วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กลุ่มดาวคนยิงธนู (SAGITTARIUS) ราศีธนู

กลุ่มดาวคนยิงธนู (SAGITTARIUS) ราศีธนู


กลุ่มดาวคนยิงธนู อยู่ถัดจากกลุ่มดาวแมงป่องไปทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยดาวฤกษ์เรียงกันอย่างน้อย 8 ดวง คล้ายกับกาต้มน้ำ ไม่มีดาวดวงใดเด่นมากนัก ดวงอาทิตย์จะโคจรผ่านกลุ่มดาวคนยิงธนูระหว่างวันที่ 19 ธันวาคม ถึง 21 มกราคม ซึ่งกลุ่มดาวคนยิงธนูเป็นกลุ่มดาวที่อยู่ใจกลางทางช้างเผือก

กลุ่มดาวคนยิงธนู เป็นกลุ่มดาวอันดับที่เก้าของกลุ่มดาวจักรราศีโดยกลุ่มดาวคนยิงธนูจะเป็นรูปสัตว์ในเทพนิยาย เป็นครึ่งม้าครึ่งคน เหมือนกลุ่มดาวม้าครึ่งคน (Centaurus) เพียงแต่คนยิงธนูเป็นนายพรานจึงมักจะสับสนกันบ่อย กลุ่มดาวคนยิงธนูจะหันปลายธนู ไปทางกลุ่มดาวแมงป่อง (Scorpius) แต่กลุ่มดาวที่ค่อนข้างสุกสว่างจริงๆ ของกลุ่มดาวนี้ เรามักจะเห็นเป็นรูปกาต้มน้ำหันไปทางกลุ่มดาวแมงป่องมากกว่าโดยจะขึ้นไปสูงสุดกลางท้องฟ้าประมาณเที่ยงคืนของต้นเดือนกรกฎาคม มีดาวที่สำคัญ ดังนี้ Rakbat เป็นดาวฤกษ์สีน้ำเงิน-ขาว มีความสว่างไม่มากนักเพียงประมาณ 4.1 เท่านั้น ชื่อดาว หมายถึง หัวเข่า (The Knee) Arkab Prior Arkab Posterior เป็นดาวฤกษ์สีน้ำเงิน-ขาว มีความสว่างไม่มากนักเช่นกันเพียงประมาณ 4.3 และ 4.5 เท่านั้น Alnasl เป็นดาวฤกษ์สีเหลืองมีความสว่างประมาณ 2.99 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 96 ปีแสง ดาวดวงนี้ มีอีกชื่อหนึ่งว่า Nash หมายถึง หัวลูกศรธนู Kaus Australis เป็นดาวฤกษ์สีน้ำเงิน-ขาว มีความสว่างประมาณ 1.85 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 145 ปีแสง ชื่อดาว หมายถึง ด้านใต้ของคันธนู (The Southern Bow) เนื่องจากตำแหน่งของดาว อยู่ในตำแหน่งด้านล่างของคันธนูนั่นเอง Kaus Meridionalis มีความสว่างประมาณ 2.70 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 306 ปีแสง ชื่อดาว หมายถึง กลางของคันธนู (The Middle Bow) เนื่องจากตำแหน่งของดาวอยู่ในตำแหน่งกลางคันธนู Kaus Borealis มีความสว่างประมาณ 2.81 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 77 ปีแสง ชื่อดาว หมายถึง ด้านเหนือของคันธนู (The Northern Bow) เนื่องจากตำแหน่งของดาว อยู่ในตำแหน่งด้านบนของคันธนู Nunki เป็นดาวฤกษ์สีน้ำเงิน-ขาว มีความสว่างประมาณ 2.02 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 224 ปีแสง อยู่ในตำแหน่งมือขวาของคนยิงธนูที่กำลังง้างธนู ชื่อดาวดวงนี้ ตั้งแต่สมัยบาบิโลเนียน หมายถึง ดาวที่ขึ้นมาก่อนในทะเล (the Star Preclaiming the Sea) เนื่องจากกลุ่มดาวที่จะปรากฏตามมาล้วนเป็นกลุ่มดาวที่อยู่กับในทะเลทั้งสิ้น ได้แก่ กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (Aquarius) กลุ่มดาวแพะทะเล หรือมกร (Capricornus) กลุ่มดาวปลาโลมา (Delphius) กลุ่มดาวปลาวาฬ (Cetus) กลุ่มดาวปลาคู่ (Pisces) กลุ่มดาวปลาทางใต้ (Piscis Austrinus) Ascella มีความสว่างปรากฏ 2.60 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 89 ปีแสง ชื่อดาว มาจากภาษาละติน หมายถึง ไหล่ (Armpit) Albaldah เป็นฤกษ์ในระบบดาวคู่ 3 ดวง มีความสว่างประมาณ 2.89 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 440 ปีแสง M8 - The Lagoon Nebula ลากูนเนบิวลา เป็นเนบิวลาสว่าง มีความสว่างประมาณ 5.8 มองเห็นได้ด้วยกล้องสองตา M22 - Globular Cluster เป็นกระจุกดาวทรงกลม มีความสว่างประมาณ 5.1 มองเห็นได้ด้วยกล้องสองตาM24 - Open Cluster เป็นกระจุกดาวเปิด มีความสว่างประมาณ 4.5 พอมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า M25 - Open Cluster เป็นกระจุกดาวเปิด มีความสว่างประมาณ 4.6 พอมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า