มาตรฐานและกฎหมายเสียงดังในที่ทำงาน
ประเทศไทย
1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับ ภาวะแวดล้อม หมวด 3 เสียง
หมวด 3 เสียง
ข้อ 13 ภายในสถานที่ประกอบการที่ให้ลูกจ้างคนใดคนหนึ่งทำงานดังต่อไปนี้
1) ไม่เกินวันละเจ็ดชั่วโมง ต้องมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับติดต่อกันไม่เกิน 90 เดซิเบล (เอ)
2) เกินกว่าวันละเจ็ดชั่วโมง แต่ไม่เกิดแปดชั่วโมง จะต้องมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับติดต่อกันไม่เกิน 90 เดซิเบล (เอ)
3) เกินวันละแปดชั่วโมง ต้องมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับติดต่อกันไม่เกิน 80 เดซิเบล (เอ)
ข้อ 14 นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานในที่ที่มีระดับเสียงเกินกว่า ร้อยสี่สิบเดซิเบล (เอ) มิได้
สาระสำคัญคือกำหนดระดับเสียงหนึ่งๆ กับระยะเวลาที่อนุญาตให้สัมผัสได้แต่ไม่ได้กำหนดในลักษณะการคำนวณหาปริมาณเสียงแต่อย่างใด
2. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512 เรื่องหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาติประกอบกิจการโรงงาน
สาระสำคัญ คือ กำหนดมาตรฐานเสียงดังในโรงงานไว้ที่ 80 เดซิเบล และหากเสียงดังเกินกว่าที่กำหนัดหรืออาจเป็นอันตรายต่อแก้วหู ทางโรงงานต้องจัดให้มีอุปกรณ์ลดเสียงที่มีประสิทธิภาพ สังเกตว่ากฎหมายไม่ได้กำหนดเรื่องระยะเวลาที่สัมผัสเสียงดังและสเกลของหน่วยเดซิเบลไว้
ประเทศสหรัฐอเมริกา
OSHA และ ACGIH แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดระดับเสียงดังที่อาจได้ยินหรือสัมผัสในระยะเวลาหนึ่งๆ อย่างละเอียด
มาตรฐานระดับความดังของเสียง (OSHA)
ระยะเวลาต่อวัน (ชั่วโมง) ระดับเสียงดัง (เดซิเบล-เอ)
8 90
4 95
2 100
1 105
0.5 110
0.25 หรือน้อยกว่า 115
โดยที่ : ระยะเวลาทำงานต้องลดลงครึ่งหนึ่ง ในทุกๆ 5 เดซิเบล ที่เพิ่มขึ้น
สหราชอาณาจักรอังกฤษ
กระทรวงแรงงาน โดย Health and Safety Executive (HSE)
มาตรฐานระดับความดังของเสียง (HSE:UK)
ระยะเวลาต่อวัน (ชั่วโมง) ระดับเสียงดัง (เดซิเบล-เอ)
16 87
8 90
4 93
2 96
0.75 108
โดยที่ : ระยะเวลาทำงานต้องลดลงครึ่งหนึ่ง ในทุกๆ 3 เดซิเบล ที่เพิ่มขึ้น
ที่มา
http://www.js-safety.com/?ContentID=ContentID-080901112114764