกำลังทำลายและความเร็วลม โดยแบ่งเป็น F0 - F5 โดย F0 เป็นทอร์นาโดที่อ่อนกำลังสุด และ F5 เป็นทอร์นาโดที่กำลังแรงสุด

การจำแนกระดับของทอร์นาโด จะยึดตาม Fujita scale ซึ่งกำหนดให้พายุในแต่ละระดับมีความแรงดังนี้

พายุ F0 ความเร็วลม 64-116 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุ F1 ความเร็วลม 117-180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุ F2 ความเร็วลม 181-253 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุ F3 ความเร็วลม 254-332 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุ F4 ความเร็วลม 333-418 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุ F5 ความเร็วลม 419-512 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
จากการสำรวจเก็บสถิติ พบว่า ทุกๆ การเกิดพายุทอร์นาโด 1,000 ครั้ง จะเป็นระดับ F0 จำนวนประมาณ 389 ครั้ง , ระดับ F1 จำนวนประมาณ 356 ครั้ง , ระดับ F2 จำนวนประมาณ 194 ครั้ง , ระดับ F3 จำนวนประมาณ 49 ครั้ง , ระดับ F4 จำนวนประมาณ 11 ครั้ง และระดับ F5 จำนวนประมาณ 1 ครั้ง

ความแรงของพายุ ส่งผลกับขนาด และการสลายตัวของพายุด้วย พายุระดับ F0-F1 อาจมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 100 เมตร และเคลื่อนตัวไปได้ไม่กี่กิโลเมตรก็สลายตัวไป ในขณะที่พายุ F5 อาจมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่า 1,600 เมตร และเคลื่อนตัวไปได้มากกว่า 100 กิโลเมตรก่อนจะสลายตัว ซึ่งการที่พายุที่ระดับสูงกว่าจะทำให้พายุมีขนาดใหญ่และสลายตัวช้าด้วย

ในวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1925 ในสหรัฐอเมริกา เกิดพายุทอร์นาโดขึ้นพร้อมกัน 9 ลูก เป็น F2 จำนวน 2 ลูก , F3 จำนวน 4 ลูก , F4 จำนวน 2 ลูก และ F5 จำนวน 1 ลูก เคลื่อนตัวถล่มมลรัฐมิสซูรี่ , อิลลินอยส์ , อินเดียนา , เคนทักกี , เทนเนสซี , อลาบามา และ มลรัฐแคนซัส มีผู้เสียชีวิตไปกว่า 747 คน ซึ่งในจำนวนนั้น เฉพาะพายุ F5 เพียงลูกเดียวนั้น คร่าชีวิตผู้คนไป 695 คน ส่วนยอดผู้เสียชีวิตจากพายุลูกอื่นๆ อีก 8 ลูก รวมกัน ได้เพียง 50 กว่าคนเท่านั้น ทำให้พายุ F5 ลูกนั้นที่เกิดขึ้นเป็นพายุทอร์นาโดที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา ความเสียหายทางชีวิตและทรัพย์สินมีมูลค่าเทียบเป็นปัจจุบันได้มากกว่า 1862 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สาเหตุการเกิด

เนื่องมาจากการเกิดกลุ่มของอากาศที่เย็นกว่าลอยผ่านเข้าไปใต้กลุ่มของอากาศที่ ่อบอุ่นกว่าจึงทำให้เกิด การถ่ายเทอากาศหมุนเวียนกันขึ้นในเขตจำกัด และเป็นไปได้ โดยรวดเร็วใกล้ ๆ จุดศูนย์กลางจะมีกระแสลม หมุนเร็วที่สุดจนทำให้เกิดลำอากาศเป็น เกลียวตั้งสูงขึ้นไปในท้องฟ้า ถัดออกมาทางขอบนอกอัตราเร็วของการ หมุนค่อยๆ ช้า ลง แต่กระนั้นก็ตามที่ขอบนอกของมันก็มีความแรงพอที่จะพัดเอาบ้านทั้งหลังให้พังไป ได้อย่าง ง่ายดาย


ทอร์นาโดเกิดขึ้นจากลมร้อนและลมเย็นมาเจอกันและก่อตัวให้เกิดลมหมุน และเมื่อ ลมหมุนในระดับที่ไม่คงที่ ทำให้ปลายข้างหนึ่งลงมาสัมผัสที่พื้นก่อให้เกิดทอร์นาโดได้โดยทอร์นาโดสามารถส่วนใหญ่เกิดในสหรัฐอเมริกาเนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่ สามารถก่อให้เกิดลมร้อนและไอเย็นปะทะกันบริเวณทุ่งราบ