วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

หูกับการได้ยิน

หูกับการได้ยิน

การได้ยิน


เสียงเกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียง ดังนั้นถ้าวัตถุสั่นด้วยพลังงานมากแอมปลิจูดของการสั่นก็จะมาก ถ้าพลังงานที่ใช้ในการสั่นมีค่าน้อย แอมปลิจูดของการสั่นก็จะน้อย การสั่นของแหล่งกำเนิดจะถ่ายโอนพลังงานของการสั่นผ่านตัวกลางมายังผู้ฟัง

ในการได้ยินเสียงครั้งหนึ่งๆ จะมีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ ต้นกำเนิดเสียง ตัวกลาง และประสาทรับเสียงของผู้ฟัง ในการได้ยินเสียงครั้งหนึ่งๆ ความรู้สึกในการได้ยินเสียงของมนุษย์โดยทั่วไปแยกออกเป็นลักษณะต่างๆ ดังนี้

1. ความรู้สึกดัง-ค่อยของเสียง ขึ้นอยู่กับ แอมปลิจูดและความเข้มเสียง

2. ความรู้สึกทุ้ม-แหลมของเสียง ขึ้นอยู่กับความถี่ของเสียง

3. ความไพเราะของเสียง ขึ้นอยู่กับคุณภาพเสียง

เมื่อเสียงจากแหล่งกำเนิดเคลื่อนที่ผ่านอากาศมาถึงหูเราคลื่นเสียงทำให้ลำอากาศในหูสั่นก็จะทำให้เยื่อแก้วหู (ซึ่งมีความไวมาก) สั่น การสั่นเพียงเล็กน้อยของเยื่อแก้วหูก็ส่งผลต่อไปยังประสาทรับรู้ในการได้ยินของคนเรา ซึ่งแสดงส่วนประกอบต่างๆ ของหู และการได้ยินของคนเรา ดังรูป


รูป แสดงส่วนประกอบของหู

ขอบเขตความสามารถการได้ยินเสียงของหูมนุษย์ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มเสียง (0 - 120 เดซิเบล) และความถี่ของเสียง (20 - 20000 Hz)
















รูป แสดงช่วงความถี่และระดับความเข้มเสียงที่หูคนปกติสามารถรับรู้ได้

เวลาของการเกิดเสียงก้อง (Tr)

Tr เป็นเวลาที่นับจากขณะที่เสียงออกจากแหล่งกำเนิดจนมีพลังงานลดลง 60 dB และระยะเวลาที่เสียงจากแหล่งกำเนิดและเสียงสะท้อนมาถึงหูผู้ฟัง (ไม่ใช่ Tr) มีค่าน้อยกว่า 0.1 วินาที่ หูของมนุษย์จะแยกไม่ออก แต่ถ้าเวลาต่างกันมากขึ้น หูของคนเราก็จะแยกออกเป็นเสียงคนละเสียงดังแสดงในรูปข้างล่าง
















รูป แสดงการเกิดเสียงก้องจากการสะท้อน